ข้าว ไม้โตไว และ ไม้ผล 75 ไร่ สร้าง “รายได้” แบบยั่งยืน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ณ ดินแดน “บางปลาม้า” สุพรรณบุรี เป็นที่ลุ่มแหล่งรับน้ำเพื่อคนเมืองหลวง ปี 64 ชาวสุพรรณบุรีทุกอำเภอลำบากหนัก เพราะหลวงกักน้ำไว้หลายเดือน พอน้ำลด ก็เริ่มเตรียมดินเพื่อปลูก ข้าว แบบนาปรัง ทั้งๆ อาชีพนี้มิได้ทำให้ชาวนาส่วนใหญ่หลุดจากความยากจน

1.คุณวิสุทธิ์ มีป้อม
1.คุณวิสุทธิ์ มีป้อม

สภาพพื้นที่ปลูกผลไม้ผสมผสาน

เจ้าของที่ทำนาไม่เป็น ก็ต้องปล่อยให้ชาวนาเช่าปลูกข้าวต่อไป

ยกเว้นชาวนาที่มีที่ดินเป็นของตนเอง อย่าง คุณวิสุทธิ์ มีป้อม อดีตครูโรงเรียนวัดทรงกระเทียม มุ่งพัฒนาพื้นที่ให้สมบูรณ์ เพื่อปลูกพืชได้ผลผลิตคุ้มค่า

ที่ดิน 3 แปลง 75 ไร่ แบ่งเป็น 30 ไร่ 25 ไร่ และ 5 ไร่ นำไปปลูกพืชที่แตกต่างกัน

ส้มโอ ในสวนผสมผสาน
ส้มโอ ในสวนผสมผสาน

แปลง 25 ไร่ ได้ยกร่องบนคันร่อง ปลูก มะพร้าวน้ำหอม ส้มโอ 2,000 ต้น และ มะม่วงโชคอนันต์ 2,000 ต้น โดยปลูก “กล้วย” แซม ก่อนพืชประธาน จะให้ผลผลิต

มะม่วงระยะแรกๆ แม่ค้ามารับซื้อถึงสวน เป็นมะม่วงดิบ กก.ละ 20 บาท ต่อมาเหลือ กก.ละ 3-5 บาท เพราะส่งต่างประเทศไม่ได้ และชาวสวนปลูกมะม่วงโชคอนันต์มาก ผลผลิตเกินความต้องการ วันนี้มะม่วงยังอยู่ แต่ไม่ได้เน้น หันไปพัฒนามะพร้าวน้ำหอม เพราะ 5 ปี ผลผลิตเริ่มออก ราคา 7-12 บาท/ผล แต่ก็เจอ ด้วง และ ไรสี่ขา ขนาดเล็ก ระบาดตั้งแต่มะพร้าวเริ่มออกจั่น ต้องใช้ยาผสมน้ำ ฉีดตั้งแต่เริ่มออกจั่น ส่วนด้วงมี 2 ชนิด ได้แก่ ด้วงแรด และ ด้วงงวงช้าง ก็ต้องใช้ยาเช่นกัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ที่สวนใช้ปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลัก ใส่ปุ๋ยขี้ไก่ปีละครั้ง 1 คันรถสิบล้อ ส่วนน้ำไม่ขาด เพราะมีเรือรดเป็นประจำ ทั้ง 2 สวน ใช้แรงงาน 2 คน ประจำ ถ้าผลผลิตเยอะก็จ้างคนมาเสริม

2.การปลูกข้าวนาหว่าน
2.การปลูกข้าวนาหว่าน
ต้นข้าวแข็งแรง เขียว ใบตั้ง
ต้นข้าวแข็งแรง เขียว ใบตั้ง

การปลูกพืชผักหลากหลายชนิด

แปลงที่ 2 จำนวน 30 ไร่ ถูกยกร่องเหมือนกันแล้ว ไม้เศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ยางนา มะฮอกกานี พยุง ประดู่ และ ตะเคียนทอง โดยใช้งบกล้าไม้ไร่ละ 5,000 บาท ของป่าไม้จังหวัด ปลูกเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ก่อนจะตัดไม้ขายได้ ปลูก ตะไคร้ มะกรูด กล้วย เพื่อขายผลผลิต แปลงนี้ไม่ได้ใส่ปุ๋ยใดๆ และได้ขึ้นทะเบียนสวนป่ากับป่าไม้จังหวัด และ องค์การก๊าซเรือนกระจก เมื่อปี 2560

แปลงที่ 3 จำนวน 5 ไร่ ปลูกข้าวหอมนิล ไรซ์เบอรี่ และ สังข์หยด ตอนนี้ปลูก กข43 โดยการหว่าน “กข43 ขายดีที่สุด เป็นข้าวสุขภาพ แต่ยังไม่เป็นที่นิยมของตลาด ภาครัฐไม่สนับสนุนเท่าที่ควร” คุณวิสุทธิ์ ให้ความเห็น และยืนยันว่า ต้นทุนไร่ละ 3,000 บาท ผลผลิตไร่ละ 70-80 ถัง หักค่าความชื้น และ สิ่งเจือปน ราคา 8,000 บาท/เกวียน

ถ้าจะให้ต้นทุนลดกว่านี้ ต้องทำนาแบบเปียกสลับแห้ง เพราะข้าวต้องการน้ำ เดือนกว่าๆ เมื่อน้ำขึ้น หญ้าจะไม่ขึ้น และข้าวโตคุมหญ้า จากนั้นก็ปล่อยน้ำ เป็นการประหยัดน้ำ และไม่ต้องซื้อยาฆ่าหญ้ามาฉีด แต่ปุ๋ยยูเรียใช้ให้น้อยที่สุด ใช้ช่วงหว่านข้าวเพื่อกระตุ้นให้ข้าวแตกกอ ครั้งที่ 2 ก็ใส่ปุ๋ยเม็ด แต่วันนี้คุณวิสุทธิ์ได้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ตรา เพชรใบไม้ แทน

แปลงที่ 4 จำนวน 35 ไร่ ปลูกข้าว กข85 เป็นข้าวพื้นนุ่ม ที่ตรงกับตลาดนอกต้องการ ขณะนี้ปลูกไปได้ 2 เดือนกว่าๆ ใช้ปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดของศักดิ์สยาม และ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำทางใบ เพชรใบไม้ ปรากฏว่า ข้าวเขียว โตไวมาก แต่ละกอมีความแข็งแรง แต่หญ้าที่เป็นวัชพืชก็โตไวเช่นกัน ต้องใช้เครื่องตัดที่ดัดแปลงจากเครื่องฉีดปุ๋ย ตอนข้าวอายุ 30 วัน และครั้งที่ 2 ข้าว 50 วัน เมื่อถามถึง “ผลผลิต” คุณวิสุทธิ์มั่นใจว่า จะได้ไร่ละเกวียน และจะนำ “กำไร” ไปพัฒนา เช่น ขุดลอกเลน ทำคันล้อม เป็นต้น

3.คุณอุไรรัตน์ มีป้อม ประธานคลัสเตอร์ข้าว อ.บางปลาม้า
3.คุณอุไรรัตน์ มีป้อม ประธานคลัสเตอร์ข้าว อ.บางปลาม้า

การบริหารจัดการผลผลิตและการตลาด

การบริหารผลผลิต 75 ไร่ อยู่ในมือของคุณวิสุทธิ์ แต่การบริหารการตลาด ปรากฏว่า คุณอุไรรัตน์ มีป้อม อดีตปลัดเทศบาล อบต. หลายแห่ง เป็นผู้รับผิดชอบ และวันนี้คุณอุไรรัตน์ หรือ “ปลัดแต้ว” ต้องรับบทเป็นประธานคลัสเตอร์ข้าวบางปลาม้า-สองพี่น้อง เพื่อผลักดันชาวนาหลายคน และบุคคลผู้เกี่ยวข้อง ทั้ง รัฐ และ เอกชน เข้าร่วมการปลูกข้าวแบบ “คลัสเตอร์” เพื่อฟื้นฟูดิน ลดต้นทุนการผลิตข้าว และทำให้ผลผลิต/ไร่ สูงขึ้น ซึ่งปลายเดือนเมษายนเป็นต้นไปจะได้สัมผัสผลผลิต

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร ฉบับที่ 24