นิติกาญจนา ร่วมมือกับกระทรวงวิทย์ฯ พัฒนางานวิจัยทางด้านชีวภาพ บริษัทในเครือ เอส พี เอ็ม เป็นบริษัทเดียวที่ร่วมลงทุนกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยถือหุ้น 49% ในการพัฒนาวิจัยด้านชีวภาพ ที่ใช้ในการวิทยาศาสตร์และนำผลงานวิจัยมาต่อยอดในการพัฒนาธุรกิจการผลิตอาหารสัตว์ โดยเฉพาะการพัฒนาจุลินทรีย์ที่สามารถผสมอาหารสัตว์และเพิ่มประสิทธิภาพอาหารสัตว์ได้
ปรึกษาฟรี! ติดต่อ
จุลินทรีย์มีประโยชน์อย่างไร ตามหลักการใช้งานในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จุลินทรีย์จะใช้ในขั้นตอนการเตรียมบ่อ บำบัดน้ำในบ่อเลี้ยง และที่เน้นออกมาในรูปการใช้ผสมอาหารให้สัตว์น้ำกิน มื้อ/มื้อ เพื่อลดบทบาทนี้บริษัทตระหนักและให้ความสำคัญจึงเกิดเป็นงานวิจัย “สกัด” จุลินทรีย์ แบคทีเรีย บางสายพันธุ์ที่มีประโยชน์ เพื่อนำไปใช้เคลือบเม็ดอาหารสัตว์ เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ บริษัทใส่ใจโดยเฉพาะวัตถุดิบผลิตอาหาร จริงๆ แล้วบริษัทเริ่มจากอาหารสัตว์บกแล้วพบความลงตัว จึงได้นำผลวิจัยมาต่อยอดกับการใช้ในการผลิตอาหารสัตว์น้ำ ในสัตว์น้ำพบว่า การใช้จุลินทรีย์จะใช้ในปริมาณที่เยอะกว่าสัตว์บก จึงเกิดการพัฒนาต่อยอดและมีคำถามว่า…ทำอย่างไร ไม่ให้จุลินทรีย์ ผ่านความร้อนและสามารถเคลือบอยู่ในผิวเม็ดอาหารได้ ในกระบวนการผลิตอาหารสัตว์น้ำต้องมีการสเปรย์น้ำมันเคลือบผิวเม็ดอาหาร จะทำอย่างไรให้เป็นจุลินทรีย์เคลือบผิวเม็ดอาหารแทนน้ำมัน จึงเกิดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์น้ำชีวภาพที่มีการเคลือบจุลินทรีย์มีประโยชน์บนเม็ดอาหารพร้อมให้เกษตกรนำไปใช้ได้เลยซึ่งเป็นการมองไปถึงประโยชน์ของเกษตรกรในการลดต้นทุนและลดความยุ่งยาก
จุดเด่นในการใช้จุลินทรีย์เคลือบเม็ดอาหาร ปัจจัยสำคัญที่สุดในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คือ สภาพแวดล้อมในน้ำ ถ้าเกิดสภาพแวดล้อมในน้ำไม่ดี สัตว์น้ำมีโอกาสป่วย และการเลี้ยงในสภาพแวดล้อม ระบบปิดเป็นบ่อ เรื่องของการสะสมของเสียจากอาหาร จุลินทรีย์ถือเป็นตัวช่วยในการย่อยสลายของเสียนั้นไป เมื่อสภาพแวดล้อมดีขึ้น อาการป่วยจะลดน้อยลง การเจริญเติบโตจะต่อเนื่อง จุลินทรีย์ที่เคลือบอยู่ในเม็ดอาหารชีวภาพของบริษัทประกอบไปด้วยจุลินทรีย์หลายสิบชนิด ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่1.จุลินทรีย์กลุ่ม Bacillus ประกอบด้วย – Bacillus licheniformisช่วยในการปรับสมดุลในลำไส้ เนื่องจากจุลินทรีย์จะเข้าไปยึดเกาะผนังลำไส้แทนจุลินทรีย์ทีทำให้เกิดโรค ทำให้ลำไส้สามารถดูดซึมได้ดีขึ้น – Bacillussubtilisส่งผลต่อการเจริญเติบโต ลดอัตราการแลกเนื้อ เนื่องจากจุลินทรีย์ จะผลิตเอนไซม์ โปรตีเอส อะไมเลส และไลเปส ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะช่วยในการย่อยอาหาร ส่งผลให้ระบบย่อยและการดูดซึมอาหารได้ดีขึ้นอีกทั้งช่วยย่อยสารอินทรีย์ที่ตกค้างในบ่อเลี้ยงอีกด้วย – Bacilluspumilus กระตุ้นภูมิคุ้มกันและป้องกันการเกิด Streptococcosis กลุ่มที่ 2.จุลินทรีย์กลุ่ม Lactic Acid Bacteria – Pediococcuspentosaceus ยับยั้งการเจริญของเชื้อ Vibrioalginolyticus – Pediococcusacidilactici ควบคุมเชื้อ Vibrioalginolyticus กลุ่มที่ 3.จุลินทรีย์กลุ่ม Saccharomyces – Saccharomycescerevisiae กระตุ้นภูมิคุ้มกันและป้องกันการเกิดโรคจากเชื้อ Vibiroharveyi และนอกจากนี้จุลินทรีย์ Porbioticเหล่านี้ยังช่วยในการปรับสมดุลในน้ำ เนื่องจากมีความสามรถในการช่วยย่อยสลายแอมโมเนีย ไนไตรต์ และไนเตรต ที่เกิดจากการการขับถ่ายของสัตว์น้ำ สะสมภายในบ่อ
กระบวนการนำจุลินทรีย์ไปใช้ในเม็ดอาหาร จุลินทรีย์จะได้จากการ “สกัด” ให้อยู่ในรูปน้ำมัน เพราะกระบวนการทำอาหารสัตว์น้ำต้องมีการเคลือบน้ำมัน การนำจุลินทรีย์ใส่ลงในน้ำมันแล้วผ่านขบวนการสเปรย์น้ำมัน จุลินทรีย์จะเข้าไปติดอยู่กับเม็ดอาหาร เป็นนวัตกรรมใหม่ที่บริษัททำการวิจัยและต้องการนำจุดนี้มาเป็นจุดเด่น รายเดียวในประเทศไทย เพราะมีการจดทะเบียนกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯจึงไม่สามารถมีบริษัทใดลอกเลียนแบบนวัตกรรมนี้ได้และเกิดขึ้นแล้วในอาหารปลาโมโม่ ของบริษัทฯ กลยุทธ์ทางการตลาด มุ่งเน้นการส่งเสริมในเรื่องการผลิต ต้องทำให้มีคุณภาพดี ราคาเหมาะสมกับลูกค้า ทางการตลาดเราจับมือกับตัวแทนจำหน่ายที่มีศักยภาพ มีส่วนแบ่งทางการตลาดที่แข็งแกร่ง เป็นทางเลือกให้กับเอเยนต์ สามารถเป็นตัวแทนอาหารสัตว์น้ำปลาโมโม่ ที่มีทั้งอาหารปลาดุก อาหารปลานิลและอาหารปลากินพืชรวมไปถึงการนำเสนอสินค้าอาหารสัตว์ที่ครบวงจรทั้ง อาหารสุกร อาหารไก่ อาหารเป็ด และ อาหารปลาให้กับร้านค้า ทำให้ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายสะดวกในการสั่งสินค้า 1 ครั้งสามารถได้อาหารหลายชนิดและแต่ละชนิดก็สามารถสั่งเพียงปริมาณพอเหมาะกับการขายเท่านั้นไม่จำเป็นต้องสต็อคสินค้า ซึ่งจะนำไปสู่การลดต้นทุนค่าขนส่งและการเก็บสต็อคสินค้าของร้านค้าอีกด้วย ราคาที่แตกต่าง เรื่องราคาที่กำหนดออกมาสามารถแข่งขันได้กับทุกบริษัท บริษัทไม่ได้ต้องการให้ได้ผลกำไรที่มากมาย แต่ต้องการให้เกษตรกรที่ใช้เห็นผลงานที่แตกต่าง เกษตรกรบอกต่อๆ กันนั้นสิ่งที่บริษัทตั้งใจ คือ ทำให้ลูกค้าได้สิ่งที่ดีที่สุด ตามเจตนารมย์ “เราจะโตไปด้วยกัน” ในคุณภาพที่มากขึ้น กำลังการผลิต 4-5 พันตัน/เดือน พื้นที่แรกที่บริษัททดลองให้ใช้อาหารปลาโมโม่นั้นจะเป็นเกษตรกรในพื้นที่กาญจนบุรี เกษตรกรที่เปิดใจยอมรับอาหารปลาโมโม่ ถือว่าให้การยอมรับดี เริ่มกระจายตัวมากขึ้น กาญจนบุรีเป็นกลุ่มของคนปลากระชัง การจับตัวเลขจะทำได้ง่าย และเริ่มมีผลการเลี้ยงออกมายืนยันคุณภาพอาหารบ้างแล้ว เป้าหมายที่ตั้งไว้ในการผลิตอาหารสัตว์น้ำน่าจะอยู่ที่ 4-5 พันตัน/เดือน โมโม แบรนด์อาหารสัตว์น้ำของ SPMโดดเด่นในนวัตกรม และต้องการสื่อถึงแบรนด์จำหน่ายน้องใหม่ให้ติดปากผู้ใช้ โดยแบ่งเป็นอาหารปลาดุก, อาหารปลานิล และอาหารปลากินพืช ในอาหารปลาดุกนั้นเป็นการวิจัยร่วมกัน ที่ทางฝ่ายขาย ให้ข้อเสนอแนะ ในการตีตลาดลูกกค้าที่ต้องการลดต้นทุนการใช้อาหารราคาแพง เลี้ยงปลาในกระชัง จึงเกิดอาหารปลาดุกโปรตีน 32 % มาป้อนตลาดูกค้าเลี้ยงปลานิล/ทับทิมกระชัง สำหรับเอเยนต์และเกษตรกรผู้ใช้คุณสรพหลกล่าวว่าถึงแม้ อาหารปลาโมโม่ ของบริษัท เอส พีเอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด จะเป็นน้องใหม่ แต่อยากให้มั่นใจว่าประสบการณ์กว่า 40 ปี ในธุรกิจอาหารสัตว์ ของบริษัทมีจุดแข็งหลายๆ ส่วน ที่อยากนำเสนอให้กับเกษตรกรและตัวเอเยนต์ ทราบคือ สิ่งดีๆที่ทางบริษัทต้องการปฎิวัติวงการอาหารสัตว์น้ำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ว่า ผู้ใช้ได้รับสิ่งดีๆ มากกว่า การแข่งขันกับของผู้ผลิต จึงอยากให้ทดลองใช้ เปิดใจรับเทคโนโลยีใหม่ๆนวัตกรรมที่ผ่านการวิจัยร่วมกับกระทรวงวิทย์ฯ ลองรูปแบบการตลาดใหม่ๆ และต้อนรับทีมงาน เพื่อเข้าไปดูแลเรื่องการเลี้ยงและการพัฒนารูปแบบการเลี้ยง ส่วนของเอเยนต์เอง ทางบริษัทยินดีสนับสนุนเอเยนต์และผลักดันให้เกิดความหลากหลายในการจำหน่ายสินค้า ในโปรโมชั่นพิเศษต่างๆ ร่วมถึงการดูแลเรื่องการตลาด ให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ดังปณิธานที่ว่า เราจะโตไปด้วยกัน การตลาดเชิงรุก ชนะศึกคู่แข่ง จากความได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนที่ถูกกว่าคู่แข่ง ตรงนี้เป็นจุดสำคัญที่จะใช้เพื่อนำเสนอ ในการเจาะตลาดใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่เริ่มจากการทดลองใช้ก่อน ถ้ามั่นใจสินค้าลูกค้าจะก้าวข้ามคำว่าแบรนด์ และเปิดใจยอมรับสินค้า
อ่านต่อตอนที่ 3 (ตอนจบ)
อ่านตอนที่ 1
นิติกาญจนา , นิติกาญจนา
[wpdevart_like_box profile_id=”377357182296025″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]