ข้าวปลอดสาร คาร์บอนต่ำ ป้อนตลาดโลก งานสัมมนาสำเร็จเกินคาด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การประชุมเชิงปฏิบัติการในรูปสัมมนา ข้าวปลอดสาร คาร์บอนต่ำ 14 มี.ค. 67 ณ โรงแรมไพลิน จังหวัดพิษณุโลก จัดโดย สมัชชาพลังเขียวสร้างชาติ (สพส.) ที่มี นายพายัพ ยังปักษี เป็นเลขาธิการ ปรากฏว่าประสบความสำเร็จเกิน วัตถุประสงค์ เพราะมี นักลงทุน จากออสเตรเลีย และเวียดนาม มาร่วมงาน ตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. เพื่อลงพื้นที่พิสูจน์การปลูกข้าวปลอดสารด้วยนวัตกรรมของ เลขานุการ ประธานสหกรณ์การเกษตรนิคมบางระกำฯ ได้ปลูกข้าว กข.43 พร้อมทั้งได้สัมผัส ข้าวโพด อาหารสัตว์ ที่ปลูกด้วยนวัตกรรม โตไวกว่า ให้ผลผลิตมากกว่า

1.คุณพายัพ ยังปักษี เลขาสมัชชาพลังเขียวสร้างชาติ
1.คุณพายัพ ยังปักษี เลขาสมัชชาพลังเขียวสร้างชาติ

เมื่อเทียบกับแปลงข้าวโพดของผู้ที่ไม่ได้ใช้นวัตกรรม โดยการบันทึกข้อมูลสดๆ ทั้งภาพวิดีโอ และภาพนิ่ง เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนปลูกข้าวปลอดสาร คาร์บอนต่ำ ครั้งใหม่ของเวียดนาม ซึ่งการสัมผัสนวัตกรรมของไทยครั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงของรัฐบาลเวียดนามลงสัมผัสด้วยตัวเอง ทั้งแปลงนา และเวทีสัมมนาฯ ตลอดงาน แสดงให้เห็นว่าคณะของเขาวางแผนการเรียนรู้นวัตกรรม ทั้ง ดิน ปุ๋ย สายพันธุ์ เทคนิคการปลูก เป็นต้น เพื่อตอบโจทย์การปลูกข้าวด้วยนวัตกรรม ลดต้นทุน-เพิ่มผลผลิตชัดเจน และต้นเดือนเมษายนเขาได้เชิญเจ้าของโรงงานนวัตกรรม 19 ธาตุอาหารพืช ที่ตอบโจทย์พืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว อ้อย ยางพารา ไปเวียดนาม เพื่อให้เกิดการลงทุน 2 แผ่นดินนั่นเอง

2.ดร.ชิษณุชา บุดดาบุญ รองอธิบดีกรมการข้าว
2.ดร.ชิษณุชา บุดดาบุญ รองอธิบดีกรมการข้าว

การสัมมนา นวัตกรรมข้าวปลอดสาร คาร์บอนต่ำ

8 ชั่วโมงเต็มๆ ที่มีการสัมมนาเชิงยุทธศาสตร์ นวัตกรรมข้าวปลอดสาร คาร์บอนต่ำ โดยผู้ร่วมสัมมนา ทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 100 ชีวิต ในวงการข้าว 4 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ สุโขทัย และ นครราชสีมา ขาด มหาสารคาม เพราะติดประชุมด่วนเรื่องการซื้อขายข้าวส่งอินโดนีเซีย

3.นายมนัส เสียงก้อง เกษตรจังหวัดพิษณุโลก
3.นายมนัส เสียงก้อง เกษตรจังหวัดพิษณุโลก

ภาครัฐนำทัพโดย ดร.ชิษณุชา บุดดาบุญ รองอธิบดีกรมการข้าว ตามมาด้วย นายมนัส เสียงก้อง เกษตรจังหวัดพิษณุโลก นายจรัญ พงษ์เผ่า ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 2 นางสาววันเพ็ญ หลวงกว้าง ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินพิษณุโลก และ รศ.ดร.คงศักดิ์ ศรีแก้ว ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นต้น

4.รศ.ดร.คงศักดิ์ ศรีแก้ว
4.รศ.ดร.คงศักดิ์ ศรีแก้ว

ดร.ชิษณุชา เปิดงาน และปาฐกถาด้วยข้อมูลก๊าซเรือนกระจกที่ลึกและกว้าง จนผู้ร่วมสัมมนาทึ่ง แสดงว่าท่านเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และเมื่อได้สนทนากับนักลงทุนเวียดนามและออสเตรเลีย ท่านสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษง่ายๆ ทำให้ไทย-เวียดนาม ใกล้ชิดกันมากขึ้น ไม่ใช่คู่แข่ง แต่เป็นพันธมิตรที่ดีต่อกัน

5.บริษัท เอส พี เค จี จำกัด
5.บริษัท เอส พี เค จี จำกัด
6.ปุ๋ยอินทรีย์ ซิลิคอนประสิทธิภาพสูง
6.ปุ๋ยอินทรีย์ ซิลิคอนประสิทธิภาพสูง
7.สารปรับสภาพดิน จับเงิน-จับทอง
7.สารปรับสภาพดิน จับเงิน-จับทอง

ภาคเอกชนที่เป็นภาคีของสมัชชาพลังเขียวสร้างชาติ ได้แก่ ปุ๋ยซิลิคอนคุณภาพสูง, ปุ๋ยจับเงิน จับทอง, ระบบ โกรเวอร์พลัส อ.เล็ก, ปุ๋ยเต็มสูตรทุกกระสอบ ศักดิ์สยาม และ เคมีเกษตรคุณภาพสูง SPKG ซึ่งได้นำผลิตภัณฑ์มาโชว์ พร้อมทั้งสนับสนุนในการจัดงาน โดยเฉพาะผู้เป็นสนับสนุนหลัก คือ คุณจงกรม ศรีพงษ์พันธุ์กุล (ตุ๊ก) กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอส พี เค จี จำกัด นั้น ให้ความสำคัญกับกิจกรรมของสมัชชาพลังเขียวสร้างชาติมาตลอด

โฆษณา
AP Chemical Thailand
8.อ.เล็ก โปรพลัส นวัตกรรมสูตรสำเร็จสำหรับเกษตร
8.อ.เล็ก โปรพลัส นวัตกรรมสูตรสำเร็จสำหรับเกษตร
9.ปุ๋ยศักดิ์สยาม เต็มสูตรทุกกระสอบ
9.ปุ๋ยศักดิ์สยาม เต็มสูตรทุกกระสอบ

ซึ่งผู้ร่วมงานบางคนถามว่า ข้าวปลอดสาร คาร์บอนต่ำ ทำไมต้องมี “เคมีเกษตร” สนับสนุน สมัชชาพลังเขียวสร้างชาติให้ความเห็นว่า การผลิตข้าวอุตสาหกรรมในสภาวะโลกเดือด อากาศแปรปรวนตลอด ข้าวปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ โรค-แมลงเล่นงาน ก็ต้องใช้ยาป้องกัน หรือกำจัด แม้แต่ วัชพืช หลายชนิด โตไวในภาวะอากาศแปรปรวน ก็ต้องใช้ยากำจัด

10.ข้าวขาวเมืองย่า
10.ข้าวขาวเมืองย่า

ผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม ที่ตอบโจทย์ทางธุรกิจพืช

ซึ่งบริษัททั้ง 6 มีบทบาทสำคัญ เพราะได้นำ ผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม ที่ตอบโจทย์ทางธุรกิจพืชหลายจังหวัด มาร่วมกับสมัชชาพลังเขียวสร้างชาติ เพราะมั่นใจในคุณภาพ ต้องการให้เกษตรกรผู้ใช้ได้ประโยชน์สูงสุดในแต่ละสภาพแวดล้อม ซึ่งงานสัมมนา 14 มี.ค. หลายคนเป็นวิทยากรให้ความรู้เชิงลึกด้านประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะ อ.เล็ก โกรเวอร์พลัส ได้นำไวน์อินทผลัมบาฮีเนื้อเยื่อของ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี มามอบให้ท่านชิษณุชา เพื่อให้ทดลองรสชาติ เป็นต้น ส่วน หมอยะ ชัดเจน หรือ คุณสัญญา ศรีพงษ์พันธุ์กุล ได้นำข้าวหอม “ขาวเมืองย่า” พร้อม นางลำยอง จิตรนอก ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษบ้านประทาย 2 มาให้ผู้สัมมนาได้ทดสอบรสชาติว่าแตกต่างจากข้าวหอมมะลิอย่างไร ขาวเมืองย่า หอมละมุนลิ้น นิ่ม 2 เท่า ปลูกที่ อ.ประทาย จ.นครราชสีมา โดยการไถกลบตอซัง ไถพลิกดิน หว่านข้าว ใส่ปุ๋ยจับเงิน 2 ระยะ ปรากฏว่า เมื่อนำไปหุงจะมีกลิ่นหอม หวานละมุนลิ้น ปรากฏว่า นายสรวิศ เหล่านิล นายอำเภอ ได้เข้าไปเยี่ยมชม และให้กำลังใจกลุ่มเมื่อ 10 ก.พ. 67

11.นายบรรจง ตั้งจิตรวัฒนากุล (ซ้าย) และนายอัษฎางค์ สีหราช (ขวา)
11.นายบรรจง ตั้งจิตรวัฒนากุล (ซ้าย) และนายอัษฎางค์ สีหราช (ขวา)

ภาคเอกชนประเภทองค์กรเกษตรกร ที่ร่วมสัมมนา ได้แก่ นายอัษฎางค์ สีหราช (ผู้ใหญ่แหลม) ผู้มีบทบาทสำคัญ คือ การเป็นวิทยากรบนเวทีคู่กับ “เฮียเซี๊ยะ” หรือ คุณบรรจง ตั้งจิตรวัฒนากุล อุปนายกสมาคมโรงสีข้าวไทย และกรรมการผู้จัดการ บริษัท อุตรดิตถ์ กรีน พาวเวอร์ จำกัด และ บริษัท พิจิตร ไบโอ พาวเวอร์ จำกัด ผู้ใหญ่แหลมยืนยันว่า จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยผู้ว่าราชการจังหวัด ประกาศจับและปรับผู้เผาตอซังแน่นอน เพราะไม่ต้องการให้เกิดฝุ่นควัน PM 2.5 ต้นเหตุปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งวิถีการที่ดีที่สุด คือ อัดฟางส่งโรงไฟฟ้าชีวมวลของเฮียเซี๊ยะที่กระจายอยู่ใน อุตรดิตถ์ พิจิตร ซึ่งเฮียเซี๊ยะย้ำชัดว่าตนซื้อแน่นอน เพราะเน้น ESG โมเดลโดยตรง ดังนั้น ฟางข้าว แทนที่จะมุ่งเป็นอาหารวัว เพาะเห็ดฟาง ยังกลายเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลในโรงไฟฟ้าอีกด้วย

12.คุณนิสิต เมฆอรุณกมล ประธานชมรมโรงสีข้าวพิษณุโลก
12.คุณนิสิต เมฆอรุณกมล ประธานชมรมโรงสีข้าวพิษณุโลก

สายพันธุ์ข้าว

ถามว่าชาวนาจะปลูกข้าวอะไรที่ผู้ซื้อต้องการ คุณนิสิต เมฆอรุณกมล ประธานชมรมโรงสีข้าวพิษณุโลก อดีตกำนันคนดัง เป็นวิทยากร ตัวแทนของ คุณรังสรรค์ สบายเมือง นายกสมาคมโรงสีข้าว ซึ่ง 14 มี.ค. ติดภารกิจที่สิงคโปร์ ได้ยืนยันพันธุ์ข้าวที่โรงสีต้องการ ได้แก่ ข้าวนาปี หอมมะลิ 105 และข้าวพันธุ์พิษณุโลก 4 หรือ พิษณุโลก 80 เป็นข้าวไวต่อช่วงแสงหรือข้าวนาปี เมล็ดยาว นุ่ม ผลผลิต/ไร่สูง และข้าวพื้นแข็ง เมล็ดยาว ส่วนข้าวเมล็ดสั้น เบอร์ 5, 20 โรงสีไม่ต้องการ เป็น “ข้าวที่สังคมรังเกียจ” เพราะส่งไปขายต่างประเทศแล้วถูกตีกลับ ทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ สวนทางกับชาวนาต้องการปลูก ต้องการผลผลิต/ไร่สูงๆ อายุสั้น แน่นอนถ้ามองธุรกิจข้าวให้ลึก พันธุ์ที่โรงสีต้องการต้องมีอนาคต เพราะโรงสีที่ยังประกอบการวันนี้ล้วนผ่านทะเลทรายทางธุรกิจทั้งนั้น จึงคาดการณ์ได้ว่าตลาดโลกต้องการข้าวสายพันธุ์ไหน

งานสัมมนาครั้งนี้ เจ้าของเหมืองซิลิคอน คุณกิตติ ภคศิริ ได้นำจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซังข้าว ไปแนะนำเพื่อช่วยลดปัญหาข้าวดีด ข้าวเด้ง โดยแจกฟรีชุดทดลองให้เกษตรกรนำไปใช้ ซึ่งชาวนาบางเลน ชาวนาแปดริ้ว และ ชาวนาปทุมธานี เป็นต้น ได้ใช้ครั้งแรก ข้าวดีด ข้าวเด้ง ลดลงชัดเจน และตอซังก็ถูกย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยไปในตัว

13.ประธานและผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม
13.ประธานและผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม

การส่งเสริมปลูกข้าว กข.43

สหกรณ์การเกษตรพรหมพิรามจำกัด มีสมาชิกปลูกข้าวมากกว่าทุกสหกรณ์ในจังหวัด นายผิน ถือแก้ว ประธาน และ นางสาวปิยาพัชร สุจรรยา ผู้จัดการ ได้มาร่วมงาน เพราะให้ความสำคัญกับการทำนาคาร์บอนต่ำ ซึ่งสหกรณ์ส่งเสริมให้ปลูกข้าว กข.43 และผลิตเมล็ดพันธุ์หลายสายพันธุ์ พร้อมทั้งจับมือกับ บริษัท ข้าวซีพี จำกัด และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิวส์ จำกัด ส่งเสริมสมาชิกให้ปลูก โดยขายให้ 2 บริษัท ตามราคาตลาด บวกอีก 3,000 บาท/เกวียน ภายใต้ เงื่อนไข ต่างๆ เช่น ความชื้น และการปลอมปน เป็นต้น แน่นอน ข้าว กข.43 น้ำตาลต่ำ ข้าวสุขภาพ ตลาดค่อยๆ ขยายตัว เป็นสหกรณ์ที่มีศักยภาพมากที่สุดในจังหวัด

โฆษณา
AP Chemical Thailand
14.คุณสุภวัฒน์ อิ่นแก้ว แกนนำจังหวัดสุโขทัย
14.คุณสุภวัฒน์ อิ่นแก้ว แกนนำจังหวัดสุโขทัย

การจัดตั้งองค์กรชาวนา

สำหรับ จังหวัดสุโขทัย ระดับแกนนำด้านการเกษตรมาร่วมงานหลายคน ได้แก่ คุณสุภวัฒน์ อิ่นแก้ว และ คุณอิชชกันต์ เพิ่มพัชรพร เป็นต้น เพราะต้องการข้อมูลการสัมมนาไปวางแผนการจัดตั้งองค์กรชาวนา คาร์บอนต่ำ จังหวัดสุโขทัย เนื่องจากสุโขทัยมีความพร้อมทุกด้าน แม้แต่ ประธานหอการค้า ก็ให้ความสำคัญกับข้าวคาร์บอนต่ำ เห็นได้ชัดจากตำบลคลองกระจง ตำบลท่าทอง และ ตำบลย่านยาว อ.สวรรคโลก พื้นที่รอบๆ สนามบินมีการปลูกข้าวแต่เดือดร้อนจากน้ำท่วมทุกปี

15.นางกำไร อิ่มใจ ตัวแทนจากสหกรณ์การเกษตรนิคมฯ บางระกำ
15.นางกำไร อิ่มใจ ตัวแทนจากสหกรณ์การเกษตรนิคมฯ บางระกำ
16.ฟางอัดก้อน
16.ฟางอัดก้อน

ปัญหาและอุปสรรค ข้าวดีด ข้าวเด้ง ในนา

เนื่องจาก อำเภอบางระกำ มีการทำนาเป็นอันดับ 2 ของจังหวัด มีประชากรอันดับ 3 ของจังหวัด โดยมี คุณกำไร อิ่มใจ เลขานุการสหกรณ์การเกษตรนิคมบางระกำ เป็นต้น ได้มาร่วมงานสัมมนา เพื่อนำองค์ความรู้การทำนาปลอดสาร คาร์บอนต่ำ ไปส่งเสริมชาวนาในอำเภอ และต้องการผู้มารับซื้อฟาง และใบอ้อย ในพื้นที่ด้วย และต้องการผลิตภัณฑ์ที่มาแก้ปัญหาข้าวดีด ข้าวเด้ง ในนา ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่ยังไม่สามารถแก้ได้ ดังนั้นถ้าส่งเสริมการปลูกข้าวคาร์บอนต่ำ ต่อยอด บางระกำโมเดล ย่อมเป็นไปได้

17.ถ่ายภาพร่วมกับชาวเวียดนาม
17.ถ่ายภาพร่วมกับชาวเวียดนาม

สรุปผลการสัมมนาเชิงยุทธศาสตร์ ข้าวปลอดสาร คาร์บอนต่ำ ป้อนตลาดโลก 1. ผู้ร่วมสัมมนาได้เห็นภาพข้าวคาร์บอนต่ำในตลาดโลก 2. เกิดการเกาะเกี่ยวของผู้ประกอบการข้าวในรูปแบบธุรกิจ 3. รัฐได้เห็นศักยภาพของผู้นำต่อการพัฒนา และ 4.ได้เห็นจุดอ่อนของการปลูกข้าวคาร์บอนต่ำ โดยเฉพาะการไม่นำนวัตกรรมมาใช้ในกระบวนการผลิต และการขาดความร่วมมือของผู้ประกอบการ ที่จะให้เกิด คลัสเตอร์ข้าว อย่างเป็นรูปธรรม

อ้างอิง : นิตยสารพลังเกษตร ฉบับที่ 38