เปียกสลับแห้ง แกล้งข้าว ประหยัดน้ำสูงสุด 50%

โฆษณา
AP Chemical Thailand
การปลูกข้าวไม่จำเป็นจะต้องใช้น้ำปริมาณมาก
การปลูกข้าวไม่จำเป็นจะต้องใช้น้ำปริมาณมาก

จากสถานการณ์น้ำในปีนี้ที่ฝนตกล่าช้ากว่าฤดูกาล เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ หลายพื้นที่ยังไม่สามารถปลูกข้าวได้ ส่งผลกระทบต่อการผลิตข้าวซึ่งเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก โดยส่วนใหญ่เกษตรกรจะปล่อยมีน้ำขังในนาตลอดฤดูปลูก จึงต้องการใช้น้ำประมาณ 1 , 2 0 0  –  2 , 0 0 0  ลูกบาศก์เมตร/ไร่ กรมการข้าวจึงทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวด้วยรูปแบบการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งในนาข้าวนำร่องในการปลูกข้าวเขตชลประทานฤดูนาปรังของจังหวัดสุพรรณบุรี ปทุมธานี และอ่างทองเพื่อลดปริมาณและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ( แกล้งข้าว )

ปรากฏผลของการวิจัยเป็นที่น่าพึงพอใจ พบว่าสามารถลดปริมาณการใช้น้ำลงได้ร้อยละ 20 – 50 ขึ้นอยู่กับชนิดของดินและสภาพอากาศ และลดค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการสูบน้ำได้อย่างน้อยร้อยละ 30 นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มรากข้าวให้ดูดซับธาตุอาหารได้ดีขึ้นทำให้ใส่ปุ๋ยน้อยลงประหยัดต้นทุนการทำนาได้อีกทางหนึ่ง

เปียกสลับแห้ง1

แม้วิธีการปลูกข้าว แบบเปียกสลับแห้ง ( แกล้งข้าว ) จะต้องเฝ้าระวังปัญหาวัชพืช เป็นพิเศษ แต่สามารถลดการระบาด ของแมลงศัตรูข้าว เช่น เพลี้ยกระโดด สีน้ำตาล หนอนห่อใบข้าว หนอนกอข้าว ต้นข้าวแข็งแรงไม่ล้มง่าย และช่วยให้ฟางย่อยสลายได้ดีที่สำคัญคือช่วยลดภาวะโลกร้อนจากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าวที่น้อยลง ( ติดตามต่อในนิตยสารข้าวเศรษฐกิจ ฉบับ 5 9 เดือนกรกฎาคม )

ขอขอบคุณข้อมูลจาก กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมการข้าว

tags: ตัวอย่างการ แกล้งข้าว ซึ่งเป็นวิธีที่ กรมการข้าว สนับสนุนพื่อนช่วยแก้ไข ปัญหา การขาดน้ำของข้าว การ แกล้งข้าว นี้ช่วยลดการใช้น้ำได้ถ้า 50 % แกล้งข้าว

[wpdevart_like_box profile_id=”488139084538581″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]

โฆษณา
AP Chemical Thailand