รวม โรคข้าว กับแต่ละ เมล็ดพันธุ์ข้าว ที่สัมพันธ์กัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

รวม โรคข้าว กับแต่ละ เมล็ดพันธุ์ข้าว ที่สัมพันธ์กันโรคของข้าว

โรคข้าว และศัตรูข้าวก็เช่นเดียวกับมนุษย์ มีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย มีโรคภัย มีศัตรูเฝ้ารุมเร้าทำลาย นี่เองเป็นเหตุให้ชาวนาไทย “นักวิจัยแห่งท้องทุ่งผู้มีหัวใจสีเขียว” ต้องคอยสังเกตสถานการณ์ที่เกิดขึ้น สังเกตสภาพดินฟ้าอากาศ เพื่อการแก้ไขปัญหา เพื่อการป้องกันโรคภัย เพื่อการป้องกันศัตรูผู้คิดร้ายเข้ามาทำลายต้นข้าว เมล็ดพันธุ์ข้าว

โดยจะมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

  1. ลักษณะอาการของโรคต่างๆ
  2. อาการต้นข้าวไม่สมบูรณ์ อาการรวงข้าวลีบ-เมล็ดไม่โต อาการระยะกล้าใบมีแผล
  3. โรคที่ทำให้กอข้าวเน่า
  4. อาการใบไหม้เป็นวงรี-ดำ-ด่าง อาการระยะกล้าใบมีแผล ลักษณะใบเป็นจุดด่าง
  5. การป้องกันกำจัด โรคข้าว ต่างๆ
เมล็ดข้าวโตไม่เต็มที่-ไม่สมบูรณ์
เมล็ดข้าวโตไม่เต็มที่-ไม่สมบูรณ์
ลักษณะอาการของโรคใบไหม้
ลักษณะอาการของโรคใบไหม้

ลักษณะอาการของ โรคใบไหม้

“ โรคใบไหม้ ” (Rice Blast Disease)  พบมาก ในนาน้ำฝน ข้าวพันธุ์พื้นเมืองไวต่อช่วงแสง พบส่วนใหญ่ใน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ สาเหตุ เชื้อรา Pyricularia grisea Sacc.ลักษณะอาการ ระยะกล้าใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้

อาการต้นข้าวไม่สมบูรณ์
อาการต้นข้าวไม่สมบูรณ์

โรคข้าว ที่เกิดจากเชื้อรา

โรคข้าว ที่ระบาดทำลายต้นข้าวจนเสียหายนั้น เกิดจากเชื้อโรคหลายชนิด เช่น เชื้อรา เชื้อบักเตรี และเชื้อไวรัส นอกจากนี้ไส้เดือนฝอย ซึ่งมีขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ก็สามารถทำให้ต้นข้าวเกิดเป็นโรคได้ด้วย

เพราะฉะนั้น โรคข้าว ที่สำคัญๆ จะแบ่งออกได้ดังนี้  “โรคที่เกิดจากเชื้อ” คือ พืชที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ มีขนาดเล็กตั้งแต่เป็นเส้นใย ที่ชอบขึ้นบนซากสัตว์จนถึงขนาดใหญ่ เช่น พวกเห็ดทั้งหลาย เชื้อราบางชนิดเป็นสาเหตุของโรค คน สัตว์ และพืช โรคข้าว ที่เกิดจากเชื้อรา ได้แก่ “โรคไหม้” ลักษณะอาการของโรค

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หากพบในระยะกล้าใบมีแผลจุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา และมีสีเทาตรงกลางแผล หากมีอาการรุนแรงต้นกล้ามีอาการคล้ายกับถูกไฟไหม้และแห้งตาย แต่หากเกิดโรคในช่วงที่ข้าวแตกกอจะเกิดอาการได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบในที่สุด

กรณีที่โรคเกิดในช่วงข้าวกำลังออกรวงเมล็ดข้าวจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะมีรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย และทำให้รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายเป็นจำนวนมาก โรคนี้พบมากในนาน้ำฝน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้

การฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากบอระเพ็ด
การฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากบอระเพ็ด

การฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากบอระเพ็ด

การป้องกันและกำจัดด้วยการฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากบอระเพ็ด ไม่ควรตกกล้าหนาจนเกินไป ความยาวของแปลงให้ขนานไปกับทิศทางลมเพื่อลดความชื้นภายในแปลง และอย่าให้กล้าขาดน้ำ การป้องกันกำจัด การใช้ปูนขาวกำจัด โรคข้าว ใบไหม้ ให้นำปูนขาว 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 5 ลิตร หมักไว้ 1 คืน เมล็ดพันธุ์ข้าว

หลังจากนั้นนำมาผสมกับน้ำ 20 ลิตร ใช้ฉีดพ่นในนาข้าวให้ทั่วในบริเวณที่โรคระบาด ในกรณีที่แปลง โรคใบไหม้ระบาดจนทั่วทั้งแปลงนาให้ใช้ปูนขาว 50 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ไร่ หว่านให้ทั่วก่อนปลูกข้าว เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงกล้า โรคของข้าว โรคของข้าว โรคของข้าว โรคของข้าว โรคของข้าว โรคของข้าว โรคของข้าว โรคของข้าว 

หากพบลักษณะของโรคไหม้เกินร้อยละ 5 ของพื้นที่แปลงกล้า ควรลดปริมาณน้ำในแปลงกล้าจนแห้ง  และงดการใส่ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนทันที และการฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาให้ทั่วแปลง ในอัตราการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม/น้ำ 100-200 ลิตร โรคของข้าว โรคของข้าว โรคของข้าว โรคของข้าว โรคของข้าว โรคของข้าว 

การใช้ปูนขาวกำจัดโรคข้าวใบไหม้
การใช้ปูนขาวกำจัดโรคข้าวใบไหม้

การเลือกใช้ เมล็ดพันธุ์ข้าว คุณภาพ

การเลือกใช้ เมล็ดพันธุ์ข้าว คุณภาพเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เพราะจะช่วยให้ข้าวต้านทานโรค ภาคกลาง ควรปลูกข้าวสายพันธุ์ เช่น สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 ชัยนาท 1 ปราจีนบุรี 1 พลายงาม คลองหลวง 1 พิษณุโลก 1 ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สุรินทร์ 1 เหนียวอุบล 2 เหนียวแพร่ สันปาตอง 1 หางยี 71 กู้เมืองหลวง ขาวโปร่งไคร้ น้ำรู ภาคใต้ เช่น ดอกพะยอม เมล็ดพันธุ์ข้าว เมล็ดพันธุ์ข้าว เมล็ดพันธุ์ข้าว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ข้อควรระวัง : ข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 60 และชัยนาท 1 ที่ปลูกในภาคเหนือตอนล่าง พบว่า แสดงอาการรุนแรงในบางพื้นที่ และบางปี โดยเฉพาะเมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย เช่น ฝนพรำ หรือหมอก น้ำค้างจัด อากาศเย็น ใส่ปุ๋ยมากเกินความจำเป็น หรือเป็นดินหลังน้ำท่วม เมล็ดพันธุ์ข้าว เมล็ดพันธุ์ข้าว เมล็ดพันธุ์ข้าว เมล็ดพันธุ์ข้าว

โรคข้าวที่ทำให้กอข้าวเน่า
โรคข้าวที่ทำให้กอข้าวเน่า

การหว่าน เมล็ดพันธุ์ข้าว โรคของข้าว

การหว่าน เมล็ดพันธุ์ข้าว ในอัตราที่เหมาะสม คือ 15-20 กิโลกรัม/ไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการระบายถ่ายเทอากาศดี และไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเกินไป ถ้าสูงถึง 50 กิโลกรัม/ไร่ โรคไหม้จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว รวมถึงการคลุก  เมล็ดพันธุ์ข้าว โรคของข้าว โรคของข้าว โรคของข้าว โรคของข้าว โรคของข้าว โรคของข้าว โรคของข้าว

ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาซูกาไมซิน ไตรไซคลาโซล คาร์เบนดาซิม โพรคลอราซ ตามอัตราที่ระบุ ในแหล่งที่เคยมีโรคระบาดและพบแผลโรคไหม้ทั่วไป 5 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบ ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาซูกาไมซิน อีดิเฟนฟอส ไตรไซคลาโซล ไอโซโพรไทโอเลน คาร์เบนดาซิม ตามอัตราที่ระบุ โรคของข้าว โรคของข้าว 

ลักษณะใบเป็นจุดด่าง
ลักษณะใบเป็นจุดด่าง

ลักษณะใบเป็นจุดด่าง

โรคใบจุดสีน้ำตาล พบแผลที่ใบข้าวเป็นจุดสีน้ำตาลกลม หรือรูปไข่ ขอบนอกสุดของแผลมีสีเหลือง เชื้อรานี้สามารถเข้าทำลายที่เมล็ดด้วย ทำให้เมล็ดข้าวมีจุดสีน้ำตาลปนดำประปรายหรือทั้งเมล็ด ทำให้เมล็ดข้าวคุณภาพไม่ดี มีน้ำหนักเบา เมื่อนำไปสีข้าวสารจะหักง่าย โรคนี้พบมากทั้งนาน้ำฝน และ นาชลประทาน โรคของข้าว  โรคของข้าว

ในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ดูแลป้องกันโดยการกำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของโรคนี้ เช่น หญ้าชันกาด หญ้าไซ เป็นต้น ฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากบอระเพ็ด ควรปรับปรุงดินด้วยการไถกลบฟาง หรือทำการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยการปลูกพืชที่ใช้เป็นปุ๋ยสด หรือทำการปลูกพืชหมุนเวียน จะช่วยลดความรุนแรงของโรค โรคของข้าว โรคของข้าว โรคของข้าว โรคของข้าว

โรคใบวงสีน้ำตาล ระยะกล้า ข้าวจะแสดงอาการไหม้ที่ปลายใบ และมีสีน้ำตาลเข้ม ระยะแตกกอ อาการส่วนใหญ่จะเกิดบนใบ แต่มักจะเกิดแผลที่ปลายใบมากกว่าบริเวณอื่น ๆ ของใบ แผลที่เกิดบนใบ ในระยะแรกมีลักษณะเป็นรอยช้ำ รูปไข่ยาว ๆ แผลสีน้ำตาลปนเทา ขอบแผลสีน้ำตาลอ่อน จากนั้นแผลจะขยายใหญ่ขึ้นเป็นรูปวงรีติดต่อกัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ทำให้เกิดอาการใบไหม้บริเวณกว้าง  และเปลี่ยนเป็นสีฟางข้าว ในที่สุดแผลจะมีลักษณะเป็นวงซ้อน ๆ กันลุกลามเข้ามาที่โคนใบ มีผลทำให้ข้าวแห้งก่อนกำหนด ป้องกันโดยการใช้พันธุ์ข้าวต้านทาน เช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้พันธุ์กำผาย 15 หางยี 71 กำจัดพืชอาศัยของเชื้อราสาเหตุโรค ในแหล่งที่เคยมีโรคระบาด หรือพบแผลลักษณะอาการดังที่กล่าวข้างต้น บนใบข้าว จำนวนหนาตา ในระยะข้าวแตกกอ ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น เซอร์โคบิน โปรพิโคนาโซล เป็นต้น โรคใบไหม้ โรคใบไหม้ โรคใบไหม้ โรคใบไหม้ โรคใบไหม้ โรคใบไหม้ โรคใบไหม้

โรคใบขีดสีน้ำตาล พบแผลบนใบมีสีน้ำตาลเป็นขีดๆ ขนานไปกับเส้นใบของข้าว ต่อมาจะค่อยๆขยายติดต่อกัน แผลจะมีมากที่ใบล่างและบริเวณปลายใบ ใบที่เป็นโรคจะแห้งตายจากปลายใบ ต้นข้าวที่เป็นโรครุนแรงแผลอาจลุกลามเกิดแผลสีน้ำตาลที่ข้อต่อของใบได้ พบโรคนี้ได้ ทั้งนาน้ำฝน และ นาชลประทาน

ในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ป้องกันด้วยการกำจัดวัชพืชและทำความสะอาดแปลงนาสามารถลดความรุนแรงของโรคนี้ได้ ถอนต้นข้าวที่เป็นโรคและนำมาเผาทิ้ง ต้องเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินในแปลงนา โรคใบไหม้ โรคใบไหม้ โรคใบไหม้ โรคใบไหม้ โรคใบไหม้ โรคใบไหม้

อาการรวงข้าวลีบ-เมล็ดไม่โต
อาการรวงข้าวลีบ-เมล็ดไม่โต

โรคเมล็ดด่าง

โรคเมล็ดด่าง รวงข้าวที่เป็นโรค จะมีทั้งเมล็ดเต็ม และเมล็ดลีบ พบแผลเป็นจุดสีน้ำตาล หรือดำที่เมล็ดรวงข้าว บางส่วนก็มีลายสีน้ำตาลดำ และบางพวกมีสีเทา ปนชมพู ทั้งนี้เพราะมีเชื้อราหลายชนิด ที่สามารถเข้าทำลาย และทำให้เกิดอาการต่างกันไป การเข้าทำลายของเชื้อรา โรคใบไหม้ โรคใบไหม้ โรคใบไหม้ โรคใบไหม้ โรคใบไหม้

มักจะเกิดในช่วงดอกข้าว เริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวง จนถึงระยะเมล็ดข้าว เริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่าง จะปรากฏเด่นชัด ในระยะใกล้เก็บเกี่ยว โรคนี้พบมากในนาชลประทาน ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ การป้องกันด้วยการใช้เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรคัดเลือก จากแปลงที่ไม่เป็นโรค ถ้ามีฝนตกชุก ในระยะที่ต้นข้าวกำลังออก หรือเป็นเมล็ดแล้ว ควรหาวิธีป้องกันโดยการพ่นสาร ด้วยน้ำหมักที่ทำจากสมุนไพร

อาการโรคไหม้ใบด่าง
อาการโรคไหม้ใบด่าง

โรคกาบใบแห้ง – โรคกาบใบเน่า – โรคถอดฝักดาบ

โรคกาบใบแห้ง เริ่มพบโรคในระยะแตกกอจนถึงระยะใกล้เก็บเกี่ยว ยิ่งต้นข้าวมีการแตกกอมากเท่าใด ต้นข้าวก็จะเบียดเสียดกันมากขึ้น โรคก็จะเป็นรุนแรง ลักษณะแผลสีเขียวปนเทา ขนาดประมาณ 1-4 x 2-10 มิลลิเมตร ปรากฏตามกาบใบตรงบริเวณใกล้ระดับน้ำ แผลจะลุกลามขยายใหญ่ขึ้นจนมีขนาดไม่จำกัดและลุกลามขยายขึ้นถึงใบข้าว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอ แผลสามารถลุกลามถึงใบธงและกาบหุ้มรวงข้าว ทำให้ใบและกาบใบเหี่ยวแห้ง ผลผลิตจะลดลงอย่างมากมาย การดูแลหลังเก็บเกี่ยวข้าว และเริ่มฤดูใหม่ ควรพลิกไถหน้าดิน เพื่อทำลายเม็ดขยายพันธุ์ของเชื้อรา กำจัดวัชพืชตามคันนาและแหล่งน้ำ เพื่อลดโอกาสการฟักตัวและเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราสาเหตุโรค

ใช้ชีวภัณฑ์บาซิลลัส ซับทิลิส (เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์) ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น วาลิดามัยซิน โปรพิโคนาโซล เพนไซคูรอน (25%ดับบลิวพี) หรืออิดิเฟนฟอส ตามอัตราที่ระบุโดยพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรานี้ในบริเวณที่เริ่มพบโรคระบาด ไม่จำเป็นต้องพ่นทั้งแปลง เพราะโรคกาบใบแห้งจะเกิดเป็นหย่อมๆ โรคใบไหม้ โรคใบไหม้

โรคกาบใบเน่า ลักษณะอาการในระยะแรกจะพบแผลสีน้ำตาลบนกาบใบธง กลางแผลมีสีอ่อน ขนาดแผลกว้างประมาณ 2-7 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 4-18 มิลลิเมตร แผลจะขยายลุกลามติดต่อกันทำให้กาบใบธงมีสีน้ำตาลดำ รวงข้าวที่เป็นโรคมักจะโผล่ไม่พ้นกาบใบธงหรือโผล่เพียงบางส่วน เมล็ดข้าวลีบและด่างดำ การระบาดของเชื้อราจะพบในที่ปลูกข้าวต้นเตี้ย และใส่ปุ๋ยในอัตราสูง การระบาดของเชื้ออาจเกิดจากสปอร์ที่ปลิวมากับอากาศ หรือติดมากับเมล็ดพันธุ์ นอกจากนี้ “ไรขาว” ซึ่งดูดกินน้ำเลี้ยงที่บริเวณกาบใบด้านในยังเป็นพาหะในการแพร่กระจายเชื้อราไปยังต้นข้าวอื่นๆในแปลงนาได้ ป้องกันด้วยการเก็บทำลายกาบใบข้าวที่มีไรขาวอาศัยอยู่ ใช้น้ำสกัดสมุนไพรที่มีรสฝาดแก้เชื้อรา เช่น เปลือกแค เปลือกมังคุด เปลือกสีเสียด ใบฝรั่ง ใบทับทิม และขมิ้น เป็นต้น

โรคถอดฝักดาบ โรคนี้เกิดจากการทำลายของเชื้อรา ซึ่งติดมากับ เมล็ดพันธุ์ข้าว หรืออยู่ในดิน ส่วนมากจะพบอาการในต้นข้าวที่มีอายุมากกว่า 15 วัน ต้นข้าวที่เป็นโรคจะมีลักษณะผอมสูงเด่นกว่ากล้าข้าวโดยทั่ว ๆ ไป ต้นข้าวผอมมีสีซีดมากกว่าปกติแสดงอาการย่างปล้องมีรากเกิดขึ้นที่ข้อต่อของลำต้น

ถ้าเป็นรุนแรงกล้าข้าวจะตาย หากไม่รุนแรงอาการจะแสดงหลังจากย้ายไปปักดำได้15-45 วัน โดยต้นข้าวที่เป็นโรคแสดงอาการสูงผิดปกติอย่างชัดเจน ใบมีสีเขียวซีดและแห้งตายในที่สุด หากไม่แห้งต้นข้าวที่เป็นโรคจะไม่ออกรวง โรคนี้พบมากในนาน้ำฝน ภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การป้องกันเลือกใช้ เมล็ดพันธุ์ข้าว จากแหล่งที่ไม่เป็นโรค ควรกำจัดต้นข้าวที่เป็นโรคโดยการถอนและเผาทิ้ง ฉีดพ่นด้วยน้ำเอนไซม์หรือน้ำสกัดสมุนไพรจากบอระเพ็ด เมื่อเกี่ยวข้าวแล้วควรไขน้ำเข้าที่นาและไถพรวน ปล่อยน้ำเข้าที่นาประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อลดปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคที่ตกค้างในดิน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
โรคข้าวที่เกิดเชื้อราโตโครเดอร์มา
โรคข้าวที่เกิดเชื้อราโตโครเดอร์มา

โรคที่เกิดเชื้อบักเตรี โรคไหม้ข้าว

เชื้อแบคทีเรีย คือ จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็ก ไม่สามารถเห็นด้วยตาเปล่า มีรูปร่างตั้งแต่กลม กลมรี และส่วนใหญ่เป็นแท่ง มักมีหางตรงส่วนปลาย เป็นสาเหตุโรคคน สัตว์ และพืช มาก โรคที่เกิดจากเชื้อบักเตรีมักจะเกิดการเน่าส่งกลิ่นเหม็น  โรคข้าว ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ โรคไหม้ข้าว โรคไหม้ข้าว โรคไหม้ข้าว โรคไหม้ข้าว โรคไหม้ข้าว

อาการใบไหม้เป็นวงรี-ดำ-ด่าง
อาการใบไหม้เป็นวงรี-ดำ-ด่าง

โรคขอบใบแห้ง – โรคใบขีดโปร่งแสง

โรคขอบใบแห้ง เริ่มแรกจะมีลักษณะช้ำเป็นทางยาวที่ขอบใบของใบล่าง จากนั้น 7-10 วัน จุดช้ำนี้จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรคจะแห้งเร็ว จากใบสีเขียวจางลงเป็นสีเทา อาการในระยะการปักดำ จะแสดงอาการหลังปักดำแล้วหนึ่งเดือนถึงเดือนครึ่ง โรคใบไหม้ โรคใบไหม้ โรคใบไหม้ โรคใบไหม้ โรคใบไหม้

ใบที่เป็นโรคมีรอยขีดช้ำจนเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ที่แผลจะมีหยดน้ำสีเหลืองคล้ายยางสนกลมๆขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด จากนั้นจะกลายเป็นสีน้ำตาลและหลุดไปตามลมหรือน้ำ ซึ่งจะทำให้โรคระบาดได้ โดยแผลจะขยายไปตามความยาวของใบ ขอบแผลมีลักษณะเป็นขอบลายหยัก เมื่อนานไปจะเปลี่ยนเป็นสีเทา โรคไหม้ข้าว โรคไหม้ข้าว โรคไหม้ข้าว

ใบที่เป็นโรคขอบใบจะแห้งและม้วนตามความยาว ในกรณีที่เชื้อมีปริมาณสูงเข้าทำลายทำให้ท่อน้ำท่ออาหารอุดตัน ต้นข้าวทั้งต้นจะเหี่ยวเฉาและตายโดยรวดเร็วเรียกอาการของโรคนี้ว่า “ครีเสก” โรคนี้พบมากในนาน้ำฝน นาชลประทาน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากในดินที่อุดมสมบูรณ์อยู่แล้ว ไม่ควรระบายน้ำจากแปลงที่เป็นโรคไปสู่แปลงอื่น ใช้น้ำสกัดสมุนไพรที่มีรสขมกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด สะเดา หญ้าใต้ใบ และโทงเทง เป็นต้น โรคไหม้ข้าว โรคไหม้ข้าว โรคไหม้ข้าว โรคไหม้ข้าว โรคไหม้ข้าว

โรคใบขีดโปร่งแสง โรคนี้เป็นได้ตั้งแต่ แตกกอ จนถึง ออกรวง อาการปรากฏที่ใบ ขั้นแรกเห็นเป็นขีดช้ำยาวไปตามเส้นใบ ต่อมาค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือส้ม เมื่อแผลขยายรวมกันก็จะเป็นแผลใหญ่ แสงสามารถทะลุผ่านได้ และพบแบคทีเรียในรูปหยดน้ำสีครีมคล้ายยางสนกลมๆ ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุดปรากฏอยู่บนแผล ส่วนความยาวของแผลขึ้นอยู่กับความต้านทานของพันธุ์ข้าว และความรุนแรงของเชื้อแต่ละท้องที่ โรคไหม้ข้าว โรคไหม้ข้าว

ในพันธุ์ที่ไม่มีความต้านทานเลย แผลจะขยายจนใบไหม้ไปถึงกาบใบด้วย ลักษณะของแผลจะคล้ายคลึงกับเกิดบนใบ ส่วนในพันธุ์ต้านทาน จำนวนแผลจะน้อยและแผลจะไม่ค่อยขยายตามยาว รอบๆ แผลจะมีสีน้ำตาลดำ การป้องกันในดินที่อุดมสมบูรณ์ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมาก ไม่ควรปลูกข้าวแน่นเกินไปและอย่าให้ระดับน้ำในนาสูงเกินควร

โฆษณา
AP Chemical Thailand
อาการระยะกล้าใบมีแผล
อาการระยะกล้าใบมีแผล

โรคใบแถบแดง

โรคใบแถบแดง ลักษณะอาการที่สำคัญของโรคเริ่มแรกใบข้าวจะเป็นจุดสีเหลืองแผลเป็นรูปกลมหรือรูปไข่ จากนั้นจะขยายจากจุดที่เริ่มเป็นขึ้นเป็นแถบไปทางปลายใบ สีของแผลจะเข้มขึ้นเป็นสีเหลืองส้มบางครั้งจุดนี้จะมีสีเข้ม แผลที่เกิดขึ้นเมื่อเป็นรุนแรงจะแห้งทั้งใบ ป้องกันด้วยการไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราสูง

ซึ่งทำให้เพิ่มความรุนแรงของโรค เชื้อสาเหตุโรคนี้สามารถป้องกันกำจัดด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม ไธโอฟาเนท เมทธิล และ โปรพิโคนาโซล+ไดฟีโนโคนาโซล เป็นต้น โรคไหม้ข้าว โรคไหม้ข้าว โรคไหม้ข้าว

เชื้อไวรัส หรือไฟโตพลาสมา คือ สิ่งที่มีตัวตนประกอบด้วย โปรตีนและนิวเคลียร์อิกแอสิค สามารถขยายจำนวนได้ภายในเซลล์ที่มีชีวิต มีขนาดเล็กจิ๋วมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หรือแม้แต่กล้องจุลทัศน์ธรรมดาต้องใช้กล้องอิเลคตรอน ไวรัสทุกชนิดอาศัยยังชีพอยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทั้งปวง โรคข้าว ที่เกิดจากเชื้อไวรัส หรือไฟโตพลาสมา ได้แก่

อาการโรคไหม้ระยะแตกกอ
อาการโรคไหม้ระยะแตกกอ

โรคใบหงิก – โรคใบสีส้ม – โรคเขียวเตี้ย – โรคหูด – โรคใบสีแสด

โรคใบหงิก (โรคจู๋) ต้นข้าวเป็นโรคได้ ทั้งระยะกล้า แตกกอ ตั้งท้อง อาการของต้นข้าวที่เป็นโรค สังเกตได้ง่าย คือข้าวต้นเตี้ย ไม่พุ่งสูงเท่าที่ควร ใบสีเขียวเข้ม แคบและสั้น ใบใหม่แตกช้ากว่าปกติ และเมื่อแตกพุ่งขึ้นมาไม่ค่อยสมบูรณ์ ปลายใบบิดเป็นเกลียว เป็นลักษณะเด่นที่เรียกว่า โรคใบหงิก นอกจากนี้ยังสังเกตเห็นขอบใบแหว่งวิ่นและเส้นใบบวมโป่งเป็นแนวยาวทั้งที่ใบและกาบใบ

ข้าวที่เป็นโรคออกรวงล่าช้าและให้รวงไม่สมบูรณ์ รวงให้เมล็ดลีบเป็นส่วนใหญ่ เมล็ดด่างเสียคุณภาพเป็นส่วนมาก ผลผลิตลดลงประมาณ 1/3 ถึง 2/3 และถ้ามีโรคแทรกเข้าซ้ำเติม เช่น โรคเมล็ดด่างและโรคใบขีดสีน้ำตาล ซึ่งทั้งสองโรคนี้มักพบเสมอกับข้าวที่เป็นโรคใบหงิก อาจทำให้ผลผลิตเสียหายถึง 100 % โรคนี้พบมากในนาชลประทานภาคกลาง

โรคใบสีส้ม ต้นข้าวเป็นโรคได้ ทั้งระยะกล้า แตกกอ ตั้งท้อง หากได้รับเชื้อตอนข้าวอายุอ่อน (ระยะกล้า-แตกกอ) ข้าวจะเสียหายมากกว่าได้รับเชื้อตอนข้าวอายุแก่ (ระยะตั้งท้อง-ออกรวง) ข้าวเริ่มแสดงอาการตั้งแต่อายุ 15-20 วัน ทั้งนี้แล้วแต่ว่าข้าวจะได้รับเชื้อระยะใด อาการเริ่มต้น ใบข้าวจะเริ่มมีสีเหลืองสลับเขียว ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เริ่มจากปลายใบเข้าหาโคนใบ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ถ้าเป็นรุนแรงในระยะกล้าต้นข้าวอาจถึงตาย ถ้าอาการแสดงหลังปักดำ เริ่มสังเกตได้ที่ใบเช่นกัน ต้นที่เป็นโรคจะเตี้ยแคระแกรน ช่วงลำต้นสั้นกว่าปกติมาก ใบใหม่ที่โผล่ออกมามีตำแหน่งต่ำกว่าข้อต่อใบล่าสุด ถ้าเป็นรุนแรงอาจตายทั้งกอ ถ้าไม่ตาย เมื่อถึงระยะออกรวง ให้รวงเล็ก หรือไม่ออกรวงเลย และออกรวงล่าช้ากว่าปกติ

โรคเขียวเตี้ย ต้นข้าวเป็นโรคได้ ทั้งระยะกล้า แตกกอ ตั้งท้อง ต้นเตี้ยแคระแกรน เป็นพุ่มแจ้ แตกกอมาก ใบแคบมีสีเหลือง เหลืองอมเขียวจนถึงเหลืองอ่อน พบว่าที่ใบมีจุดประสีเหลืองอ่อนจนถึงน้ำตาลอ่อน บางครั้งพบว่าระหว่างเส้นใบเป็นแถบสีเขียวเหลืองขนานไปกับเส้นกลางใบ ต้นข้าวที่เป็นโรคมักจะไม่ออกรวงหรือรวงลีบ บางครั้งอาจพบโรคนี้เกิดร่วมกับโรคใบหงิก แต่ไม่พบการระบาดของโรคกว้างขวางเหมือนโรคใบหงิก (โรคจู๋)

โรคหูด ต้นข้าวเป็นโรคได้ ทั้งระยะกล้า แตกกอ ตั้งท้อง เป็นโรคที่แสดงอาการคล้ายคลึงโรคใบหงิกมาก ข้าวต้นเตี้ย แคระแกรน ใบสีเขียวเข้ม และสั้นกว่าปกติ ที่บริเวณหลังและกาบใบปรากฏปุ่มขนาดเล็ก สีเขียวซีดหรือขาวใส ลักษณะคล้ายเม็ดหูด เม็ดหูดนี้ คือ เส้นใบที่บวมปูดออกมานั้นเอง เม็ดหูดจะปรากฏเด่นชัดและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเมื่อต้นข้าวแสดงอาการรุนแรงต้นข้าวเป็นโรคจะแตกกอน้อยลงข้าวให้รวงไม่สมบูรณ์มีเพียง 2-3 รวง/กอ

โรคใบสีแสด ต้นข้าวเป็นโรคได้ ในระยะ แตกกอ ตั้งท้อง ต้นข้าวที่เป็นโรคนี้ ใบแสดงอาการสีแสดจากปลายใบที่ใบล่าง และเป็นสีแสดทั่วทั้งใบยกเว้นเส้นกลางใบ ใบที่เป็นโรคทั้งใบจะม้วนจากขอบใบทั้งสองข้างเข้ามาหาเส้นกลางใบ ทำให้ใบแห้งในที่สุด ต้นข้าวแตกกอได้น้อยแต่ต้นข้าวสูงตามปกติ ไม่มีอาการเตี้ยและตายอย่างรวดเร็ว โรคใบสีแสดนี้เกิดเป็นกอๆ ไม่แพร่กระจายเป็นบริเวณกว้างเหมือนโรคใบสีส้ม

อาการโรคไหม้ระยะออกรวง
อาการโรคไหม้ระยะออกรวง

โรคเหลืองเตี้ย

โรคเหลืองเตี้ย โรคนี้พบในระยะข้าวแตกกอหรือระยะออกรวง ใบที่ออกใหม่มีอาการเหลืองซีด ต้นเตี้ย แตกกอมากเป็นพุ่มแจ้ ต้นเป็นโรคอาจตายหรือไม่ออกรวง ถ้าต้นข้าวเป็นโรคในช่วงหลังจะไม่แสดงอาการก่อนเก็บเกี่ยว แต่เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวแล้วลูกข้าวจะแสดงอาการชัดเจน โรคไหม้ข้าว โรคไหม้ข้าว โรคไหม้ข้าว โรคไหม้ข้าว 

การป้องกันกำจัดโรคข้าวที่เกิดจากเชื้อรา-Pyricularia-grisea-Sacc.
การป้องกันกำจัดโรคข้าวที่เกิดจากเชื้อรา-Pyricularia-grisea-Sacc.

การป้องกัน/กำจัด โรคข้าว

การป้องกัน/กำจัด โรคข้าว ที่เกิดจากเชื้อไวรัส หรือไฟโตพลาสมา โดยไถกลบหรือเผาตอซังในนาที่มีโรค กำจัดวัชพืช โดยเฉพาะวัชพืชใกล้แหล่งน้ำที่เป็นที่อยู่อาศัยและขยายพันธุ์ของแมลงพาหะ เลือกใช้พันธุ์ต้านทาน  ใช้สารป้องกันกำจัดโรค ถ้าคุ้มค่าต่อการลงทุน เลือกชนิดของสารและเวลาการใช้ให้ถูกต้องกับโรคนั้นๆ ระมัดระวังฤทธิ์และพิษตกค้างของสารป้องกันกำจัดโรคให้จงดี และถ้าปฏิบัติได้ เมื่อมีโรคระบาดรุนแรงควรงดปลูก 1–2 ฤดู เพื่อตัดวงจรชีวิตแมลงพาหะ โรคไหม้ข้าว โรคไหม้ข้าว โรคไหม้ข้าว โรคไหม้ข้าว โรคไหม้ข้าว โรคไหม้ข้าว โรคไหม้ข้าว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

 

ขอขอบคุณข้อมูลจากทาง อาจารย์ธฏษธรรมช์   ลาโสภา ผู้เรียบเรียง

กรมการข้าว และ www.thairicebuu.wordpress.com , www.knowledgebank.irri.org www.naro.affrc.go.jp,www.kasetinfo.arda.or.th,www.duniatanicom.blogspot.com

โรคข้าว เมล็ดพันธุ์ข้าว โรคของข้าว โรคใบไหม้ โรคไหม้ข้าว