กบ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibian) ถือเป็นสัตว์ที่ช่วงหนึ่งของชีวิตต้องดำรงชีวิตอยู่ในน้ำ และอีกช่วงหนึ่งของชีวิตจะดำรงอยู่บนบก โดยในช่วงการวางไข่และฟักออกเป็นระยะลูกอ๊อดจะต้องดำรงชีวิตอยู่ในน้ำตลอดเวลา แต่เมื่อถึงระยะตัวเต็มวัยจะดำรงชีวิตอยู่บนบก จนกว่าจะถึงฤดูกาลผสมพันธุ์อีกครั้ง เลี้ยงกบเนื้อ
การเพาะเลี้ยงกบ
กบที่พร้อมจะผสมพันธุ์จะทำการจับคู่ผสมพันธุ์และวางไข่ในแหล่งน้ำอีกครั้ง ซึ่งในอดีตนั้นเราสามารถหากบธรรมชาติมาบริโภคได้ แต่ในปัจจุบันที่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง ธรรมชาติเริ่มเสื่อมสภาพ แหล่งน้ำที่ใช้ในการวางไข่ไม่เหมาะสมเหมือนเดิม ทำให้จำนวนกบธรรมชาติลดลง และการจับกบจากธรรมชาติสามารถจับได้เพียงในฤดูฝนเท่านั้น
ในขณะที่ความต้องการบริโภคกบมีตลอดทั้งปี และนับวันจะมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจการเลี้ยงกบมีการขยายออกไปอย่างกว้างขวางในหลายๆ พื้นที่ทั่วประเทศไทย ดังนั้นหลายคนที่กำลังมองหาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้จากงานประจำ อาชีพการเพาะเลี้ยงกบถือเป็นการลงทุนระยะสั้น ต้นทุนที่ไม่สูงมากนัก ถ้าวางแผนจัดการดีๆ การันตีได้ว่า สร้างงาน สร้างเงิน ที่ดีกลับมาอย่างแน่นอน
จุดเริ่มต้นการเพาะเลี้ยงปลากราย
นิตยสารสัตว์น้ำ หลายฉบับที่ผ่านมาทีมงานฯ ได้นำเสนอข้อมูลการเลี้ยงกบในรูปแบบต่างๆ มากมายอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้ากระแสอาชีพการเลี้ยงกบอย่างครบวงจร อย่าง นิตยาฟาร์มกบและปลากราย คุณพัชรินทร์ ศรีผดุง หรือคุณเปิ้ล หลานสาว คุณนิตยา ไทยศรี ผู้ก่อร่างสร้างตัวธุรกิจการเลี้ยงกบขึ้นมาให้หลานสาวเป็นผู้ดูแล
สืบเนื่องจากคุณนิตยามีแพปลาจำหน่ายสัตว์น้ำอยู่ที่ตลาดไท และตลาดอ่างทอง รับซื้อกบ ปลากราย ตะพาบน้ำ ฯลฯ จำหน่ายส่งให้กับพ่อค้า แม่ค้า ปริมาณการรับซื้อในแต่ละครั้งค่อนข้างสูง เกษตรกรที่ติดต่อซื้อขายผลผลิตต้องการราคาเพิ่ม การซื้อขายไม่คล่องตัว ทางฟาร์มจึงเปลี่ยนแนวทางมาเลี้ยงเองในกระชังบ่อปลากราย
การเลี้ยงปลากรายเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว เลี้ยงปลากรายเพื่อป้อนแพที่ตลาดเอง จากความต้องการของตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นจุดเปลี่ยนให้คุณเปิ้ลต้องลงมือเลี้ยงกบและปลากรายเอง การเลี้ยงกบในครอปแรกเป็นการปล่อยเลี้ยงในกระชังบ่อปลากราย และขยายสู่การเลี้ยงในบ่อดิน จากปริมาณและความต้องการที่สูงขึ้น แทนที่ทางฟาร์มจะเพาะพันธุ์ลูกกบขึ้นมาเลี้ยงเอง คุณเปิ้ลจะลดขั้นตอนนี้ไป โดยการรับซื้อลูกอ๊อดตัวละ 10 -12 สตางค์ จากฟาร์มแถบจังหวัดนครปฐม มาอนุบาลในกระชังก่อนปล่อยลงเลี้ยงในบ่อดิน
สภาพพื้นที่เลี้ยงกบ
สิ่งที่เป็นหัวใจหลักของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำก็คือ “น้ำ” ที่เปรียบเสมือนบ้านที่อยู่อาศัยตลอดห่วงชีวิต การจัดการน้ำของคุณเปิ้ล กล่าวว่า ที่ฟาร์มจะมีการวางระบบน้ำเข้าต้นบ่อ และทางน้ำเข้าท้ายบ่อ โดยจะเปลี่ยนถ่ายน้ำ เพื่อพัดพาของเสียออกจากบ่อทุกๆ 2-3 วัน ในช่วงแรกๆ ปัญหาเรื่องน้ำจะยังไม่มีผลกระทบมาก แต่เมื่อใดที่กบเริ่มโตและกินอาหารในปริมาณมาก ของเสียในบ่อต้องเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้นคนเลี้ยงต้องคอยสังเกตและเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ
หลากหลายทัศนคติในเรื่องนี้ที่ต้องบอกว่าคนเลี้ยงมือใหม่อาจจะต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า น้ำบาดาลใช้เลี้ยงกบได้ไหม คุณเปิ้ลกล่าวว่าน้ำบาดาลใช้เลี้ยงกบได้ เพราะถือเป็นน้ำที่สะอาด บริสุทธิ์ แร่ธาตุสูง แต่เรื่องของปริมาณออกซิเจนจะน้อย ถ้าจะใช้ต้องค่อยๆ เติมเข้าบ่อ เพื่อให้เกิดการปรับสภาพกันก่อน หรือถ้าให้ดี คือ “การพักน้ำ” เพื่อให้เกิดออกซิเจนที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงกบอย่างน้อย 1-2 วัน ก่อนนำไปเลี้ยงกบ
การอนุบาลลูกอ๊อด
การอนุบาลลูกอ๊อดก่อนปล่อยลงเลี้ยงในบ่อดินเป็นวิธีการที่ดี ถึงแม้จะเพิ่มความยุ่งยากเข้ามา คุณเปิ้ลกล่าวว่าการอนุบาลลูกอ๊อดอายุ 7-10 วัน ในกระชังก่อน เป็นการป้อนเหยื่อเข้าปากให้ลูกอ๊อดได้กินอาหารอย่างเต็มที่ ในพื้นที่จำกัด อาหารในช่วงแรกจะเน้นอาหารผงสำหรับสัตว์น้ำวัยอ่อน ดี-ไลท์ โปรตีน 42 % หมัดเด็ดของ บริษัท ไทยยูเนียน ฟีดมิลล์ จำกัด ให้กินในช่วง 1 เดือนแรก
ส่งผลในเรื่องของการเจริญเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง อัตรารอดสูง และไม่แตกไซส์ วิธีการนี้ถือว่าได้ผลดีกว่าการปล่อยลูกอ๊อดลงเลี้ยงในบ่อดินเลย การอนุบาลจะใช้ระยะเวลา 30-40 วัน จึงจะได้ลูกกบพร้อมย้ายไปเลี้ยงในบ่อดิน และจำหน่ายต่อให้กับลูกบ่อไปเลี้ยงอีกส่วนหนึ่ง
การบริหารจัดการบ่อเลี้ยงกบ
เมื่อจับผลผลิตหมดบ่อแล้วจะทำการตากบ่อให้แห้ง 2-3 วัน จากนั้นจึงเติมน้ำเข้าบ่อในระดับ 50-80 เซนติเมตร การเลี้ยงกบไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมาก เพาะกบจะมีช่วงเวลาที่ต้องอยู่บนบกด้วย และอัตราปล่อยลูกกบจะอยู่ที่ 50,000-60,000 ตัว/บ่อ 1งาน ให้อาหารวันละ 2 มื้อ เช้า-เย็น
และมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกๆ 2-3 วัน หรือขึ้นอยู่กับสภาพน้ำในบ่อ ตั้งแต่ลูกอ๊อดจนถึงจับผลผลิต จะใช้ระยะเวลา 4-5 เดือน ใน 1 ปี จะวางแผนการเลี้ยงให้ได้ 3-4 รอบ เพื่อให้ผลผลิตเพียงพอและมีจำหน่ายตลอดทั้งปี
ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายกบ
การเลี้ยงกบในบ่อดิน ผลผลิตที่ได้จะขึ้นอยู่กับอัตรารอดและขนาดที่จะจับ เกษตรกรที่สนใจหรือต้องการเลี้ยงกบ สิ่งที่ต้องการวางแผน คือ ตลาดรับซื้อผลผลิตคืน นิตยาฟาร์มกบและปลากรายเป็นฟาร์มที่ได้เปรียบ เพราะมีแพที่ตลาดไทและตลาดอ่างทอง รองรับผลผลิตวันละ 1-2 ตัน เป็นการทำธุรกิจที่ครบวงจร ลูกบ่อที่เลี้ยงกบเพื่อให้ทางฟาร์มจับผลผลิตจะได้ราคาที่ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ทำให้ลูกบ่อที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ อยู่ได้ เพราะต้นทุนการเลี้ยงไม่เกิน 40 บาท
การให้อาหาร เลี้ยงกบเนื้อ
เรื่องของอาหารกบ ในช่วงการเลี้ยงคุณเปิ้ลและลูกบ่อได้มีการทดองใช้อาหารจากบริษัทผู้ผลิตอาหารมามากมายหลายบริษัท แต่ที่สัมผัสได้ถึงความแตกต่างในเรื่องของน้ำหนัก อัตราแลกเนื้อที่ดี จะเป็นอาหาร กบทอง ของ บริษัท ไทยยูเนียน ฟีดมิลล์ จำกัด เพราะที่ฟาร์มและลูกบ่อจะประเมินกันด้วยอาหารที่ใช้หมดไปในแต่ละรอบ เมื่อถึงเวลาจับผลผลิตน้ำหนักจะได้เกินคาดทุกรอบ ทำให้ทางฟาร์มและลูกบ่อมั่นใจที่จะเลือกใช้อาหารกบทองเลี้ยงกบ
ฝากถึงผู้ที่สนใจเลี้ยงกบ
สำหรับเกษตรกรหรือผู้สนใจที่กำลังศึกษาหรือต้องการเลี้ยงกบ นิตยาฟาร์มกบและปลากราย ถือเป็นฟาร์มเลี้ยงที่ประสบความสำเร็จที่ดีฟาร์มหนึ่ง เพราะตลอดการเลี้ยงมีการทดลอง ทั้งในเรื่องลูกพันธุ์ที่ดี และอาหารที่มีคุณภาพ ใช้เลี้ยงกบ การมีตลาดรองรับเพื่อกระจายผลผลิต ทำให้ลูกบ่อเชื่อมั่นว่าเลี้ยงกบแล้วมีที่ขายอย่างแน่นอน ในราคาที่ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง
ขอขอบคุณ คุณพัชรินทร์ ศรีผดุง นิตยาฟาร์มกบและปลากราย
และทีมงานบริษัท ไทยยูเนียน ฟีดมิลล์ จำกัด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 17 หมู่ 2 ต.วังหว้า อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี โทร.085-260-1680
อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 315