รถไถ นานั่งขับเอนกประสงค์ นวัตกรรม ใหม่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

รถไถ นานั่งขับเอนกประสงค์ นวัตกรรม ใหม่

การวิจัยที่เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ “นักวิจัยแห่งท้องทุ่ง ผู้มีหัวใจสีเขียว” อย่าง อาจารย์ธฏษธรรมช์ ลาโสภา หรือ อาจารย์ทศ เดินหน้าร่วมกับชุมชนได้วิจัยและพัฒนา รถไถ นาเดินตามดัดแปลงมาเป็นนั่งขับ เพื่อพัฒนาต่อยอดให้มีสมรรถนะประสิทธิภาพ เพื่อลดปัญหาการเหน็ดเหนื่อย  เมื่อยล้า ในการเตรียมดินไถคราดนาก่อนการปักดำ

การพัฒนา “ รถไถ นาเดินตามแบบนั่งขับต้นแบบ จนเป็น นวัตกรรม ใหม่ แก้จน ดันหน้าดิน ไถดิน ปั่นดิน และพ่วงต่ออุปกรณ์หยอดข้าวแบบลดต้นทุนในการทำนาของชาวนาไปชั่วนาตาปี” ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในหลายพื้นที่ทางภาคอีสาน ในนาม “ อีลุยย์ (ELui)” โดย คุณวิมล สุวรรณ หรือ คุณโก้ ช่างโก้คนวัง (บ้านวังยาง) อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร 47000 โทร.061-206-2305

ที่รักในอาชีพการทำไร่ ทำนา มาตั้งแต่สมัยรุ่นพ่อแม่ ได้เล่าถึงชีวิตที่ปากกัด ตีนถีบ กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ และแรงจูงใจที่ทำให้เกิดการดัดแปลง รถไถ อีลุยขึ้นมาใช้งานในปัจจุบันให้กับทีมงานฟังว่า มีช่วงหนึ่งที่ได้มาทำงานในกรุงเทพฯ ประกอบกับตนเป็นคนชอบศึกษาเรียนรู้เพื่ออยากที่จะแสวงหาอะไรใหม่ๆ

จึงได้ไปทำงานและศึกษาเกี่ยวกับเรื่องระบบเครื่องกล เก็บเป็นความรู้เพื่อนำมาพัฒนาใช้ให้เกิดประโยชน์ในอนาคต

การค้นหาวิธีดัดแปลงรถต้นแบบมาเป็น รถไถ นั่งขับเอนกประสงค์

จากคำที่ว่า “เฮ็ดงานอยู่ไสกะบ่สำบายใจซำบ้านเฮา” จึงได้กลับมาสกลนครที่เป็นบ้านเกิด ก็คิดว่าระหว่างที่ว่างเว้นจากงานไร่นา หลังจากที่ทำนา ทำสวน เสร็จแล้วจะหางานอะไรทำดี ก็เกิดไอเดียว่า “รถไถนาเดินตาม” ที่ตนใช้งานมาแทบทั้งชีวิตของเขานั้นจะทำอย่างไร? เพื่อที่จะนำมาประยุกต์ใช้ปรับให้เข้ากับระบบเครื่องกลยานยนต์ และสามารถใช้งานได้หลากหลายมากกว่านี้

คุณโก้ได้ใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน ในการคิดค้นหาวิธีดัดแปลงพัฒนาจากรถต้นแบบมาเป็น “รถนั่งขับเอนกประสงค์” โดยใช้เครื่องและโครงเดิมเป็นหลัก เป็นระยะเวลาร่วมต่อสู้มาด้วยกันกับอาจารย์ทศกว่า 5 ปี และพี่โก้ยังมีนายช่างคนเก่งอย่างคุณชลธี สีดารักษา หรือ ช่างเปรม คอยเป็นผู้ช่วยในการประกอบรถไถ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ทดสอบสมรรถนะการใช้งานของรถไถเอนกประสงค์ พร้อมร่วมพัฒนาระบบเครื่องเพื่อให้ใช้งานได้ง่าย ด้วยระบบไฮดรอลิคส์หมุนผานขึ้น-ลง ล็อคล้อเลี้ยวกึ่งอัตโนมัติแบบลดต้นทุน ประกอบกับแรงจูงใจหลักในการทำรถไถนี้ขึ้นมา เพราะด้วยความยากลำบากในการทำไร่ ไถนา ต้นทุนที่จะซื้อรถไถใหญ่ก็ไม่มี เวลาไปทำงานรับจ้างไถนา

 

1.ช่างโก้กับรถไถนาเดินตามแบบนั่งขับ
1.ช่างโก้กับรถไถนาเดินตามแบบนั่งขับ

 

ช่วยลดต้นทุนค่าเตรียมดิน ที่มีอัตราค่าจ้างมากถึงไร่ละ 700 บาท

เตรียมดิน ที่มีอัตราค่าจ้างมากถึงไร่ละ 700 บาท เดินตามรถไถหลายรอบ หลายไร่ ทำให้เป็นตะคริว จนไม่สามารถบังคับรถไถได้ ประกอบกับตนเองมีอายุเยอะแล้ว คิดว่าแบบนี้คงไม่ไหวแน่ ดั่งคำที่เขาว่า “รถแม่หม้าย” จึงทำให้คิดขึ้นมาว่าคนที่ทำงานหนักมีโอกาสที่จะตายก่อนลูกเมียได้ เพราะใช้กำลังแรงงานเยอะเกินไป

ถ้าสามารถปรับเปลี่ยนรถจากเดินตามมาเป็นนั่งขับคงจะทำงานได้เยอะกว่านี้ จึงได้ศึกษาเรื่องกลไกระบบเครื่องกลต่างๆ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ที่จะสามารถศึกษาหาดูได้เพื่อสั่งสมความรู้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการนำรถไถนาแบบเดิมที่ตนมีมาดัดแปลงคิดค้นขึ้นจาก “ภูมิปัญญาความคิด” ที่แตกต่างจากคนอื่น จนถูกมองว่าเป็นคนบ้า

แต่ด้วยความพยายามที่ไม่หยุดนิ่งทำให้รถไถดัดแปลงที่ออกแบบมาสามารถใช้งานได้จริง  สะดวก ง่ายต่อการใช้งานพร้อยลุยในทุกท้องที่ ทำให้อาจารย์ต้นจากมหาวิทยาลัยราชมงคลสกลนคร ที่เข้ามาช่วยในเรื่องสิทธิบัตรได้เห็นการทำงานของเครื่องจักรที่ออกแบบขึ้นมา และสมรรถนะการใช้งานต่างๆ ของรถไถเอนกประสงค์ จนได้มาซึ่งชื่อ “อีลุย” ที่รู้จักกันดีนั่นเอง

 

2.การส่งเสริมและสนับสนุนโครงการทำการเกษตรสมัยใหม่
2.การส่งเสริมและสนับสนุนโครงการทำการเกษตรสมัยใหม่

 

3.คุณวิมล-สุวรรณ-เกษตรกร-จ.สกลนคร-และคุณแดง-ภรรยา
3.คุณวิมล-สุวรรณ-เกษตรกร-จ.สกลนคร-และคุณแดง-ภรรยา
ลุย-ลุย-ทดสอบสมรรถนะการทำงาน-อีลุยย์-นวัตกรรมใหม่
ลุย-ลุย-ทดสอบสมรรถนะการทำงาน-อีลุยย์-นวัตกรรมใหม่
4.รถไถ นวัตกรรม
4.รถไถ นวัตกรรม
อาจารย์ทศและช่างเปรม-ร่วมผลิตออกแบบอีลุยย์-นวัตกรรมใหม่
อาจารย์ทศและช่างเปรม-ร่วมผลิตออกแบบอีลุยย์-นวัตกรรมใหม่
ช่างเปรม-ช่างโก้-พร้อมลุย
ช่างเปรม-ช่างโก้-พร้อมลุย

 

5.ช่างโก้และอาจารย์ทศพูดคุยปรึกษากันเรื่องนานา
5.ช่างโก้และอาจารย์ทศพูดคุยปรึกษากันเรื่องนานา

ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ทั้งทางด้านการเงิน-วัสดุอุปกรณ์

ด้วยความพยายามอุตสาหะของคุณโก้แม้จะเจอปัญหาอุปสรรคต่างๆ ทั้งทางด้านการเงินที่ต้องนำมาลงทุนที่ใช้ต้นทุนที่สูง และกำไรจากการทำธุรกิจยังน้อย บวกกับขั้นตอนในการผลิตดัดแปลง รถไถ ที่ทำได้ในปริมาณทีละน้อย และช้า

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ต้นทุนส่วนใหญ่จะหนักไปทางด้านวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องซื้อหามาเพื่อใช้ในการออกแบบประกอบทำเครื่องโครงรถทั้งหมดนั่นเอง แม้ปัญหาอุปสรรคจะเยอะเพียงใดก็ไม่ได้ทำให้คุณโก้ท้อถอยแม้แต่นิดเดียว  ส่วนด้านการเดินเรื่องเพื่อขอ “สิทธิบัตร” ที่ทางอาจารย์ต้นได้ทำเรื่องยื่นไว้ถึง 2 ครั้ง แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ

เป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันที่ทำให้เขา และ คุณรุ่งนิรันดร์ หรือ คุณแดง ผู้เป็นภรรยา ที่ร่วมทุกข์สุข ฝ่าฟันด้วยกันมานั้นเข้าไปปรึกษาที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเพื่อดำเนินเรื่องนี้ต่อ และได้รับคำแนะนำให้รู้จักกับ อาจารย์ธฏษธรรมช์ ลาโสภา หรือ อาจารย์ทศ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเครื่องกลและอุตสาหการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ที่ได้เข้ามาช่วยเหลือในการส่งเสริมสนับสนุนให้แนวคิดหลายอย่าง เปรียบเสมือนเป็นเพื่อน พี่น้อง ที่ร่วมทุกข์สุขมาด้วยกัน ประกอบกับอุดมการณ์ที่มีอย่างเต็มเปี่ยมเพื่อให้พี่น้องชาวนาที่ประสบปัญหาด้าน “ต้นทุนการผลิต” ที่ต้องใช้ “ นวัตกรรม ” เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับชาวนาแบบลดต้นทุน ที่ผลักดันช่วยเหลือคุณโก้ด้วยความจริงใจ ทำให้วันที่ 12 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา “สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์” ที่ยื่นไว้กับทางสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสกลนคร

ผ่านเรื่องยื่นคำขอเพื่อเป็น “สิทธิบัตรทางภูมิปัญญา” ด้วยความภาคภูมิใจที่ร่วมต่อสู้กันมาบนเส้นทางมิตรภาพและรอยยิ้มกว่า 5 ปี อาจารย์ทศให้ความเห็น และกล่าวว่า

“ผมเห็นแนวคิดของพ่อหลวง สิ่งที่ทำและจับต้องได้ดีที่สุดเลย ผมว่าไม่ควรที่จะทำนาอย่างเดียว ทำแต่พอกินครับ อย่างผมมีที่อยู่ 4 ไร่ ก็ยังพอได้ขายอยู่ 2 ไร่ ซึ่งเป็นเงินไม่เท่าไหร่ ถ้าผมเอาขิง ข่า ตะไคร้ มาปลูก เราไม่ได้หวังขายได้เป็นหมื่น เราหวังขายตามตลาดบ้านเรา แค่นี้ก็พอแล้วครับ นาผมจะทำข้าวอยู่ 2 ไร่ครับ แค่นี้ก็เพียงพอได้กินครับ อีก 2 ไร่ ผมจะปลูกพืชผักครับ ใช้อีลุยดันคันนาให้สูงเมตร 50 ครับ

ก็สามารถดำนาได้ เลี้ยงปลาได้ ปลูกพืชผักได้ ตามช่วงฤดูครับ คนอีสานบ้านเราถ้ามีที่ไร่ ที่นา ก็กลับมาทำเถอะครับ แม้เทคโนโลยีจะก้าวหน้าไป บางทีก้าวที่เราผ่านมันไปนั้นก็อยากให้หันกลับมามองดูบ้างว่าก้าวไปไกลเยอะเกินกว่าตัวเราแค่ไหน คนที่เขาหันมาทำเกษตรเงินล้านก็ยังมีให้เห็นแล้ว ผมก็เลยไม่หยุดที่จะศึกษาไว้เช่นกัน” คุณโก้กล่าวทิ้งท้าย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขอขอบคุณ อาจารย์ธฎษธรรมช์ ลาโสภา นักวิจัยและพัฒนาโครงการต้นแบบ

สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณวิมล สุวรรณ ช่างโก้ คนวัง (บ้านวังยาง)

คุณชลธี สีดารักษา ช่างเปรม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร 47000 โทร.061-206-2305

(ผู้ผลิตดัดแปลงรถไถนาเดินตามเป็นนั่งขับ แก้จน เพิ่มสุข นวัตกรรม ของชาวนาไทย)