การพัฒนาข้าวไทยในปัจจุบันมีศักยภาพเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรทุกพื้นที่เพื่อลดอัตราความเสียให้ได้มากที่สุด นักวิจัยต้องพัฒนาสายพันธุ์ให้ตรงจุดกับแต่ละพื้นที่ดั่งเช่นการวิจัยข้าวเหนียวธัญสิรินและข้าว กข 6 ต้านทานโรคใบไหม้และโรคขอบใบแห้ง ต้นเตี้ย เพื่อให้เกษตรกรภาคอีสานได้ปลูกเพื่อลดปัญหาให้ตรงจุด
เมื่อวันที่ 7-9 พฤศจิกายน ที่ผ่านมาศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค ) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์แห่งชาติและเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ จ.สกลนคร จ.หนองคายและจ.บึงกาฬ เพื่อติดตามผลการปลูกทดสอบ ข้าวพันธุ์ใหม่ กข 6 ต้านทานโรคไหม้และขอบใบแห้ง ต้นเตี้ย
ทั้งนี้ผลดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชั้นจำหน่ายที่ได้มาตรฐานและได้คุณภาพตามหลักวิชาการ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพการคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการพัฒนาโดยใช้ข้าวเหนียวพันธุ์ธัญสิริน และ ข้าวเหนียวต้านทานโรคไหม้และขอบใบแห้ง ต้นเตี้ย โดยการพัฒนาสายพันธุ์ของ สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกรมการข้าว
พันธุ์ข้าเหนียวธัญสิริน ต้านทานโรคไหม้ได้มีการพัฒนาให้มีศักยภาพในการต้านทานโรคไหม้ ซึ่งคุณภาพในการหุงต้มได้คัดเลือกร่วมกับการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีที่มาตรฐาน ทำให้ได้ข้าวเหนียวที่ปรับตัวได้ดีในพื้นที่นาน้ำฝนในเขตพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เสี่ยงต่อการระบาดขอโรคไหม้ ข้าวสายพันธุ์นี้มีลักษณะลำต้นแข็งแรงไม่หักล้มง่าย แตกกอได้ดี มีความอ่อนนุ่มคุณภาพการหุงต้มอยู่ในระดับดี
ส่วนข้าวเหนียว กข 6 ต้านโรคไหม้และขอบใบแห้ง ต้นเตี้ย เป็นข้าวเหนียวพันธุใหม่ที่เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์แบบการผสมข้ามสายพันธุ์โดยใช้เทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุลเพื่อให้มีลักษณะเด่นจากข้าวธัญสิรินคือ ต้นเตี้ยและต้านทานโรคไหม้ขอบใบแห้ง และได้นำคณะนักวิจัยไบโอเทคลงพื้นที่เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการคัดเลือกพันธุ์ข้าวเหนียวที่เหมาะสมต่อพื้นที่โดยเกษตรกรมีส่วนร่วมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวไว้ใช้เองในชุมชน
ทดลองในพื้นที่ภาคอีสานกระจายสู่ประชาชน
การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการติดตามการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวสายพันธุ์ใหม่เพื่อให้เกษตรกรมีเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองในชุมชน โดยความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัด ภาครัฐและเอกชน ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรผ่านการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคณะนักวิจัยและเกษตรกรในพื้นที่ภาคอีสาน เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและให้เกษตรกรมีทัศนคติที่ดีพร้อมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะทำให้การพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้ในชุมชน
ดร.กัญญณัช ศิริธัญญา และคุณชนากานต์ วงษาพรม หัวหน้าโครงการฯกล่าวว่า “ไบโอเทคเริ่มดำเนินโครงการโดยนำข้าวเหนียว 2 สายพันธุ์ใหม่ไปทดสอบปลูกในพื้นที่ สายพันธุ์แรกคือ ข้าวธัญสิริน ได้นำไปปลูกทดสอบในพื้นที่ภาคอีสานตั้งแต่ปี 2555 ผลการประเมินพบว่าเกษตรกรบางพื้นที่มีความพึ่งพอใจต่อข้าวสายพันธุ์นี้ เนื่องจากทำให้ได้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เดิมที่เคยปลูกและไม่เป็นโรคไหม้ แต่สำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคขอบใบแห้งและเป็นพื้นที่โล่งลมแรง มีผลให้ผลผลิตข้าวเสียหาย จากปัญหาดังกล่าวไบโอเทคจึงพัฒนา ข้าว กข 6 ต้นเตี้ย ต้านทานโรคไหม้และขอบใบแห้ง ต่อมาในปี 2556 ได้นำไปทดลองปลูกในพื้นที่ อ.เต่างอย,อ.เจริญศิลป์,อ.คำตากล้า จ.สกลนคร อ.รัตนวาปี,อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย และอ.เมือง จ.บึงกาฬ”
คุณสมศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ นักวิชาการหน่วยบริการเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท ไบโอเทค กล่าวว่า “สำหรับพื้นที่ จ.สกลนคร ผลการปลูกทดสอบเบื้องต้นพบว่า ข้าวเหนียวสายพันธุ์นี้สามารถเจริญเติบโตได้ดี และให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจสามารถต้านทานโรคไหม้และขอบใบแห้ง มีการแตกกอดี ลำต้นมีความแข็งแรง จึงมีความทนทานต่อความลมแรงและคุณภาพการหุงต้มดี”
นอกจากนี้โครงการฯ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพในด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์สำหรับชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถสร้างระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อจำหน่ายที่มีมาตรฐานและคุณภาพตามหลักวิชาการ เพื่อที่จะสามารถกระจายเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีให้มีเพียงพอสำหรับใช้ภายในชุมชนเองและกระจายไปสู่ชุมชนอื่นๆ ใกล้เคียงซึ่งทำให้กลุ่มเกษตรกรเกิดทักษะในการคัดเลือกและพัฒนาศักยภาพ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มบทบาทของกลุ่มเกษตรกรในด้านการส่งเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและเศรษฐกิจในท้องถิ่น รวมถึงการเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรวมกลุ่มภายในชุมชนเพื่อการพึ่งพาตัวเอง และสร้างการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ยั่งยืนสู่ชุมชนอื่นๆ ในภาคอีสาน
ข้าว กข 6 ต้นเตี้ย ต้านทานโรคไหม้และขอบใบแห้ง เป็นข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่ที่ไบโอเทค สวทช. ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรกรศาสตร์และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกันพัฒนาโดยได้มีการเปิดตัวไปเมื่อเดือนธันวาคม 2555 เป็นข้าวนาปีที่มีความไวต่อช่วงแสง มีลักษณะเด่นคือสามารถต้านทานต่อโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง มีขนาดลำต้นเฉลี่ย 130 เซนติเมตร ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ง่ายด้วยเครื่องจักร มีการแตกกอดีลำต้นมีความแข็งแรง จึงมีความทนทานต่อลมแรง ลดปัญหาการหักล้มเมล้ดเรียวยาวมีผลผลิตแห้งเฉลี่ย 700-800 กิโลกรัมต่อไร่
ในการพัฒนาศักยภาพของเกษตรในการประเมินและคัดเลือกข้าวเหนียวพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่นโดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วม คณะวิจัยไบโอเทค มทร ล้านนา และคณะทำงานได้ให้ความรู้ความร่วมเป็นที่ปรึกษาให้กับเกษตรกรตั้งแต่การจัดทำแปลงสาธิตเพื่อการปลูกทดสอบข้าว การบันทึกเก็บข้อมูล ประเมินสายพันธุ์ข้าวและการจัดเวทีชุชนเพื่อคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่
ทดลองปลูกข้าว 2 สายพันธุ์ในพื้นที่ จ.สกลนคร
ในการทดลองปลูกแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันทางศูนย์ฯ จึงทดลองปลูกในหลายพื้นที่ ยกตัวอย่างในพื้นที่ อ.เต่างอย จ.สกลนคร เป็นการวิจัยการทดลองปลูกข้าวธัญสิรินและข้าว กข 6 ต้นเตี้ย ต้านทานโรคไหม้และกาบใบแห้ง ซึ่งเป็นงานวิจัยของอาจารย์ธีรยุทธ ตู้จินดา เหตุที่นำข้าวมาปลูกในพื้นที่นี้เนื่องจากได้มองปัญหาหลักของพื้นที่การทำนาของจังหวัดสกลนคร เรื่องโรคใบไหม้ ทำให้ทางศูนย์ได้นำข้าวธัญสิรินมาทลองปลูกเพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งปลูกได้ 4 ปี
หลังจากที่ปลูกไปมีอีกปัญหาหนึ่งที่นอกจากโรคใบไหม้และกาบใบแห้งแล้ว ปัญหาอีกเรื่องหนึ่งคือต้นข้าวล้ม แล้ววิถีชีวิตชาวนาของภาคอีสานส่วนใหญ่ใช้แรงงานคนในการเกี่ยวข้าว ข้าวล้มเกี่ยวได้แต่เกี่ยวยากลำบากทำให้ผลผลิตสูญเสีย ยิ่งข้าวแปลงไหนที่ใช้รถเกี่ยวยิ่งทำให้เกิดความยากลำบากมากขึ้น
ต้นข้าวล้มเป็นจุดปัญหาสำคัญของสกลนคร แล้วพื้นฐานของจังหวัดเป็นการปลูกข้าว กข 6 เป็นหลักเพื่อใช้ในการบริโภคทำนาปีส่วนนาปังมีไม่มากนัก หากพื้นที่ไหนปลุกข้าวนาปังนั้นจะปลูกไว้สำหรับการค้าขาย ในต้นปี 2556 จึงได้นำข้าว กข 6 ต้นเตี้ย ต้านทานโรคใบไหม้และโรคกาบใบแห้ง มาปลูกเพื่อแก้ปัญหาต้นข้าวล้ม
ที่ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชน อ.เต่างอย ได้มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอยู่แล้วทำให้เกษตรกรมีดุลยพินิจในการตัดสินใจในการขยายผลของข้าว กข 6 ต้นเตี้ย ต้านทานโรคใบไหม้และกาบใบแห้ง เพื่อกระจายสู่กลุ่มใกล้เคียงโดยทางศูนย์ข้าวชุมชนเอาเมล็ดพันธุ์นำไปขยายผลในการค้าขายและแลกเปลี่ยนขึ้นอยู่กับชาวบ้านว่าจะจัดการอย่างไร ซึ่งทางชุมชนได้มานัมเบอร์อย่างละ 5 กิโลกรัม คือเบอร์ 5,8 และ 13
ด้วยปัจจัยสภาพแวดล้อมที่หลากหลายคุณภาพเป็นสิ่งที่สำคัญทำให้ทางศูนย์ต้องคัดเลือกเกษตรกรที่มีความประณีตต่อการทำนาเพื่อผลิต และทางศูนย์จะนำวิทยากรสอนเทคนิคการผลิตเมล็ดพันธุ์ซึ่งเป็นความร่วมมือกับศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดสกลนคร โดยอบรมให้ชาวนาประณีตในการผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่ได้คุณภาพโดยทางกรมจะเป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพ หากผ่านทางกรมจะออกใบรับรองให้แก่เกษตรกร แต่ถ้าเมล็ดพันธุ์ไม่ผ่านจะนำข้าวเหล่านั้นมาบริโภคแทน
นอกจากนี้ทางศูนย์ยังได้มีการแปรรูปข้าวปลอดสารพิษซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งกลุ่ม ทางกลุ่มปรึกษาการแปรรูปเพื่อให้ได้มูลค่ามากขึ้น ในช่วงปี 2551 กระแสข้าวกล้องเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคจึงได้ผลิตข้าวกล้องออกจำหน่าย ต่อมาได้ผลิตข้าวกล้องงอกโดยนำข้าวมาเพาะให้งอกก่อนแล้วนำไปนึ่งแล้วนำไปสีมาแปรรูปขายเพิ่มมูลค่า นอกจากนี้ทางกลุ่มยังได้ทำ ข้าวฮาง โดยนำข้าวไปนึ่ง แล้วนำออกตากให้แห้งหลังจากนั้นนำไปสีบรรจุใส่ถุงทำเป็นข้าวฮางชุมชน
ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา กล่าวว่า “เวลาปลูกข้าวชาวบ้านจะเป็นคนทำเอง หากมีพันธุ์ใหม่ๆชาวบ้านก็จะเลือก อย่างเช่นข้าวพันธุ์ กข 6 ต้นเตี้ย ต้านทนโรคไหม้และกาบใบแห้ง ชาวบ้านจะต้องดูว่ามันตอบโจทย์ไหม ข้าวล้มไหม คุณภาพได้ไหม หากแก้ปัญหาได้เขาจะยอมรับตัวนี้แล้วก็จะขยายออกไป เพราะชาวบ้านมีกลุ่มเกษตรกรจะเผยแพร่ให้กลุ่มก่อนจากนั้นก็เผยแพร่ไปในกลุ่มข้างเคียง นี่เป็นลักษณะของเครือข่ายทำให้เห็นว่าภาครัฐไม่จำเป็นต้องมีบุคลากรทั้งหมดลงพื้นที่เหมือนสมัยก่อน”
สาเหตุที่เลือกทดลองปลูกข้าวในจังหวัดสกลนคร เนื่องจากเป็นพื้นที่นำล่องของกระทรวงวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว และวิถีของคนในพื้นที่คือการปลูกข้าว และเพื่อให้เกษตรกรมีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายที่กระจายออกไปในรูปแบบของชุมชนกันเอง ส่วนการทำเมล็ดพันธุ์ศูนย์จะส่งข้าวไปตรวจวัดคุณภาพข้าวหรือบางพื้นที่ได้สอนการเช็คคุณภาพข้าวเพื่อให้เกษตรกรสามารถตรวจเช็คพันธุ์ได้ด้วยตัวเอง ในหลายพื้นที่ได้ผลิตเมล็ดพันธุ์ของชุมชนขึ้นเองโดยตั้งเป็นแบรนด์ของกลุ่มขึ้นทำให้ชุมชนก้าวหน้าต่อไป
นำข้าว 2 สายพันธุ์ทดลองปลูกในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพ
ศูนย์ข้าวชุมชนจังหวัดบึงกาฬมีลักษณะเป็นการเผยแพร่และเป็นศูนย์เรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธุ์ต่างๆ ในการตั้งกลุ่มครั้งแรกได้งบประมาณเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์มาจากกรมส่งเสริมการเกษตร ในปี 2554 สวทช. ได้เข้ามาส่งเสริมเรื่องเมล็ดพันธุ์โดยทางกลุ่มได้ทำเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์อยู่และยังเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องเมล็ดพันธุ์ของชาวบ้าน ทางศูนย์จึงได้นำข้าวธัญสิรินและ กข 6 ต้นเตี้ย มาให้ชาวบ้านทดลองปลูกแต่ชาวบ้านยังลังเลที่จะยอมรับเนื่องจากเป็นข้าวพันธุ์ใหม่ เหมือพันธุ์ กข 6 แต่ดีกว่าในเรื่องทานโรคไม้และกาบใบแห้ง ผลผลิตได้เยอะกว่า กข 6 ธรรมดา
คุณ กล่าวว่า “ในครั้งแรกที่นำข้าวมาทดลองสมาชิกยังลังเลอยู่ก็เลยลองไปทำดู ผลลับไม่เท่าไหร่สมาชิกเลยนำไปอีกคนละ 10-20 กิโลกรัม เราก็เลยมาศึกษาร่วมกันในเรื่องของต้นกล้าเนื่องจาเป็นข้าวต้านทานโรค ในการเรียนรู้ตรงนี้เป็นการเรียนรู้แบบกลุ่มสมาชิกก็จะมาแชร์เรื่องราวต่างๆด้วยกัน เมื่อทดลองข้าวพันธุ์นี้มันเกิดความแตกต่างกับ กข 6 มาก ตั้งแต่การเพาะกล้าเพราะถอนง่าย ลักษณะของต้นกล้ามีสีเขียวเข้ม ส่วนเรื่องของการเก็บเกี่ยวข้าวธัญสิรินได้เก็บเกี่ยวก่อน กข 6 พันธุ์เดิม ลำต้นแข็งกว่าและมีการล้มของต้นข้าวน้อยกว่า”
หลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวธัญสิรินแล้วทางกลุ่มได้นำข้าวพันธุ์นี้มาเปรียบเทียบกับข้าว กข 6 พันธุ์เดิม ว่าต่างกันอย่างไร ผลตอบรับดีจึงนำข้าวพันธุ์นี้ไปเผยแพร่ให้เกษตรกรได้ทดลองปลูกเพราะปัญหาของโรคไหม้ในพื้นที่เกิดปัญหาเยอะ แต่โรคจะเกิดเป็นบางปีเพราะสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยต่อการเกิดโรค เนื่องจากลักษณะของ กข 6 อ่อนแอต่อการเกิดโรคไหม้อยู่แล้ว สมาชิกจึงคิดเห็นว่าให้ทำพันธุ์ธัญสิรินไว้จำหน่ายแต่การผลิตเมล็ดพันธุ์นั้นทางศูนย์ต้องตรวจคุณภาพตลอดซึ่งหลังจากที่ได้ข้าวมาจะมีการนำไปตรวจสอบที่ศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวตลอดหากเกษตรกรทำไม่ผ่านก็จะไม่รับซื้อ ส่วนราคาขายจะขายแพงกว่าข้าวพันธุ์อื่น 100 บาท หากขายส่งจะขายให้กิโลกรัมละ 700 บาท
ส่วนพันธุ์ กข 6 ต้นเตี้ย ต้านทานโรคไหม้และกาบใบแห้ง ที่ทดลองปลูกนั้นเกษตรกรให้การยอมรับแต่มีปัญหาเรื่องต้นข้าวเตี้ยเกินไป ฟางเยอะเนื่องจากการแตกกอเยอะหากเปรียบเทียบกับพันธุ์ธัญสิรินเกษตรกรยอมรับพันธุ์ธัญสิรินมากกว่า เพราะการเกี่ยวต้องก้มเยอะเกินไปแต่หากใช้รถเกี่ยวจะสะดวกกว่า ส่วนปัญหาของต้นล้มไม่เกิดทำให้ผลผลิตไม่เสียหาย
ข้าวเหนียวพันธุ์ธัญสิรินและข้าวเหนียวต้านทานโรคไหม้ขอบใบแห้งต้นเตี้ย เป็นพันธุ์ข้าวที่ช่วยลดปัญหาการระบาดโรคไหม้ในพื้นที่ จ.หนองคาย,จ.บึงกาฬและจังหวัดสกลนคร จนได้การยอมรับในกลุ่มเกษตรกรที่ร่วมปลูกทดสอบข้าวเหนียวพันธุ์ใหม่ทั้งสองพันธุดังกล่าว
การดำเนินงานมุ่งพัฒนาศักยภาพในด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์สำหรับชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถสร้างระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชั้นจำหน่ายที่ได้มาตรฐานและคุณภาพตามหลักวิชาการ และสามารถกระจายเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีให้มีเพียงพอสำหรับใช้ภายในชุมชนเอง และกระจายไปสู่ชุมชนอื่นที่ใกล้เคียงซึ่งทำให้กลุ่มเกษตรกรเกิดทักษะในการคัดเลือกและพัฒนาศักยภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มบทบาทของกลุ่มเกษตรกรในด้านการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและเศรษฐกิจในท้องถิ่น รวมถึงเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรวมกลุ่มกันภายในชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง และสร้างต้นแบบในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ยั่งยืนสู่ชุมชนอื่นๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไป
tags: ข้าวเหนียว ธัญสิริน พันธุ์ข้าวเหนียว พันธุ์ ข้าวเหนียว ข้าวเศรษฐกิจ ข้าวเหนียว ธัญสิริน พันธุ์ข้าวเหนียว พันธุ์ ข้าวเหนียว ข้าวเศรษฐกิจ ธัญสิริน ข้าวเหนียว
[wpdevart_like_box profile_id=”488139084538581″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]