ผักชี พืชพื้นบ้านของไทย เป็นพืชตระกูลล้มลุก มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชียตะวันตกตามสมัยโบราณ แต่ในปัจจุบันผักชีเป็นพืชที่นิยมใช้ตกแต่งอาหารในหลากหลายเมนูที่นำมารังสรรค์ในร้านอาหารต่างๆ ปัจจุบันยังไม่มีการชี้ชัดที่แน่นอนว่าผักชีมีต้นกำเนิดมาจากที่ใด เพราะผักชีเป็นพืชที่ปลูกง่าย และเติบโตทั่วไปในแต่ละพื้นที่ ทำให้มีการสันนิฐานได้ค่อนข้างยาก แต่ปัจจุบันนิยมใช้ในแถบเอเชียกันเป็นจำนวนมาก
ผักชีเป็นผักที่มีกลิ่นแรงอ่อนๆ นิยมใช้ในการตกแต่งบนจานอาหาร เป็นพืชที่มีความนิยมเป็นอย่างสูงในร้านอาหารและทุกครัวเรือนในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากจะใช้ในการตกแต่งอาหารบนจานให้น่าลิ้มลองแล้ว ผักชียังเป็นพืชที่ใช้ในวงการสมุนไพรมานานนับหลายปี การปลูกผักชี เองก็เป็นที่นิยมในเมืองไทยในแต่ละภูมิภาค ซึ่งผักชีก็มีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นผักชีลาว ผักชีไทย ผักชีฝรั่ง และที่แตกต่างกว่านั้น คือ ในประเทศการเรียกชื่อผักชีนั้นก็จะแตกต่างกันออกไปอีกตามแต่ละพื้นที่ของประเทศ
การปลูกผักชี
ถ้าจะให้กล่าวว่าผักชีมีต้นกำเนิดและปลูกครั้งแรกที่ใด คงไม่มีใครกล้าชี้ชัดแน่นอนว่ามาจากที่ใด เพราะตามหลักฐานทางโบราณเกี่ยวกับพืชก็มีหลายชนชาติที่มีหลักฐานออกมากล่าวว่าเป็นชาติที่เริ่มปลูกผักชีมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นชาวอียิปต์ ชาวกรีก ก็มีวัฒนธรรมโบราณที่ได้กล่าวถึงการเริ่มปลูกผักชีในชนชาติของตน แนวคิดต่างๆ ก็ริเริ่มจากแต่ละประเทศ ทำให้ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันชี้ชัดว่าชาติใดเป็นประเทศแรกๆ ที่เป็นต้นกำเนิดของผักชี
ถ้าจะให้กล่าวถึง การปลูกผักชี คงต้องย้อนกลับไปในสมัยโบราณเพื่อสืบหาข้อมูลแรกเริ่มว่าที่ใดเป็นต้นกำเนิดของ การปลูกผักชี แต่อยากให้มองปัจจุบันมากกว่าว่าเป็นประเทศที่มี การปลูกผักชี ที่หลากหลาย และมีการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ เป็นจำนวนมาก ผักชียังคงเป็นที่นิยมในหลายประเทศในแถบเอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่นิยมนำมาประกอบอาหาร และนำไปสกัดหรือวิจัยเพื่อเป็นยารักษาโรค
ทั้งนี้ยังมีหลายชาติที่คิดว่าผักชีเป็นผักที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศไทย แต่ในความเป็นจริงนั้นก็ยังไม่มีหลักฐานอะไรมายืนยันได้แน่นอนว่าเมืองไทยเป็นเมืองต้นกำเนิดของผักชี อย่างว่าประเทศไทยมีการใช้ผักชีในการตกแต่งอาหารเสียส่วนใหญ่ จึงไม่แปลกที่ต่างชาติจะคิด แต่ในทางกลับกันผักชีก็ไม่ได้ใช้ในส่วนประกอบของอาหารมากนัก เพียงแค่นำมาตกแต่งเสียส่วนใหญ่ ทำไมจึงคิดว่าผักชีเป็นพืชของเมืองไทย
ผักชีมีชื่อเรียกตามแต่ละพื้นเพในแต่ละภาคที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นผักชีไทย ลาว ลี ลา ผักหอม ผักชีไร่ ผักหอมน้อย ตามแต่ละพื้นที่ที่มีการเพาะปลูก โดยชื่อภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Coriander / Chinese Parsleyโดยผักชีนั้นเป็นพืชผักสวนครัวที่มีความนิยมมากในประเทศไทย ซึ่งการนำมาใช้นั้นก็สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นราก ต้น โคน ใบ ส่วนใหญ่แล้วการบริโภคผักชีนิยมทานกันแบบสดๆ และใช้ตกแต่งอาหารบนจาน เพื่อเป็นการดึงดูดความอยากอาหารออกมา และช่วยเพิ่มรสชาติไปในตัว
สภาพพื้นที่ปลูกผักชี
ผักชีนั้นสามารถเพาะปลูกได้แถบทุกพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาคของเมืองไทย และแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เริ่มนิยมปลูกกันมา อีกทั้งเป็นพืชที่มีอายุสั้น ใช้เวลาเพาะปลูกไม่นานก็สามารถเก็บผลผลิตได้ในเวลาที่รวดเร็ว โดยในประเทศไทย ผักชีที่นิยมปลูกมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์แอฟริกา โดยทั้ง 2 สายพันธุ์นี้จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของรูปลักษณ์ กลิ่น และระยะเวลาในการออกผลผลิต
- สายพันธุ์พื้นเมือง จะมีลักษณะต้นเล็ก ใบบาง เมล็ดที่เล็ก ออกผลเร็ว และมีกลิ่นที่หอมค่อนไปทางฉุน
- สายพันธุ์แอฟริกา จะมีลักษณะใบใหญ่ ต้นใหญ่ กลิ่นหอมเล็กน้อย อายุจะยาวกว่าพันธุ์พื้นเมือง ใบจะมากกว่า
นอกจากนี้สายพันธุ์ที่นิยมนำเมล็ดมาเพาะก็ยังมีอีก 2 สายพันธุ์ ที่สามารถหาซื้อเมล็ดพันธุ์เพื่อมาเพาะปลูกได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก นั่นคือ สายพันธุ์ไต้หวัน และสายพันธุ์สิงคโปร์
การปลูกผักชี ลำดับแรกเลย คือ การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ เมล็ดที่ดีจะทำให้ได้ผลผลิตที่ดีตาม ซึ่งตัวที่เป็นที่นิยมปลูกกันนั้นจะมีสายพันธุ์ไต้หวัน และสิงคโปร์
ต่อมาก็เป็นการเตรียมดิน การปลูกผักชี นั้นสามารถปลูกได้ทั้งในกระถางและในแปลงดิน ซึ่งทั้ง 2 วิธีการแตกต่างกันออกไป การปลูกแบบในกระถางจะเน้นเป็นการปลูกไว้ทานเอง ส่วนการปลูกแบบในแปลงก็จะเน้นสำหรับจำหน่าย ในส่วนของการปลูกแบบแปลงดินนั้นควรจะพรวนดินขึ้นมาเตรียมไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ หลังจากนั้นก็พรวนซ้ำอีกรอบเพื่อให้ดินนั้นร่วน และผสมปุ๋ยคอกให้คลุกเคล้ากับแปลงดินที่เตรียมไว้
เมื่อได้เมล็ดพันธุ์มาให้บดเมล็ดผักชีแบ่งออกเป็น 2 ส่วน และนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ 3 วัน ที่สำคัญควรหาอะไรมาห่อเมล็ดและกดให้ตัวเมล็ดจมลงในน้ำ วิธีการแบบนี้จะทำให้ผักชีเติบโตได้ง่ายขึ้น เมล็ดผักชีที่นำมาปลูกควรเป็นเมล็ดใหม่จะดีที่สุด หลังจากแช่น้ำเสร็จให้นำเมล็ดผักชีไปผึ่งลมให้แห้งเสียก่อน สังเกตว่าพอแห้งแล้วเมล็ดผักชีเริ่มงอกให้นำไปหว่าน แต่ก่อนที่จะนำไปหว่านนั้นควรใช้รถรดน้ำให้แปลงดินมีความชุ่มชื้นเสียก่อน หลังจากหว่านเสร็จให้นำฟางข้าวมาคลุมบางๆ เพื่อป้องกันต้นอ่อนจากแสงแดดและรักษาความชุ่มชื้นของแปลงดิน
ผักชีเป็นผักที่ต้องการน้ำมาก ฉะนั้นควรจะรดน้ำให้สม่ำเสมอวันละ 2 ครั้ง แต่อย่ารดมากจนเกินไปจะทำให้ผักชีเน่าได้ง่าย เพราะผักชีไม่ชอบน้ำขัง และการกำจัดวัชพืชก็สามารถกำจัดได้ทันที ในส่วนของการใส่ปุ๋ยนั้นให้เริ่มใส่ในช่วงที่ผักชีเริ่มแตกใบแล้ว เพราะจะทำให้ได้รับสารอาหารจากตัวปุ๋ยได้เต็มที่ และควรใช้เป็นปุ๋ยหมักจะดีที่สุด
ในการเตรียมแปลงปลูกผักชีในแต่ละช่วงฤดูจะมีการเตรียมแปลงปลูกที่ไม่เหมือนกัน ต้องมีการวางแผนและปรับพื้นที่ให้เหมาะกับสภาพอากาศในแต่ละฤดู เช่น ฤดูร้อน สภาพอากาศจะแห้งแล้ง ควรเตรียมในระดับพื้นหรือแบบแปลงยกร่องระหว่างแปลงเมื่อกำจัดหญ้า และปรับระดับแปลงได้ที่ก็ควรพรวนดินผสมกับปุ๋ย โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น ส่วนในฤดูฝนสภาพอากาศจะมีความชุ่มชื้นตลอด ควรทำแปลงแบบยกสูง หรือจัดให้มีร่องระหว่างแปลงเพื่อเป็นการระบายน้ำไม่ให้เกิดน้ำขัง
การให้น้ำในระยะแรกหลังจากการหว่านเมล็ดจะเน้นใช้น้ำประมาณ 2 ครั้งต่อวัน ในช่วงเช้าและเย็นเป็นหลัก โดยให้น้ำเป็นระยะเวลา 1 เดือน และก่อนช่วงเก็บเกี่ยวประมาณ 1 สัปดาห์ ควรให้น้ำแค่ 3-4 วันต่อครั้ง ส่วนการใส่ปุ๋ยนั้นให้ใช้น้ำแช่มูลสัตว์โดยแช่ทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ และใช้ส่วนที่เป็นน้ำนำมารดแปลงผักชี 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยใช้ร่วมกับน้ำทั่วไป การใช้ปุ๋ยน้ำนี้ควรให้หลังจากรากเริ่มงอกแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ใช้เศษมูลสัตว์ที่เป็นตะกอนโปรยหว่านในแปลงประมาณ 2 ครั้งต่อเดือน
วิธีการปลูกและบำรุงดูแลผักชีลาว
สภาพดินที่เหมาะแก่การปลูกควรเป็นดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย ก่อนจะเริ่มปลูกควรพรวนดินตากให้แห้งเสียก่อน เพื่อกำจัดเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืชที่อยู่ในดิน และทิ้งไว้ 10-15 วัน หลังจากนั้นก็นำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน การทำแปลงดินควรมีขนาดกว้าง 1-1.2 เมตร ยาว 3-4 เมตร และใส่ปุ๋ยประมาณ 30-40 กิโลกรัม ยาว 3-4 เมตร ก็เพื่อเป็นการบำรุงดินให้มีความสมบูรณ์ ถ้าพบว่าดินเป็นกรดให้ใส่ปูนขาวคลุกดินเพื่อปรับสภาพ
ทำการเพาะเมล็ดโดยทำให้เมล็ดแตกออกเป็น 2 ซีก และแช่น้ำเปล่าประมาณ 2-3 ชั่วโมง เสร็จแล้วนำมาคลุกเคล้ากับทรายละเอียดที่ผสมเถ้าเล็กน้อย และทิ้งไว้รากจะเริ่มงอกก่อนนำไปหว่านให้ทั่วแปลง และรดน้ำตาม ช่วงที่เหมาะกับ การปลูกผักชี ลาวจะอยู่ในช่วงระหว่างฤดูและกับฝน ในช่วงฤดูแล้งนั้นจะทำการพรวนดินได้ง่ายและทำขอบแปลงดินได้ตลอด ส่วนในช่วงฤดูฝนนั้นควรทำแปลงให้สูงนูนประมาณ 30 เซนติเมตร หรือทำให้พ้นจากการโดนน้ำขัง และควรหาอะไรมาคลุมไว้ไม่ให้โดนน้ำฝนมากจนเกินไป ผักชีลาวชอบความชื้นที่พอดี หากมากเกินไปจะทำให้ใบเหลืองแห้ง ไม่สวย ควรจะปลูกในพื้นที่โล่งแจ้ง และมีแสงแดด ไม่ควรอยู่ในร่มไม้ แต่ถ้าเป็นช่วงหน้าแล้งควรหาอะไรมาคลุมเพื่อป้องกันแดดจัดบ้าง
หลังจากปลูกได้ 7 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก จนถึงอายุ 14 วัน ลำต้นจะสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร และจะแตกใบออกเป็น 2 ใบ ควรรดน้ำให้ชุ่ม แต่ไม่แฉะเกินไป เมื่ออายุครบ 14 วัน ระหว่างนี้ให้นำน้ำผสมกับน้ำหมัก เพื่อเป็นการเพิ่มเติมธาตุอาหารให้กับผักชีลาว สำหรับปุ๋ยคอกให้ใช้เป็นแบบแห้ง โรยให้ทั่วบริเวณเดือนละ 1-2 ครั้ง ส่วนการกำจัดศัตรูพืชให้ดูแลอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าปลูกกับพืชชนิดอื่นต้องคอยระวังแมลงศัตรูพืชให้ดี เพราะจะเข้ามาทำลายผลผลิตได้
เมื่ออายุครบ 40 วัน สามารถเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทันที โดยเลือกต้นที่สมบูรณ์ที่มีความยาว 20-30 เซนติเมตร สามารถทยอยเก็บผลผลิตได้ 2-3 เดือน ในช่วงที่เก็บเกี่ยวนั้นควรเหลือต้นที่แข็งแรงสมบูรณ์ไว้บ้างบางส่วน เพื่อให้ต้นเหล่านี้ออกดอกเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ในครั้งต่อไป
ถ้านำผักชีลาวไปบดและนำไปชงดื่มเป็นน้ำนั้นวันละ 4-5 แก้ว จะช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง แน่นท้อง ช่วยขับลม และน้ำมันในผักชีลาวที่สกัดมานั้นจะช่วยแก้ท้องอืดได้เช่นกัน
การบริหารจัดการแปลงผักชี
ผักชีฝรั่งเป็นพืชตระกูลล้มลุก มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ และประเทศเม็กซิโก ในปัจจุบันมีการเพาะปลูกไปทั่วโลก เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบมีสีเขียวอ่อน ขอบใบมีลักษณะคล้ายฟันเลื่อย
–การเตรียมดิน ให้ยกร่องแปลงปลูกให้สูง เพื่อป้องกันการเกิดโรครากเน่า ควรไถให้ลึกประมาณ 1 ฟุต และตากดินให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์ และทำการผสมปุ๋ยคอกคลุกเคล้าในดิน เพื่อเป็นการปรับสภาพดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ แต่ต้องไม่ลืมกำจัดวัชพืชออกให้หมดด้วย ความยาวของแปลงนั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่และความเหมาะสม และควรทำโรงเรือนเล็กๆ หรือหามุ้งมาคลุมบังแดด เนื่องจากผักชีฝรั่งไม่ชอบแสงแดดจัด
–เพาะต้นกล้า ด้วยการหว่านเมล็ดพันธุ์ โดยทั่วไปเมล็ดผักชีฝรั่ง 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 3 กิโลกรัม ทำการหว่านเมล็ดพันธุ์ให้ทั่วแปลง หลังจากนั้นให้ทำการเกลี่ยดินกลบเมล็ดพันธุ์ที่หว่านไปแล้วให้เรียบร้อย และรดน้ำภายในระยะเวลา 15 วัน เมล็ดอ่อนจะเริ่มงอกออกมาพ้นดิน
–การรดน้ำ ให้รดน้ำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง รดน้ำให้ดินชุ่มเพื่อเพิ่มความชื้นในดิน แต่ไม่ควรลดจนแฉะ เพราะจะทำ
ให้เกิดรากเน่า และผลผลิตเสียหายได้ การใส่ปุ๋ยนั้นให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักเพื่อรักษาสภาพดิน และเพิ่มธาตุอาหารในดินเพื่อที่ผลผลิตที่ได้จะเจริญเติบโตแข็งแรง และต้นสมบูรณ์อย่างเหมาะสม
–การเก็บผลผลิต หลังจากอายุประมาณ 2 เดือน ก็สามารถเริ่มเก็บผลผลิตได้ เพราะผักชีฝรั่งจะเติบโตเต็มที่แล้ว
พร้อมจำหน่ายและนำไปบริโภคได้ การเก็บควรถอนแบบดึงโคน ไม่ควรดึงจากใบ เพราะจะทำให้ตัวผลผลิตเสียหายได้
ประโยชน์และสรรพคุณของผักชีฝรั่ง
- ใบของผักชีฝรั่ง มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง และช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ลดอาการปวดหัว เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ท้องอืด ฯลฯ
- ลำต้นของผักชีฝรั่ง ช่วยลดความดันโลหิต บำรุงการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้ทำงานปกติ ช่วยบำรุงผิวพรรณ
ช่วยบำรุงเส้นผม บำรุงเล็บ ช่วยขับลม ฯลฯ
- รากของผักชีฝรั่ง ช่วยกระตุ้นการทำงานของร่างกาย ขับเหงื่อ ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ ช่วยขับปัสสาวะ
อย่างที่ทราบกัน คำว่า “ผักชีโรยหน้า” ถ้าเป็นสุภาษิตหรือคำพังเย อาจจะหมายถึง การทำงานแบบขอไปที หรือทำไปส่งๆ แต่ถ้าในทางพืชผัก ผักชีโรยหน้า คือ การตกแต่งอาหารในจานนั้นๆ ให้ดูมีสีสันที่น่าารับประทานมากขึ้น เพื่อดึงดูดหรือกระตุ้นความอยากอาหารของผู้บริโภคมากขึ้น อีกทั้งตัวผักชียังมีส่วนช่วยกลบกลิ่นอาหารบางชนิดได้ดีเลยทีเดียว
การปลูกผักชี ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่อยากจะลองปลูก เพราะสามารถปลูกเองได้ง่าย ไม่ว่าจะปลูกไว้ทานเองที่บ้าน หรือปลูกเพื่อจำหน่าย ก็สามารถทำได้ง่าย เพื่อแค่ศึกษาและทำความเข้าใจกับมัน ก็สามารถปลูกได้แล้ว อีกทั้งผักชียังมีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นผักชีฝรั่ง ไทย หรือผักชีลาว ล้วนแล้วแต่เป็นพืชชนิดเดียวกันทั้งสิ้น แต่รสชาติและการนำมาประกอบอาหารนั้นอาจจะมีขั้นตอนที่แตกต่างกันไปบ้าง นอกจากประกอบอาหารยังสามารถนำไปประกอบเป็นสมุนไพรในการบรรเทารักษาอาการโรคต่างๆ ตามแพทย์แผนไทยได้อีกทางด้วย
อย่างที่กล่าวไปบทความเรื่องการเพาะผักชีเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการนำเสนอเกี่ยวกับการเพาะผักชี ความเป็นมาของผักชีว่ามีที่มาอย่างไร เริ่มต้นอย่างที่ไหน โดยเนื้อหาสาระสำคัญกล่าวถึงผักชีโดยตรง ตั้งแต่ประวัติความเป็น การดูแลรักษา สรรพคุณ ที่สำคัญคือการเพาะปลูก ในส่วนของการเพาะปลูกนั้นจะแบ่งเป็นผักชีแต่ละประเภท แต่การดูแลและการเพาะปลูกนั้นจะคล้ายๆ กันหมด เพราะไม่ว่าจะเป็นผักชีชนิดใด การเพาะปลูกก็จะมีส่วนที่คล้ายกันอยู่แล้ว ฉะนั้นบทความข้างต้นนี้เป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลเบื้องต้น ยังไม่ลงรายละเอียดเชิงลึกถึงวิชาการมากนัก เพียงแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจจะลงมือ และเริ่มลองปลูกไว้ทานเองที่บ้านกับลงทุนเป็นธุรกิจเล็กๆ
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง: https://www.plookphak.com/how-to-plant-coriander/ https://www.thai-thaifood.com/th/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B5/ https://sites.google.com/site/pukcheanaru/who-we-are