เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลา ดุกบิ๊กอุย กำไรเพราะ ใช้เทคโนโลยี+ลดต้นทุนการผลิต

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อาชีพเกษตรกรรม ต้องทำด้วยความอดทน ขยันหมั่นเพียร และเอาใจใส่ แล้วระยะเวลาจะบ่งบอกถึงความสำเร็จ นอกจากสิ่งที่ทำไม่เคยหยุด คือ การเรียนรู้ พัฒนา และยอมรับสิ่งใหม่ๆ เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถทุ่นเวลา แรงงาน และส่งผลดีในระยะยาว รวมถึงการบริหารจัดการ ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม และต้นทุน เลี้ยงไก่บนบ่อปลา

อย่าง คุณศิริบัญชา บุญแสง เจ้าของสี่ร้อยฟาร์ม ทำเลี้ยงไก่ไข่จนประสบความสำเร็จในชีวิต คุณศิริบัญชาเปิดเผยต่อทีมงานนิตยสารสัตว์บกว่า โดยก่อนหน้านี้ตนเลี้ยงหมู และไก่เนื้อ รู้สึกว่าไม่ชอบการเลี้ยงแบบนี้ จึงเปลี่ยนมาเลี้ยงไก่ไข่ประมาณ 500-600 ตัว และเพาะพันธุ์ปลาดุกบิ๊กอุยควบคู่กันมา เป็นลักษณะเลี้ยงไก่บนบ่อปลา ในช่วงนั้นยังเป็นโรงเรือนแบบเปิด จากนั้นได้เพิ่มจำนวนการเลี้ยง สร้างโรงเรือนเพิ่ม และพัฒนามาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่หยุดการพัฒนา

1.คุณศิริบัญชา-บุญแสง-เลี้ยงไก่ไข่
1.คุณศิริบัญชา-บุญแสง-เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงไก่บนบ่อปลา เลี้ยงไก่บนบ่อปลา เลี้ยงไก่บนบ่อปลา

จุดเริ่มต้นการเลี้ยงไก่ไข่

ตอนเริ่มทำฟาร์มแรกๆ จะใช้เงินจากธนาคารแห่งหนึ่ง เงินกู้จากธนาคารดอกเบี้ยค่อนข้างสูง แต่การเกษตรกรรมยังเดินต่อไปได้เรื่อยๆ โดยกู้จากธนาคารได้ประมาณ 120,000 บาท จึงตัดสินใจทำโรงเรือนอีแวปเพื่อต้องการผลผลิตสูงขึ้น เพิ่มส่วนแบ่งการตลาด เดิมเป็นโรงเรือนธรรมดาแบบเปิด สามารถเลี้ยงได้ 2,000-3,000 ตัว/โรงเรือน โดยการนำเอาระบบอีแวปมาครอบโรงเรือนเดิมที่มีอยู่ สามารถเลี้ยงได้ถึง 10,000 ตัว/โรงเรือน ใช้พื้นที่ 7 ไร่ ในตอนนั้น

2.โรงเรือนไก่ไข่
2.โรงเรือนไก่ไข่
ระบบกรงไก่ไข่-้HYTEM
ระบบกรงไก่ไข่-้HYTEM

โรงเรือนแบบระบบอีแวป 

ปัจจุบันยังใช้ทุนจากธนาคาร แต่ได้เปลี่ยนมาเป็นอีกธนาคาร สามารถกู้ได้ประมาณ 17 ล้านบาท โดยพัฒนาการกู้มาเรื่อยๆ จากอดีต จนปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 50 กว่าไร่ เลี้ยงไก่ 100,000 ตัว รวมทั้งที่อยู่อาศัย และออฟฟิศ และเป็นโรงเรือนอีแวปทั้งหมด 4 โรงเรือน มีขนาด 12×80 ม. หรือ 12×90 ม. โดยรื้อหลังเดิมและสร้างหลังใหม่ จนสามารถได้มาตรฐานฟาร์มจากกรมปศุสัตว์เป็นเวลา 10 ปีแล้ว

และสาเหตุที่เปลี่ยนมาเลี้ยงในระบบอีแวป เพราะการเลี้ยงแบบเดิมมีปัญหาเรื่องผลผลิต หากถึงช่วงฤดูร้อน ไก่เกิดความเสียหายมาก ผลผลิตลดลง และยากต่อการควบคุมโรค จึงตัดสินใจเลือกใช้ระบบอีแวป ซึ่งทำให้ไก่ไข่ให้ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ประมาณ 280-320 ฟอง/แม่/ปี และที่สำคัญทางฟาร์มได้นำกรงไก่ไข่ไฮเท็ม (HYTEM) ของญี่ปุ่นมาใช้ นำเข้าโดย บริษัท เวลแฟร์อินเตอร์เทค จำกัด เป็นการยกระดับการเลี้ยงไก่ไข่ให้มีความสะดวก และมีการจัดการง่ายขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.บรรยากาศด้านนอกโรงเรือน
3.บรรยากาศด้านนอกโรงเรือน

ข้อดีของการ เลี้ยงไก่บนบ่อปลา

ทางฟาร์มทำกิจการเป็นระบบกงสี รายได้ที่ได้มาก็จะแบ่งกัน ลูกหลานใครจะเรียนก็ส่งเรียน ไม่ว่าจะเรียนอะไรก็ตาม หากอยากกลับมาทำงานในฟาร์มก็ได้ หรือถ้าจะไปทำงานที่อื่นก็ไม่ว่า รายได้ส่วนมากมาจากการขายไข่ไก่ ขายปลาดุก ขายมูลที่ได้มาจากการหมักแก๊ส ปลาที่เลี้ยงโดยการกินมูลไก่ ในแต่ละปีสามารถขายได้มูลค่านับล้านบาท และการเพาะปลาดุก ขายลูกปลาดุก ได้ปีละประมาณ 3-4 ล้านบาท

“อาชีพการเลี้ยงไก่ และการเลี้ยงปลา เป็นอาชีพที่เกื้อหนุนกัน ถ้าช่วงที่ไก่ให้ผลผลิตไม่ดี หรือช่วงที่เศรษฐกิจมีปัญหา ทางฟาร์มก็จะมีรายได้จากปลาเข้ามาช่วย แต่รายได้จากการเลี้ยงไก่จะมากกว่าการเลี้ยงปลา เพราะทางฟาร์มทุ่มเทกับการเลี้ยงไก่มากกว่าการเลี้ยงปลา การเลี้ยงปลายังคงที่” คุณศิริบัญชาเปิดเผยถึงข้อดีของการ เลี้ยงไก่บนบ่อปลา

4.คนงานทำความสะอาดขี้ไก่
4.คนงานทำความสะอาดขี้ไก่
ชุดพัดลม
ชุดพัดลม
แผงรังผึ้ง-cooling-pad
แผงรังผึ้ง-cooling-pad

การบริหารจัดการโรงเรือนไก่ไข่

ในการจัดการโรงเรือนระบบอีแวปนั้น ถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวจะต้องลดแรงพัดลมลง เพื่อให้อากาศภายในอุ่นขึ้น เพราะถ้าอากาศหนาวจนเกินไป ไก่จะซุกตัวกัน และไม่กินน้ำและอาหาร ถ้าได้อุณหภูมิที่เหมาะสมไก่ก็จะกินอาหารมากขึ้น ซึ่งทางฟาร์มจะตั้งเป็นระบบอัตโนมัติ อุณหภูมิเฉลี่ยจะอยู่ที่ 24°C แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิจะอยู่ที่ประมาณ 28-29°C ทุกอย่างเป็นระบบอัตโนมัติ จึงไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนในการเก็บไข่ และเก็บขี้ไก่ แต่ก็ยังมีอยู่ 1 โรงเรือน ที่เป็นระบบอีแวป แต่ไม่ใช่ระบบอัตโนมัติ ก็จะใช้คนงานเก็บไข่ และเก็บมูล ทุกวัน

ส่วนการจัดการในแต่ละวัน ในช่วงเช้าจะดูแลในเรื่องอาหารและน้ำ ถึงแม้ว่าจะใช้ระบบอัตโนมัติก็ต้องตรวจเช็คเพื่อความแน่ใจว่าไม่มีอะไรขัดข้องในระบบ เมื่อเจ้าของฟาร์มสามารถเป็นได้ทั้งสัตวบาล และก็มีสัตวแพทย์เป็นที่ปรึกษาของบริษัทอาหารและยา เพราะฉะนั้นในการทำงานก็จะมีหัวหน้างานในการตรวจงาน และในขณะเดียวกันเจ้าของฟาร์มก็จะไปตรวจดูอีกครั้ง โดยจะเข้าไปวันละ 2 ครั้ง สิ่งที่ต้องสังเกตก็คือ สุขภาพสัตว์ทุกๆ วัน ซึ่งเรื่องนี้คุณศิริบัญชากล่าวว่า “การเลี้ยง คือ จะเรียนรู้มาเรื่อยๆ ลองถูกลองผิดมาเรื่อยๆ และเปรียบเทียบระหว่างการเลี้ยงในโรงเรือนอีแวปบนบ่อปลา และระบบอีแวปบนพื้นธรรมดา การให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน”

5.แท้งค์น้ำและบ่อไบโอแก๊ส
5.แท้งค์น้ำและบ่อไบโอแก๊ส เลี้ยงไก่บนบ่อปลา เลี้ยงไก่บนบ่อปลา เลี้ยงไก่บนบ่อปลา เลี้ยงไก่บนบ่อปลา

ข้อดีของระบบไบโอแก๊ส

การเลี้ยงไก่ทั้ง 2 แบบ คือ การ เลี้ยงไก่บนบ่อปลา ให้มูลไก่กิน และเลี้ยงแบบปกติ ก็จะนำเอามูลไปทำไบโอแก๊ส และการทำแก๊สในปัจจุบันจะทำแบบคัฟเวอร์ลากูน คือ จะมีการขุดดินลงไปแล้วคลุมผ้า แต่ของที่ฟาร์มจะเป็นแบบยอดโดม เป็นบ่อซีเมนต์ หรือบ่ออิฐ หรือบางคนอาจจะนำมาทำปุ๋ยโดยใช้เครื่องทำปุ๋ย จะเหตุผลได้ก็แล้วแต่สามารถทำได้ทั้งนั้น

เมื่อมีการขยายฟาร์ม สิ่งที่ต้องทำควบคู่กันมา คือ ต้องขยายบ่อไบโอแก๊สเพิ่มด้วย ปัจจุบันนี้มี 10 บ่อ โดยนำแก๊สที่ได้มาปั่นไฟเข้าใช้ภายในฟาร์ม ซึ่งสามารถลดค่าไฟได้ถึง 50% เครื่องปั่นไฟที่ใช้จะนำเอาเครื่องดีเซลมาเปลี่ยนเป็นเครื่องที่ใช้น้ำมันเบนซิน เครื่อง 180-190 แรงม้า ก่อนที่จะทำระบบไบโอแก๊สต้องมีการอบรมกับทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อสามารถดูแลและเข้าใจในระบบ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“มูลไก่ในฟาร์มหากจัดการไม่ดีก็จะมีปัญหาเรื่องแมลงวัน และสิ่งแวดล้อมตามมา ฉะนั้นจึงต้องมีบ่อไบโอแก๊สด้วย  โดยทางฟาร์มจะเก็บขี้ไก่ทุกวัน ส่วนหนึ่งจะนำมาเป็นอาหารของปลา และอีกส่วนหนึ่งจะนำมาทำไบโอแก๊ส” คุณศิริบัญชายอมรับถึงข้อดีของระบบไบโอแก๊ส

6.ทางเข้าฟาร์มและบ่อฆ่าเชื้อโรค
6.ทางเข้าฟาร์มและบ่อฆ่าเชื้อโรค เลี้ยงไก่บนบ่อปลา เลี้ยงไก่บนบ่อปลาเลี้ยงไก่บนบ่อปลา เลี้ยงไก่บนบ่อปลา

ปัญหาและอุปสรรคในโรงเรือนไก่ไข่

แหล่งน้ำที่ใช้ภายในฟาร์ม เป็นน้ำบาดาลที่ทางฟาร์มขุดขึ้นมาทเป็นระบบน้ำประปาภายในฟาร์ม ก่อนที่จะขุดบ่อบาดาลต้องมีการขออนุญาตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน จากนั้นจะเสียค่าน้ำเป็นรายเดือน อนาคตอาจจะมีการนำมิเตอร์น้ำเข้ามาติด ถ้าทำผิดหรือแอบขุดอาจมีการดำเนินคดีทางกฎหมายได้

ส่วนปัญหาเรื่องคุณภาพของน้ำพบว่าน้ำในบ่อบาดาลมีความกระด้าง ไม่เหมาะกับการใช้เลี้ยงสัตว์ จึงเจาะลึกลงไปประมาณ 120-130 เมตร ค่าเจาะจะอยู่ที่ประมาณ 300,000 บาท จากนั้นนำมากรองด้วยเครื่องกรองก่อนนำมาใช้ และการนำตัวอย่างส่งแลปตรวจ เพราะในปัจจุบันนี้ถ้าหากคุณภาพน้ำไม่ผ่านก็ไม่สามารถผ่านมาตรฐานฟาร์มได้

เมื่อการพัฒนาฟาร์มให้ได้มาตรฐาน การลงทุนสร้างโรงเรือนในแต่ละครั้งถือว่าราคาสูงพอสมควร หากเป็นโรงเรือนระบบอีแวปเฉลี่ยจะอยู่ที่ 500 บาท/ไก่ 1 ตัว คือ ค่ากรง ค่าโรงเรือน แต่ยังไม่รวมที่ดิน แต่ปัจจุบันจะอยู่ที่ 600 บาท/ตัว ซึ่งจะรวมรั้ว บ้านพักคนงาน ค่าเตาเผาไก่ และค่าห้องสเปรย์ด้วย

7.พันธุ์ไก่ไข่โรมัน
7.พันธุ์ไก่ไข่โรมัน
โรงผสมอาหาร
โรงผสมอาหาร

สายพันธุ์ไก่ไข่

ไก่ที่ทางฟาร์มเลี้ยงจะเป็นสายพันธุ์โรมัน ของ บริษัท เบทาโกรฯ มีทั้งหมด 100,000 กว่าตัว จากที่เคยเลี้ยงไก่ไข่สายพันธุ์อีซ่าบราวน์ พบว่ามีปัญหาตอนที่ไก่อายุมาก ไข่จะฟองยาว เปลือกจะมีสีขาวเร็ว บาง แต่ไข่ของไก่โรมันจะมีลักษณะค่อนข้างกลม ผิวจะออกสีแดงหรือสีเข้มกว่า แต่ช่วงไก่สาวทุกๆ สายพันธุ์ จะไม่แตกต่างกัน ระยะเวลาในการเลี้ยงจะอยู่ที่ 15 เดือน

เนื่องจากทางฟาร์มเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด หากไก่อายุมากขึ้นเปลือกไข่จะบาง ความเสียหายก็จะมากขึ้น อย่างไรก็ตามการปลดก็จะขึ้นอยู่กับราคาตลาดกลาง  ไข่ในฟาร์มส่วนมากจะเป็นไข่เบอร์ 1 และเบอร์ 2 มากที่สุด แต่ก็เกี่ยวกับอายุของไก่ด้วย การให้ไข่เฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่า 80% ต่อวัน ส่วนอาหารที่ใช้จะเป็นอาหารของ บริษัท เบทาโกรฯ อย่างเดียว เพราะใช้มานาน มีเครดิต ราคา และที่สำคัญคุณภาพของอาหารเป็นสิ่งที่น่าพอใจ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
8.ไข่ไก่พร้อมจำหน่าย
8.ไข่ไก่พร้อมจำหน่าย

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายไข่ไก่

ไก่ที่ปลดจะนำมาขายให้แม่ค้าในพื้นที่ เช่น ตลาดสด และตลาดนัด เป็นต้น อาจนำไปแปรรูปจำหน่าย เช่น ไก่ต้มน้ำปลา ไก่ย่าง ข้าวมันไก่ หรือไก่แกง และอื่นๆ บางส่วนจะมีพ่อค้านำไปจำหน่ายตามชายแดน โดยแถวๆ ชายแดนของประเทศลาว ราคาไก่ปลดจะขึ้นกับช่วง หากเป็นช่วงเทศกาลราคาก็จะดีขึ้น แต่ช่วงที่ไก่ล้นราคาจะลดลง

โดยส่วนมากก็อิงราคาตามประกาศของสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ ราคาจะห่างกันไม่มาก ในการปลดไก่แต่ละครั้งก็จะปลดทั้งหมดโดยทางฟาร์มจะมีการพักเล้าถึง 2 เดือน เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าจะไม่เกิดโรค และเพื่อตัดวงจรของโรค เช่น การนำไก่สาวเข้ามาในฟาร์ม จะต้องมีการตรวจโรค รวมถึงการทำวัคซีนต่างๆ เพื่อให้ไก่สมบูรณ์ และแข็งแรง

เนื่องจากทางฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่มานาน ตลาดในช่วงแรกๆ อาจจะประสบปัญหาบ้าง แต่เริ่มมีตลาดที่แข็งแรง และคุณภาพของไข่ไก่ ตลาดจึงอยู่ได้ในปัจจุบัน โดยทางฟาร์มจะมีหน้าร้านอยู่ที่ในตลาดอ่างทอง โดยมีลูกค้ามาซื้อเอง มีทั้งขายส่ง-ขายปลีก คู่ค้าของทางฟาร์มจะมี 2 ลักษณะ คือ ลูกค้าเข้ามาหาเอง และคนของฟาร์มไปหาลูกค้าข้างนอก และหาคู่ค้าใหม่เรื่อยๆ

หลักการในการทำฟาร์ม คือ “เราจะหาตลาดก่อน แล้วค่อยขยายฟาร์มทีหลัง” ลักษณะการขายจะไม่มีพ่อค้าคนกลางที่มาซื้อไข่ แต่เป็นพ่อค้า-แม่ค้าโดยตรง ที่มารับไปขายตลาดนัดโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ลูกค้าส่วนมากจะอยู่ในจังหวัด และเขตจังหวัดติดต่อ เช่น สิงห์บุรี อยุธยา และสุพรรณบุรี เป็นต้น แต่หลักๆ ในพื้นที่ประมาณ 90% จะเห็นว่าตลาดที่คงอยู่ทุกวันนี้สืบเนื่องมาจากทางฟาร์มทำตลาดเอง โดยคำนึงถึงตลาดเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะทำการขยายฟาร์ม

9.การคัดไข่
9.การคัดไข่
ไข่ที่ได้มาตรฐาน
ไข่ที่ได้มาตรฐาน

การคัดไข่

หากถามถึงจุดเด่นของฟาร์มจะอยู่ที่คุณภาพไข่ ราคาที่เป็นธรรม การบริการ การจัดส่ง และความซื่อสัตย์ เพราะทางฟาร์มจะคัดไข่แล้วขายเลย จึงเป็นไข่สด ไม่แช่ในห้องเย็น เลี้ยงในฟาร์มที่ได้รับมาตรฐาน ส่วนอาหารไก่มีการปรับเปลี่ยนสูตรอาหารให้ได้มาตรฐาน และมีคุณค่า ตามอายุของไก่ เพื่อให้ไก่มีสุขภาพดี ไข่ฟองโต เปลือกไข่แข็งแรง ไม่เปราะ และแตกง่าย อัตราเสียหายอยู่ที่ไม่เกิน 5%

10.เลี้ยงไก่บนบ่อปลา
10.เลี้ยงไก่บนบ่อปลา

แนวโน้มการเลี้ยงไก่ไข่

พนักงานที่ใช้ในฟาร์มมีทั้งหมด 20 คน มีสวัสดิการบ้านพักฟรี และเมื่อถามถึงการขยายการผลิตก็ได้รับคำตอบว่าจะมีการขยายการเลี้ยงเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันจะต้องดูตลาดด้วยว่าเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ถ้าตลาดดีก็ขยาย แต่ถ้าตลาดไม่ดี ทางฟาร์มก็ประคองตลาด ประคองลูกค้าไปเรื่อยๆ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ส่วนการลดต้นทุนการผลิต ได้แก่

1.ปัจจุบันทางฟาร์มสามารถลดค่าไฟฟ้า เพราะมีระบบแก๊สชีวภาพ ปกติค่าไฟฟ้าจะตกอยู่เดือนละ 200,000 บาท ปัจจุบันลดลงมาเหลือ 100,000 บาท

2.เพิ่มประสิทธิภาพทำให้ไก่ของเราไข่ให้ดี ไข่ให้เยอะที่สุด ถ้าไก่ไข่ได้สูง แสดงว่าต้นทุนก็ถูกลงเช่นกัน

3.สิ่งสำคัญ คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในฟาร์ม เราต้องดูเปอร์เซ็นต์ไข่ไก่เสียหาย ซึ่งเราเลี้ยงไก่ให้ดีอย่างไร หรืออาหารจะมีคุณภาพสูงเช่นไร แต่ถ้าระบบเก็บไข่ทำไข่แตกอาจจะเป็น 1% หรือ 2% นั่นก็คือ เงินของเจ้าของฟาร์มที่หายไป และระบบของรางขนอาหารต้องออกแบบเพื่อให้ไม่มีอาหารตกหล่น รวมถึงพัดลมที่ใช้ก็มีส่วน ถ้าใช้งานได้นานก็สามารถลดต้นทุนได้ อย่างเช่น ทางฟาร์มใช้พัดลมจากเยอรมัน นำเข้าโดยบริษัท เวลแฟร์อินเตอร์เทค จำกัด ใช้ได้ถึง 10 กว่าปี เป็นพัดลมที่ไม่มีสายพาน ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นการทำฟาร์มจะอยู่ในรูปแบบใดก็แล้วแต่ การเลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการที่ง่ายขึ้น รวมถึงสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่างๆ ต้องมีความสัมพันธ์กัน หากขาดอย่างหนึ่งอย่างใด ระบบและแบบแผนที่วางไว้จะบกพร่อง ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

จึงสรุปได้ว่าหลังจากที่คุณศิริบัญชาได้ลงทุนซื้ออุปกรณ์กรงไก่ พัดลม ไซโล ระบบรางน้ำ และอาหาร เป็นต้น ของบริษัท เวลแฟร์ฯ แม้ราคาสูง แต่คุณภาพระดับอินเตอร์ฯ คุ้มค่ากับการลงทุน เพราะใช้แล้วคงทน ลดการซ่อมบำรุง ซึ่งทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขอขอบคุณข้อมูล

นิตยสารสัตว์บก

สนใจรายละเอียดการบริหารฟาร์มไก่ไข่ในระบบกงสี

ติดต่อ คุณศิริบัญชา บุญแสงโทร. 081-851-5153

ติดต่อ คุณจุฑามาส บุญแสง โทร. 080-661-4477

Email. [email protected]

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เลขที่ 38 หมู่ 3 ตำบลสี่ร้อย อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง 14110