เรียนรู้วิธีป้องกันและแก้ปัญหา โรครากเน่า และโรคราสีชมพู ในทุเรียน อย่างมีประสิทธิภาพ
การระบาดของโรครากเน่า และโรคราสีชมพู ในทุเรียน
ปัจจุบันนี้เกษตรกรในประเทศไทยทั่วทั้งประเทศได้ให้ความสนใจ และหันมาปลูกทุเรียนกันเป็นจำนวนมากเกือบทั่วทุกจังหวัด สืบเนื่องมาจากราคา และผลตอบแทนที่ดี ของทุเรียนในช่วงหลังมานี้ แต่ถึงอย่างนั้นการปลูกทุเรียนนั้นเกษตรกรเองจำเป็นต้องมีการศึกษาและเรียนรู้ทำความเข้าใจในเรื่องการทำสวนทุเรียนอย่างดี มิฉะนั้นอาจประสบกับความสูญเสียขาดทุนเมื่อเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นมา แทนที่จะได้รับผลตอบแทนอย่างที่คาดหวังไว้
ตลอดช่วงระยะเวลา 3 – 4 ปีที่ผ่านมา เป็นที่ทราบกันดีสำหรับพี่น้องชาวสวนทุเรียนถึงการประสบกับปัญหาอย่างรุนแรงในเขตพื้นที่ที่มีการปลูกทุเรียน ทั้งในเขตภาคตะวันออก และพื้นที่ภาคใต้ คือ การเกิดการระบาดของโรคในทุเรียนอย่างหนัก ทำความเสียหายให้แก่พี่น้องชาวสวนทุเรียนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการไม่ได้ผลผลิตตามที่คาดหวังไว้ และการที่ต้นทุเรียนได้ตายลงเป็นจำนวนมาก อันเนื่องมาจากการเกิดการระบาดของ โรครากเน่า และ โรคราสีชมพู
วิธีการป้องกันและรักษาโรครากเน่า และ โรคราสีชมพู ในทุเรียน
ดังนั้นเพื่อให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนตระหนักถึงปัญหานี้ และจะได้มีการเตรียมการหาวิธีการป้องกันและจัดการรับมือกับโรคอย่างมีประสิทธิภาพ เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจจะปลูกทุเรียนเอง จึงควรจะศึกษาทำความรู้จักกับโรคทั้ง 2 ชนิด นี้ให้ดีเสียก่อน
- โรครากเน่า โคนเน่า อันเกิดจากเชื้อราไฟท็อปธอร่า (Phytopthorapalmivora)
- โรคราสีชมพู อันเกิดจากเชื้อราคอร์ติเซียม (Corticiumsalmonicolor)
โรคสองชนิดนี้จะเกิดในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดการระบาดที่เหมือนกัน คือ สภาพแวดล้อมที่มีฝนตกชุกติดต่อกันหลายวัน และจะมีความรุนแรงยิ่งขึ้น หากมีลมพายุพัดรุนแรง ซึ่งทั้งสองโรคนี้จะมีการระบาดรุนแรงช่วงประมาณเดือนมิถุนายนจนถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เนื่องจากมีฝนตกชุก โดยเฉพาะในช่วง 3-4 ปี ที่ผ่านมา
การระบาดเข้าทำลายต้นทุเรียนของเชื้อโรคทั้งสองชนิดนี้ จะเริ่มต้นจากในดินเหมือนกัน คือ เชื้อจะเข้าทางราก แต่ เชื้อราไฟท็อปธอร่า สาเหตุของโรครากเน่า จะเข้าทำลายระบบรากเป็นหลัก ทำให้รากพืชเน่าเสีย ไม่สามารถดูดกินน้ำ และธาตุอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของต้นได้ และจะลุกลามไปทำลายท่อน้ำเลี้ยง และท่ออาหารที่ลำต้น ทำให้ เปลือกแตก น้ำยางไหล ในขณะที่เชื้อราคอร์ติเซียม สาเหตุของโรคราสีชมพู ก็เช่นเดียวกัน เชื้อโรคจะอยู่ในดิน และเข้าสู่ระบบราก และจะเคลื่อนย้ายขึ้นไปด้านบนลำต้นไปทำลายกิ่งก้าน ทำให้กิ่งแห้งตายอย่างรวดเร็ว ซึ่งทั้งสองโรคนี้จะสร้างความเสียหายรุนแรงให้กับสวนทุเรียน ถ้าเกิดการระบาดแล้วจะมีต้นทุเรียนเสียหายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเชื้อแพร่กระจายรวดเร็ว เริ่มจากกิ่งทยอยแห้งตาย และยืนต้นตายในที่สุด โดยโรคดังกล่าวเกิดขึ้นได้กับทุเรียนทุกสายพันธุ์ ทุกระยะการเจริญเติบโตของทุเรียน และเกิดได้ในทุกๆ พื้นที่ปลูก
ปัจจุบันนี้เชื้อราโรคพืชทั้งสองชนิดที่ได้กล่าวมานั้น พบว่ามีการดื้อยา หรือสารป้องกันกำจัดเชื้อราเกือบทุกชนิด ซึ่งสาเหตุที่การป้องกันและการแก้ปัญหาที่ผ่านมาไม่ได้ผลนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากเกษตรกรไม่ได้รักษา หรือกำจัดเชื้อราจากที่ต้นเหตุ นั่นคือทางดิน นอกจากนั้นสาเหตุของการดื้อยา หรือสารเคมีกำจัดเชื้อรา ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้การป้องกันและการรักษาโรคไม่ได้ผล รวมไปถึงระยะเวลาในการควบคุมป้องกัน และรักษา ก็ยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การดูแลรักษาไม่ประสบผลสำเร็จตามที่ควร
แนวทางและวิธีแก้ปัญหา โรครากเน่า และ โรคราสีชมพู ในทุเรียน
แนวทางและวิธีแก้ปัญหาเพื่อให้ได้ผลดีที่สุดนั้น เกษตรกรชาวสวนทุเรียนต้องใช้วิธีการป้องกันการเกิดโรค คือ การเน้นการดูแลป้องกันและรักษาทางดินให้ดี ทำให้ดินมีการระบายน้ำและอากาศได้ดี ควบคุมตรวจเช็คค่า pH ของดิน
นอกจากนั้นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะสามารถจัดการป้องกัน และแก้ปัญหาเชื้อราโรคพืชทั้งสองชนิดได้ดีอีกวิธีหนึ่งก็คือ การใช้ เชื้อราไตรโคเดอร์มาร่วมกับผลิตภัณฑ์ธาตุอาหาร พีค รูทเตอร์ เพราะเชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราชนิดดีที่สามารถควบคุมและกำจัดเชื้อราโรคพืชทั้งสองชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้ได้ทั้งการป้องกันและรักษา แต่การนำเชื้อราไตรโคเดอร์มามาใช้ให้ได้ผลดีที่สุดนั้น เกษตรกรต้องเข้าใจวิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ถูกต้อง และถูกวิธี
วิธีการใช้ เชื้อราไตรโคเดอร์ มาร่วมกับ พีค รูทเตอร์ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีนั้น ในกรณีที่ต้นทุเรียนเป็นโรค หรือป่วยแล้ว ควรใช้วิธีผสมน้ำ แล้วนำไปราดหรือฉีดพ่นลงดินที่โคนต้นรอบทรงพุ่ม เพื่อให้เชื้อราไตรโคเดอร์มาลงไปยังดิน และรากที่ถูกเชื้อราโรคพืชเข้าทำลาย โดยราดทุกๆ 7 วัน ต่อเนื่องกันประมาณ 3 – 4 ครั้ง
ในช่วงแรกของการใช้ เพื่อควบคุมและกำจัดโรคไม่ให้ลุกลาม และสร้างความเสียหายเพิ่มขึ้น โดยควรใช้ในช่วงเวลาที่ไม่ร้อนจัด เช่น ช่วงเช้าหรือเย็น ในขณะเดียวกันการใช้พีค รูทเตอร์ ร่วมกับเชื้อราไตรโคเดอร์มานั้น ก็จะเป็นการช่วยฟื้นฟูรากที่ถูกเชื้อราโรคพืชเข้าทำลาย
ทำให้รากและดินดีขึ้น เพิ่มการแตกรากใหม่ ดินมีการระบายน้ำและอากาศได้ดี โดยจะสังเกตได้ว่าหลังจากใช้เชื้อรา ไตรโคเดอร์มา และพีค รูทเตอร์ แล้ว ต้นทุเรียนจะเริ่มมีการแตกยอดใหม่ ใบเขียวเข้มขึ้น ใบทุเรียนใหญ่ สมบูรณ์ แผลตามลำต้นที่เคยมีน้ำยางไหลจะเริ่มแห้งขึ้น มีการสร้างเปลือกใหม่
ส่วนวิธีการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาร่วมกับ พีค รูทเตอร์ สำหรับการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนั้น เกษตรกรสามารถใช้วิธีการราด/ฉีดพ่นลงดิน หรือใช้วิธีผสมคลุกกับปุ๋ยหว่านก็ได้ โดยสามารถผสมพีค รูทเตอร์ ร่วมกับเชื้อรา ไตรโคเดอร์มาทุกครั้งที่หว่านปุ๋ย (ควรใช้ในช่วงเวลาที่ไม่ร้อนจัด เช่น ช่วงเช้าหรือเย็น) แล้วนำไปหว่านตามปกติ
ก็จะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดอัตราการเกิดโรคดังกล่าวในทุเรียนได้เช่นกัน นอกจากนั้นการผสมพีค รูทเตอร์ ทุกครั้งที่หว่านปุ๋ย ยังช่วยให้พืชสามารถกินธาตุอาหารจากปุ๋ยได้ดี และนานขึ้นอีกด้วย เนื่องจากพีค รูทเตอร์ จะไปเคลือบเม็ดปุ๋ยไว้ ทำให้ปุ๋ยระเหยช้า พืชค่อยๆ กินปุ๋ยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ลดการสูญเสียธาตุอาหารที่พืชกินไม่ทัน ทำให้ช่วยประหยัดการใช้ปุ๋ยลงได้อีกทางหนึ่ง
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอรับคำปรึกษาได้ที่
บริษัท พีค อโกรเคมี2 จำกั โทร.087-977-1590, 02-598-9207, 081-533-8499
Line: @peakagrokemee2
Facebook :พีค อโกรเคมี 2
Youtube :ค้นหาคำว่า Peak Agro Channel
ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายพื้นที่ต่างๆ
จังหวัดจันทบุรี
1.ร้านสามเกษตร อ.ขลุง โทร. 088-582-8919
2.ร้านอัมรินทร์การเกษตร อ.ขลุง โทร. 091-009-5594
3.ร้านอิสระการเกษตร อ.เมือง โทร. 081-941-3425
4.ร้านเกษตรสร้างสรรค์ (กระทิง) โทร. 081-912-8529
5.ร้านต้นพืชการเกษตร (จันทเขลม) โทร. 098-363-4562
6.สหกรณ์การเกษตรใกล้บ้านท่านในจังหวัดจันทบุรี
จังหวัดตราด
1.คุณจันทนา สมานโสตร โทร. 095-749-5615
2.สหกรณ์การเกษตรใกล้บ้านท่านในจังหวัดตราด
จังหวัดระยอง
1.ร้านสองเกษตร (ตลาดผลไม้เขาดิน) อ.แกลง โทร. 089-834-1393
2.ร้านพรรณกรการเกษตร อ.แกลง โทร. 088-529-7974
จังหวัดเชียงใหม่
คุณอินสอน วงษ์ตา โทร. 087-177-5051
จังหวัดพิษณุโลก
ร้านบิ๊กบอส การเกษตร โทร. 087-739-9533