การลดอัตราการตาย ลูกสุกร 3 วัน แรกหลังคลอด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การลดอัตราการตายในลูกสุกร 3 วันแรกหลังคลอด

ปัญหาการสูญเสียลูกสุกรช่วง ประมาณ 3วันแรกหลังคลอด ส่วนใหญ่พบว่าเป็นปัญหาแม่ทับลูกตาย จะเกิดการสูญเสียมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายๆอย่าง ซึ่งสามารถจัดการได้ เช่น น้ำหนักแรกคลอด การปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรือน  และการจัดการอาหารและน้ำดื่ม และความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์ในเล้าคลอด ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมของแม่และลูกสุกรดังนี้

น้ำหนักแรกคลอด

พบว่าน้ำหนักลูกสุกรแรกคลอด มีผลต่อการสูญเสียอุณหภูมิร่างกาย โดยในลูกสุกรกลุ่มตัวเล็กจะสูญเสียอุณหภูมิร่างกายมากกว่าลูกสุกรตัวใหญ่ ลูกสุกรจะพยายามหาที่ๆอบอุ่นใกล้เคียงกับตัวแม่มากที่สุด ดังนั้นหากผู้เลี้ยงไม่จัดหาความอบอุ่นแหล่งอื่นให้เพียงพอ โอกาศที่ลูกสุกรจะไปนอนใกล้แม่  และถูกแม่ทับก็จะสูงขึ้น

การสูญเสียอุณหภูมิร่างกายลูกสุกรแรก เกิด –35 ชั่วโมงแรก

C.M.C.-van-der-Peet-Schwering
C.M.C.-van-der-Peet-Schwering
อาหารแม่พันธุ์อุ้มท้องที่มีค่าNSP
อาหารแม่พันธุ์อุ้มท้องที่มีค่าNSP

นอกจากความอบอุ่นหลังคลอด ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือคุณค่าทางโภชนะในอาหารและปริมาณการให้อาหารในช่วงของการอุ้มท้อง หากทำได้ถูกต้อง จะพบว่าน้ำหนักแรกคลอดเฉลี่ยจะสูงขึ้นโดยที่สุกรแม่พันธุ์ไม่อ้วน ซึ่งให้ผลดีทั้งในเรื่องการลดอัตราการสูญเสียจากแม่ทับและน้ำหนักหย่านมที่ดีขึ้น รวมทั้งการรักษาความสมบูรณ์พันธุ์เพื่อการให้ผลผลิตในรอบต่อไป

ในสายพันธุ์ที่ให้ขนาดครอกที่ใหญ่มากๆ การปรับโปรแกรมการให้อาหารมีผลสำคัญมากกับน้ำหนักแรกคลอดและความถูกต้องเหมาะสมของหุ่นแม่สุกร ( Body Condition Score ) อาหารแม่พันธุ์อุ้มท้องที่มีค่าNSP ( Non-Starch Polysaccharides)เหมาะสม จะสามารถปรับหุ่นแม่สุกร และน้ำหนักแรกคลอดได้ดีขึ้น  เนื่องจากอาหารที่สมดุลย์NSPเหมาะสม จะค่อยๆปลดปล่อยพลังงานออกมาช้าๆ แม่สุกรจะไม่ค่อยหอบ แม่สุกรรู้สึกอิ่มนาน สงบไม่เครียด  ส่งผลต่ออัตราการผสมติด อัตราการอยู่รอดของตัวอ่อน และน้ำหนักแรกคลอดที่ดีกว่า

แสดงการเปรียบเทียบน้ำหนักลูกแรกคลอดต่อครอก และจำนวนลูกสุกรแรกเกิดในแม่สุกรที่ได้รับอาหารที่มีแป้ง และอาหารที่มี NSP ในช่วงอุ้มท้อง

แสดงการเปรียบเทียบน้ำหนักลูกแรกคลอดต่อครอก
แสดงการเปรียบเทียบน้ำหนักลูกแรกคลอดต่อครอก
จำนวนลูกสุกรแรกเกิดในแม่สุกรที่ได้รับอาหารที่มีแป้ง-และอาหารที่มี-NSP-ในช่วงอุ้มท้อง
จำนวนลูกสุกรแรกเกิดในแม่สุกรที่ได้รับอาหารที่มีแป้ง-และอาหารที่มี-NSP-ในช่วงอุ้มท้อง

ที่มา: C.M.C. van der Peet – Schwering และคณะPerformance of sows fed high levels of nonstarch polysaccharides during gestation and lactation over three parities J.Anim. Sci. 2003. 81: 2247-2258

โฆษณา
AP Chemical Thailand

 

ปริมาณน้ำนมที่แม่สุกรผลิตได้
ปริมาณน้ำนมที่แม่สุกรผลิตได้

ปริมาณน้ำนมที่แม่สุกรผลิตได้

สิ่งสำคัญที่สุดที่จะส่งผลต่อสุขภาพลูกสุกรทั้งในเล้าคลอด อนุบาลและขุน คือการที่จะต้องให้ลูกสุกรได้รับน้ำนมเหลืองเร็วที่สุด และได้รับในปริมาณที่เพียงพอ ดังนั้น24ชั่วโมงแรกไม่ควรทำกิจกรรมใดๆกับลูกสุกร นอกจากการเช็ดตัวทำความสะอาด มัดสายสะดือ และเฝ้าคอยช่วยให้ได้กินน้ำนมเหลืองเร็วที่สุด และจับเข้ากล่องกกหลังจากกินนมแล้ว

นอกจากการหาที่อบอุ่นแล้ว ความหิวก็จะเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกสุกรเข้าไปอยู่ใกล้ๆแม่ตลอดเวลา ซึ่งมีผลทำให้แม่เกิดความเครียดจากการไม่ได้พักผ่อนด้วย

โดยเฉพาะฟาร์มที่มีขนาดครอกใหญ่ๆ ลูกตัวเล็ก จะรู้สึกหิวและหนาวมากกว่าปกติ ปริมาณน้ำนมแม่สุกรเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของลูกสุกร ดังนั้นเป็นหัวใจสำคัญของฟาร์มคือการรักษาสุขภาพแม่สุกรก่อนและหลังคลอดให้ดี และทำให้กินอาหารได้เพียงพอกับความต้องการ

% ความสามารถดูดซึมน้ำนมเหลืองของลำใส้ลูกสุกร

ความสามารถดูดซึมน้ำนมเหลืองของลำใส้ลูกสุกร
ความสามารถดูดซึมน้ำนมเหลืองของลำใส้ลูกสุกร

ลูกสุกรแรกเกิด ต้องได้กินนมน้ำเหลืองอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในช่วง 3 ชั่วโมงหลังคลอด

NSP ช่วยทำให้ทางเดินอาหารขยายตัวเพิ่มความจุของทางเดินอาหาร เพิ่มการกินได้มากขึ้นในช่วงเลี้ยงลูก

โฆษณา
AP Chemical Thailand
NSP-ช่วยทำให้ทางเดินอาหารขยายตัวเพิ่มความจุของทางเดินอาหาร-
NSP-ช่วยทำให้ทางเดินอาหารขยายตัวเพิ่มความจุของทางเดินอาหาร-

ที่มา: C.M.C. van der Peet-Schwering และคณะPerformance of sows fed high levels of nonstarch polysaccharides during gestation and lactation over three parities J.Anim. Sci. 2003. 81: 2247-2258

หลักการจัดการสภาพแวดล้อม

แม่สุกรต้องการอุณหภูมิที่เย็นสบาย(27Cº-30Cº)ในขณะที่ลูกสุกรต้องการความอบอุ่น ( 34 Cº – 32 Cº ) หลักการที่ผู้เขียนใช้จัดการคือทำให้แม่เย็นก่อน ไม่ต้องกลัวลูกสุกรหนาว แต่ต้องมีกล่องกกบังลมและให้ความอบอุ่น เพื่อให้ลูกสุกรแยกได้ชัดเจนว่าที่นอนอุ่นกว่าตัวแม่ และต้องไม่ลืมฝึกให้ลูกสุกรเข้ากล่องกกโดยเฉพาะ

48 ชั่วโมง แรก

หลักการจัดการสภาพแวดล้อม
หลักการจัดการสภาพแวดล้อม

คุณภาพน้ำและปริมาณน้ำ

ปริมาณน้ำส่งผลต่อสุขภาพและอัตราการกินได้ในแม่สุกร ในระหว่างเลี้ยงลูก แม่สุกรสามารถกินน้ำได้ถึง 30 ลิตร ต่อวัน ซึ่งปริมาณน้ำที่ต้องการปริมาณมากนี้เพื่อใช้ในการดำรงชีพของแม่สุกร และผลิตน้ำนม อัตราการไหลของน้ำจากถ้วยหรือจุ๊ปนี้ที่ดื่มกิน ควรจะอย่างน้อย 2 ลิตรต่อนาที  ซึ่งหากปริมาณน้ำมีเพียงพอแล้วสุกรกินอาหารอิ่ม อาการลุกนั่งกระวนกระวายลดลง ผลที่ตามมาคือการผลิตน้ำนมเพียงพอ

บทสรุป

  1. เพิ่มน้ำหนักแรกคลอดให้เหมาะสมกับขนาดครอกในฟาร์ม ด้วยโภชนะที่เพียงพอและโปรแกรมการให้อาหารแม่พันธุ์อุ้มท้องที่เหมาะสม
  2. รักษาสุขภาพก่อนและหลังคลอดให้ได้เพื่อให้แม่พันธุ์กินอาหารได้ตามความต้องการเพื่อให้การผลิตน้ำนมเพียงพอกับลูกสุกร
  3. ทำให้ลูกสุกรรู้ว่าที่นอนอุ่นกว่าแม่ ด้วยกล่องกกที่ดี ไฟกกที่อบอุ่น และการฝึกระยะแรก
  4. น้ำดื่มสะอาด และเพียงพอกับการดำรงชีวิตและผลิตน้ำนม

มีรายละเอียดปลีกย่อยที่สามารถช่วยให้การผลิตสุกรได้ดีขึ้นสามารถติดต่อพูดคุยกับทีมงานได้ตลอดเวลา แต่เพียงแค่ปฏิบัติ4ข้อนี้ให้ได้ มั่นใจว่าจะช่วยให้ได้ลูกสุกรมากขึ้นแน่นอน

 

ฝ่ายวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการวิชาการสุกร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

บริษทเบทาโกรจำกัด(มหาชน)-พระประแดง