วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ศรีเทพ มุ่งผลิตข้าวอินทรีย์กว่า 1,000 ไร่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

 

การรวมตัวกันของเกษตรกรชาวนา ถือได้ว่าเป็นวิธีการที่จะช่วยเหลือชาวนาให้มีความมั่นคงในด้านการประกอบอาชีพมากขึ้น เช่น การจัดอบรมถึงเทคนิค และกระบวนการผลิตต่างๆ ตลอดจนแนวทางการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต หรือแม้แต่ การวางแผนการตลาด และ การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า  ด้วยสิ่งต่างๆเหล่านี้จะทำให้กลุ่มและสมาชิก สามารถขับเคลื่อนปัญหาอุปสรรค์ต่างๆ จนทำให้กลุ่มนั้นเกิดความเข้มแข้ง และที่สำคัญความเป็นอยู่ของสมาชิกก็ดีขึ้นตามมา  จึงไม่แปลกใจเลย ว่าปัจจุบันมีกลุ่มต่างๆของชาวนาเกิดขึ้นมากมาย

นิตยสารข้าวเศรษฐกิจ ขอนำเสนอ ตัวอย่างการรวมกลุ่มของชาวนาในจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ปัจจุบันได้รับการยกย่องมาเป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข้งและเติบโตอย่างรวดเร็ว  นั่นก็คือ “วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ ศรีเทพ ” ที่ตั้งอยู่ในอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมี คุณนคุณ วงศ์ไพศาลทรัพย์ นักธุรกิจหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรง ที่มีหัวใจรักในเรื่องเกษตรอินทรีย์ และเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มฯแห่งนี้ขึ้นมา ด้วยจุดประสงค์ต้องการให้เกษตรกรมีชีวิตความเป้นอยู่ที่ดีขึ้น โดยการลดละเลิกการใช้สารเคมี  และหันมาใช้รูปแบบนาอินทรีย์ ในปลูกข้าว เพื่อเน้นคุณภาพข้าวเป็นจุดแข็งและจุดขายของกลุ่มฯ

คุณนคุณเล่าว่า จุดประสงค์ในการก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ศรีเทพ เพื่อต้องการให้เกษตรกรในพื้นที่อำศรีเทพ นั้นลดการใช้สารเคมี เพื่อการลดต้นทุนและ ให้ตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมีที่มีผลกระทบต่อคนในประเทศอีกมากมาย เช่นปัญหาด้านสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมทั้งปัญหาเรื่องเศรษฐกิจและเรื่องปัญหาค่าครองชีพเป็นต้น โดยจะใช้แนวทางการทำนาอินทรีย์ในการปลูกข้าวคุณนคุณ วงศ์ไพศาลทรัพย์ ผู้ริเริ่มกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ศรีเทพ

“กลุ่มวิสาหกิจฯแห่งนี้ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2558 ที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขและตอบสนองปัญหาของเกษตรกร ด้วยสาเหตุที่เกษตรกรบางรายไม่สามารถดำเนินการเพาะปลูกต่อได้ไป และบางรายต้องทำการกู้ยืมปัจจัยเพื่อทำการเพาะปลูก อีกทั้งปัญหาด้านการตลาดที่มีการแข่งขันอย่างมาก ทำให้เป็นเรื่องยากที่เกษตรกรจะจัดการปัญหาในทุกๆด้านได้เอง ด้วยปัญหาต่างๆทำให้เกิดการรวมตัวกันขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาในพื้นที่ให้มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตรงนี้คือสิ่งที่เรามุ่งหวัง ” คุณนคุณกล่าวถึงจุดมุ่งหมายหลักในการก่อตั้งกลุ่มฯ

ปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจฯแห่งนี้มีพื้นที่ในการผลิตข้าวอินทรีย์กว่า 1,000 ไร่ และมีสมาชิกกว่า

100 คน โดยหลักๆจะมีการผลิตข้าวอินทรีย์กว่า 4 ชนิด เช่นข้าวกล้องไรซ์เบอรี่ ข้าวกล้องหอมมะลิแดง ข้าวกล้องหอมมะลิ ข้าวเหนียวลืมผัว และข้าวกล้องสามสีที่ ประกอบไปด้วยข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้องไรซ์เบอรี่และข้าวกล้องหอมมะลิแดง  เป็นต้น  ซึ่งข้าวแต่ละชนิดล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทางโภชนาการสูง ปัจจุบันได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ของทางกลุ่มวิสาหกิจฯเกษตรอินทรีย์ศรีเทพนี้ จะเป็นสินค้าที่ผลิตจากการทำเกษตรอินทรีย์เท่านั้น โดยจะมีการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน จากคณะกรรมการ เพื่อการันตีความปลอดภัยจากสารเคมี ซึ่งจุดนี้เป็นสิ่งที่คุณนคุณให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในเรื่องมาตราฐานสินค้า

ในด้านการแปรรูปทางกลุ่มฯก็ได้ให้ความสำคัญ เช่นกัน โดยขั้นตอนต่างๆจะมีการตรวจสอบให้เป็นมาตรฐาน ปราศจากสารเคมีทั้งสิน ข้าวที่ได้จากการปลูกและดูแลของกลุ่มฯ จะมีการควบคุมดูแลถึงคุณภาพการผลิตอย่างจริงจัง  ตั้งแต่กระบวนการคัดสายพันธุ์ จนถึงขึ้นตอนการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว และการแปรรูป เพื่อให้ได้ข้าวที่เป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์อย่างแท้จริงคุณนคุณย้ำ

โรงสีที่ใช้นั้นใช้โรงสี ของอ.เชาว์วัช หนูทอง ในจังหวัดลพบุรี และใช้เครื่องสีข้าวของตนที่มีอยู่ ในส่วนของอัตราค่าบริการในการสีข้าวโรงสีของ อ.เชาว์วัชนั้น จะคิดในราคาตันละ 2,000 บาท ซึ่งเขายังบอกสาเหตุในการเลือกใช้โรงสีแห่งนี้ว่า โรงสีแห่งนี้มีความเพียบพร้อมไปด้วยคุณภาพ ทั้งเรื่องของตัวเครื่องสีข้าว และเครื่องคัดข้าว ที่มีนวัฒกรรมที่ทันสมัย มีการคัดแยกข้าวด้วยระบบเลเซอร์ ซึ่งจะทำให้ได้ข้าวคุณภาพไม่มีเมล็ดปน ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่ประทับใจมากๆ

ด้านการตลาดและการรับซื้อ

                ทางวิสาหกิจชุมชนได้ทำการติดต่อกับบริษัทจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ที่จะเข้ามาดูแลในเรื่องการตลาดและการรับซื้อสินค้าจากทางสมาชิก โดยที่ทางเจ้าหน้าที่วิสาหกิจชุมชนได้มีการตรวจสอบสถานะของบริษัทที่เข้ามารับผิดชอบส่วนนี้อย่างละเอียด เพื่อให้ทางสมาชิกมั่นใจถึงช่องทางการปล่อยผลผลิตได้อย่างเป็นธรรม รวมทั้งการรับซื้อจากสมาชิกกลุ่มฯ โดยจะมีการกำหนดราคารับซื้ออย่างเป็นธรรม พร้อมทั้งมีการเซ็นสัญญาการรับซื้อไว้ล่วงหน้า ก่อนเริ่มการเพาะปลูก เพื่อให้สมาชิกมั่นใจและทำการเกษตรแบบมีความสุข

เมื่อได้ผลผลิตข้าวทั้งหมดก็จะมีการนำมาผ่านเครื่องแพ็คสูญญากาศ และติดสติ๊กเกอร์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ศรีเทพ ” และมีการวางจำหน่ายไปยังร้านค้าต่างๆทั่วไปในพื้นที่ และอีกหลายๆ จังหวัด เช่น กรุงเทพ ชลบุรี  ระยอง ฯลฯ  โดยมีการจำหน่ายดังนี้ ข้าวกล้อง

ไรซ์เบอรี่ 95บาท/กก.  ข้าวกล้องหอมมะลิ  75บาท/กก. ข้าวกล้องหอมมะลิแดง 75 บาท/กก. และ

ข้าวเหนียวลืมผัว 105 บาท/กก.  ทั้งนี้สินค้าบางส่วนมีการส่งขายไปยังต่างประเทศ เช่น แคนนาดา และอเมริกา  ซึ่งเป็นที่ ที่เคยเรียน ทำให้มีคนรู้จักมากมาย ซึ่งกลุ่มลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศให้การตอบรับอย่างดี ซึ่งทำให้สมาชิกในกลุ่มต่างมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ต่างยิ้มแย้มกันเป็นแถวๆ

ทางด้านกิจกรรมของกลุ่มฯนั้นในทุกๆเดือนจะมีการประชุมกันภายใน เพื่อพูดคุยถึงปัญหาต่างๆเช่นปัญหาการเพาะปลูก การวางแนวทางทางการตลาด ตลอดจนมีการอบรมให้ความรู้กับสมาชิก ทั้งในเรื่องการใช้สารชีวภาพ ทั้งน้ำหมัก และฮอร์โมน ตลอดจนสมุนไพรในการไล่แมลงศัตรูพืช

เทคนิคการทำนา

                คุณนคุณกล่าวว่า ใช้รูปแบบการทำนาโยนกล้า ในการปลูกข้าวของตนกว่า 60 ไร่ สาเหตุในการเลือกการโยนกล้านั้นเพราะว่าวิธีการดังกล่าวเป็นวิธีที่สามารถช่วยลดต้นทุนการทำนาได้เป้นอย่างดี ตลอดจนสามารถกำจัดวัชพืชและพันธุ์ปนข้าวได้ดี ซึ่งความรู้ในการโยนกล้านั้นได้มาจากอ.เชาว์วัช หนูทอง ผู้ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกการโยนกล้าคนแรกของประเทศ  ในส่วนของขั้นตอน การโยนกล้านั้น จะมีการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีเปอร์เซ็นงอกสูง โดยจะใช้ในอัตราส่วน 30-50 กรัม ต่อไร่เพียงเท่านั้น เมื่อได้เมล็ดพันธุ์ข้าวแล้วจะนำไปเพาะลงถาดเพาะกล้าต่อไป สาเหตุที่ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่น้อยคุณนคุณบอกว่า ข้าวเพียงแค่1 เมล็ดสามารถงอกและแตกกอออกไปได้มาก เพราะฉะนั้นการใช้เมล็ดพันธุ์ที่น้อยก็ไม่ส่งผลกระทบในเรื่องของผลผลิต แต่จะช่วยในส่วนของการลดต้นทุนได้ด้วย  หลังจากนั้นเมื่ออยู่ในช่วงกาลเพาะกล้าก็จะมีการเตรียมดินและทำเทือกโดยทั้งนี้จะมีใช้การเผาฟาง แต่จะใช้การหมักตอซังและฟางข้าว ด้วย “จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง” ทำย่อยสลายตอซังและฟางข้าว ซึ่งจะใช้ระยะเวลาการหมักประมาณ 15 วัน และหลังจากนั้นเมื่อกล้าที่เพาะมีอายุประมาณ 15 วัน ก็จะมีการนำมาโยน ซึ่งช่วงระยะเวลาดังกล่าวกล้าข้าวนั้นจะมีความยามเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ2-3 นิ้ว และเป็นช่วงที่เหมาะกับการนำไปใช้โยนอย่างมาก เพราะจะมีการแตกกอได้เร็วกว่ากล้าข้าวในระยะอื่น รวมทั้งลดอัตราความเสียหายของกล้าข้าวได้อย่างดี หลังจากการโยนกล้าแล้วก็จะมีการผันน้ำเข้าสู่แปลงนาซึ่งจะมีการรักษาระดับน้ำไว้ที่ประมาณ 5 ซม. เพื่อเป็นการควบคุมวัชพืช  และหลังจากนั้น 15 วันก็จะมีการใส่ปุ๋ยรอบแรก ซึ่งปุ๋ยที่ใช้นั้น เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตเอง โดยใช้วัตถุดิบเช่น มูลเป็ด มูลไก่ และรำข้าว นำมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ จากนั้นเมื่อข้าวอายุครบ 30 วัน ก็จะมีการใส่จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงอีกครั้ง และต่อจากนั้นอีก 15 วัน ก็จะมีการปล่อยเป็ดเข้าไปในแปลงนา เพื่อให้กำจัดวัชพืช  และ หอยเชอรี่ ตลอดจนมูลเป็นก็กลายเป็นปุ๋ย ช่วยในการเจริญเติบโตของต้นข้าวอีกด้วย และเมื่อข้าวมีอายุครบ 60 วันก็จะมีการใส่ปุ๋ยรอบ 2 เพื่อบำรุงต้นข้าว ทั้งราก ลำต้น ใบ และเมล็ดข้าว เพื่อให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หลังจากการใช้สารชีวภาพ ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักต่างๆนั้นทำให้คุณนคุณมีผลผลิตข้าวไรซ์เบอรี่เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 800 กก./ต่อไร่ และซึ่งมีต้นทุนการทำนาเพียงแค่ 3,500-4,000บาท/ไร่ ซึ่งถือได้ว่าการทำนาอินทรีย์นั้นช่วยลดต้นทุนการปลูกข้าวได้เป็นอย่างดี

คุณนคุณฝากถึงชาวนา

“ จริงๆสิ่งที่ผมพูดไม่ได้ชวนเชื่อ แต่อยากให้คุณลองพิสูจน์ด้วยตัวเอง เพียงขอให้คุณลองเปิดใจแล้วเข้ามาดูว่าการทำเกษตรอินทรีย์ กับ เคมี ผลดีกับผลเสียมันต่างกันอย่างไร แล้วคุณจะพบความสุขที่แท้จริง

[wpdevart_like_box profile_id=”488139084538581″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]