สารเอทิลีน เพิ่มน้ำยาง 5 เท่า กรีดช่วงเย็นสบายๆ ทุก 2 วัน ทางรอด ยางพาราไทย การปลูกยางพารา สวนยางพารา
ราคายางตกต่ำ ผลผลิตยางต่อไร่ต่ำ ปัญหาแรงงานในสวนยางหายาก เพราะทำงานหนัก หน้ายางหมดไว เพราะกรีดหน้ายางและกรีดถี่ ถ้าเหล่านี้คือปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับสวนยาง
คำแนะนำที่ดีที่สุดก็คือ เลิกทำสวนยาง แล้วหันไปทำอาชีพอื่นๆ…!!! แต่ถ้าไม่มีอาชีพอื่น..เป็นตัวเลือกที่ดีกว่ายางพารา แนะนำว่า ให้เปลี่ยนมุมมองการทำสวนยาง
โดยจะมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
- อบรมฟรี! โครงการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตในสวนยาง
- การให้ความรู้แก่เกษตรกรทำสวนยาง
- การกรีดหน้ายางช่วงเย็นสบายๆ ทุก 2 วัน
- การเพิ่มผลผลิตน้ำยาง สูงขึ้น 5 เท่าตัว
- การใช้ สารเอทิลีน อย่างถูกวิธี
ปัจจุบัน สกย.เดิม ปัจจุบันรวมอยู่ในการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) มีโครงการส่งเสริม การปลูกยางพารา อยู่ 2 รูปแบบ คือ 1. สารเร่งที่อยู่ในรูปของสารละลาย ในกลุ่มของ อิทีฟอน ทาหน้ายาง สำหรับใช้ในสวนยางก่อนโค่น เพราะ สวนยางพารา ก่อนโค่นสวนยางที่ไม่มีหน้ากรีด หน้ากรีดเสียหายจะกรีดยางต่อไม่ได้
อีกตัว 2. เป็นการเพิ่มผลผลิตการทำ สวนยางด้วยเอทิลีนอัดเข้าไปทางเปลือกต้นยาง สำหรับใช้ในสวนยางที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป
ผ่าน “โครงการส่งเสริมการใช้สารเร่งในการเพิ่มผลผลิตในสวนยาง” ของการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดปัตตานี และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดปัตตานี โครงการดังกล่าวกำลังถูกถ่ายทอดสู่เกษตรกรชาวสวนยางพาราอย่างต่อเนื่อง ดังตัวอย่างของ
การเพิ่มผลผลิตน้ำยาง สูงขึ้น 5 เท่าตัว
เพราะการทำสวนยางด้วยเอทธิลีน เป็นแนวทางการเพิ่มผลผลิตยาง ในพื้นที่เท่าเดิมให้สูงขึ้น 5 เท่าตัว แต่ทำงานน้อยลง โดยการกรีด 1 วันเว้น 2 วัน ใช้เวลากรีดช่วงเย็นแทนการกรีดช่วงเช้ามืด ขณะที่การกรีดจะกรีดหน้าสั้นลงเหลือเพียง 4 นิ้วเท่านั้น จึงทำงานน้อยลง แต่ผลผลิตกลับเพิ่มสูงขึ้น ในพื้นที่เท่าเดิม ซึ่งจะแก้ปัญหาราคายางต่ำต่ำได้ในที่สุด
การทำสวนยางด้วยการ ลองมาใช้ “ สารเอทิลีน ” หรือในสวนยาง จึงได้รับความนิยมในหมู่เกษตรกรหัวก้าวหน้าที่ต้องการหลุดพ้นจากวงจรของราคายาง และการทำสวนยางแบบเดิมๆ เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ยางปัจจุบัน
อบรมฟรี! โครงการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตใน การปลูกยางพารา
แต่ในส่วนของต้นยางที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป ต้นยางยังมีความสมบูรณ์และที่พื้นที่กรีดอยู่พอสมควร เหมาะแก่การใช้เอทธิลีนในการช่วยเพิ่มผลผลิต ทาง กยท.ปัตตานีจึงได้ นำงานวิจัยของสถาบันวิจัยเดิม มาใช้ในการส่งเสริมและให้ความรู้แก่เกษตรกร
โดยมีแปลงตัวอย่างของเกษตรกรที่ทำแล้วประสมความสำเร็จ ใช้มาเป็นเวลานานจนเป็นเครื่องยืนยันว่าไม่ทำให้ต้นยางเสียหาย หากแต่เป็นการเพิ่มผลผลิต โดนมีตัวอย่างของเกษตรกรใน จ.สุราษฎร์ธานี เป็นต้นแบบ
ปัจจุบันในปัตตานี ก็มีเกษตรกรที่ใช้มาแล้วต่อเนื่อง 4 ปี เป็นตัวอย่าง และได้รับการขยายผล มีเกษตรกรที่สนใจเข้ามาศึกษาและนำไปใช้
การใช้ สารเอทิลีน อย่างถูกวิธี
ทั้งนี้การจะให้แนะนำให้เกษตรกรใช้เอทธิลีนอย่างถูกวิธีจำเป็นต้องมีการให้ความรู้ ซึ่งเอทธิลีน มีอยู่หลายชนิด หลายยี่ห้อ ข้อพิจารณา คือ ชนิดต้องมีความบริสุทธิ์ 99.99% ราคาอุปกรณ์ และประสิทธิภาพ
หลังจาก กยท.ปัตตานี มีการแนะนำการใช้เอทธิลีนในสวนยาง ซึ่งสามารถช่วยแก้ปัญหาในสวนยางได้ดี ทาง ธ.ก.ส.มองเห็นว่า ลูกค้าของธนาคารคือ เกษตรกรชาวสวนยาง และกำลังประสบปัญหาราคายาง จึงได้จัดงบประมาณขึ้นมาอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้เอทธิลีน โดยร่วมกับ เจ้าหน้าที่ กยท.ปัตตานี
อย่างไรก็ตาม การใช้จะเอทธิลีนในสวนยาง ต้นยางต้องสมบูรณ์พอสมควร ต้องใส่ปุ๋ยอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง การจัดการวัชพืชในสวนยางต้องไม่มีการใช้สารเคมีในการฉีดพ่น ใช้วิธีการตัด เพราะต้นยางที่ใช้เอทธิลีนจะต้องการน้ำเยอะเพื่อสร้างน้ำยาง หญ้าจะเป็นตัวรักษาความชื้นในสวนยางได้ดีระดับหนึ่ง
นอกจากนั้นยังมีการแนะนำให้ใช้ร่วมกับร่มกันฝน เพราะในช่วงฤดูฝนมีน้ำเยอะ ต้นยางจะตอบสนองดีต่อการใช้เอทธิลีน แต่ปรากฏว่าพอฝนตก เกษตรกรกรีดยางไม่ได้ จึงเป็นการเสียโอกาส จึงต้องเน้นให้มีการใช้ร่มกันฝนในช่วงฤดูฝน ซึ่งจะได้ปริมาณน้ำยางสูงมาก
นอกจากนั้นการใช้ร่มยังเป็นการเพิ่มวันกรีดให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งก็เท่ากับเป็นการเพิ่มผลผลิตนั่นเอง
ผลผลิตน้ำยาง
เมื่อวันนี้เป็นที่แน่นอนแล้วว่าราคายางไม่มีทางเกินกว่าปัจจุบันมากนัก ทางเดียวเท่านั้นที่ชาวสวนยางจะอยู่รอดได้คือ การเพิ่มผลผลิตด้วยเอทธิลีน และร่มกันฝนเป็นแนวทางออกที่ตอบโจทย์ได้ชัดเจนที่สุด
เพราะการใช้เอทธิลีนจะได้ผลผลิตมากกว่าเดิม 5 เท่า หรือทั้งฤดูกาลไม่น้อยกว่า 2 เท่า
ประหยัดแรงงานใน สวนยางพารา
ขณะที่การใช้เอทธิลีนจะช่วยในเรื่องของความปลอดภัย ในพื้นที่ปัตตานี ซึ่งมีปัญหาเรื่องก่อการร้าย เพราะไม่ต้องกรีดยางตอนเช้าหรือตอนกลางคืน แต่สามารถกรีดได้ตอนเย็น แล้วเก็บน้ำยางตอนสายๆ ของวันรุ่งขึ้น
รวมถึงช่วยประหยัดแรงงาน เพราะกรีดยางหน้าสั้นกว่าเดิมครึ่งหนึ่ง หรือประมาณ 4 นิ้ว และกรีด 1 วัน เว้น 2 วัน คนกรีดยาง 1 คนสามารถกรีดได้ประมาณ 20 ไร่
วันนี้ทางออกของการแก้ปัญหาราคายางตกต่ำ ทางออกอาจจะไม่ใช่การลดปริมาณการผลิตยางพาราลง แต่อาจจะอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรให้ผลผลิตยางเพิ่มขึ้น ในพื้นที่เท่าเดิม พร้อมๆ กับการลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มคุณภาพยางให้สูงขึ้น โดยไม่ต้องขยายพื้นที่ปลูกยาง และแก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า
ทั้งหมดแก้ไขได้ด้วยการใช้เอทธิลีนในสวนยาง
สารเอทิลีน สารเอทีฟอน แก๊สอะเซทิลีน แก๊สเอทิลีน เอทิลีนไกลคอล ยางธรรมชาติ สวนยางพารา การปลูกยางพารา