ต้องแสดงความยินดีกับคนรักสุขภาพอีกครั้ง เพราะเมื่อไม่นานมานี้ เมืองไทยมีข้าวสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นที่มีความโดดเด่น อุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ สารต้านอนุมูลอิสระสูงให้ผลผลิตสูง ที่สำคัญปลูกได้ตลอดทั้งปีเป็นผลงานของคุณรณชัย ช่างศรี นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ข้าวพันธุ์นี้ยังไม่มีการจำหน่าย ยังอยู่ระหว่างการจดรับรองพันธุ์จากกรมการข้าว
ข้าวทับทิมชุมแพ เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวขาวดอกมะลิ 105 ต้นเตี้ย เป็นสายพันธุ์ข้าวเจ้า ไม่ไวต่อช่วงแสงเป็นพันธุ์แม่ ต้านทานต่อโรคไหม้ กับพันธุ์สังข์หยดพัทลุงซึ่งเป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงเป็นพันธุ์พ่อ ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ในฤดูนาปรัง 2551 และคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมชั่วที่ 2-6 ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ และชั่วที่ 7 ที่ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ ในฤดูนาปี 2555 จนได้ข้าวสายพันธุ์บริสุทธิ์
SRN06008DS-18-1-5-7-CPA-20 เป็นข้าวเจ้าเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงเหมือนพันธุ์สังข์หยดพัทลุง แต่มีลักษณะอื่นที่แตกต่างจากสังข์หยดพัทลุง คือ เมล็ดใหญ่และเรียวยาว ปริมาณอะมิโลสต่ำ ข้าวหุงสุกจึงนุ่มมาก ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคไหม้ ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ไม่ล้มง่ายสมารถปลูกได้ทั้งปีผลผลิตต่อไร่สูงเฉลี่ย 700-790 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งมากกว่าข้าวสังข์หยดพัทลุง
ลักษณะของสายพันธุ์เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสงความสูงของต้น 113 ซม. กอตั้ง ใบเขียวปริมาณอะมิโลสต่ำ (12.63 % มีสารสีขาวคล้ายข้าวเหนียวข้าวซ้อมมือมีสีแดงปนสีขาวข้าวกล้องมีสีแดง รูปร่างเรียวยาว (7.37 มิลลิเมตร กว้าง 2.02 มิลลิเมตร)รูปร่าง (ความยาว/ความกว้าง) = 3.64
ระยะเวลาปลูกถึงเก็บเกี่ยวใช้เวลาเพียง 130-144 วัน สั้นกว่าพันธุ์สังข์หยด ให้ผลผลิตเฉลี่ย700-790กก.ต่อไร่ สูงกว่าสังข์หยดเท่าตัว และยังเป็นข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงคล้ายสังข์หยด สีเป็นข้าวกล้องนำมาหุงสุกจะมีสีแดงใสคล้ายทับทิมที่สำคัญอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ มีสารฟีนอลิก7,048 mgGAE/100g (สังข์หยดมี 4,661 mgGAE)…และมีสารฟลาโวนอยด์5,233 mgCE/100g (สังข์หยดมี 2,989 mgCE)
อ้างอิงข้อมูลจาก สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
[wpdevart_like_box profile_id=”488139084538581″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]