4 ราชธานี ที่รัฐไทยใช้ข้าวเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจชุบชีวิตชาวนา ให้สร้าง “ทายาท” ปลูกข้าวมาตลอด
จนกระทั่งศักราช 2567 ปีที่ “ข้าวไทย” ตกต่ำ ในสายตานานาชาติ โดยมองที่การพัฒนา “พันธุ์ข้าว” ของไทย เป็นจุดอ่อน และมองพันธุ์ข้าวที่ชนะในเวทีโลกเป็นจุดแข็ง-จุดขาย ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติของการแข่งขันของผู้เล่นหลักๆ ในตลาดโลก
การพัฒนาพันธุ์ข้าว
วันนี้รัฐไทยโดย กระทรวงเกษตรฯ ที่มี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นรัฐมนตรี และ คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มองเห็นจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค การพัฒนาข้าวไทย จึงได้ระดมสรรพกำลังจากทุกฝ่ายมาแก้ปัญหา ขยายจุดแข็ง แปลงวิกฤตเป็นโอกาสแห่งการพัฒนาผ่านทางหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาคการผลิต ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมต.เกษตรฯ จึงต้องผนึกกำลังกับ นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว เพื่อยกระดับการผลิตข้าวให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยนำศักยภาพของประเทศคู่แข่งมาศึกษา และนำจุดแข็งของข้าวไทยมาขยายผลให้เป็นรูปธรรม
โดยการพุ่งเป้าการพัฒนา “พันธุ์ข้าว” ที่ตอบโจทย์ทางธุรกิจ และเป็นมิตรกับโลกและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเทรนด์ที่มาแรง สอดคล้องกับการทำงานของหน่วยงานรัฐ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (สส.) ได้ดำเนินโครงการเพิ่มศักยภาพการปลูกข้าวที่เท่าทันต่อภูมิอากาศ (THAI RICE GCF) ตลอด 5 ปี ส่งผลดีต่อชาวนารายย่อยกว่า 2.5 แสนราย ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกกว่า 2.4 ล้านตันคาร์บอนฯ ภายใต้การสนับสนุนโครงการของกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (GREEN CLIMATE FUND) เป็นกลไกการเงิน ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ GCF เป็นกองทุนใหญ่สุดในระดับนานาชาติ
กรมการข้าว กล่าวว่า โครงการ THAI RICE GCF ใช้งบฯ 102.23 ล้านยูโร แบ่งเป็นงบ GCF 38 ล้านยูโร และงบจากภาครัฐและเอกชนไทย 62.36 ล้านยูโร ทั้งหมด 21 จังหวัด ยกเว้นภาคใต้ ปรากฏว่าลดการใช้น้ำถึง 50% เพิ่มผลผลิตการทำนา 20% และเพิ่มรายได้แก่ชาวนา 20% โดยเฉพาะการขังน้ำในนาข้าว ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซมีเทน (CH4) ต้นเหตุโลกร้อนสูงกว่าก๊าซคาร์บอนฯ (CO2) ถึง 28 เท่า ดังนั้นการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง จึงเป็น “ทางรอด” ของชาวนา และอุตสาหกรรมข้าวไทยโดยตรง
การส่งเสริมปลูกข้าวไม่เผาตอซัง
อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี มี โรงไฟฟ้า ซึ่งมีเกษตรกรรอบๆ ได้รับการสนับสนุนหลายๆ เรื่อง ที่โดดเด่น ได้แก่ การทำนาแบบไม่เผาตอซัง และทำนาอินทรีย์ มี บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) มาสนับสนุน คุณธนญ ตันติสุนทร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานธุรกิจระบบโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ ยืนยันว่า การจัดตั้งศูนย์ขึ้นมาส่งเสริมการปลูกข้าวไม่เผาตอซังข้าวเก่า แต่เปลี่ยนมาส่งเสริม ตอที่ 2 แทน โดยใช้ จุลินทรีย์ ย่อยสลายตอซังเก่าให้เป็นปุ๋ย ธนากิจ กายพรมราช ผู้จัดการโรงไฟฟ้า กล่าวว่า ได้ตั้งเป้าเกษตรอินทรีย์ โดยการอบรมเกษตรกรให้เรียนรู้เรื่อง ไส้เดือน ทำปุ๋ย เพื่อปลูกผักสวนครัว การเลี้ยงหนอน แมลงหนามดำ โดยใช้ปลายข้าวและเศษผักเป็นอาหาร นำหนอนดักแด้เป็นอาหารไก่ไข่ภายในศูนย์เรียนรู้
เรื่องนี้ ดุรงค์ฤทธิ์ ศิริวัฒนพันธ์ ปลัดจังหวัด ยืนยันว่า การทำนาสาธิตไม่เผาตอซัง หรือนาหมุนเวียน ได้ผลผลิตพอๆ กับการใช้เครื่องจักร เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ข้าวอินทรีย์หลายๆ สายพันธุ์ที่ปลูกผ่านประเพณี “ลงแขก” เกี่ยวข้าวด้วยเคียว โดยจัดกิจกรรม “สืบสานวิถีชาวนาไทย ร่วมใจลงแขกเกี่ยวข้าว” ในงานมีการสาธิตการเพิ่มอาหารจากเมนูข้าวกับไข่ไก่ เช่น ไอศกรีม ข้าวหอม จากข้าวกล้อง มรกตข้าวเม่า จากข้าวเหนียวเขี้ยวงู และ ซีเรียล จากข้าวไรซ์เบอรี่ เป็นต้น
สำหรับ พันธุ์ข้าว ทั้งพื้นแข็ง และพื้นนุ่ม ของไทย มีหลายสายพันธุ์ ที่ กรมการข้าว รับรองไปแล้ว แต่ละสายพันธุ์มีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดการแปลงให้เหมาะสมเพื่อให้คุ้มค่าแก่การลงทุนของชาวนา และนักธุรกิจเกษตร ซึ่งทางกรมจะเปิดกว้างมากขึ้น ในการรับรองพันธุ์จากบุคคลภายนอกด้วย
สภาพพื้นที่ปลูกข้าว
สำหรับการปลูก ข้าวรักษ์โลก นั้น วันนี้ชาวนาหัวก้าวหน้าหลายคนได้ปลูกข้าว แบบเปียกสลับแห้ง หรือทำนาน้ำน้อย และใช้พันธุ์ข้าวอายุสั้น เป็นต้น เช่น คุณสุภชัย ปิติวุฒิ เจ้าของเพจ และเครือข่ายชาวนาวันหยุด เจ้าของ ร้านฮั้วเฮงหลี ขายเครื่องจักรกลคูโบต้าที่กำแพงเพชร 12 ไร่ จนเป็น ไอดอล ของชาวนารุ่นใหม่ เขายืนยันว่าทำนาแบบเปียกสลับแห้งแกล้งข้าวกว่า 7 ปี ได้ร่วมกับ มูลนิธิรวมใจพัฒนา เพื่อทำวิจัยปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ได้ผลผลิต/ไร่สูง แต่การปลูกข้าวเปียกสลับแห้งจะต้องบริหารจัดการน้ำให้ได้ เขามองแหล่งน้ำต้นทุน ถ้านอกเขตชลประทาน ต้องใช้ น้ำฝน และ “น้ำบาดาล” ที่ผ่านการปรับปรุงมิให้มี สนิมเหล็ก ไปบล็อกการดูดซึมธาตุอาหาร จน ใบข้าว มีสีเหลืองน้ำตาลคล้ายสนิมเหล็ก จนต้นข้าวไม่ดูดปุ๋ย หยุดการเจริญเติบโต
ดังนั้นการทำนานอกเขตชลประทานจะต้องบริหารน้ำต้นทุนให้เหมาะสม การทำนาเปียกสลับแห้งเหมาะกับพื้นที่ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง รวมทั้งพื้นที่เขตชลประทาน ส่วนภาคอีสานดินปนทรายและเค็ม ไม่เหมาะกับการปลูกเปียกสลับแห้ง นอกจากนี้ก่อนปลูกจะต้องดู “ทิศทาง” ของชาวนาว่าปลูกข้าวอะไร เพื่อจะก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว เช่น เมื่อชาวนาปลูกข้าวขายให้โรงสี เขาจะปลูก ข้าวพันธุ์ ที่ได้กำไรมากกว่า เพราะพันธุ์ข้าวยังไม่พอนั่นเอง
จากการเป็นชาวนาหัวก้าวหน้าของเขา ผลผลิต/ไร่ประมาณ 1,200 กก.
เมื่อถามถึง “พันธุ์ข้าว” เขายอมรับว่าไทยมีข้อดี พันธุ์ข้าวเยอะ แต่ไม่ควรเหมารวมว่าผลผลิต/ไร่ 400-500 กก. ถ้าอีสานข้าว 30 ล้านไร่ เฉลี่ย 400-500 กก./ไร่ แต่ภาคอื่นๆ รวม 60 ล้านไร่ ผลผลิตมากกว่า
อย่างไรก็ดี ตอนนี้ชาวนาไทยนิยมปลูก ข้าว เบอร์ 5, 8 หรือ 20 อายุ 100 วัน เก็บเกี่ยวผลผลิต/ไร่สูง ซึ่งเขาไปดูงานข้าวเวียดนาม ยอมรับว่ารัฐปล่อยให้เอกชนพัฒนาพันธุ์ข้าวภายใต้การสนับสนุนของรัฐ จนได้พันธุ์ใหม่ออกมา ผลผลิต/ไร่สูง แต่ก็เจอ ภัยแล้ง และน้ำเค็มรุกพื้นที่นาข้าว ก็เป็นปัญหาเช่นกัน
ส่วนเรื่องชาวนาทำนาครบวงจร แปรรูปขายเอง จะยั่งยืนหรือไม่ ซึ่งเขาเคยทำมาแล้ว ปรากฏว่าไม่สำเร็จ เพราะเมื่อตั้งราคาขายได้ แต่ช้า ไม่คุ้มค่าการลงทุน
แต่ถ้ารัฐปรับโครงสร้างชลประทาน ให้ตอบโจทย์เรื่องปลูกข้าวจริงๆ ต้องกำหนดโซนนิ่งเพื่อส่งน้ำได้ถูกต้อง ไม่งั้นจะถูกเปลี่ยนรูปแบบให้ธุรกิจชนิดอื่นในเขตชลประทานได้เปรียบกว่าชาวนา ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นในหลายๆ พื้นที่
การสร้างข้าวรักษ์โลก
สำหรับ ข้าวรักษ์โลก ริเริ่มโดยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ภายใต้ BCG MODEL หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และ เศรษฐกิจสีเขียว โดยมุ่งลดต้นทุนการผลิตข้าวด้วยการทำนาประณีต หรือการใช้ชีวมวล ชีวภาพ และ จุลินทรีย์ เพื่อลดการใช้สารเคมี เป็นต้น เพื่อให้ได้ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพข้าว
กรรมวิธีข้าวรักษ์โลกมี 4 รูปแบบ ได้แก่ 1. ปรับหน้าดินด้วยแสงเลเซอร์ วัดระดับและควบคุมกระบะเกลี่ยดิน จนหน้าดินแปลงนาเรียบเสมอกัน ค่าใช้จ่ายไร่ละ 2,200 บาท 2. ทำนาแบบเปียกสลับแห้ง โดยใช้ท่อพีวีซี 4 นิ้ว มีรูเจาะรอบตัว เพื่อให้น้ำในช่วงที่ข้าวต้องการเท่านั้น ประหยัดน้ำได้มาก เพราะให้น้ำในช่วงที่จำเป็นจริงๆ 3. ใช้ปุ๋ยตามการวิเคราะห์ดิน โดยเก็บตัวอย่างดินในแปลงวัดค่าความสมบูรณ์ของดิน เพื่อประเมินปุ๋ยเท่าที่จำเป็น จะไม่ทำให้ ก๊าซไนตรัสออกไซด์ จากดินไปสู่ชั้นบรรยากาศ และ 4. จัดการฟางและตอซัง ด้วยการไม่เผา แต่ใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย ได้ปุ๋ยไปใช้โดยตรง ซึ่งเมื่อใช้ทั้ง 4 กรรมวิธี จะลดต้นทุนไร่ละไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท/ครอป และตอบโจทย์ BCG โดยตรง ซึ่งชาวนา BCG ที่ประสบความสำเร็จจะต้องเป็น ชาวนาต้นแบบ ของประเทศ
เมื่อ “ข้าวรักษ์โลก” ตกมาเป็นภารกิจของรัฐบาลชุดนี้ โดยมี กรมการข้าว เป็นเจ้าภาพเหมือนเดิม ภายใต้นโยบายของกระทรวงเกษตรฯ ที่มี นายประยูร อินสกุล เป็นปลัดกระทรวง และ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นรัฐมนตรี จะต้องผลักดันข้าวรักษ์โลกให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น นั่นคือได้นำเรื่อง พันธุ์ข้าว ที่ตอบโจทย์ทางธุรกิจมาเป็นกลไกหลักควบคู่กับกลไกการทำนาเปียกสลับแห้ง พร้อมทั้งแสวงหาปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย และ พลังงาน ที่มีความเป็นเลิศ “ด้านนวัตกรรม” มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ เพื่อให้ขบวนการชาวนามีกำไรที่มากขึ้น ควบคู่กับการเสริมสร้างสุขภาพผู้บริโภค และเป็นมิตรกับโลกและสิ่งแวดล้อม
สายพันธุ์ข้าว
ภารกิจนี้ท้าทายมากๆ เพราะ กรมการข้าว มีงบประมาณจำกัด ร.อ.ธรรมนัส ต้องประกาศต่อหน้าแกนนำชาวนา ทั้ง สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย และ สภาเกษตรกรุงเทพ รวมทั้งส่วนราชการ ทั้ง กทม. มท. และ กษ. เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 66 ณ โรงสีข้าวชุมชน หมู่ 6 ก้าวหน้าคลอง 12 เขตหนองจอก ได้พูดถึง พันธุ์ข้าวไทย หลุดจากเวทีแชมป์ข้าวโลกว่า กระทรวงเกษตรฯ ไม่ได้ส่งเข้าประกวด ที่เคยส่งเข้าประกวด คือ สมาคมผู้ส่งออกข้าว และ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ที่จริงจังเรื่องส่งข้าวเข้าประกวด ก่อนส่งต้องปรึกษากับผู้นำชาวนาด้วย เพราะเป็นผู้รู้จริง
ส่วนเรื่องการนำข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมาปลูก จนถูกหาว่าเป็นขโมย ตนไม่คัดค้านว่าไม่ให้ปลูก แต่มันผิดกฎหมาย ทางกรมการข้าวมีพันธุ์ใหม่ๆ ที่จะสู้พันธุ์ข้าวประเทศเพื่อนบ้านมั๊ย อธิบดียืนยันว่า มี และจะหาทางรับรองพันธุ์ข้าว เช่น มช.10-1 เหมือน หอมมะลิ ถึง 95% และมี โปรตีน สูงกว่า และเดือนเมษายน 67 เตรียมประกาศรับรองพันธุ์ข้าว 8 สายพันธุ์ ปลูกได้ทั้งปี เพื่อให้ชาวนาหลุดพ้นจากกับดัก
“จน เจ็บ เจ๊ง” นั่นเอง
นวัตกรรมปุ๋ยน้ำบริสุทธิ์
อย่างไรก็ดี เมื่อกระทรวงเกษตรฯ และ กรมการข้าว ถือธงนำข้าวรักษ์โลก ภาคเอกชนหลายองค์กรให้ความร่วมมือ เช่น สมัชชาพลังเขียวสร้างชาติ โดย นายพายัพ ยังปักษี เลขาธิการ และคณะ ได้นำ 2 นวัตกรรมด้านธาตุอาหารพืชบริสุทธิ์ และฟรีอีเนอร์… จนัธ ศิริรัตตานนท์ และ เกียรติภูมิ สิริพันธุ์ เข้าร่วมกับกรมการข้าว เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 66 โดยมี นายขจร โนวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการผลิตข้าว ปฏิบัติการแทนอธิบดี และมี นายชิษณุชา บุดดาบุญ รองอธิบดี เป็นประธานที่ประชุม พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่หลายกอง ปรากฎว่านวัตกรรมปุ๋ยน้ำบริสุทธิ์ได้รับความสนใจในการทำวิจัยร่วมกับกรม เพราะเป็นนวัตกรรมที่ผ่านการพิสูจน์จากอีรีมาแล้วว่าชนะเลิศในด้านการลดต้นทุน ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปราบโรคและศัตรูข้าวแต่อย่างใด” รองอธิบดี กล่าวสรุป และปิดการประชุม
เรื่องข้าวรักษ์โลก คุณขจรยอมรับว่าเป็นเรื่องดี ทางกรมเร่งนำงบประมาณอันจำกัดมาใช้จัดซื้อปัจจัยการผลิตให้ ศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อให้ได้ผลผลิต ตอบโจทย์ข้าวรักษ์โลกจริงๆ
หรือ สมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก สมาคมศูนย์ข้าวชุมชน (ประเทศไทย) สมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย และ สมาคมโรงสีข้าวไทย เป็นต้น ได้จับมือกับ กรมการข้าว เพื่อเดินหน้า ข้าวรักษ์โลก โดยเฉพาะ นาปรัง 100 โครงการ 10 จังหวัด โครงการละ 500 ไร่ ได้แก่ ภาคเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย กำแพงเพชร พิษณุโลก และ นครสวรรค์ ภาคกลาง 3 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี และ ลพบุรี ส่วนภาคใต้ 3 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง และ สงขลา คาดว่าจะทำให้พื้นที่ปลูกข้าวพรีเมียมเพิ่มขึ้นกว่า 5 หมื่นไร่ ซึ่ง ดร.ภณ ทัพพินท์กร นายกสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจฯ โครงการนี้ตอบโจทย์ BCG MODEL ชัดเจน เป็นการต่อยอดจากการใช้ 20 กองทุนหมู่บ้านฯ ทำนารักษ์โลกนั่นเอง
จึงเห็นได้ชัดว่า ถ้ากระทรวงเกษตรฯ และ กรมการข้าว เอาจริง เรื่องการใช้พันธุ์ข้าวที่ตอบโจทย์ทางธุรกิจแก่ชาวนา ผลักดันให้ใช้ปัจจัยการผลิตเชิงนวัตกรรมที่พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ สามารถลดต้นทุนได้จริง กำไร จากการลงทุนเกิดขึ้นแล้ว และถ้าผลผลิตได้ปริมาณและคุณภาพมากขึ้น ราคามากกว่าท้องตลาด นั่นคือกำไรต่อที่ 2 ชาวนาหลายล้านครอบครัว ซึ่งเป็น ฐานราก ปิรามิด ทางสังคม ก็จะแข็งแกร่งขึ้นโดยปริยาย เหมือนชาวนาในอารยประเทศนั่นเอง
วันนี้ กรมการข้าว เจ้าภาพ ต้องทำงานหนัก แต่บุคลากรน้อย เมื่อเทียบกับหลายๆ กรม ในกระทรวงเกษตรฯ เมื่องบประมาณจำกัด แต่ชาวนาและสังคมคาดหวังสูง มันสวนทางกับความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง ต้องการข้อมูลติดต่อ กรมการข้าว
การผลิตข้าวรักษ์โลก
งานประชุม APEC 2022 เดือนพฤษภาคม 2566 ที่รัฐบาลไทยได้ชูธงข้าวรักษ์โลก BCG MODEL โครงการนำร่องระยะที่ 1 ได้นำ ข้าวหอมมะลิ ปลอดสารพิษ จากผลผลิตไร่ละ 550 กก. เข้าแปรสภาพในโรงสีมาตรฐาน ISO22000 ภายใต้การรับซื้อของ สมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก ในราคาสูงกว่าตลาด จากนั้น นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว ได้สนับสนุนงบประมาณผลิตข้าวรักษ์โลกแจกสื่อต่างชาติกว่า 4,000 คน ทำให้ข้าวไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้น
ข้าวรักษ์โลก ไม่ใช่แฟชั่น แต่อียูได้ประกาศปรับ “คาร์บอน” ก่อนเข้าพรหมแดน ปี 67 เป็นต้นไป ซึ่ง เวียดนาม ได้สร้างมาตรฐานบังคับชาวนาให้ปลูกข้าวรักษ์โลกไปแล้ว