GMOพืช vs พืชอินทรีย์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

GMOพืช vs พืชอินทรีย์ 

เรื่องการปลูกพืชเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเป็น “ ต้นธาร”  แห่งความมั่นคงด้านอาหารและปัจจัยอื่นๆ ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 8,000 ล้าน ในทศวรรษหน้า พร้อมๆ กับคนไทย 80 ล้านคน หรือ 1 % ของประชากรโลก คนไทย 1 คน ต้องผลิตอาหารและปัจจัยการดำรงชีพเลี้ยงตัวเอง และต้องให้เหลือไปขายเลี้ยงพลโลก 99 คน

อาจารย์ ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬา ฯ ได้ให้ความหมายของ GMO คือ การดัดแปรพันธุกรรมดั้งเดิมของนักวิทยาศาสตร์ ที่ค้นพบว่าพืชมีข้อจำกัดตามยีน จึงได้ศึกษาแบคทีเรียที่มียีนสร้าง โปรตีนพิษ ที่เรียกว่า BACILILLUS THRURINGIENSIS หรือ บีทีท็อกซิน

ซึ่งพบว่าทุกครั้งที่แมลงมากิน แมลงก็ตาย จึงได้นำบีทีท็อกซินไปใส่ในพืช แมลงตาย พืชอยู่รอด จากความรู้อันนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถดัดแปลงพันธุกรรมพืช (GMO) ได้หลายรูปแบบ เช่น เอายีนต้านยาปราบวัชพืชมาใส่ในพืช โดยไม่ต้องฉีดยาฆ่าหญ้า หรือการเอายีนของไวรัสไปใส่ในมะละกอ ก็ไม่เกิดโรคไวรัสจุดวงแหวน เป็นต้น

แปลงนาข้าวอินทรีย์
แปลงนาข้าวอินทรีย์

ข้อดีของ GMO ก็คือ ไม่ต้องใช้ “สารเคมี”

ข้อดีของ GMOพืช ก็คือ ไม่ต้องใช้ สารเคมี ในการจัดการโรค ศัตรูพืช และวัชพืช ให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ส่วนข้อดีตามทัศนะของอาจารย์ปิยะศักดิ์ ได้แก่ ถ้าพืชบางชนิดไม่สามารถย่อยโปรตีนพิษให้หมดได้ ยังตกค้างสะสมในพืช เช่น ข้าวโพดพันธุ์ STAR LINK CORN ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จนปะปนมาในอาหาร

จนมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นแล้วในญี่ปุ่น มีการตีกลับมูลค่านับหมื่นล้าน เพราะโปรตีนพิษในข้าวโพดพันธุ์นี้ไม่สามารถย่อยสลายในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมทั้งมนุษย์ จึงเป็นพืชที่อันตราย แม้แต่ถั่วเหลืองที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ แน่ใจหรือว่าถั่วเหลืองในไทยไม่ใช่ถั่วเหลือง GMO

แม้จะมีกฎหมายควบคุม GMO อาจารย์ไม่มั่นใจว่าจะควบคุมได้ กฎหมายไม่ได้ศักดิ์สิทธิ์ ซ้ำจะเป็นช่องทางให้ขยายเทคโนโลยี GMO ได้ง่ายขึ้น ขณะนี้หลายประเทศไม่ไว้ใจพืช GMO ได้แก่ ยุโรป ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฮ่องกง ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ที่ยอมรับ GMO ได้แก่ อเมริกา แคนาดา บราซิล อาร์เจนตินา และฟิลิปปินส์

โฆษณา
AP Chemical Thailand
ข้าวโพดปลอด-GMO
ข้าวโพดปลอด-GMO

สำหรับประเทศไทยมีการนำเอา GMOพืช มาปลูกในแปลงทดลองห้องแลป เพื่อผลิตเป็นยา หรือกางมุ้งปลูก แต่ถ้าปลูกในแปลงย่อมตกค้าง ทั้งเมล็ด ฝัก หรือเกสร ได้ หากปลูกใกล้กับแปลง NON GMO ไม่เกิน 5 กม. แต่การเกษตรในไทยส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย ไร่นาขนาดเล็ก แนวกันชนพื้นที่ 5 ไร่ ไม่น้อย ไม่มีรายไหนทำได้ นอกจากนี้เมล็ดพันธุ์ GMO ราคาแพง เพราะมีบริษัทยักษ์ใหญ่เมล็ดพันธุ์ GMO ในอเมริกาไม่กี่แห่ง ที่ทำธุรกิจเมล็ดพันธุ์ GMO

อย่างไรก็ดียังมีฝ่าย เช่น อาจารย์เจษฎา เด่นทวงบริพันธ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เห็นว่า GMO ความหมายก็คือ กลไกหนึ่งในการพัฒนาเทคโนโลยีการพัฒนาพันธุ์พืชสัตว์ให้ต้านทานต่อโรคและแมลง หากนำมาประยุกต์ใช้จะเกิดประโยชน์มากมาย สหรัฐกินพืช GMO มา 20 กว่าปี

ยังไม่มีการฟ้องร้องว่ากินแล้วมีผลกระทบ ต่างจากเกษตรอินทรีย์ หากปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ไม่ดี มีเชื้อแบคทีเรียที่ตายไม่หมดปะปน เคยมีคนตายเพราะกิน พืชอินทรีย์ ที่เยอรมัน องค์การอนามัยโลก องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ รวมถึงองค์กรวิทยาศาสตร์หลักๆ ของแต่ละประเทศ ก็ยอมรับผลิตภัณฑ์ GMO ว่าปลอดภัย เทียบเท่าอาหารต้นแบบประเทศไทย

โดยองค์การอาหารและยา (อย.) ก็โอเค ยอมให้ระบุในฉลาก หากมีผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบของ GMOพืช 5% อาจารย์เจษฎาได้เดินทางไปดูงานหลายประเทศ ยังไม่เจอความเสียหายจาก GMO ฟิลิปปินส์เป็นประเทศหมู่เกาะ พื้นที่ปลูกน้อย มีความเสี่ยง ได้นำข้าวโพด GMO ไปปลูก ผลผลิตสูง จนเพียงพอ และเหลือส่งออก

หรือบราซิล อดีตต้องนำเข้าถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ หลังจากปลูกถั่วเหลือง GMO มากว่า 10 ปี กลายเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก วันนี้ถั่วเหลืองของโลก 80% คือ GMO หรือเวียดนาม อดีตต้องนำเข้าข้าวโพด จึงนำข้าวโพด GMO มาปลูกต้านทานแมลงและยาฆ่าหญ้าไกลโฟเสต หรือราวด์อัพ

เป็นการลดต้นทุน ทั้งตัวยาและแรงงานในการฉีด ขณะนี้อินโดนีเซียได้ปลูกอ้อย GMO ไม่นานก็สั่งน้ำตาลน้อยลง และอาจเป็นผู้ส่งออกน้ำตาล ส่วนอเมริกามีการปลูกสลับกันระหว่าง GMOพืช และ NON GMO โดยดูความต้องการของตลาดเป็นหลัก อันไหนราคาดีปลูกอันนั้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การบำรุงดูแล-พืชอินทรีย์-ต้นข้าวอินทรีย์
การบำรุงดูแล-พืชอินทรีย์-ต้นข้าวอินทรีย์

ผลผลิตคุ้มค่าแก่การลงทุน แต่ “ตลาด” ยังไม่เปิดกว้าง 

ประสบการณ์อันเจ็บปวดของเกษตรกรไทย ที่ชื่อ นัยนา มงคลกาญจนคุณ ชาวสวนมะละกอ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ได้ปลูกมะละกอฮาวายส่งยุโรป แต่เมื่อปี 53 ถูกตรวจสอบว่าเป็นมะละกอ GMO จึงทำลายทิ้งทั้งหมด แล้วหันมาปลูกมะละกอฮอลแลนด์ เพื่อขายยุโรป เป็นมะละกออินทรีย์ แต่เจอโรคไวรัสใบด่างวงแหวนทำลายจนผลแคระแกรนและขม ขาดทุนระนาว

แล้วประเทศไทยจะเดินไปทางไหนในเรื่องการปลูกพืชเศรษฐกิจ ระหว่าง GMOพืช กับ NON GMO

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่าประเทศไทยเป็นประเทศขนาดเล็ก แต่มี ศักยภาพ ในการปลูกพืชได้หลากหลายชนิด ทั้งพืชเมืองร้อนและพืชเมืองหนาว มีแสงแดดตลอดปี มีแหล่งน้ำหรือน้ำต้นทุนที่พัฒนาให้มีปริมาณเพียงพอต่อการทำเกษตร และมีเกษตรกรผู้สูงวัยที่มีความพร้อมในการทำเกษตรแบบประณีต

โดยใช้เครื่องจักรขนาดจิ๋วเป็นผู้ช่วย เริ่มมองออกแล้วใช่มั๊ยว่าจะทำเกษตรแปลงใหญ่หรือเกษตรผสมผสาน สำหรับเกษตรรายย่อยจะปลูก GMOพืช หรือ พืชอินทรีย์

การคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์
การคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์
การเก็บเกี่ยว-พืชอินทรีย์-นาข้าวอินทรีย์
การเก็บเกี่ยว-พืชอินทรีย์-นาข้าวอินทรีย์

พืชอินทรีย์ ส่ง “ตลาดพรีเมียม”

การปลูก GMOพืช ลดต้นทุนด้านยาปราบโรค ศัตรูพืช วัชพืช สิ่งแวดล้อม ดีขึ้น ได้ผลผลิตคุ้มค่าแก่การลงทุน แต่ ตลาด ยังไม่เปิดกว้าง

แต่ถ้าปลูก พืชอินทรีย์ พันธุ์พื้นเมือง ที่ทนแล้ง ทนน้ำ ทนโรค ทนแมลง และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ตลาดผู้บริโภคระดับพรีเมียมค่อยๆ ขยายตัว แม้ระยะแรกผลผลิต พืชอินทรีย์ /ไร่ยังน้อย แต่เมื่อดินดีขึ้น ผลผลิต/ไร่จะมากขึ้น ต้นทุนการผลิตต่ำ และขายได้ราคา กำไร จะค่อยๆ มากขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ที่สำคัญก็คือ จะเกิดการพัฒนานวัตกรรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง พร้อมๆ กับนวัตกรรมสารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรค ศัตรูพืช และวัชพืช ซึ่งสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของอาจารย์ปิยะศักดิ์ที่ฟันธงว่า เกษตรอินทรีย์ คือ ทางของเกษตรกรไทยอย่างแท้จริง

เพราะหลักการเกษตรอินทรีย์ คือ ปลูกพืชผสมผสาน ทำให้โอกาสการเกิดโรคระบาดแทบจะไม่มี แต่เรื่องนี้อาจารย์เจษฎามองว่า GMOพืช ก็นำมาปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ได้เช่นกัน ส่วนเมล็ดพันธุ์ GMOพืช ก็มีตั้ง 5 บริษัท มีส่วนแบ่งการตลาดใกล้เคียงกัน ไม่มีใครผูกขาดตลาดได้

อย่างไรก็ดีวันนี้มีการยกร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ โดยผู้ยกร่างต้องการให้ พ.ร.บ.นี้เป็นกลไกสำคัญที่จะควบคุมการปลูกพืช GMO ให้ปลอดภัยทั้ง 2 ด้าน รวมไปถึงการส่งออก ปรากฏว่าถูกตีตกไป โดยกลุ่ม NGO ทั้งในและนอก

ซึ่งเรื่องนี้คุณดรุณี เอ็ดเวิร์ค ที่ปรึกษาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารแห่งประเทศไทย อดีตรองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค เปิดเผยว่า ถ้า พ.ร.บ.นี้ออกมาจะมีขั้นตอนการดูแลเกษตรกรผู้ปลูกพืช GMO และมีการส่งเสริมให้ศึกษาอย่างจริงจัง เพื่อนำไปสู่การรับรองความปลอดภัยในอาหาร

ผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์
ผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์

วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผอ.มูลนิธิชีววิถี ได้คัดค้านร่าง พ.ร.บ.นี้ ด้วยเหตุผลว่ามีการหลอกลวงครั้งใหญ่ เพราะเนื้อหา พ.ร.บ.ไม่ได้บรรจุหลักการปกป้องสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และปกป้องสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ เป็นการยกร่าง พ.ร.บ.โดยคนกลุ่มเดียว คือ กลุ่มคนที่ผลักดันเรื่อง GMO

ซึ่งส่วนใหญ่มาจากภาคราชการ และมาทำงานในภาคเอกชน ไม่มีภาคประชาชนหรือภาคธุรกิจที่มีผลกระทบมาเกี่ยวข้อง จู่ๆ พ.ร.บ.นี้ก็เข้าสภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) และเข้า ครม. โดยที่ประชาชนไม่ได้เห็น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เรื่องพืช GMO เป็นสงครามทางเศรษฐกิจ ระหว่างบริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ผู้ใช้โปรตีนพิษจากแบคทีเรีย บีทีท็อกซิน ไปใส่ในพืช ให้ต้านทานโรคและศัตรูพืช กลายเป็นพืชตัดแต่งพันธุกรรม ที่ไม่กลัวโรคพืช ศัตรูพืช ส่วนใหญ่บริษัทอยู่ในอเมริกา แน่นอนย่อมกระทบต่อบริษัทผู้ผลิตสารเคมี

ส่วนใหญ่ในยุโรป ทำให้ยอดขายตก ตลาดหดตัว ขณะเดียวกันก็เกิดนวัตกรรมใหม่ คือ เกิดบริษัทพัฒนาพันธุ์พืช โดยไม่ต้องใช้ GMO ซึ่งสามารถต้านโรคบางชนิดได้ พูดง่ายๆ ว่า เมื่อตาอินทะเลาะกับตานา ตาอยู่ก็โผล่ขึ้นมาคว้าพุงปลาไปกิน

เพราะฉะนั้นคนไทย เกษตรกรไทย รัฐบาลไทย จะต้องรู้ทัน และแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุด คนไทยได้ประโยชน์สูงสุด ระหว่างพืช GMO, NON GMO หรือ พืชอินทรีย์ เป็นโจทย์ข้อใหญ่จริงๆ

GMO พืช  พืชอินทรีย์ ตัวอย่างพืชgmo พืชจีเอ็มโอ จีเอ็มโอ