นอกจากความร่วมมือของสมาชิกกลุ่ม สิ่งที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ผู้นำกลุ่มที่ดี และมีศักยภาพมากพอที่จะสู้รบปรบมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
เหมือนกับสหกรณ์การเกษตรเชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช ที่มีสมาชิกกลุ่มถึง 1,400 กว่าคน แน่นอนว่าปัญหาต้องมีมากมาย แต่อุปสรรคต่างๆ ก็ไม่ได้ทำให้สมาชิกกลุ่มแตกแยกกันแม้แต่น้อย มีแต่ช่วยเหลือกันเพื่อให้กลุ่ม มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
กลุ่มสหกรณ์การเกษตรเชียรใหญ่ จัดตั้งขึ้นและจดทะเบียนตั้งแต่ปี 2518 ตอนนั้นมีสมาชิกอยู่เพียง 100 คน และในปี 2541 ช่วงนั้นมีปัญหาเรื่องการทุจริตของโรงสีข้าว และมีการเปลี่ยนผู้จัดการกลุ่มบ่อยมาก จากนั้นคุณบรรจง แสงพรหม ได้เข้ามาเป็นผู้จัดการกลุ่มฯ ก็มีการส่งเสริมเกษตรกรมากยิ่งขึ้น สนองความต้องการของคนในกลุ่ม โดยการส่งเสริมการปลูกข้าวมากขึ้น เพราะคิดว่า อาชีพเหล่านี้จะรองรับและทำให้สมาชิกมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ภายใต้ภารกิจ “โครงการลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ”
คุณบรรจง แสงพรหม ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรเชียรใหญ่
ด้วยสมาชิก 1,400 กว่าคน ทำให้มีพื้นที่ปลูกข้าวถึงแสนกว่าไร่ แต่ปัจจุบันลดลงเหลือเพียงครึ่งเดียว มีการเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น เช่น ปาล์ม เพราะ สถานการณ์น้ำไม่เอื้ออำนวย และราคาข้าวที่ไม่สัมพันธ์กันกับต้นทุนเท่าที่ควร คนจึงหันมาปลูกปาล์มกันมากขึ้น ซึ่งเทียบกับเมื่อก่อน มีพื้นที่ปลูกข้าวถึง 80% แต่ปัจจุบันลดลง
พันธุ์ข้าวที่สมาชิกกลุ่มปลูกกันมาก คือ พันธุ์ กข41 ซึ่งมีถึง 30% ของพื้นที่ปลูกข้าว ที่เลือกพันธุ์นี้เป็นหลัก เนื่องด้วยพันธุ์นี้เป็นพันธุ์ที่ทนต่อสภาวะภัยแล้ง อันดับ 2 คือ พันธุ์หอมปทุม มี 25% ของพื้นที่ปลูกข้าว รองลงมา คือ พันธุ์ กข49 ปลูก 15% ของพื้นที่ปลูกข้าว และพันธุ์อื่นๆ เช่น กข47 และ พิษณุโลก จะปลูกคละกันไป
“ผมว่าระหว่างธุรกิจกับอาชีพเกษตรกรมันจะแปรผันตรงกันไป ถ้าอาชีพเกษตรกรดี รายได้ดีมั่นคง ธุรกิจสหกรณ์ก็จะดีไปด้วย การใช้บริการ อะไรต่างๆก็จะเติบโต การชำระหนี้ ซื้อสินค้า ขายข้าวได้ดีมันจะตามกันหมด ถ้าเราส่งเสริมให้สมาชิกดีขึ้นมาได้มันก็ดีตามกันหมดคู่กันไป เราพยายามบริหารตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป” คุณบรรจงแสดงความคิดเห็นถึงระบบของธุรกิจเกษตร
[wpdevart_like_box profile_id=”488139084538581″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]