ตามไปดูการปลูกผักอะไรถึงได้เงินแสน ชาวสวนผักทุกวันนี้รวยไม่เลิก หากรู้จักกลเม็ดในการจัดการผลผลิต เพิ่มกำไร ลดต้นทุน รู้จักหลักในการบริหารจัดการสวนผัก แค่นี้ก็สามารถมีเงินแสนได้ไม่ขาดมือ เพราะผักต่อรอบฤดูเร็ว สามารถทำเงินเร็วยกตัวอย่างเช่นการ ปลูกผักกาด แก้ว
หัวใจสำคัญอยู่ที่ไหน สำหรับการผลิตผักในเชิงธุรกิจไม่ได้มีเพียงเงินทุนเพียงอย่างเดียว ต้องมีใจรักด้วยถึงจะประสบผลสำเร็จในการปลูกผักเชิงการค้า
สภาพพื้นที่ ปลูกผักกาด หอม
คุณโสม ปานแสง เกษตรกรอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เขายึดหลักอาชีพทำสวนผักมากว่ายี่สิบปี เขาเป็นผู้ผลิตผักส่งตลาดในตัวเมืองเชียงใหม่ และรายได้ที่มาจากการปลูกผักทำให้เขามีชีวิตที่ดีขึ้น ในพื้นที่เพียง 3 ไร่ ติดกับไหล่เขาในพื้นที่อำเภอแม่ริม สภาพอากาศดี เหมาะกับการปลูกผัก
ผักกาดหอมห่อผักกาดแก้ว เป็นผักที่ต้องการสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10-24 องศา ในสภาพอุณหภูมิสูง การเจริญเติบโตทางใบจะลดลง และผักกาดหอมห่อจะสร้างสารคล้ายน้ำนม หรือยางมาก เส้นใยสูง เหนียว และมีรสขม
ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกควรร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ และมีอินทรียวัตถุสูง หน้าดินลึก และอุ้มน้ำได้ดีปานกลาง สภาพความเป็นกรด-ด่างของดินอยู่ระหว่าง 6-6.5 พื้นที่ปลูกควรโล่ง และได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ เนื่องจากใบผักกาดหอมมีลักษณะบาง ไม่ทนต่อฝน
สำหรับการ ปลูกผักกาด แก้ว ระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต การเตรียมดิน ขุดดิน ตากแดด และโรยปูนขาว ใส่ปุ๋ย 12-24-12 และ 15-0-0 อัตรา ปุ๋ยมูลไก่ เตรียมกล้า เพาะกล้าในถาดหลุมแบบประณีต ดินเพาะควรมีระบบน้ำดี อายุกล้าประมาณ 3-4 อาทิตย์ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอต่อการเจริญเติบโต
การให้ไม่ควรมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคโคนเน่า ผักกาดหอมเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด ทั้งดินเหนียว ดินร่วน ดินร่วนปนทราย แต่ที่ชอบมาก คือ ดินร่วน ดินที่ระบายน้ำดี หลังปลูก 7 วัน ใส่ปุ๋ย 46-0-0 หรือผสม 15-15-15 อัตรา อย่างหลังปลูก 20-25 วัน ใส่ปุ๋ย 13-13-21 พร้อมกำจัดวัชพืช
การเก็บเกี่ยวผักกาดหอม
การเก็บเกี่ยวเมื่ออายุได้ประมาณ 40-80 วัน หลังย้ายปลูก ใช้หลังมือกดดูถ้าหัวแน่นก็เก็บได้ ใช้มีดตัด และเหลือใบนอก 3 ใบ เพื่อป้องกันความเสียหายในการขนส่ง หลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยวตอนเปียก ควรเก็บเกี่ยวตอนบ่าย หรือค่ำ แล้วผึ่งลมในที่ร่ม และคัดเกรดป้ายปูนแดงที่รอยตัดเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคเข้าสู่หัว อย่าล้างผักบรรจุลงลังพลาสติก เก็บซากต้นนำไปเผา หรือฝังลึกประมาณ 1 ฟุต ป้องกันการระบาดและสะสมโรคในแปลงปลูก
ผักกาดหอมเป็นผักจำพวกผักสลัด เป็นที่นิยมรับประทานเป็นผักสดกันอย่างกว้างขวาง คนไทยเรานิยมใช้กินกับอาหารจำพวกยำที่รสจัดๆ สาคูไส้หมู หรือข้าวเกรียบปากหม้อ ก็จะขาดผักกาดหอมไม่ได้ ประโยชน์ของผักกาดหอมนอกจากใช้กินเป็นผักสดที่มีคุณค่าทางอาหารสูงแล้ว ยังจัดเป็นอาหารทางตาด้วย โดยการใช้แต่งอาหารให้สีสันสวยงามน่ากินขึ้นอีกด้วย
ความต้องการใช้ผักกาดหอมของผู้บริโภคมีอยู่ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ผักกาดหอมยังมีคุณสมบัติในการเป็นยาอีกด้วย ความต้องการผักกาดหอมมีอยู่ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลต่างๆ จึงนับได้ว่าผักกาดหอมเป็นผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่นับวันจะทวีความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ขั้นตอนการ ปลูกผักกาด หอม
การเตรียมแปลงเพื่อทำการเพาะกล้านั้นจะทำสำหรับการ ปลูกผักกาด หอมห่อหัว ส่วนการ ปลูกผักกาด หอมใบนั้นไม่ต้องทำ การเพาะกล้าทำการหว่านเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง การเตรียมแปลงเพาะกล้าโดยขุดหรือไถพลิกดินให้ลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร แล้วตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักผสมลงในดิน
พรวนย่อยหน้าดินให้ละเอียด แล้วทำการโรยเมล็ดลงเพาะ ถ้าต้องการปลูกผักกาดหอม 1 ไร่ ควรเตรียมแปลงเพาะกล้าขนาดประมาณ 2-2.5 ตารางเมตร การเตรียมดินสำหรับปลูกผักกาดหอมใบซึ่งเป็นการเตรียมดินเพื่อหว่านเมล็ดโดยตรง หรือเตรียมดินสำหรับการปลูกผักกาดหอมจากการเพาะกล้ามาแล้ว ควรขุดหรือไถพลิกดินลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร
ตากดินไว้ประมาณ 7-10 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วประมาณ 2-3 ตันต่อไร่ คลุกให้เข้ากับดิน แล้วพรวนย่อยหน้าดินให้ละเอียดพร้อมที่จะทำการหว่านเมล็ด หรือนำต้นกล้ามาปลูก
การเพาะกล้าจะทำเมื่อปลูกผักกาดหอมห่อเพาะกล้าในแปลงขนาด 2-2.5 ตารางเมตร สำหรับปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 50 กรัม (ประมาณ 4 หมื่นเมล็ด) หลังจากเตรียมแปลงเพาะแล้วให้หว่านเมล็ดลงบนแปลงให้กระจายไปทั่วแปลง แล้วใช้ดินที่ผสมกับปุ๋ยคอกโรยทับบางๆ คลุมด้วยฟางข้าว รดน้ำให้ชุ่ม
หรือจะใช้วิธีโรยเป็นแถว ให้แต่ละแถวห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร ดูแลรักษาจนกระทั่งกล้ามีใบจริง 2-3 ใบ ให้ทำการถอนต้นกล้าออกบ้างเพื่อไม่ให้เบียดกันแน่นเกินไป เพราะอาจทำให้ต้นกล้าเกิดโรคโคนเน่า และต้นกล้าอ่อนแอได้ เมื่อต้นกล้ามีอายุ 25-30 วัน หรือมีใบจริง 3-4 ใบ จึงทำการย้ายกล้าลงปลูกในแปลง
การ ปลูกผักกาด หอมสามารถปลูกได้ทั้งวิธีการหว่านเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง และการย้ายกล้าปลูก มีทั้ง การปลูกแบบแถวเดียวและแบบแถวคู่ มีวิธีการดังนี้ การปลูกโดยการหว่านเมล็ด เป็นวิธีการปลูกที่นิยมใช้กับผักกาดหอมใบ โดยการหว่านเมล็ดให้กระจายทั่วทั้งผิวแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หรือโรยเมล็ดลงในแปลงเป็นแถวก็ได้
แต่ก่อนหว่านเมล็ดควรคลุกเมล็ดด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อรา เช่น แคปแทน หรือไธแรม เพื่อป้องกันโรคเน่าคอดิน หลังจากหว่านเมล็ดแล้วให้ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหว่านกลบ
การให้น้ำและปุ๋ยผักกาดหอม
ผักกาดหอมเป็นผักที่ต้องการการดูแลรักษาอย่างดีสม่ำเสมอ เพราะเป็นผักที่ใช้ประโยชน์จากส่วนยอด
และใบ หากยอดถูกทำลายแล้ว ถึงแม้จะมียอดเกิดขึ้นใหม่ก็ได้ขนาดไม่เท่ายอดเดิม ดังนั้นผู้ปลูกจะต้องดูแลรักษาเป็นพิเศษอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง นอกเหนือจากการดูแลรักษาตามปกติ
เนื่องจากผักกาดหอมเป็นผักรากตื้นจึงไม่สามารถดูดน้ำในระดับลึกได้ จึงควรให้น้ำอย่าง
สม่ำเสมอและเพียงพอ โดยในระยะ 2 สัปดาห์แรกหลังจากย้ายปลูกควรให้น้ำทุกวันในตอนเช้าและเย็น โดย
ใช้บัวฝอยละเอียดรดรอบๆ โคนต้น ไม่รดจนแฉะเกินไป และให้น้ำแบบวันเว้นวันในสัปดาห์ต่อๆ มา สำหรับผักกาดหอมใบนั้นควรจะมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ เนื่องจากอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ส่วนผักกาดหอมห่อหัวนั้นควรดูจากสภาพความชื้นในดินเป็นสำคัญ แต่ในระยะที่กำลังห่อหัวอยู่นั้นไม่ควรให้น้ำไปถูกหัว เพราะอาจทำ ให้เกิดโรคเน่าเละได้
ช่วงเตรียมดินควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองพื้นประมาณ 2-3 ตันต่อไร่ เมื่อผักกาดหอมอายุได้ 7 วัน ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย โดยละลายน้ำรดในอัตรา 1 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บ ต่อเนื้อที่ 5 ตารางเมตร รดวันเว้นวัน เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในระยะแรก และเมื่อผักกาดหอมอายุได้ 15-20 วัน ให้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สำ หรับพันธุ์ใบ และใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-13 สำหรับพันธุ์ห่อหัว ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินแต่ละ
แห่งด้วย ผักกาดหอมต้องการธาตุโปแตสเซียมมากกว่าไนโตรเจน โปแตสเซียมจะทำให้ใบผักกาดหอมบาง และไม่มีรอยจุดบนใบ ผักกาดหอมที่ได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไปจะทำให้ใบมีสีเขียว รสชาติไม่อร่อย การใส่ปุ๋ยผักกาดหอมพันธุ์ใบควรใส่หมดในครั้งเดียวตอนเตรียมดินปลูก
แต่สำหรับผักกาดหอมห่อหัวควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือครั้งแรกใส่ประมาณ 2 ใน 3 ส่วน โดยใส่ตอนปลูกแล้วพรวนดินกลบ ส่วนที่เหลือใส่เมื่ออายุได้ 21 วัน โดยโรยข้างต้นห่างๆ แล้วพรวนดิน
ขอขอบคุณข้อมูล คุณโสม ปานแสง