การปลูกข้าวผสมผสานพืชหลากหลายชนิด
ทีมงานข้าวเศรษฐกิจ ของ พลังเกษตร.com ขอนำเสนอชีวิตหลังเกษียณราชการของอดีตนายตำรวจท่านหนึ่ง ซึ่งเขาผู้นี้ได้ใช้ชีวิตหลังจากเกษียณที่ไม่เหมือนใคร ผันชีวิตจากนายตำรวจมาเป็นชาวนา โดย คุณราชัย ไกรการ พื้นเพเป็นคนจังหวัดสุรินทร์ ประกอบอาชีพรับราชการตำรวจมาเกือบทั้งชีวิต เมื่อใกล้ถึงช่วงเกษียณอายุราชการ จึงนึกวางแผนการใช้ชีวิตหลังจากเกษียณหันไปทำไร่ ทำนา ปลูกข้าวอินทรีย์
เนื่องจากมีพื้นที่ของตนที่ว่างจากการปล่อยเช่าอยู่ 25 ไร่ จึงตัดสินใจปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ 10 ไร่ ขุดสระ 3 ไร่ จำนวน 3 สระ ส่วนที่เหลือทำเป็นสวนป่าปลูกพืชผสมผสานหลากหลายชนิด เพื่อเป็นคันชนแปลงนาเคมีข้างๆโดยซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวมาจากสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ในราคากิโลกรัมละ 25บาท
และใช้องค์ความรู้การทำนาจากหน่วยงานต่างๆ ที่จัดอบรมให้เกษตรกรชาวนาในพื้นที่ เพราะตอนที่เขารับราชการอยู่ได้มีโอกาสไปเป็นผู้ดูแลความเรียบร้อยในงาน ซึ่งได้ความรู้ด้านการทำนาจากเกษตรจังหวัดมาพอสมควร ทั้งเรื่องการทำปุ๋ยหมัก การ ปลูกข้าวอินทรีย์ จึงนำความรู้ที่ได้มาต่อยอดการทำนาของตนให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น
เนื่องจากในอดีตพื้นที่เกือบทั้งหมดของลุงอั๋นนั้นได้มีการให้เช่าพื้นที่เพื่อ ปลูกข้าวอินทรีย์ ทำนา ซึ่งลุงอั๋นบอกว่า เมื่อก่อนลุงปล่อยที่ดินให้เขาเช่าทำนา แต่เนื่องด้วยคนที่เช่านั้นยังทำนาติดรูปแบบเคมี ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูง ทั้งค่าปุ๋ย ค่ายา แต่ผลผลิตที่ได้น้อยมาก เขาจึงเลิกเช่าพื้นนาของเรา
ดังนั้นเมื่อเกษียณแล้วจึงตัดสินใจมาทำนาด้วยตัวเอง แต่เนื่องจากพื้นดินของตนนั้นมีสารเคมีตกค้างอยู่ในพื้นที่แปลงนาอยู่มาก เนื่องจากผู้เช่ารายเก่านั้นทำนาในรูปแบบเคมีมานาน จึงจำเป็นต้องมีการปรับสภาพดินให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง
วิธีการทำฮอร์โมนหมัก
ทั้งนี้เขาได้เลือกวิธีการทำฮอร์โมน โดยใช้วิธีการไปรับซื้อผลไม้ชนิดต่างๆ ที่ขายไม่ได้แล้วจากตลาด อาทิ กล้วย, มะละกอ, แกนสับปะรด และผลไม้อื่นๆ เพื่อมาทำการทดลองทำปุ๋ยหมัก แล้วนำไปหมักในถังพลาสติกจำนวน 4 ถัง ในส่วนนี้ลุงอั๋นบอกว่า นี่คือฮอร์โมนผลไม้
จากนั้นส่วนผสมของฮอร์โมนที่เขาใช้เป็นประจำ คือ ฮอร์โมนจากพืชตระกูลสีเขียวที่ได้จากพืชสีเขียวทุกชนิดนำมาสับให้ละเอียดรวมกัน จากนั้นนำไปผสมกับกากน้ำตาล และสารพด. คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำไปหมักในถังพลาสติก ซึ่งลักษณะปุ๋ยหมักชนิดนี้จะมีสีเขียวเข้ม เมื่อถึงระยะการหมักครบ 1 เดือนแล้ว จากการทำปฏิกิริยาจนเกิดเป็นแก๊สแล้วเกิดฟอง และมีกลิ่นแก๊สลักษณะอมเปรี้ยว เป็นกรด ถือว่าเป็นอันใช้ได้ นำไปฉีดลงในแปลงนาได้เลย เพื่อเป็นการบำรุงดินในขั้นต้น
ซึ่งมี 2 สูตรด้วยกัน คือ
1.ฮอร์โมนพ่อ มีส่วนผสม ได้แก่ ผลไม้สุกที่มีรสหวานนำ มาหมักรวมกัน
2.ฮอร์โมนแม่ เช่น หญ้าผักตบชวา เศษพืชที่มีสีเขียว มาหมักรวมกัน
หลังจากนั้นนำฮอร์โมนพ่อกับฮอร์โมนแม่มาผสมกันอีกทีให้อยู่ในรูปแบบ N, P, K มาใช้ในแต่ละช่วงของต้นข้าว
สูตร N = น้ำพ่อ (1 ส่วน) น้ำแม่ (10ส่วน) ผสมกันในอัตราส่วนน้ำ 60-80 ลิตร ฮอร์โมน 20 ช้อนแกง ฉีดบำรุงต้นช่วงข้าวอายุประมาณ 1 เดือน
สูตร P = น้ำแม่ (5 ส่วน) น้ำพ่อ (5 ส่วน) ผสมกันในอัตราส่วนน้ำ 60-80ลิตร ฮอร์โมน 20 ช้อนแกง ฉีดบำรุงทางใบและรากเพื่อทำนาในฤดูต่อไป
โดยการไถตากดินเพื่อฆ่าหญ้า ฆ่าวัชพืช ที่อยู่ในแปลงนา ทิ้งไว้ประมาณ 15-30 วัน จากนั้นเทฮอร์โมนสูตรเข้มข้นเข้าไปพร้อมไถหว่าน ซึ่งเทคนิคการบำรุงดินของลุงอั๋นวิธีนี้ช่วยปรับสภาพดินให้ดินดีเร็วขึ้น เพราะปกติต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป ดินถึงจะเริ่มดี
แต่สำหรับลุงอั๋นใช้วิธีนี้ พอเริ่มปีที่ 2 สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของดินได้ชัดเจน คือ ดินแข็งมีสีแดงเริ่มเปลี่ยนเป็นเข้ม ดินนุ่มเป็นโคลนตม และเปลี่ยนเป็นสีดำปนเข้ามา และที่เห็นได้ชัดอีกอย่าง คือ สามารถเรียกไส้เดือนกลับสู่พื้นดินได้อีกครั้งนั่นเอง
ปัญหาและอุปสรรคของการทำนา
เมื่อถามถึงอุปสรรคการทำนา ลุงอั๋นเปิดเผยว่ามีศัตรูข้าว ได้แก่ แมงกระชอน หอยเชอรี่ และปูนา ซึ่งสัตว์เหล่านี้เป็นศัตรูตัวร้ายในการทำนาก็ว่าได้ เพราะมันจะคอยกัดกินต้นข้าวสร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเขาได้ใช้วิธีกำจัดศัตรูตัวฉกาจเหล่านี้ คือ การซื้อลูกปลาดุกยักษ์มาปล่อยในแปลงนาช่วงที่ในนามีน้ำขัง จนกว่าจะถึงเก็บเกี่ยวแล้วค่อยปล่อยน้ำทิ้ง ซึ่งปลาดุกยักษ์จะกันศัตรูเหล่านี้ได้ทั้งหมด เป็นวิธีธรรมชาติที่ประหยัดและได้ผลดีนั่นเอง
การหว่านเมล็ดถั่วพร้าลงไปเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสด
ขั้นตอนการเตรียมดิน ลุงอั๋นยังเลือกใช้การปลูกถั่วพร้าเพื่อเป็นการปรับสภาพดิน และเพิ่มธาตุอาหารให้กับดินอีกด้วย หลังจากการไถกลบตอซังและฟางข้าวแล้วจะมีการหว่านเมล็ดถั่วพร้าลงไปเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสดแบบการใช้ปอเทืองนั่นเอง เมื่อถึงฤดูกาลทำนาก็จะทำการไถกลบถั่วพร้าอีกครั้ง หลังจากนั้นก็ทำการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวต่อไป ซึ่งลุงอั๋นใช้อัตราการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวอยู่ที่ 25 กิโลกรัม/ไร่ ตามปริมาณที่กรมการข้าวได้กำหนดไว้
สภาพพื้นที่ ปลูกข้าวอินทรีย์
หลังจากปรับปรุงดินมาหลายครั้ง ลุงอั๋นบอกว่าเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของดินที่ชัดเจนขึ้น มีแนวโน้มฟื้นฟูได้ดีมาก จากดินที่เคยมีลักษณะแข็ง แตก ระแหง ก็เริ่มที่จะมีความเหนียวนุ่ม และเมื่อสังเกตจากผลผลิตข้าวที่ได้ก็จะเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน จากเมื่อก่อนข้าวที่ได้จะมีเมล็ดเล็ก ไม่สมบูรณ์ มีลักษณะออกสีแดงๆ แ
ต่เมื่อผ่านกระบวนการในการปรับบำรุงดินต่างๆ แล้ว ข้าวที่ได้จะมีเมล็ดใหญ่ขึ้น สวยสมบูรณ์มากขึ้นกว่าเดิมมาก ซึ่งเขาคิดว่าการปรับบำรุงดินจึงเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ชาวนาได้ผลผลิตที่สมบูรณ์ และได้จำนวนผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย
การบำรุงดูแลต้นข้าว
ในการทำนาของลุงอั๋นนั้นจะออกไปดูแปลงนาทุกวัน ทั้งตอนเช้า และตอนเย็น เพื่อดูแลความเรียบร้อยในแปลงนา ทั้งเรื่องวัชพืชในนาข้าว รวมไปถึงโรคและแมลงศัตรูพืช หากพบเจอวัชพืชก็จะใช้มือถอนทุกครั้ง และยังมีการปล่อยปลาลงไปในนาข้าวอีกด้วย เพื่อให้ปลานั้นกัดกินหอยเชอรี่ และแมลงต่างๆ ที่เป็นศัตรูพืชในนาข้าว
ในอนาคตลุงอั๋นบอกกับทีมงานว่าเมื่อดินของตนสมบูรณ์มากขึ้นแล้ว ต่อไปก็จะวางแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์คุณภาพดีจำหน่ายให้พี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อเป็นการช่วยเหลือพี่น้องชาวนาได้ใช้พันธุ์ข้าวอินทรีย์คุณภาพดี ตลอดจนไม่ต้องโดนเอารัดเอาเปรียบจากโรงสี และสามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยลำแข้งของตนเองอีกด้วย
ฝากถึงเกษตรกรชาวนาที่สนใจ ปลูกข้าวอินทรีย์
ท้ายนี้คุณลุงอั๋นฝากถึงพี่น้องเกษตรกรชาวนาว่าถ้าเราจะลดต้นทุนเราก็ต้องเตรียมทุนของเราเสียก่อน อย่างเช่น ต้นทุนเรื่องความคิด และความรู้ ในด้านการทำนา เราต้องหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่ตลอด แล้วลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง อย่างปุ๋ยมันอยู่รอบๆ ตัวเรา
สามารถนำมาทำปุ๋ยได้ เช่น ผักบุ้งในคลอง หรือผลไม้ต่างๆ อะไรอีกมากมาย แล้วทำไมเราไม่เอามาใช้ประโยชน์นำมาทำน้ำหมัก เพียงลงทุนครั้งเดียวก็สามารถใช้ได้ตลอด ไปหมักปีนี้ก็เก็บไว้ใช้อย่าใช้หมด เก็บน้ำหัวเชื้อไว้เพื่อที่จะมาขยายไว้ใช้ต่อไปในปีหน้า แค่นี้เราก็สามารถลดต้นทุนการผลิตเรื่องปุ๋ยได้ ชาวนาก็จะสบายมากขึ้น
“ชาวนาก็ควรเปลี่ยนวิธีการทำนารูปแบบเคมีมาใช้รูปแบบอินทรีย์ ไม่ต้องไปเพิ่มปุ๋ยเคมีทุกๆ ปี ไม่ต้องฉีดยาทุกๆ ปี ปล่อยให้ธรรมชาติมันจัดการธรรมชาติของมันเองจะดีกว่า แค่นี้เป็นประโยชน์กับตัวเอง ส่งผลให้สุขภาพดีขึ้น ผลผลิตเพิ่มขึ้น รายได้ก็เพิ่มมากขึ้น ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เพียงเท่านี้ชาวนาก็อยู่ได้อย่างสบายๆ”
ขอขอบคุณ ปลูกข้าวอินทรีย์ จาก คุณราชัย ไกรการ โทร.09-0370-5354