ฟาร์มกระบือ ฟาร์มควายไทย เลี้ยงระบบปิดมาตรฐาน ทำรายได้ทั้งนม เนื้อ และลูก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในบรรดาสัตว์ประจำชาติ หรือสัตว์พันธุ์พื้นเมือง ที่มีชื่อเสียงดังไกลไปทั่วโลก และที่สร้างชื่อเสียงเป็นหน้าเป็นตาให้แก่ประเทศไทยมากที่สุด มีอยู่แค่ 2 ชนิด คือ “ไก่ชน” และ “ควายไทย” เปรียบเสมือนเมื่อนักท่องเที่ยวนึกถึงประเทศไทยย่อมต้องนึกถึง 2 สิ่งแรก ได้แก่ อาหารไทย และมวยไทย ฉันใดก็ฉันนั้น

เมื่อเอ่ยถึง  “ควายไทย”  ปัจจุบันในประเทศไทยมีจำนวนประชากรควายไทยประมาณ 1 ล้านตัวเศษๆ ทั้งนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทว่าหากมองในภาพรวมแล้วก็ยังไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องเท่าที่ควร   เมื่อเปรียบเทียบกับการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์โคนม  และ   โคเนื้อที่มีหลายๆ หน่วยงานให้การสนับสนุนเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม ยังมีกลุ่ม  “สมาคมอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย”  ที่ถือเป็นกำลังสำคัญและหัวเรือใหญ่ในการช่วยขับเคลื่อนพัฒนาองค์ความรู้การเลี้ยงควายไทยพันธุ์พื้นเมืองอย่างมีมาตรฐานและเป็นระบบให้กับพี่น้องเกษตรกรไทยมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งหวังให้ยึดอาชีพเลี้ยงควายไทย ให้เปลี่ยนวิธีเลี้ยงจากปล่อยแบบไล่ทุ่งซึ่งทำกันมาหลายชั่วอายุคน ก็ดูยังเหมือนเดิมไม่มีอะไรดีขึ้น

ด้วยเหตุนี้ทางสมาคมจึงได้นำร่องสู่การเลี้ยงระบบปิดที่มีมาตรฐาน รูปแบบประณีต ภายใต้กฎระเบียบที่กรมปศุสัตว์ (ปศ.) กำหนด โดยการเสาะแสวงหานำพ่อแม่พันธุ์น้ำดีเข้าไปผสมพันธุ์ในฟาร์ม/ในฝูงควายของพี่น้องเกษตรกรเพื่อพัฒนาคุณภาพควายไทยให้ตรงความต้องการของตลาด ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตในเรื่องรายได้ของคนเลี้ยงควายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนสืบไป

1.จ้าวแก้วฟ้า-พญาควายเผือก
1.จ้าวแก้วฟ้า-พญาควายเผือก
2.คุณพรหมพิริยะ-สอนศิริ-และภรรยา
2.คุณพรหมพิริยะ-สอนศิริ-และภรรยา ฟาร์มกระบือ ฟาร์มกระบือ ฟาร์มกระบือ ฟาร์มกระบือ ฟาร์มกระบือ

นิตยสารสัตว์บก ได้รับเกียรติสัมภาษณ์ คุณพรพมพิริยะ สอนศิริ หรือ “คุณเอก” ผู้บริหารแห่ง “สอนศิริฟาร์มควายไทย”  ตั้งอยู่ในพื้นที่  ต.บางยาง อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี  ซึ่งเป็นฟาร์มเลี้ยงควายไทยพันธุ์พื้นเมืองระบบปิด โรงเรือนแบบประณีต คุณภาพสูง ซึ่งถือเป็นฟาร์มรายแรกๆ ของประเทศไทยที่ครบวงจร และได้มาตรฐานมากที่สุด

ทั้งนี้อีกหนึ่งบทบาทที่สำคัญของคุณพรพมพิริยะ คือ ดำรงตำแหน่งเป็น นายกสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย ถือเป็นนายกคนที่ 4 ในสมาคมฯ (วาระ 2 ปี) ทั้งนี้เพื่อเป็นศูนย์รวมและผู้นำการยกระดับการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ควายไทยพื้นเมืองให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ ผ่านการขับเคลื่อนโครงการที่มีประโยชน์ด้านต่างๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงควายถ่ายทอดสู่พี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงควายทั่วประเทศ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ยกตัวอย่าง โครงการที่สมาคมฯ ดำเนินการ เช่น โครงการ “คืนควายใหญ่สู่แผ่นดิน” กล่าวโดยสังเขป คือ การแจกน้ำเชื้อควายที่เป็นระดับ Grand Champ ให้กับพี่น้องเกษตรกร แต่ต้องเป็นสมาชิกของสมาคมฯ ก่อน มีค่าสมัครสมาชิก 600 บาท ซึ่งเกษตรกรทุกคนที่สมัครสมาชิกแล้วจะได้รับน้ำเชื้อพ่อพันธุ์จำนวน 10 โด้ส นำไปปรับปรุงพันธุ์ พร้อมทั้งสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่สมาคมฯ ช่วยเหลือและสนับสนุนอีกมากมาย

3.ควายกินหญ้า
3.ควายกินหญ้า

จุดเริ่มต้นการเลี้ยงควาย

ในส่วนการเริ่มต้นจัดสร้าง “สอนศิริฟาร์มควายไทย” โดยคุณเอกเปิดเผยว่า การจัดสร้างฟาร์มดังกล่าวถือเป็นต้นแบบการเริ่มต้นเลี้ยงควายขายนมในโรงเรือนแบบประณีต เน้นความสะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็น แยกคอกชัดเจน พ่อ แม่ ลูก ควายขุน  ในคอกมีถังน้ำดื่ม  ช่องใส่อาหาร  มีที่นอนฟองน้ำปูรองป้องกันควายเป็นแผลจากการคุกเข่าเวลาลุกขึ้นยืน ติดตั้งระบบพ่นน้ำทั่วโรงเรือน ช่วยคลายร้อน และลดความเครียดให้ควาย  เพราะฉะนั้นจึงเรียกได้ว่าเป็นการเลี้ยงควายรูปแบบปิดที่ได้มาตรฐาน แบบประณีตอย่างแท้จริง

คุณเอกถือเป็นบุคคลต้นแบบใน “แวดวงคนเลี้ยงควายไทย” โดยเป็นทั้งเกษตรกรและนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงและภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว จากการศึกษาและลงมือปฏิบัติจริงในการเนรมิตปรับปรุงฟาร์มมาตรฐานเลี้ยงและเพาะขยายควายไทยพันธุ์พื้นเมือง โดยใช้เวลาแค่ 4-5 ปี สามารถสร้างมาตรฐานและสร้างตลาด  ผลิตลูกควายพันธุ์พื้นเมืองที่ร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง จำหน่ายตรงความต้องการของตลาดในราคาสูง เป็นที่ยอมรับและรู้จักอย่างกว้างขวางระดับประเทศ

เมื่อกล่าวถึงคุณเอก หากลืมเรื่องการดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย เขาก็เป็นเกษตรกรไทยอีกคนหนึ่ง  ที่อดีตเคยยึดอาชีพเลี้ยงโคนม/โคเนื้อมา  ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นคนเลี้ยงควาย  ทั้งนี้โดยส่วนตัว  คุณเอกกล่าวว่าตนยึดอาชีพทำฟาร์มปศุสัตว์มาตั้งแต่แรกหลังเรียนจบ .ตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (เดิมเรียกว่า เกษตรบางพระ) เอกวิชาประมง ซึ่งมองว่าสัตว์น้ำเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ สร้างรายได้งาม แต่มีข้อจำกัดหลายอย่าง โดยคนเลี้ยงไม่สามารถควบคุมมาตรฐานหรืออุณหภูมิของน้ำ รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ ในการเลี้ยงได้ทั้งหมด

ตนจึงหันมาเลี้ยงโคนม โคเนื้อ แต่จากประสบการณ์พบว่าการเลี้ยงโคให้ดี มีคุณภาพจริงๆ นั้น ต้องใช้เงินทุนสูง โดยต้องสั่งนำเข้าสายพันธุ์ชั้นเลิศจากต่างประเทศเพื่อนำมาผสมพันธุ์ นอกจากนั้นเรื่องอาหาร ตลอดจนเรื่องการควบคุมป้องกันโรคก็ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างสูง ซึ่งโคมักเกิดโรคบ่อย และไม่แข็งแรง

เมื่อเปรียบเทียบกับควายซึ่งเป็นสัตว์พื้นเมืองประจำชาติไทย จึงเป็นเหตุให้เกิดความสนใจ และค่อยๆ เริ่มศึกษาองค์ความรู้การเลี้ยงเพาะพันธุ์ควายไทยพันธุ์พื้นเมืองมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“เมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว  ผมตัดสินใจที่จะสร้างฟาร์มขยายควายไทยพันธุ์พื้นเมือง  เพราะควายไทยทนต่อโรคและสภาพภูมิอากาศบ้านเรา  อีกทั้งกินง่าย  กินอาหารหยาบ  โดยเฉพาะหญ้าได้ทุกชนิด  ขอเพียงมีแหล่งน้ำให้เขาได้ลงเล่นผ่อนคลาย นอกจากนี้ควายไทยไม่ต้องเลี้ยงขุน โดยตามธรรมชาติรูปร่างและโครงสร้างสูง และตัวใหญ่อยู่แล้ว หากได้พ่อแม่พันธุ์ที่ดีในการผสมขยายพันธุ์จะยิ่งทำให้กลายเป็นควายไทยพันธุ์ยักษ์ชั้นเลิศ ส่งจำหน่ายราคาเริ่มต้นหลายแสนบาทไปจนถึงหลักล้าน

ผมจึงจุดประกายศึกษาข้อมูลควายไทยในประเทศด้วยตัวเอง กับถามผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ และลงพื้นที่ตระเวนเสาะแสวงหาควายไทยพันธุ์ยักษ์ ดีกรีแกรนด์แชมป์ ตามงานจัดแสดง และงานประกวดต่างๆ เพื่อลงทุนซื้อนำกลับเข้าฟาร์มมาเพาะพันธุ์ลูกควายชั้นเลิศจำหน่ายสู่ตลาดและพ่อค้ารับซื้อต่อไป

จนกระทั่งจากประสบการณ์ที่คลุกคลีจึงทราบว่าประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีควายที่มีคุณภาพมากที่สุด   และแหล่งที่ค้นพบ ควายไทยพันธุ์ยักษ์มีคุณภาพมากที่สุด มี 4 จังหวัด ได้แก่ จ.อุบลราชธานี จ.อุทัยธานี จ.อุดรธานี และ จ.ชลบุรี” คุณเอกให้ความเห็นถึงจุดเริ่มต้น

4.โรงเรือนเลี้ยงควาย
4.โรงเรือนเลี้ยงควาย ฟาร์มกระบือ ฟาร์มกระบือ ฟาร์มกระบือ ฟาร์มกระบือ ฟาร์มกระบือ ฟาร์มกระบือ

สภาพพื้นใน ฟาร์มกระบือ

ปัจจุบัน  “สอนศิริฟาร์มควายไทย”  ได้รับมาตรฐานฟาร์ม  ออกให้โดย กรมปศุสัตว์  โดยขึ้นชื่อว่า เป็น “ฟาร์มควายไทยรูปแบบการเลี้ยงประณีต ภายใต้ระบบปิดที่ได้มาตรฐาน” รวมถึงเป็นฟาร์มต้นแบบ และถือเป็นศูนย์การเรียนรู้ ดูงาน จากคณะฯ และสถาบันการศึกษาต่างๆ ให้เข้าชมงานและวิธีการเลี้ยงและขยายพันธุ์ควายไทย รวมถึงเกษตรกรและประชาชนผู้สนใจทั่วไปอีกด้วย

สำหรับ  “สอนศิริฟาร์มควายไทย”  ปัจจุบันมีพื้นที่ฟาร์มเลี้ยง  หรือโรงเรือน  เลี้ยงควาย โดยประมาณ  5  ไร่  ขนาดโรงเรือนกว้าง 13 เมตร ยาว 60 เมตร เลี้ยงได้ประมาณ 24 ตัว เลี้ยงแบบยืนโรง และมีห้องรีดนมอีก 2 ห้อง เพื่อใช้รีดนมควาย  แปรรูปส่งจำหน่าย

สร้างรายได้รายวันอย่างงามอีกด้วย  ภายใต้การทำงานมีทีมงานช่วยดูแลทั้งหมดร่วม 10 ชีวิต และในจำนวนนั้นกว่าครึ่งเป็นสัตวบาลคนรุ่นใหม่มากความสามารถ และในส่วนจำนวนควายในฟาร์มฯ ปัจจุบัน รวมพ่อแม่พันธุ์และลูกควายเฉลี่ยรวมทั้งสิ้น 300 ตัว

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.จ้าวมณีแดง แกรนด์แชมเปี้ยน ใน ฟาร์มกระบือ
5.จ้าวมณีแดง แกรนด์แชมเปี้ยน ใน ฟาร์มกระบือ

การคัดสรรพ่อแม่พันธุ์ควาย

ทั้งนี้คุณเอกวางแผนขยายจัดสร้างโรงเรือนในอนาคตอันใกล้อีกประมาณ 40 ไร่ ในส่วนภายในฟาร์มฯ มีพ่อแม่พันธุ์ควายไทยชั้นเลิศ ใช้ในการผสมลูกควายคุณภาพเพื่อจำหน่ายสู่ตลาด  ซึ่งพ่อแม่พันธุ์ราคาเฉียดล้าน (ชื่อแก้วฟ้า กับมณีแดง)

สำหรับสเป็ค หรือลักษณะการคัดสรรพ่อแม่พันธุ์ตลอดจนควายไทยที่ได้รูปทรงมาตรฐานขายได้ราคางาม คุณเอกเปิดเผยว่าควายไทยที่ได้มาตรฐาน ยกตัวอย่างเช่น ตัวเมียต้องมีส่วนสูงขั้นต่ำ 145 ซม.ขึ้นไป ถ้าต่ำกว่านั้น ต้องดูสัดส่วนของลำตัว เช่น ตัวต้องยาว ท้องต้องอ่าง มีความหนาลึก เพื่อรับน้ำหนักลูกได้เยอะขึ้น

ส่วนพ่อพันธุ์น้ำดี ถ้าจะให้ดีต้องเป็นระดับ “แกรนด์แชมป์” หรือรูปทรง โครงสร้าง ดูเนื้อหนังมีปริมาณเยอะ และต้องสูงไว้ก่อน เปรียบเทียบเหมือนกับลักษณะของมนุษย์ ถ้าคนที่สูงน้ำหนักเท่ากับคนที่ตัวเล็ก หรือคนเตี้ย แต่มวลเนื้อทั้งหมดส่วนใหญ่คนที่สูงกว่าจะมีมากกว่า เป็นต้น

6.ลูกควาย
6.ลูกควาย

รายได้จากการขายลูกควาย และผลิตภัณฑ์น้ำนมควาย

สำหรับแหล่งรายได้ของ  “สอนศิริฟาร์มควายไทย”  ปัจจุบัน ได้แก่  การเพาะพันธุ์ลูกควายไทยพันธุ์พื้นเมืองส่งจำหน่ายแก่พ่อค้าที่รับซื้อ และเกษตรกรที่สนใจ โดยธรรมชาติของควายระยะเวลาตั้งท้อง 11 เดือน หลังจากคลอดออกมา ซึ่งลูกควาย 1 ตัว หากได้รับการเลี้ยงดูแลอย่างดี น้ำหนักประมาณ 1 ตัน จะมีราคาซื้อขายเฉลี่ยตัวละ 80,000-300,000 บาท เลยทีเดียว

และรายได้อีกช่องทางหนึ่ง คือ การรีดนมควาย (ผลิต) รูปแบบพาสเจอร์ไรซ์ (ชนิดขวด) และส่งจำหน่ายให้แก่ร้านค้าตัวแทน และพ่อค้ารับซื้อทั่วไป ทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยคุณเอกบอกว่าการผลิตนมควายส่งจำหน่ายถือเป็นรายได้สำคัญของฟาร์มในขณะนี้ เพราะสามารถแปรรูปและต่อยอดตลาดผลิตภัณฑ์จากนมควายได้หลากหลายไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งปัจจุบันการรีดนมควายแพ็คเกจจิ้งและเตรียมส่งจำหน่ายสามารถสร้างรายได้เฉลี่ย/วัน ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท

นอกจากการขายลูกควาย และการแปรรูปผลิตภัณฑ์น้ำนมควายแล้ว ปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้ “สอนศิริฟาร์มควายไทย” เตรียมแตกไลน์ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปและเพิ่มมูลค่าจากน้ำนมควายอีกมากมายได้แก่ ผลิตภัณฑ์โยเกิร์ต  ผลิตภัณฑ์มอซซาเรลลาชีส และไอศกรีมนมควาย เป็นต้น ภายใต้แบรนด์  “สยามบัฟมิลค์” (SIAM BUFF MILK)

โฆษณา
AP Chemical Thailand
7.อาบน้ำทำความสะอาดแม่ควายก่อนรีดนม
7.อาบน้ำทำความสะอาดแม่ควายก่อนรีดนม
การผูกขาควายก่อนรีดนม-เพื่อไม่ให้ควายสะบัดเครื่องรีดนม
การผูกขาควายก่อนรีดนม-เพื่อไม่ให้ควายสะบัดเครื่องรีดนม
ประคบเต้านมด้วยน้ำอุ่นก่อนรีด
ประคบเต้านมด้วยน้ำอุ่นก่อนรีด
ต้มน้ำร้อนเพื่อทำความสะอาดเครื่องมือก่อนรีดนมควาย
ต้มน้ำร้อนเพื่อทำความสะอาดเครื่องมือก่อนรีดนมควาย
กำลังรีดนมควายด้วยเครื่อง
กำลังรีดนมควายด้วยเครื่อง
การชั่งน้ำนม
การชั่งน้ำนม

กระบวนการรีดนมและผลิตน้ำนมควาย

ด้านกระบวนการรีดนมและผลิตนมควาย ของ “สอนศิริฟาร์มควายไทย” ภายใต้กระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานนั้น คุณเอกกล่าวอธิบายอย่างเข้าใจง่ายๆ ว่า “การเลี้ยงควายนม แม่ควายควรเป็นแม่ท้อง 2 หรือ 3 เพราะให้นมลูกเป็นแล้ว จึงสามารถผลิตน้ำนมได้เต็มที่ โดยแม่ควาย 1 ตัว ให้น้ำนมได้เฉลี่ยวันละ 5-6 กก. แต่จะรีดเอามาได้แค่ 3 กก. ที่เหลือให้แม่ควายเก็บไว้เลี้ยงลูกต่อ โดยจะเริ่มรีดนมหลังแม่ควายคลอดได้ 15 วัน และรีดเพียงแค่วันละครั้ง  (ปกติทั่วไปรีดวันละ 2 ครั้ง) ทำเช่นนี้จนครบ 6 เดือน จึงจะถึงระยะหมดน้ำนม

ทั้งนี้ก่อนรีดจะอาบน้ำทำความสะอาดเสียก่อน จากนั้นนำแม่ควายเข้าซองรีด เอาเชือกมัดขาหลัง 2 ข้าง กับหลัก ป้องกันการดิ้นและดีดตัว พร้อมกับสเปรย์น้ำเพื่อคลายเครียดให้ควาย จากนั้นประคบเต้าด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นกระตุ้นให้นมออกมาง่ายขึ้น

แล้วรีดด้วยเครื่องรีดนมอัตโนมัติ ใช้เวลา 30 นาที จะได้น้ำนมดิบ 3 กก. นำมากรองด้วยผ้าขาวบาง ก่อนนำไปพาสเจอร์ไรซ์ด้วยการนึ่งที่อุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส นาน 1 นาที แล้วกรอกใส่ขวดแก้วขนาด 180 ซีซี. ส่งขายขวดละ 55 บาท และอีกส่วนจะนำไปทำโยเกิร์ตขายกระปุกละ 45 บาท โดยทั้งสองผลิตภัณฑ์สามารถเก็บไว้รับประทานได้ 1 เดือน เพราะฉะนั้นผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จึงถือเป็นนมควายไทยเจ้าแรกๆ ที่มีคุณภาพ และส่งจำหน่ายออกสู่ตลาดของประเทศไทยก็ว่าได้”

8.นมควายพาสเจอร์ไรส์-100%
8.นมควายพาสเจอร์ไรส์-100%

คุณประโยชน์จากน้ำนมควาย

นมควายมีสารอาหารมากกว่านมวัว และนมเเพะ หลายเท่า  ทั้งโปรตีน ฟอสฟอรัส วิตามินเอ ธาตุเหล็ก มีสีขาวนวล ชวนดื่ม ไม่มีกลิ่นคาว รสชาติหวานมัน และที่สำคัญมีคลอเลสเตอรอลต่ำมาก อีกทั้งน้ำนมควายยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ (Natural Antioxidant) อีกด้วย เหมาะแก่ผู้ที่แพ้แลคโตสในนมวัว

9.คุณพรหมพิริยะกับจ้าวมณีแดง
9.คุณพรหมพิริยะกับจ้าวมณีแดง

ฝากถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงควายไทย

ทั้งนี้คุณเอกยังได้กล่าวฝากถึงพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงควายไทยไว้อย่างน่าสนใจไว้ด้วยว่า “ขอฝากถึงเกษตรกรไทยว่า ควายไทยเป็นมรดกของไทย ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และพี่น้องเกษตรกรทุกคนจะต้องร่วมกันพัฒนาควายให้ตรงกับที่ตลาดต้องการมากที่สุด โดยสัตว์พันธุ์พื้นเมืองที่ดีที่สุดของไทยเราก็คือ ควายนี่แหละ ที่เลี้ยงง่าย ดูแลง่าย เกษตรกรเลี้ยงกันมาช้านานอยู่แล้ว

ทว่าปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลง ผู้บริโภคต้องการบริโภคอาหารที่ดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะฉะนั้นเกษตรกรอย่ารอคอยแต่โอกาส หรือการช่วยเหลือจากภาครัฐแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องวิ่งเข้าหาโอกาส และควรแสวงหาพ่อแม่พันธุ์ดีๆ เข้าไปปรับปรุงพันธุ์ ท่านก็จะได้ควายที่ตัวใหญ่ขึ้น ส่งขายได้ราคางาม ตรงความต้องการของตลาด

โฆษณา
AP Chemical Thailand
10.ผลิตภัณฑ์นมและโยเกิร์ตนมควาย
10.ผลิตภัณฑ์นมและโยเกิร์ตนมควาย ฟาร์มกระบือ ฟาร์มกระบือ ฟาร์มกระบือ ฟาร์มกระบือ ฟาร์มกระบือ

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายเนื้อและน้ำนมควาย

ในส่วนการแปรรูปเนื้อและนมควาย  ทางสมาคมฯ มีการส่งเสริมพัฒนาอยู่แล้ว  ซึ่งเรามีการแปรรูปทำเป็นเนื้อนุ่ม  เนื้อแช่แข็ง ในกลุ่มของ Buffalo Steak เรามีการรับซื้อควายขุนไม่เกิน 20 เดือน และมีการเลี้ยงที่ดี เพื่อสู่ขั้นตอนการทำเนื้อสเต็กต่างๆ และในส่วนของนม ทางสมาคมฯ ก็มีส่งเสริมในการผลิตน้ำนมควาย และจะมีการช่วยทำแผนการตลาดของสินค้าอื่นๆ ด้วย เช่น ชีส โยเกิร์ต ไอศกรีม ที่ผลิตจากนมควาย

ทั้งนี้ผมอยากส่งเสริมให้พ่อ-แม่ ผู้ปกครอง ปลูกฝังให้ลูกหลานดื่มนมควาย จะดีกว่าการซื้อนมผงมาชงให้ลูกหลาน เพราะนมควายมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นนมอินทรีย์ปลอดภัย 100% และในส่วนเกษตรกรที่สนใจพันธุกรรมควาย ที่สอนศิริฟาร์มควายไทยก็มีจำหน่าย และเรามีเครือข่ายของทางสมาคมฯ ด้วย สามารถติดต่อมาทางสมาคมฯ หรือติดต่อหาผมได้เลย

รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่จัดส่งจำหน่าย ซึ่งเรามีสาขาต่างจังหวัดด้วย เช่น ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ อุดรธานี กรุงเทพฯ และหลายๆ ที่ๆ เราจะขยายตลาดนมควายเพื่อจำหน่ายให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเกษตรกร หรือคณะศึกษาดูงานใด ที่ต้องการดูงานเชิญได้ที่สอนศิริฟาร์มควายไทย ทางเรายินดีต้อนรับเป็นอย่างยิ่ง

ซึ่งเปิดให้ดูงานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น รวมถึงประชาชนที่สนใจทั่วไป เราพร้อมเปิดให้เข้าชมฟรีเช่นกัน เชิญชวนให้เดินทางมาเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน การเลี้ยงควายไทยระบบใหม่ ระบบประณีต ที่เลี้ยงในพื้นที่จำกัด แต่เลี้ยงได้ปริมาณควายและคุณภาพที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”  

ขอขอบคุณ คุณพรพมพิริยะ สอนศิริ  ผู้บริหารแห่ง “สอนศิริฟาร์มควายไทย” ที่อยู่ติดต่อเลขที่ 61/1 หมู่ 2 ต.บางยาง อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี โทรศัพท์ 061-287-1545 ฟาร์มกระบือ ฟาร์มกระบือ ฟาร์มกระบือ ฟาร์มกระบือ