แมลงศัตรูพืช +หนอน+เพลี้ย+หอยทาก เจาะลึกอย่างละเอียด & วิธีการป้องกันรักษา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แมลงศัตรูพืช นั้นนับว่าเป็นเรื่องที่น่ารำคาญเป็นอย่างมากสำหรับเกษตรทั่วโลก เพราะว่าต่อให้ใช้วิธีการกำจัดที่หลากหลาย รวมถึงการใช้สารเคมีเข้ามาช่วยแล้ว ก็ยังไม่สามารถที่จะกำจัดแมลงศัตรูพืชได้หมดหรือหายไปเสียที ซึ่งทั่วโลกนั้นถือว่าแมลงศัตรูพืชนั้นคอยสร้างความเสียหายให้กับภาคการเกษตรมาเป็นระยะเวลานาน แต่เราจะมาดูกันว่าแมลงศัตรูพืชในเมืองไทยนั้นมีแมลงอะไรบ้างที่คอยทำลายผลผลิตทางการเกษตรให้เสียหาย

แมลงศัตรูพืชถือได้ว่าเป็นตัวทำลายพืชผักสวนครัวของเกษตรกรเป็นอย่างมาก เพราะว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่แมลงศัตรูพืชนั้นเริ่มเข้ามาในสวนของเกษตรกร การทำลายนั้นก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และเร็วขึ้นเมื่อมีจำนวนมาก ซึ่งตรงนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกษตรกรหลายท่านต้องพบเจอเป็นอย่างมาก

ซึ่งการป้องกันส่วนใหญ่แล้วอาจจะใช้วิธีการทางเคมี โดยนำยาฆ่าแมลงมาพ่นที่ผักหรือผลไม้ ซึ่งเป็นวิธีที่เห็นผลได้เร็ว แต่ก็มีข้อเสียได้เช่นกัน หรือบางคนอาจจะใช้วิธีทางธรรมชาติที่อาจจะไม่เห็นผลทันที แต่ก็นับว่าปลอดภัย เอาเป็นว่าแมลงศัตรูพืชที่กวนใจเกษตรกรนั้นมีมากมายหลายชนิดในเมืองไทยเลยก็ว่าได้ ซึ่งจะยกตัวอย่างแมลงศัตรูพืชมาประมาณ 10-15 ชนิด ในเมืองไทย ที่เกษตรกรมักจะพบเจอได้บ่อยครั้งในการทำการเกษตร

1.แมลงศัตรูพืช ที่สร้างความเสียหายให้กับพิชพันธุ์
1.แมลงศัตรูพืช ที่สร้างความเสียหายให้กับพิชพันธุ์

ปัญหาและอุปสรรคในแปลงผักและผลไม้

แมลงศัตรูพืชยังถือได้ว่าเป็นปัญหาที่ค่อนข้างใหญ่สำหรับตัวเกษตรกรเลยทีเดียว เพราะว่าเป็นเรื่องที่สร้างความหนักใจให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก เมื่อแมลงศัตรูพืชลงมาทำลายพืชสวนไร่นาแต่ละครั้งก็ทำให้เกิดการสูญเสีย เกษตรกรเองก็ต้องสร้างวิธีป้องกันต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อยาฆ่าแมลงเพื่อมากำจัดพวกแมลงศัตรูพืชต่างๆ ให้หมดไปจากไร่

หรือจะใช้วิธีการทางธรรมชาติโดยใช้น้ำหมักชีวภาพมาเป็นตัวช่วยก็ได้ ซึ่งแต่ละวิธีนั้นก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งวิธีป้องกันนั้นอาจจะเป็นการบรรเทาเพื่อป้องกันได้ชั่วคราว แต่ก็ถือว่ายังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ซึ่งเกษตรกรเองก็ต้องมีวิธีการปรับเปลี่ยนเพื่อเป็นการรับมือกับแมลงศัตรูพืชด้วยเช่นกัน

แมลงศัตรูพืช คือ สัตว์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำลายระบบนิเวศน์ในสวนผักและผลไม้ในภาคการเกษตรของไทย ซึ่งส่งผลกระทบให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก นับว่าสร้างความเสียหายได้อย่างมากเลยทีเดียว ซึ่งแมลงศัตรูพืชนั้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสัตว์ที่มีลำตัวเป็นปล้อง จัดอยู่ในชั้น Insecta ซึ่งประกอบด้วยสัตว์ประมาณ 26 ชนิด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ซึ่งสัตว์เหล่านี้จะสร้างความเสียหายแก่พืชเพาะปลูก ซึ่งแมลงนั้นจะเป็นสัตว์ที่ไม่กระดูกสันหลัง โดยลำตัวนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ซึ่งในส่วนของอกนั้นจะมีอีก 3 ปล้อง ซึ่งในแต่ละปล้องนั้นมีขาด้วยกัน 1 คู่ ส่วนที่ท้องนั้นก็จะมีประมาณ 8-11 ปล้อง โดยแมลงนั้นจะมีผนังหุ้มลำตัวที่ค่อนข้างแข็ง จึงทำให้การเติบโตของแมลงนั้นต้องอาศัยการลอกคราบเป็นหลัก

ซึ่งถือว่าการเพาะปลูกในระบบเกษตรอาจจะมีปัญหาตามมาได้เมื่อมีการพบแมลงศัตรูพืชระบาด จึงจำเป็นที่เกษตรกรนั้นจะต้องหมั่นสำรวจและสังเกตการเปลี่ยนแปลงของประชากรศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติว่าอยู่ในภาวะสมดุลหรือไม่ ซึ่งในระบบนิเวศการเกษตรที่สมดุลจะมีทั้งแมลงศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติอยู่ จากนั้นเกษตรกรจะต้องประเมินว่าระบบนิเวศฟาร์มยังคงมีสมดุลของประชากรศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติอยู่หรือไม่ ในกรณีที่ระบบนิเวศยังสมดุล เกษตรกรไม่ควรดำเนินการใดๆ ทั้งนี้เพราะความพยายามกำจัดศัตรูพืชในขณะที่นิเวศการเกษตรมีความสมดุลอยู่แล้วอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสมดุลได้

การจำแนกแมลงศัตรูพืช

ในภาคการเกษตรนั้น แมลงศัตรูพืชต่างก็มีหลากหลายชนิด หลากหลายแบบ ตามลักษณะของพืชแต่ละชนิดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแมลงศัตรูพืชแต่ละชนิดนั้นก็จะค่อยกัดกินและทำลายพันธุ์พืชแต่ละชนิดให้สูญเสียผลผลิตและรายได้ให้กับเกษตรกร ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าการที่แมลงศัตรูกัดกินพืชผักหรือผลไม้จะดี แต่การที่แมลงศัตรูพืชกัดกินบ้างนั้นก็แสดงว่าพืชหรือผลไม้ชนิดนั้นไม่ได้ผ่านการใช้ยาฆ่าแมลงมากนัก

เรามาดูกันดีกว่าว่าการจำแนกแมลงศัตรูพืชออกเป็นแต่ละชนิดได้กี่แบบ และมีประเภทไหนบ้าง

แมลงประเภทกัดกินใบ

เช่น หนอนผีเสื้อ ตั๊กแตน ด้วงปีกแข็ง ซึ่งแมลงพวกนี้จะมีปากที่คอยกัดกินโดยจะสามารถกัดกินใบได้ทั้งหมดเลยทีเดียว หรืออาจจะกัดกินเฉพาะส่วนของใบแล้วเหลือแต่เส้นใบไว้ จึงทำให้พืชนั้นเกิดการขาดส่วนที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง หรือขาดแหล่งสะสมอาหารได้ หรืออาจจะขาดยอดอ่อนสำหรับการเจริญเติบโตได้เช่นกัน

แมลงจำพวกดูดกินน้ำเลี้ยง

เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจั๊กจัน ซึ่งแมลงพวกนี้จะมีปากแบบดูด โดยจะสามารถแทงหรือดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ยอดอ่อน กิ่ง ลำต้น ดอก รวมไปถึงผลได้ ซึ่งจะทำให้ส่วนต่างๆ ของพืชนั้นเกิดมีรอยไหม้จากการดูดกินน้ำเลี้ยง ใบจะม้วนเหี่ยว และไม่เจริญเติบโต หรือจะแคระแกร็น นอกจากนี้แมลงพวกนี้ยังเป็นสาเหตุสำคัญของการถ่ายทอดและแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้อีกด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แมลงประเภทหนอนชอนใบ 

เช่น หนอนผีเสื้อ หนอนแมลงวันบางชนิด ซึ่งแมลงพวกนี้ส่วนใหญ่แล้วจะมีขนาดที่ค่อนข้างเล็ก คอยกัดกินเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างผิวใบของพืช ทำให้พืชขาดส่วนที่ช่วยในการสังเคราะห์แสงไป หรืออาจจะทำให้ขาดส่วนที่ใช้ในการสะสมอาหารได้

แมลงประเภทหนอนเจาะลำต้น

เช่น หนอนด้วง หนอนผีเสื้อ และปลวก แมลงพวกนี้ส่วนใหญ่แล้วจะชอบวางไข่ไว้ตามใบ หรือตามเปลือกไม้ เมื่อไข่ฟักออกก็จะกลายเป็นตัวหนอน ก็จะชอนไชเข้าไปอยู่ในกิ่งลำต้น หรือตามผล ทำให้ต้นพืชขาดน้ำและอาหารจนเกิดอาการแห้งตายในที่สุด หรืออาจจะมีส่วนทำให้ผลหรือลำต้นนั้นสามารถเน่าตายได้ ผลอาจจะร่วงหล่นจากต้นทำให้เกิดความเสียหายได้

แมลงประเภทกัดกินราก

เช่น ด้วงดีด จิ้งหรีด แมลงกระชอน ด้วงดิน ด้วงงวง ซึ่งแมลงพวกนี้ส่วนใหญ่แล้วจะมีลักษณะของปากที่ใช้แบบกัดกิน ส่วนใหญ่มักจะอาศัยหรือวางไข่ตามพื้นดินเป็นหลัก ซึ่งเมื่อตัวอ่อนเริ่มเติบโตจนเป็นตัวเต็มวัย ก็จะเข้าไปทำลายระบบรากของพืชให้เกิดความเสียหายได้ ซึ่งจะทำให้พืชยืนต้นนั้นเกิดอาการแห้งตายได้ เพราะว่าขาดน้ำและสารอาหารที่ใช้ในการเจริญเติบโต

แมลงประเภทที่ทำให้เกิดเป็นปุ่มปม

เช่น ต่อ แตน เพลี้ย ซึ่งแมลงพวกนี้เมื่อกินหรือมีการดูดน้ำเลี้ยงหรือวางไข่บนพืชแล้ว มักจะปลดปล่อยสารบางชนิดลงบนพืช ซึ่งเมื่อปลดปล่อยสารดังกล่าวแล้วจะทำให้เกิดอาการปมผิดปกติบนส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ใบ ดอก ยอดอ่อน ราก และลำต้น ซึ่งจะทำให้พืชเกิดความเสียหายได้เป็นอย่างมาก

แมลงศัตรูพืชตามธรรมชาติ

คือ แมลงที่เป็นประโยชน์ และมีบทบาทในการควบคุมแมลงศัตรูพืช โดยใช้วิธีชีววิธี และเป็นปัจจัยทางชีวภาพที่ช่วยในเรื่องของการควบคุมปริมาณของแมลงศัตรูพืชให้อยู่ในสภาพที่มีความสมดุลมากที่สุด ตามสมดุลของธรรมชาติ ซึ่งแมลงศัตรูธรรมชาติในที่นี้ คือ แมลงห้ำ และแมลงเบียน เป็นต้น

2.เพลี้ยแป้งกำจัดด้วยวิธีการทางธรรมชาติป้องกันการระบาดในระยะยาว
2.เพลี้ยแป้งกำจัดด้วยวิธีการทางธรรมชาติป้องกันการระบาดในระยะยาว

การป้องกันและกำจัด แมลงศัตรูพืช ในแปลงผักและผลไม้

เมื่อเรารู้ลักษณะและประเภทของแมลงศัตรูพืชไปแล้ว เราจะมายกตัวอย่างแมลงศัตรูพืชที่ชอบทำลายพืชผลทางการเกษตรของไทยกันดีกว่าว่าในเมืองไทยนั้นมักจะพบแมลงศัตรูพืชประเภทไหนบ้าง โดยเราจะยกตัวอย่างมาประมาณ 10-15 ชนิด รวมไปถึงวิธีป้องกันด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แมลงศัตรูพืช คือ สัตว์ที่สร้างความเสียหายให้กับภาคการเกษตรของเกษตรกรเป็นอย่างมาก ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ต่างก็คิดหาวิธีกำจัดและป้องกันเพื่อไม่ให้ศัตรูพืชนั้นเข้ามาทำลายผลผลิตภายในสวนและไร่ของตนเอง ซึ่งแมลงศัตรูพืชในประเทศไทยนั้นนับว่ามีอยู่หลากหลายชนิดที่มักจะพบได้บ่อยในภาคการเกษตร แต่ก็จะพบเป็นช่วงๆ ของการทำการเกษตรในแต่ละช่วงฤดู เรามาดูกันดีกว่าว่าแมลงศัตรูพืชที่มักพบในไทยนั้นมีอะไรบ้าง เราจะยกตัวอย่างมาให้ได้ทำความรู้จักกัน

เพลี้ยแป้ง แมลงกินใบที่ทำให้ใบม้วนงอ

เพลี้ยแป้งนั้นจัดว่าเป็นแมลงประเภทปากดูด จะมีลำตัวขนาดเล็ก และเป็นสีขาว ส่วนมากจะอยู่เกาะกลุ่มกัน ทำให้สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย ซึ้งเพลี้ยแป้งนั้นจะมีการระบาดมากในช่วงฤดูร้อน ซึ่งจะมีมดเป็นตัวช่วยในการแพร่กระจายพาไปยังจุดต่างๆ ของพืช โดยเพลี้ยแป้งนั้นจะดูดกินน้ำเลี้ยงตรงยอดอ่อนของพืชเป็นหลัก และทำให้เกิดจุดด่างดำที่ใบ ยอดหงิกงอ เมื่อพืชขาดน้ำเลี้ยงมากๆ ก็จะทำให้ต้นไม้นั้นหยุดการเจริญเติบโตและตายในที่สุด

วิธีการป้องกัน

วิธีการป้องกันเพลี้ยแป้งนั้นส่วนใหญ่แล้วอาจจะใช้วิธีการใช้ศัตรูพืชทางธรรมชาติมาช่วย เช่น นำแมลงห้ำ พวกด้วงเต่าลาย แมลงปอ มากินตัวเพลี้ยแป้งก็ได้ หรือจะใช้วิธีการทางธรรมชาติตามสมุนไพร โดยนำเอาพริกสดที่ตำละเอียดแล้วประมาณ 1 ช้อนชา ผสมกับน้ำยาล้างจานที่ไม่สารฟอกขาว 1 ช้อนโต๊ะ กระเทียม หอมสด อย่างละหัว และนำมาปั่นผสมกับน้ำเพื่อให้เข้ากัน จากนั้นเมื่อเข้ากันได้ที่แล้วให้เติมน้ำอีกประมาณ 2 ลิตร หมักทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน ก็เป็นอันใช้ได้ โดยนำมากรองก่อนที่จะฉีดพ่นยังบริเวณที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง

เพลี้ยไฟสร้างความอันตรายให้กับใบของพืชได้เป็นอย่างมาก
เพลี้ยไฟสร้างความอันตรายให้กับใบของพืชได้เป็นอย่างมาก

เพลี้ยไฟ แมลงศัตรูพืชที่ทำให้เกิดใบไม้

เพลี้ยไฟนั้นนับว่าเป็นศัตรูพืชที่มีรูปร่างเรียวยาว มีลำตัวขนาดเล็ก เมื่อตัวเต็มวัยจะมีปีก 2 คู่ ซึ่งสามารถที่จะบินหนีได้ และแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ทำลายพืชโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงของพืช ชอบอาศัยอยู่ตามซอกใบ จะพบการระบาดมากในระยะที่มีการแตกยอดใหม่จนถึงใบพืชโตขึ้น ก็จะทำให้ใบนั้นถูกทำลายอย่างรวดเร็ว และปลายใบก็จะเหี่ยวลง ขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบด้านบน เมื่อใบเริ่มม้วนเพลี้ยไฟจะทำการอาศัยอยู่ในใบที่มีการม้วน แล้วระบาดหนักในช่วงที่อากาศจะร้อนและแห้งแล้ง ซึ่งถ้าเกิดการระบาดอย่างหนักจะทำให้พืชนั้นแห้งตายได้

วิธีการป้องกัน ถ้าเป็นวิธีการทางธรรมชาติก็จะใช้หลักชีววิทยาเข้ามาช่วย คือ การนำแมลงห้ำ เช่น ด้วงเต่าลายหรือแมลงปอ มากินเพลี้ยไฟ หรือใช้วิธีการทางธรรมชาติ คือ สับใบสะเดา ข่า และตะไคร้หอม ประมาณ 1 กิโลกรัม โดยสับให้ละเอียด จากนั้นนำส่วนผสมทั้งสามอย่างมาตำรวมกัน ผสมกับน้ำประมาณ 20 ลิตร และหมักทิ้งไว้ 1 คืน กรองเอาน้ำหัวเชื้อที่ได้นำไปผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 และใช้ฉีดพ่นได้ทุกๆ 7 วัน ในช่วงเย็น หรืออาจจะบ่อยขึ้นตามการระบาดของเพลี้ยไฟ

เพลี้ยอ่อนศัตรูพืชขนาดเล็กที่การทำลายไม่เล็กตามตัว
เพลี้ยอ่อนศัตรูพืชขนาดเล็กที่การทำลายไม่เล็กตามตัว

เพลี้ยอ่อน แมลงศัตรูที่ทำให้พืชนั้นเกิดอาการเหลืองได้

เพลี้ยอ่อนนั้นจัดว่าเป็นแมลงศัตรูพืชที่มีขนาดค่อนข้างเล็กซึ่งเล็กมาก ขนาดเท่ากับหัวเข็มเลยทีเดียว โดยจะมีลำตัวที่อ่อนนุ่ม มีสีเขียวอ่อนไปจนถึงดำเข้ม ตัวอ่อนที่ฟักออกมานั้นจะมีขนาดที่เล็ก มีสีเหลืองอ่อน และมีขาประมาณ 3 คู่ มีหนวดที่สั้น อาศัยการทำลายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบ ยอด หรือดอก ของพืช จนทำให้ใบนั้นมีอาการหงิกงอเกิดขึ้น ใบเหลือง และร่วงหล่นลง ต้นไม่แตกยอดอ่อน ทำให้ไม่มีการออกดอก ดอกจะเริ่มเหี่ยวและอ่อนแอลง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

วิธีการป้องกัน ส่วนใหญ่แล้วอาจจะใช้วิธีการทางธรรมชาติ คือ นำด้วงเต่าลาย หรือแมลงปอ มาช่วยกินตัวเพลี้ยอ่อนได้ หรือจะใช้วิธีทางสมุนไพร คือ เอาพริกสด พริกไทยสด และดีปลีสด ประมาณ 1 กิโลกรัม มาสับให้ละเอียดที่สุด จากนั้นก็นำส่วนผสมทั้งหมดนั้นไปผสมกับน้ำ 20 ลิตร  หมักประมาณ 3-5 วัน  จากนั้นก็กรองเอาแต่หัวเชื้อ  โดยนำ หัวเชื้อประมาณ 200-500 ซีซี. ผสมกับน้ำ 20 ลิตร และนำไปฉีดพ่นให้ทั่วทุก 3-5 วัน

หนอนกระทู้ตัวทำลายยอดอ่อนและใบ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย
หนอนกระทู้ตัวทำลายยอดอ่อนและใบ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย

หนอนกระทู้ แมลงกัดกินใบสร้างความเสียหายและลดคุณภาพให้กับพืช

หนอนกระทู้เกิดจากอะไร หนอนกระทู้นั้นเกิดจากผีเสื้อกลางคืนที่มาวางไข่ โดยเป็นหนอนที่เพิ่งฟักเป็นตัวออกมาจากไข่ในช่วงแรกๆ แล้วดำรงชีวิตตามวงจรของผีเสื้อ โดยจะทำการแทะกินใบผัก ใบไม้ เป็นอาหารหลัก ให้เหลือแค่เนื้อเยื่อบางๆ เท่านั้น จะรุนแรงขึ้นเมื่อระยะการเติบโตอยู่ในระยะที่ 5

โดยส่วนมากนั้นมักจะซ่อนตัวในช่วงเวลากลางวัน ชอบกัดกินใบ ไม่ว่าจะเป็นผักสวนครัว หรือใบผลไม้  ในช่วงเวลากลางคืน จนใบนั้นพรุนไปทั่วทั้งใบ สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก โดยในระยะที่ 6 ก่อนจะเป็นดักแด้นั้นจะกัดใบเพื่อมาสร้างรังหุ้มดักแด้ ทำให้ใบไม้ดูสกปรก และพืชอาจจะตายได้ในระยะนี้ พบการระบาดของหนอนกระทู้ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ตามกะหล่ำปลี คะน้า ผักกาด กวางตุ้ง และตามไม้ดอกไม้ประดับ อย่าง บัวหลวง เบญจมาศ เป็นต้น

วิธีการป้องกัน

ถ้าใช้แมลงกำจัดแมลงตามธรรมชาตินั้น อาจจะใช้แตนเบียนในการกำจัดหนอนกระทู้ โดยการวางไข่ในตัวหนอนกระทู้ก็ได้ แต่ถ้าใช้วิธีการทางสมุนไพร ก็ให้นำใบสะเดา ข่า ตะไคร้หอม มาบดหรือสับให้ละเอียดประมาณ 1 กิโลกรัม และนำส่วนผสมทั้งหมดมาตำรวมกัน โดยผสมกับน้ำประมาณ 20 ลิตร และให้ทำการหมักทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นก็กรองเอาแต่หัวเชื้อที่ได้นำไปผสมกับน้ำในปริมาณ 1 ต่อ 1 และใช้ฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน ในช่วงเย็น ก็จะช่วยลดการระบาดลงได้

หนอนม้วนใบที่เป็นอันตรายต่อยอดใบ สร้างความเสียหายสำหรับพืชใบ
หนอนม้วนใบที่เป็นอันตรายต่อยอดใบ สร้างความเสียหายสำหรับพืชใบ

หนอนม้วนใบ แมลงศัตรูพืชที่ชอบม้วนใบจนทำให้เกิดความเสียหาย

หนอนม้วนใบหรือห่อใบ เป็นตัวอ่อนซึ่งเกิดจากผีเสื้อกลางวัน ซึ่งเมื่อฟักเป็นตัวในระยะแรกแล้ว ตัวหนอนจะเริ่มกัดกินใบจนใบนั้นเกิดพับใบขึ้น หรือม้วนใบ แล้วยึดใบไว้ด้วยเส้นใยที่ตัวหนอนสร้างขึ้นเพื่อห่อตัวเองไว้ โดยหนอนจะกัดกินอยู่ในใบที่ม้วนนั้นเป็นหลัก หรือกัดกินมันพับเข้าดักแด้ก็ได้ ซึ่งตรงนี้เองที่ทำให้ยอดอ่อนของใบนั้นถูกห่อเป็นกระจุก จนเกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก

วิธีการป้องกัน

โดยวิธีการป้องกันนั้นก็จะใช้ได้ทั้งหลักทางธรรมชาติและสมุนไพร รวมไปถึงการใช้สารเคมี แต่เราจะบอกถึงวิธีการใช้สมุนไพรซึ่งเป็นวิธีการป้องกันที่ป้องภัยมากที่สุด โดยใช้ใบแก่ของสะเดาสดประมาณ 2 กิโลกรัม จากนั้นก็ตำให้ละเอียด และนำมาแช่ในน้ำประมาณ 20 ลิตร และทำการหมักทิ้งไว้ประมาณ 1 วัน หรือ 24 ชั่วโมง และเมื่อหมักได้ครบกำหนดแล้วก็ให้ใช้ผ้าขาวบางกรองเอาตัวหัวเชื้อ ในส่วนของกากนั้นสามารถที่จะนำไปใช้เป็นปุ๋ยหมักได้ ในการใช้นั้นให้นำมาผสมน้ำหัวเชื้อ 1 ช้อนโต๊ะ กับน้ำ 20 ลิตร และนำไปผสมสารจับใบ พวกน้ำยาล้างจาน แชมพู โดยให้ใส่เพียงเล็กน้อย และนำมาฉีดพ่นทุกๆ 3-5 วัน หรือบ่อยๆ ได้ตามต้องการ แต่ต้องขึ้นอยู่กับการระบาดด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand
หนอนชอนใบกินเนื้อเยื่อใบทำให้การเจริญโตของพืชนั้นเสียหาย
หนอนชอนใบกินเนื้อเยื่อใบทำให้การเจริญโตของพืชนั้นเสียหาย

หนอนชอนใบ แมลงศัตรูพืชที่ชอบม้วนใบจะสร้างความเสียหายให้กับพืชผลทางการเกษตร

มากันอีก 1 ชนิด หนอนชอนใบ แมลงศัตรูพืชอีก 1 ชนิด ที่เกิดจากผีเสื้อกลางคืน และมีขนาดที่เล็ก ซึ่งผีเสื้อกลางคืนจะวางไข่บนใบและใต้ใบเป็นหลัก โดยเน้นวางไว้ใกล้กับเส้นกลางของใบ เมื่อฟักตัวเป็นหนอนแล้วจะเริ่มเจาะผิวเคลือบใบก่อน และค่อยทำการสอดตัวคืบคลานใบเพื่อที่จะกินเนื้อเยื่อของใบ จะสามารถเห็นเป็นลายเส้นบนใบได้อย่างชัดเจน จากนั้นใบก็จะเริ่มที่จะเปลี่ยนรูปร่างและบิดเบี้ยวผิดรูปจากเดิม ขอบใบจะเริ่มม้วนเข้าหาเส้นกลางใบ ทำให้ต้นไม้แคระแกร็นในที่สุด อีกทั้งยังทำให้ใบโตได้ไม่เต็มที่จนเกิดความเสียหายกับผลผลิตได้ด้วย

วิธีการป้องกัน ถ้าเป็นวิธีการทางธรรมชาติจะเน้นนำแตนเบียนมาใช้ในการวางไข่เข้าไปในตัวของหนอนชอนใบเป็นหลัก ส่วนวิธีการทางสมุนไพรนั้น ก็ให้นำใบสะเดา ข่า ตะไคร้หอม มาสับหรือบดให้ละเอียด หรือตำรวมกัน แล้วทำการผสมกับน้ำประมาณ 20 ลิตร จากนั้นให้ทำการหมักไว้ประมาณ 1 คืน และทำการกรองเอาน้ำหัวเชื้อที่ได้ไปผสมกับน้ำในปริมาณ 1 ต่อ 1 เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด จากนั้นให้นำมาฉีดพ่นยังใบที่เกิดการระบาดของแมลงศัตรูพืช โดยฉีดพ่นอย่างน้อย 7 วัน หรือทุกๆ 1 สัปดาห์ ในตอนเย็น ก็จะช่วยลดการระบาดของแมลงศัตรูพืชได้

ไรแดง จุดด่างขาวบนใบ ความเสียหายที่ยากจะบรรยาย

ไรแดงนั้นถือว่าเป็นแมลงศัตรูพืชที่คอยสร้างความเสียหายให้กับพืชได้เป็นวงกว้าง โดยสังเกตได้เลยว่าถ้าใบพืชมีจุดด่างๆ บางๆ ที่ใบ และสีใบเริ่มจางลง อีกทั้งขอบใบม้วนงอ และใบเริ่มร่วง ก็คือ โดนรุกรานโดยไรแดงเรียบร้อยแล้ว ซึ่งตัวไรแดงนั้นจะสังเกตได้ว่าถ้ามีละอองน้ำหลังรดน้ำต้นไม้ที่เกาะค้างบนใยที่แทบจะมองไม่เห็นนั้น จะขึงอยู่ระหว่างก้านและใบพืช โดยไรแดงนั้นจะมีอีกชื่อว่า ไรแมงมุม เพราะสามารถที่จะสร้างใยได้เหมือนกับแมงมุม ซึ่งทำลายใบเป็นจุดด่างขาวตามเส้นใบ และแพร่ขยายในวงกว้าง ทำให้ใบขาวซีด กระด้าง หรือกรอบ จากนั้นใบก็จะค่อยๆ แห้งและร่วงลงจากต้น

วิธีการป้องกัน วิธีการป้องกันไรแดงนั้นส่วนใหญ่อาจจะใช้ได้หลายวิธี อาจจะเป็นการใช้สารเคมีบ้าง แต่เราจะพูดถึงวิธีการทางธรรมชาติ โดยใช้ไรตัวห้ำเป็นตัวกินไรแดง หรือจะใช้สมุนไพรเข้ามาช่วย โดยนำใบสะเดามาสับ ร่วมกับข่า และตะไคร้หอม โดยใช้อย่างละ 1 กิโลกรัม จากนั้นก็นำส่วนผสมที่ได้ทั้งสามอย่างมาผสมกัน โดยวิธีการตำ และผสมกับน้ำ 20 ลิตร จากนั้นก็หมักทิ้งไว้ 1 คืน และเมื่อได้ครบกำหนดให้นำผ้าขาวบางมากรองน้ำออกเพื่อแต่หัวเชื้อ และนำหัวเชื้อที่ได้ไปผสมกับน้ำในปริมาณ 1 ต่อ 1 และให้ทำการฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน โดยใช้ในช่วงเย็น ก็จะช่วยลดปัญหาไรแดงได้เป็นอย่างดี

แมลงหวี่ขาวที่อันตรายต่อพืชผักสวนครัว ตัวดูดน้ำเลี้่ยง เป็นสาเหตุของโรคใบด่าง
แมลงหวี่ขาวที่อันตรายต่อพืชผักสวนครัว ตัวดูดน้ำเลี้่ยง เป็นสาเหตุของโรคใบด่าง

ใบมีจุดสีขาว บอกได้เลยว่าแมลงหวี่ขาวรบกวนให้แล้ว

แมลงหวี่ขาวนั้นส่วนใหญ่แล้วจะมีการรวมตัวกับตัวอ่อน โดยจะรวมกันอยู่เป็นกลุ่มที่ใต้ใบของพืช ทั้งต้นผักใบเขียวทางการเกษตร ถือว่าเป็นศัตรูที่ค่อนข้างอันตรายสำหรับผักสวนครัวเป็นอย่างมาก โดยแมลงหวี่ขาวนั้นมักจะดูดกินน้ำเลี้ยงในพืชจากใบและยอดของต้นไม้ ซึ่งจะทำให้เกิดจุดสีเหลืองบนใบพืช จากนั้นใบก็จะเริ่มหงิกงอขอบใบ จะเริ่มม้วนลงมาด้านล่าง ต้นอาจจะแคระแกร็น  และเป็นพาหะในการนำเชื้อไวรัสหรือเชื้อโรคมาได้  ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคใบด่างด้วยเช่นกัน

วิธีการป้องกัน ให้ทำการใช้สมุนไพรเข้ามาช่วยจะลดปริมาณการเกิดสารตกค้างในพืชได้เป็นอย่างดี โดยนำ ยาสูบหรือน้ำบอระเพ็ด หรืออาจจะใช้น้ำดอกดาวเรืองที่ผ่านการหมักและคั้นออกมาแล้ว ให้ทำการผสมกับน้ำสะอาดและนำไปฉีดรดต้นไม้ให้รอบๆ ซึ่งกลิ่นของดอกดาวเรืองหรือยาสูบนั้นจะมีกลิ่นที่ฉุน จะช่วยไล่แมลงหวี่ไม่ให้เข้ามาใกล้ต้นไม้หรือพืชได้ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัย และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand
หอยทากมีคุณประโยชน์ในเรื่องเมือก แต่กับเป็นพืชที่ทำลายใบพันธุ์พืชได้เป็นอย่างดี
หอยทากมีคุณประโยชน์ในเรื่องเมือก แต่กับเป็นพืชที่ทำลายใบพันธุ์พืชได้เป็นอย่างดี

หอยทาก สัตว์เชื่องช้าศัตรูอันตรายของพืชผัก

ศัตรูพืชตัวสุดท้ายที่เราจะนำเสนอนั้น คือ หอยทาก ซึ่งถือว่าเป็น แมลงศัตรูพืช ที่อันตรายเป็นอย่างมาก โดย หอยทากนั้นจะสามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีในช่วงฤดูฝน ซึ่งจะมีการวางไข่ในพื้นที่ที่อับชื้น เช่น ซากกองใบไม้ ซากไม้ผุ เป็นต้น เมื่อแพร่ขยายเติบโตขึ้นก็จะเริ่มออกหากินในช่วงเวลากลางคืนที่มีอากาศค่อนข้างเย็น

ซึ่งหอยทากนั้นส่วนใหญ่แล้วจะกัดกินใบไม้เกือบทุกชนิดเป็นอาหารหลัก ถึงแม้ว่าจะเป็นสัตว์ที่เคลื่อนที่ได้ช้า แต่ก็สามารถสร้างความเสียหายได้เป็นอย่างดี โดยหอยทากนั้นถ้าเราพบในปริมาณที่ไม่มากอาจจะทำการหยิบออกจากพืชได้ง่ายๆ แต่ควรจะใส่ถุงมือในการหยิบจะดีกว่า โดยเบื้องต้นเราอาจจะต้องรู้แหล่งที่เพาะพันธุ์เพื่อที่เราจะได้ไม่สร้างแปลงปลูกใกล้กับแหล่งเพาะพันธุ์ของหอยทาก ถ้าพบก็ควรจะจับทิ้งให้ไกลจากพื้นที่เพาะปลูกจะดีที่สุด

วิธีการป้องกัน การป้องกันหอยทากนั้นให้นำปูนขาว หรือกากกาแฟ หรือกระเทียมสับ มาโรยบริเวณรอบๆ พืชที่เราทำการปลูก ตามโคนต้นไม้หรือแปลงปลูก ซึ่งฤทธิ์ของกรด-ด่างนั้นจะทำให้หอยทากรู้สึกระคายเคืองผิว และไม่เข้ามาใกล้บริเวณนั้นอีก

ข้อดีของพืชสมุนไพร

วิธีการทั้งหมดนี้เป็นการใช้พืชสมุนไพรที่มีอยู่รอบตัวมาช่วยในการป้องกัน แมลงศัตรูพืช ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ปลอดภัยสำหรับตัวผู้ใช้เป็นอย่างมาก แต่ถ้าอยากให้เห็นผลนั้นควรจะใช้ฉีดพ่นในช่วงเช้าและเย็น จะเป็นเวลาที่เหมาะสำหรับการใช้ฉีดพ่นเพื่อกำจัดหรือไล่แมลงศัตรูพืชได้ดี อีกทั้งควรจะฉีดใต้ใบ เพราะว่าเป็นแหล่งที่ แมลงศัตรูพืช ชอบอาศัยอยู่ และเป็นที่วางไข่เสียเป็นส่วนมาก แต่ควรจะใช้สารสกัดจากสมุนไพรนั้นสลับกันจะดีที่สุด เพราะจะช่วยให้ได้ประสิทธิภาพในการไล่ได้ดีขึ้น ไม่ควรใช้สูตรเดียวตลอด เพราะอาจจะทำให้แมลงนั้นดื้อยาได้

แมลงศัตรูพืช นั้นสามารถพบได้ทั่วไปตามแปลงปลูกพืช รวมไปถึงแปลงปลูกผลไม้ ซึ่งผลที่ตามมาก็สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก ซึ่งต่างก็เป็นกังวลว่าแมลงศัตรูนี้จะมีทางกำจัดให้หายขาดได้หรือไม่ เอาเข้าจริงๆ แล้วนั้น แมลงศัตรูพืช นั้นอาจจะกำจัดได้เบื้องต้น แต่ไม่สามารถที่จะกำจัดให้หมดไปได้ในครั้งเดียว ซึ่งเราต้องคอยดูแลแปลงปลูกอยู่เสมอ ซึ่งวิธีการป้องกันและกำจัดนั้นอาจจะขึ้นอยู่กับว่าเกษตรกรต้องการแบบไหน เร่งด่วนหรือไม่รีบร้อน แต่เห็นผลเช่นกัน ซึ่งการป้องกันอาจจะใช้วิธีการทางธรรมชาติวิทยาหรือสมุนไพร หรือบางสวนอาจจะใช้สารเคมีเข้ามาช่วย อันนี้ก็แล้วแต่บุคคล ซึ่ง แมลงศัตรูพืช ก็ยังคงเป็นสัตว์ที่สร้างความเสียหายที่เลี่ยงไม่ได้สำหรับเกษตรกรอยู่ดี

ในครั้งนี้เราพูดถึง แมลงศัตรูพืช ซึ่งเรายกตัวอย่าง แมลงศัตรูพืช ที่มักจะพบในภาคการเกษตรเป็นหลักมาประมาณ 10 ตัวอย่างที่พบเจอได้บ่อยในเมืองไทย จะเห็นได้ว่าเป็นแมลงที่เราคุ้นหูเป็นอย่างดีว่าแมลงตัวนี้สามารถทำอะไรกับพืชได้บ้าง ซึ่งเราก็ได้แนะนำวิธีการป้องกันโดยใช้สมุนไพรเข้ามาเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ซึ่ง แมลงศัตรูพืช ที่เรายกตัวอย่างมานี้อาจจะเป็นวิธีการที่ให้เกษตรกรเตรียมพร้อมกับการรับมือและป้องกันง่ายๆ ไม่ต้องพึ่งยาฆ่าแมลงมากนัก ถือว่าถ้านำกลับไปประยุกต์ใช้ก็จะเป็นทางเลือกที่ดีได้อย่างแน่นอน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://www.baanlaesuan.com/153096/plant-scoop/pest,http://natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/510-111web/book/book%20content.htm/chapter11/Agri_11.htm,http://www.ricethailand.go.th/Rkb/disease%20and%20insect/index.php-file=content.php&id=133.htm,https://www.scimath.org/article-biology/item/8666-2018-09-11-08-04-46