เทคโนโลยีการเกษตร
ในอดีตนั้นภาคการเกษตรของไทยยังคงใช้แรงงานจากสัตว์ และแรงงานคน เสียเป็นส่วนใหญ่ ด้วยจากสาเหตุหลายๆ ปัจจัย ทั้งเรื่องของความรู้ ความทันสมัย และเทคโนโลยีที่ยังไม่เข้ามาสู่ในภาคการเกษตรมากนัก ทำให้ยังคงต้องพึ่งแรงงานคนและสัตว์เป็นหลักอยู่ ทำให้ขาดโอกาสในหลายๆ เรื่องที่จะส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าและพัฒนามาอย่างล่าช้า ทำให้หลายๆ คนมองอาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพที่ไม่ยั่งยืน เทคโนโลยีการเกษตร
หรือพูดง่ายๆ คือ เป็นอาชีพที่ไม่ทำให้เกิดความร่ำรวย แต่ถ้ามองมาปัจจุบันแล้วนั้นเทคโนโลยีต่างๆ เริ่มมีมากขึ้น ความทันสมัยเริ่มเข้ามามากขึ้น ทำให้หลายๆ อย่างมีการพัฒนาไปตามยุคสมัยมากยิ่งขึ้น
การใช้เทคโนโลยีในภาคเกษตรกรรม
เทคโนโลยีกับภาคการเกษตรในปัจจุบันเริ่มมีการนำเทคโนโลยีมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ตัวเกษตรกรเองก็มีกลุ่มคนรุ่นใหม่เข้ามาพัฒนาให้ภาคเกษตรของเมืองไทยและทั่วโลกเริ่มมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น มีการนำแอพลิเคชั่นต่างๆ เข้ามาใช้ในบทบาทของภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น ทำให้ลดต้นทุน ประหยัดแรงงานคน และแรงงานสัตว์ มากขึ้น ผลผลิตที่ได้ก็เริ่มมีการพัฒนาและต่อยอดไปมากขึ้น
ซึ่งปัจจุบันทั้งด้านเทคโนโลยี การตลาด ก็เข้าถึงได้ง่ายขึ้น เกษตรกรมีการพัฒนาและวิจัยผลผลิตของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น ช่องทางจำหน่ายทำได้ง่ายขึ้น ระบบขนส่งที่มีการพัฒนาเป็นอย่างมาก ทำให้มีความสะดวกสบายในการจำหน่ายได้มากขึ้น นี่คือข้อดีของเทคโนโลยีที่เข้าช่วยในเรื่องของภาคเกษตรกรรมมากขึ้นนั่นเอง
เราต้องมองก่อนด้วยว่าเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่สำคัญก็จริง แต่ก็ต้องไม่ลืมวิธีการในอดีตที่บางเรื่องยังคงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อยู่ เพราะว่าไม่ใช่ว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยในเรื่องของภาคการเกษตรได้ทุกเรื่อง แต่วิธีการดั้งเดิมก็สามารถนำมาใช้ให้เข้ากับยุคเทคโนโลยีได้อยู่เช่นกัน เพราะเทคโนโลยีก็มีข้อเสียได้เช่นกัน หลายๆ คนบอกว่าเทคโนโลยีนั้นดี
แต่วิธีการดั้งเดิมอาจจะช่วยในเรื่องของความละเอียดและตรวจดูได้ง่ายกว่าเทคโนโลยี บางครั้งซึ่งเราจะต้องมองก่อนว่าการนำเทคโนโลยีมาบวกเข้ากับวิถีดั้งเดิมของเกษตรกรก็ถือว่าเป็นเรื่องดีที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เทคโนโลยีถึงแม้จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น แต่ก็ต้องไม่ลืมรากเหง้าของเราด้วยเช่นกัน
การใช้เทคโนโลยีด้านการเกษตร ทั้งพืช และสัตว์
ถ้าตามความหมายของหลักพจนานุกรมนั้น เทคโนโลยี ก็คือ การประยุกต์ทางวิชาการช่าง หรือศาสตร์ที่เอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม ส่วนคำว่าเกษตร ก็คือ พืชผลทางการเกษตรที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการประมง สัตว์บก รวมไปถึงทางพืชพรรณต่างๆ
เมื่อเอาทั้ง 2 คำนี้มารวมกัน ก็จะหมายถึง การนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อมนุษย์ต่อภาคการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดการเกี่ยวกับพืช สัตว์บก และสัตว์น้ำ เพื่อทางการเกษตร รวมไปถึงการจัดหาและนำมาใช้ของอุปกรณ์ต่างๆ ในภาคการเกษตร การมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางด้านการเกษตร รวมไปถึงการค้นคว้าและวิจัย วางแผนจัดการ และดำเนินการในเรื่องของภาคการเกษตรทั้งหมด
ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ เพราะว่าปัจจุบันก็มีการนำเทคโนโลยีที่หลากหลายเข้ามาช่วยในภาคการเกษตรค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นการนำโซล่าเซลล์มาช่วยในเรื่องของการประหยัดไฟ ใช้ในเรื่องสูบน้ำ ใช้ในการปลูกต้นไม้ รวมไปถึงใช้ในการทุ่นแรงของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี
นวัตกรรมต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการเกษตร
ในปัจจุบันโลกได้เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ซึ่งทำให้มีเรื่องของเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในด้านงานต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริการ ด้านสาธารณสุข รวมไปถึงด้านการเกษตร ซึ่งมองว่าในอนาคตอันใกล้นี้ก็จะมีเทคโนโลยีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นมาอย่างมากมายเลยทีเดียว
ในด้านการเกษตรนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเป็นอย่างมาก เพราะว่าจะช่วยในเรื่องงานด้านการเกษตรได้อย่างมากมายเลยทีเดียว ซึ่งเทคโนโลยีด้านการเกษตรก็มีหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการใช้แอพลิเคชั่นช่วยในการดูแลสวน การอบแห้งผักและผลไม้เพื่อยืดระยะเวลาการเก็บได้นานขึ้น ฯลฯ ซึ่งก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่นำมาช่วยเกษตรกรได้เป็นอย่างดี เรามาดูกันดีกว่าว่าเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่เข้ามาช่วยให้เกษตรกรได้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นมีอะไรบ้าง
การผลิตปุ๋ยชีวภาพ ลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยให้เกษตรกร
ในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพต่างๆ นั้นย่อมเป็นเรื่องที่ดีสำหรับเกษตรกรเป็นอย่างมากเลยทีเดียว เพราะนอกจากจะช่วยในเรื่องของการประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ย ยังเป็นการช่วยลดปัญหาการทำลายสภาพแวดล้อมของขยะที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นในทุกวันได้อีกด้วย
โดยการทำน้ำหมักชีวภาพหรือปุ๋ยชีวภาพนั้นก็มีหลากหลายสูตรที่นิยมทำกันขึ้นมา ซึ่งปุ๋ยนั้นจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ที่จะเข้ามาช่วยในเรื่องของการสร้างธาตุอาหารให้กับพืชผักของเกษตรกร หรืออาจจะช่วยให้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น นอกจากนี้ตัวปุ๋ยชีวภาพนั้นก็มีอยู่หลากหลายชนิดที่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษพืช ผัก ผลไม้ ปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษปลา ฯลฯ
ซึ่งข้อดีของปุ๋ยชีวภาพนั้น คือ จะช่วยให้ดินมีสภาพความเป็นกรด-ด่าง ลดลง และทำให้ดินมีความเป็นกลางมากขึ้น สภาพดินดีขึ้น ช่วยให้พืชผัก ผลไม้ สามารถดูดซึมธาตุอาหารได้อย่างเต็มที่นั่นเอง จึงถือว่าเป็นเทคโนโลยีอีกชนิดหนึ่งที่เริ่มมีการคิดค้นขึ้นมาในยุคปัจจุบัน
การปลูกพืชโดยใช้มุ้งลวดตาข่าย
ต่อมาก็เป็นการปลูกพืชผักที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก และทำการปลูกได้ในพื้นที่ที่จำกัด ซึ่งก็คือ การปลูกพืชในมุ้งตาข่าย หรือมุ้งลวดขนาดเล็ก ซึ่งนวัตกรรมนี้ถือเป็นเรื่องดีสำหรับเกษตรกรเป็นอย่างมาก เพราะว่าจะช่วยป้องกันในเรื่องของแมลงศัตรูพืชสำหรับผักและผลไม้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งการนำมุ้งตาข่ายหรือลวดมาใช้นั้นจะต้องดูมาตรฐานของตัวมุ้ง และความถี่ของตัวมุ้งด้วย เพราะว่าจะได้สามารถป้องกันแมลงขนาดเล็กได้เป็นอย่างดี
แต่ก็มีข้อเสียที่อาจจะทำให้เกษตรกรหลายคนไม่ค่อยนิยมนำมาใช้มากนัก ก็คือ การที่ใช้มุ้งตาข่ายนั้นเมื่อมีแมลงหรือศัตรูพืชหลุดลอดเข้าไปได้เมื่อไหร่อาจจะสร้างความเสียหายให้กับพืชหรือผลไม้ชนิดนั้นได้อย่างมากเลยทีเดียว เนื่องจากว่าพอแมลงศัตรูพืชหรือผลไม้จะเกิดการขยายพันธุ์ในแปลงพืชได้อย่างรวดเร็วกว่าประเภทแบบเปิดโล่ง จึงทำให้ผลผลิตที่ได้เกิดความเสียหา และอาจจะขาดทุนได้ เกษตรกรส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยนิยมใช้
แต่ก็ยังมีคนนำมาใช้อยู่บ้างในการปลูกผลไม้ ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีอีกชนิดหนึ่งที่เริ่มมีการนำมาใช้ในบ้านเราเพิ่มขึ้น ซึ่งก็เป็นการริเริ่มจากในต่างประเทศ และเข้ามาใช้ในประเทศไทยมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีหลังมานี้
การใช้รถแทรกเตอร์ช่วยในเรื่องการไถนาสำหรับเกษตรกรที่ปลูกข้าว
การปลูกข้าวถือเป็นเรื่องปกติในประเทศไทยที่มีแทบทุกทั่วภูมิภาค ทั้งการปลูกแบบข้าวนาปี และการปลูกแบบข้าวนาปรัง ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ ซึ่งถ้าเป็นอดีตนั้นอาจจะใช้ควายที่เป็นสัตว์เลี้ยงประจำคันนา หรือประจำบ้าน ไว้คอยช่วยในเรื่องของการไถดินในที่นาของตนเองเป็นหลัก
ซึ่งอาจจะใช้เวลาหลายวัน หรือเป็นสัปดาห์ ในการไถแต่ละครั้ง แต่ใครมีที่ดินหลายแปลง แต่ปัจจุบันเรื่องของความก้าวหน้าและเทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทในภาคการเกษตรมากขึ้น จึงทำให้มีการคิดค้นและประดิษฐ์เครื่องมือที่ช่วยในเรื่องของการไถนาขึ้นมา
รถแทรกเตอร์ถือเป็นเครื่องมือที่นำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในภาคการเกษตรได้สักระยะแล้ว แต่เนื่องจากรถแทรกเตอร์นั้นมีขนาดใหญ่ และบางรุ่นมีราคาที่ค่อนข้างสูง ทำให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวหรือต้องการใช้นั้นอาจจะสู้ราคาไม่ไหว แ
ต่ในปัจจุบันรถแทรกเตอร์เริ่มมีการปรับราคา และให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น ทำให้มีเกษตรกรหลายคนเริ่มหันมาใช้รถแทรกเตอร์ในการช่วยไถคันดินกันมากขึ้น ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้เกษตรกรนั้นประหยัดทั้งเวลาและกำลังแรงที่ไม่ต้องใช้แรงมาก อีกทั้งยังลดระยะเวลาทำให้มีเวลาไปทำเรื่องอื่นๆ ได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์พืชเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความสมดุลของการปลูกพืช
เกษตรกรหลายคนยังคงมีความเชื่อที่ว่าการใช้กำลังคนในการหยอดเมล็ดพันธุ์พืชนั้นเป็นเรื่องที่ไม่เปลืองแรงและยังได้ความแม่นยำ แต่ในความเป็นจริงนั้นนอกจากจะเสียเวลาแล้ว ยังอาจจะทำให้เมล็ดพันธุ์ที่หยอดลงไปนั้นมีความไม่เสมอกันก็ได้ เพราะการกะระยะด้วยสายตานั้นอาจจะไม่ได้แม่นยำเสมอไป ซึ่งก็เป็นอีก 1 ข้อเสียที่ยังคงทำให้เกษตรกรไม่ค่อยหันมาใช้เทคโนโลยีมากนัก
แต่ช่วงระยะเวลาหลังๆ ที่ผ่านมานั้น ยุคเทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทในภาคการเกษตรมากขึ้น ทำให้หลายๆ คนเริ่มหันมาทำเกษตรแนวใหม่ เกษตรกรยุคใหม่ก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้น ซึ่งมีการเสนอแนวทางเลือกในการลดระยะเวลา และเพิ่มผลผลิตขึ้นมา ซึ่งก็มีเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ที่ไว้ใช้สำหรับพืชพันธุ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าว หรือพืชผักชนิดอื่นๆ ก็สามารถที่จะใช้เครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์นี้ได้
ซึ่งตัวเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์นี้ถือได้ว่าเป็นตัวช่วยให้กับเกษตรกรในช่วงที่กำลังจะเริ่มหยอดเมล็ดหรือหว่านข้าวได้เป็นอย่างดี และยังทำให้ความเสมอกันของตัวเมล็ดนั้นแน่นอนอีกด้วย รวมไปถึงช่วยให้เกษตรกรประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น ทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น และยังเป็นการใช้เมล็ดพันธุ์ได้อย่างคุ้มค่าแบบไม่เสียเปล่าเลยทีเดียว
เครื่องรีดน้ำนมวัวช่วยทุ่นแรง และลดระยะเวลาในการให้ผลผลิตกับเกษตรกรโคนม
นมวัวในปัจจุบันนั้นมีผลผลิตที่ออกมาเป็นจำนวนมาก และมีหลากหลายยี่ห้อตามท้องตลาดทั่วไป ซึ่งก็มีการแปรรูปจากน้ำนมดิบเป็นนมพาสเจอร์ไรส์ หรืออาจะแปรรูปเป็นน้ำสดแท้ก็ได้เช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันนั้นมีการรีดนมวัวด้วยวิธีแบบเรียบง่าย ไม่เปลืองงบประมาณ คือ การรีดน้ำนมวัวโดยใช้แรงงานคน
ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้อาจจะทำให้ค่อนข้างใช้เวลาในการรีดที่ช้าและนาน อีกทั้งการจะรีดนมวัวในแต่ละคนจะต้องคำนึงถึงความสะอาดเป็นหลัก และควรคำนึงถึงตัวแม่วัวเองด้วย โดยการรีดนมต่อวันนั้นอาจจะรีดประมาณ 2-3 ครั้งต่อวัน และในการรีดแต่ละครั้งก็ควรจะห่างกันประมาณ 12 ชั่วโมง และที่สำคัญในการรีดนมนั้นควรรีดเป็นเวลาจะดีที่สุด
แต่ในปัจจุบันเกษตรกรหลายคนที่เป็นฟาร์มนมขนาดใหญ่เริ่มลดการใช้แรงงานคนในการรีดน้ำนมโค แต่หันมาใช้เครื่องช่วยรีดนมวัวแทนกันมากขึ้น ซึ่งข้อดีของการใช้เครื่องมือในการรีดนมวัวนั้นจะช่วยในเรื่องของการประหยัดเวลา และช่วยให้ได้ผลผลิตที่เร็วมากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีคนที่ทำหน้าที่ดูแลและคอยควบคุมระบบการทำงานของเครื่องอยู่ตลอด และที่สำคัญคนดูแลก็จะต้องรักษาความสะอาด และสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เกิดเชื้อโรคภายในโรงเลี้ยงวัวนมได้
ในการรีดนมวัวในแต่ละครั้งโดยใช้เครื่องนั้นเราจะต้องฆ่าเชื้อโรคบริเวณนมแม่วัวก่อนโดยควรใช้คลอรีนที่มีความเจือจางมากที่สุดเพื่อไม่ให้กระทบต่อคุณภาพของนม และต้องทำความสะอาดแม่วัวให้สะอาดก่อนจะเริ่มรีดนมวัว อีกทั้งการใช้เครื่องรีดนั้นจะต้องเปลี่ยนไส้กรองทุกครั้งเพื่อเป็นการป้องกันเชื้อโรค และต้องตรวจดูคุณภาพของเครื่องรีดนมด้วยว่าอุปกรณ์ต่างๆ ติดตั้ง และมีความพร้อมใช้งานตลอดเวลาหรือไม่
ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีทางด้านการเกษตรประเภทโคนมที่ช่วยในเรื่องของการประหยัดเวลา และเก็บผลผลิตได้ค่อนข้างรวดเร็วเลยทีเดียว แต่ข้อเสีย คือ การดูแลหรือซ่อมบำรุงในแต่ละครั้งสำหรับเครื่องรีดนมวัวนั้น อาจจะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง จึงถือเป็นเรื่องที่เกษตรกรโคนมยังมีความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายอยู่บ้าง
สปริงเกลอร์ตัวช่วยในการประหยัดเวลาในการลดน้ำให้เกษตรกร
ถือว่าเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมเทคโนโลยีทางด้านการเกษตรเลยก็ว่าได้ สปริงเกลอร์ คือ ระบบการรดน้ำแบบหนึ่งที่มีการบีบอัดฉีดน้ำเข้าไปในตัวสปริงเกลอร์ และทำให้เกิดน้ำแตกเป็นสายและหมุนเหวี่ยงไปรอบๆ บริเวณพื้นที่ปลูกต้นไม้ หรือพืชผัก อีกทั้งยังเป็นการฉีดน้ำที่ช่วยในการลดอุณหภูมิของพื้นที่ให้มีความเย็นลง หรือจะเป็นการทำระบบสปริงเกลอร์ทำเองไว้ใช้ในการลดอุณหภูมิหลังจากในช่วงที่บริเวณฤดูร้อน เพื่อเป็นการลดอุณหภูมิได้อีกทางหนึ่ง
ซึ่งในอดีตนั้นการรดน้ำอาจจะยังไม่ได้มีการนำสปริงเกลอร์หรือระบบช่วยรดน้ำมาใช้งานกันมากนัก เนื่องจากยังไม่เป็นที่รู้จัก และมีราคาสูง ทำให้การใช้สปริงเกลอร์ในแต่ละครั้งของเกษตรกรนั้นถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบากนิดหน่อยในอดีต
แต่ปัจจุบันนั้นการใช้สปริงเกลอร์ช่วยในเรื่องของการรดน้ำในภาคการเกษตรนั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเกษตรกรหลายคนเริ่มหันมาใช้สปริงเกลอร์กันมากขึ้น เนื่องจากมีราคาที่ไม่สูงเท่าแต่ก่อน อีกทั้งในเรื่องของการติดตั้งก็สามารถทำได้เองอีกด้วย จึงไม่แปลกเลยว่าปัจจุบันเกษตรกรหลายคนหันมาใช้ระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์กันมากขึ้น
ถึงแม้ว่าการติดตั้งระบบน้ำแบบใช้สปริงเกลอร์นั้นอาจจะมีค่าติดตั้งที่สูงถ้าในแปลงเกษตรขนาดใหญ่ แต่เกษตรกรหลายคนก็บอกว่าคุ้มค่าแก่การลงทุน เพราะช่วยในเรื่องของการลดแรงงานในการรดน้ำในสวน อีกทั้งยังช่วยประหยัดน้ำมากกว่าการใช้สายยางอย่างเดียวอีกด้วย ทำให้การรดน้ำทำได้เร็วและประหยัดเวลาด้วย
เครื่องจักรช่วยในการเก็บเกี่ยวผลผลิต ช่วยให้เกษตรกรมีเวลาทำงานเพิ่มขึ้น
เราลองมองย้อนไปเมื่อสมัยเทคโนโลยียังไม่เริ่มเป็นที่นิยมในภาคการเกษตร เกษตรกรหลายคนอาศัยแรงงานคนในการช่วยเก็บเกี่ยวผลผลิต ไม่ว่าจะเป็นผลผลิต อย่างเช่น ปาล์ม หรือ ข้าว ฯลฯ ที่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยวผลผลิตมากกว่า ซึ่งในตอนนั้นนอกจากจะทำให้เสียเวลาแล้ว บางครั้งก็เกี่ยวผลผลิตไม่ทันตามต้องการด้วย
ต่อมาในช่วงปัจจุบันที่เทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น รวมไปถึงภาคเกษตร ก็มีการพัฒนานำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากยิ่งขึ้น หนึ่งในนั้นคือเครื่องจักรกลเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เอามาช่วยทุ่นแรงให้กับแรงงานคนในภาคการเกษตรได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้นั้นมีปริมาณที่เพิ่มขึ้น และช่วยให้ทำงานได้สะดวกมากขึ้น ประหยัดเวลาในการเก็บเกี่ยวได้
ทำให้ปัจจุบันเกษตรกรจึงเริ่มหันมาใช้เครื่องเก็บเกี่ยวผลผลิตกันมากขึ้น ซึ่งเครื่องจักรเก็บเกี่ยวผลผลิตนั้นก็มีการผลิตออกมามากมายหลายรูปแบบ ทั้งคุณสมบัติที่มีความแตกต่างกันออกไป ตามการออกแบบคิดค้นของผู้ประดิษฐ์ขึ้นมา เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรทุกคนนั่นเอง อีกทั้งเครื่องมือเก็บเกี่ยวผลผลิตเองก็มีหลากหลายราคา ตั้งราคาถูกไปจนถึงหลักล้าน
อีกทั้งเทคโนโลยีเครื่องจักรสำหรับเก็บเกี่ยวนั้นได้มีการพัฒนาและวิวัฒนาการศักยภาพมาอย่างต่อเนื่องตามปัจจัยรูปแบบที่เปลี่ยนไปของสภาพดินฟ้าอากาศ และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้เครื่องมือชนิดนี้เกิดการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรอยู่เสมอ
การใช้แอพลิเคชั่นเข้ามาช่วยในการควบคุมระบบการทำงานต่างๆ ภายในภาคการเกษตร
ในยุคเทคโนโลยี 4.0 การมีบทบาทของเทคโนโลยีเริ่มเข้ามามากขึ้น ทำให้มีการพัฒนาระบบการทำงานต่างๆ เข้ามาอย่างมากมาย ซึ่ง 1 ในนั้น ก็คือ แอพลิเคชั่นในภาคการเกษตร ซึ่งปัจจุบันก็เริ่มมีการทดลองนำมาใช้กันบ้างแล้วแต่ยังไม่มากนัก ซึ่งเราจะเรียกว่า เกษตรอัจฉริยะ เป็นการสะท้อนบทบาทว่าการเกษตรจะไม่ใช่แค่เพียงใช้กำลังคนเพียงอย่างเดียว แต่จะเพิ่มเอาเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยเข้าไปผสมกับภาคการเกษตรมากขึ้น
ซึ่งถือเป็นเรื่องของอนาคตอันใกล้นี้ที่เกษตรกรจะได้มีการใช้แอพลิเคชั่นที่จะเข้ามาช่วยควบคุมดูแลเรื่องระบบการทำงานต่างๆ ภายในสวน ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมระบบน้ำ การควบคุมระบบความชื้นต่างๆ ภายในสวน การควบคุมและวิเคราะห์สภาพน้ำและดิน การให้ปุ๋ยและสารเคมีสำหรับกำจัดศัตรูพืช ฯลฯ ซึ่งถือเป็นระบบที่น่าสนใจมากถ้าเริ่มมีการพัฒนาและนำมาใช้ในภาคการเกษตร ซึ่งนอกจากจะใช้ในการควบคุมการทำงานต่างๆ ภายในสวนแล้ว ยังมีส่วนในการจัดการส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการตลาด การควบคุมผลผลิต การจัดการด้านโลจิสติก การบันทึกผลแต่ละครั้งในการเก็บเกี่ยว ฯลฯ
การใช้โซล่าเซลล์ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ
เนื่องจากว่าเทคโนโลยีเริ่มเข้ามามากขึ้น ทำให้เกิดการใช้พลังงานมากขึ้นตามมาไปด้วย แต่ในพื้นที่ที่ความเจริญยังเข้าไม่ถึงมากนัก และไฟฟ้าที่เป็นพลังงานในการดำเนินชีวิตก็อาจจะมีไม่เพียงพอ หรือเข้าถึงได้ยาก ทำให้เกิดการนำโซล่าเซลล์เข้ามาใช้มากขึ้น อย่างเช่น พื้นที่ที่มีความห่างไกลจากชุมชนเมือง หรือพื้นที่บริเวณท้องนาที่ห่างไกลจากแหล่งชุมชนเมือง ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไฟฟ้านั้นไม่สามารถที่เข้าถึงได้
จึงถือได้ว่าโซล่าเซลล์ก็เข้ามาตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีเลย โดยการติดตั้งโซล่าเซลล์นั้นในพื้นที่ห่างไกลอาจจะยากเสียหน่อย อาจจะมีการติดตั้งพลังงานไฟฟ้าโซล่าเซลล์แบบ Grid Interactive หรือแบบโซล่าโฮมขึ้นมาแทน ซึ่งตัวโซล่าโฮมนี้จะมีลักษณะเดียวกับโซล่าเซลล์ แต่มีขนาดที่สามารถติดตั้งได้ง่ายกว่า เป็นระบบที่ใช้เพื่อการจ่ายไฟฟ้าชนิดต่างๆ ภายในที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก ไม่ว่าจะเป็นบริเวณเพิงพักแถวท้องนา หรืออาจจะมีบ้านพักเล็กๆ แถวท้องนา ที่ตั้งอยู่ห่างไกลระบบไฟฟ้าหลัก
ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่จะอำนวยความสะดวกเรื่องไฟฟ้าได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ทั้งยังมีขนาดที่เล็กกว่าระบบโซล่าเซลล์ทั่วไป รวมถึงราคาที่เกษตรกร หรือผู้ที่สนใจ แต่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลกระแสไฟฟ้าหลัก ก็สามารถเข้าถึงได้ง่าย เพราะราคาที่ไม่แพงจนเกินไปนั่นเอง โดยอาจจะแบ่งตามการใช้งานของไฟฟ้าแต่ละชนิดได้ด้วย นอกจากนี้เรื่องอายุการใช้งานนั้นก็สามารถเทียบเท่าได้กับระบบโซล่าเซลล์แบบทั่วไปได้เลยทีเดียว โดยอายุการใช้งานนั้นสามารถมีอายุการใช้งานได้ถึง 30 ปี เลยทีเดียว
อีกทั้งเรื่องของการรับประกันระบบและการใช้งานก็จะขึ้นอยู่กับตัวแทนจำหน่ายว่าผลิตภัณฑ์โซล่าเซลล์นั้นได้ทำการตกลงกับบริษัทไว้อย่างไร แต่โดยหลักการประกันสินค้าประเภทนี้แล้ว ตามหลักทั่วไปจะมีการประกันอยู่ที่ 1 ปี เป็นอย่างต่ำ ซึ่งเกษตรกรสามารถมั่นใจได้ว่าหากเกิดปัญหาในการใช้งานก็สามารถใช้งานประกันได้ทันที ถือว่าเป็นระบบที่ช่วยให้เกษตรกรที่ต้องการพักผ่อนในพื้นที่อย่างท้องนา หรือแปลงเกษตรที่ห่างไกลไฟฟ้าหลักได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีไฟฟ้าใช้ เพราะเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทด้านการเกษตรมากขึ้นแล้วนั่นเอง
ประโยชน์ของเทคโนโลยีด้านการเกษตร
จากการเกษตรในอดีตจวบจนปัจจุบันยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาอย่างแพร่หลาย จนปัจจุบันเทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทในหลายๆ ด้าน รวมถึงด้านการเกษตรด้วย ซึ่งในภาคการเกษตรนั้นที่เราจะเห็นได้เลย ก็คือ เครื่องมือที่ช่วยทุ่นแรง และประหยัดเวลาให้เกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นรถเกี่ยวข้าว รถเก็บผลผลิต รถหยอดเมล็ดพันธุ์ต่างๆ ซึ่งก็ถือเป็นเทคโนโลยีที่ภาคการเกษตรเริ่มนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเลยทีเดียว
อีกทั้งในอนาคตอันใกล้นี้การใช้สมาร์ทโฟนหรือแอพลิเคชั่นเข้ามาช่วยดูแลก็กำลังเป็นที่น่าจับตามองเลยทีเดียวว่าถ้าเกิดสามารถทำขึ้นมาได้เป็นผลสำเร็จจะเป็นผลพลอยได้ให้กับเกษตรกรได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
ทั้งหมดนี้เป็นการพูดถึงการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยในภาคการเกษตร ซึ่งบางอย่างก็มีการนำมาใช้ในภาคการเกษตรให้เห็นอย่างชินตาแล้ว แต่บางอย่างก็อาจจะมีเกษตรกรนำมาใช้ไม่มาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการใช้เทคโนโลยีบางประเภทก็ต้องดูเกษตรกรที่ใช้ด้วยว่ามีกำลังทรัพย์มากพอหรือไม่ หรือพร้อมแล้วรึยัง
ซึ่งบทความนี้ก็เป็นการสะท้อนได้เป็นอย่างดีว่าถ้าเกษตรกรเริ่มหันมาใช้เทคโนโลยีประเภทต่างๆ ในการช่วยงานด้านการเกษตร ก็จะช่วยให้ลดแรงงานคน ประหยัดเวลา เอาเวลาไปทำอะไรได้มากมายเลยทีเดียว ซึ่งก็อาจจะเป็นอีกทางเลือกให้เกษตรกรเริ่มหันมาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ประยุกต์กับการเกษตรแบบเก่าได้นั่นเอง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://komchadluek.net/news/lifestyle/356700,http://thai.pellet-making-machine.com/fish-feed-machinery/feed-material-mixing/feed-mixing-machine.html,http://cow-cows.blogspot.com/2009/08/milking-management.html,https://sites.google.com/site/machinary99/agricultural-machinery/-harvesting-equipment,http://www.rscience.go.th/เทคโนโลยีเกษตร/