การกัดปลา ประกอบด้วย
1. ปลา 2. สนาม 3. การเดินทาง 4. กติกา 5. ประสบการณ์ ในแต่ละอย่างนั้น เราจะค่อย ๆ ทำความเข้าใจไปทีละแบบละกัน
แบบหนึ่ง คือ “ ปลา ” เราต้องรู้จักปลาของเราก่อน คือกัดแผลไหน เนื้อหนังเป็นอย่างไร เขี้ยวดีไหม มันหมายถึงว่า เวลาเรากัดเราจะได้เล่นได้อย่างถูกต้อง ไม่หลงไปตามคู่ต่อสู้ ยกตัวอย่างเช่น ปลาเราจะกัดท้าย ๆ น้ำ คู่ต่อสู้ต่อมา เราก็เก็บกินไปเรื่อย ๆ หรือปลาเรากัดอยู่ดี ๆ ท้าย ๆ น้ำมักวิ่งโดยไม่รู้สาเหตุ อย่างนี้จะได้บังหรือออกตัวไว้บ้างเป็นต้น
แบบสอง คือ “ สนาม ” เราจะต้องมีที่กัด หรือที่ประลองปลา เมื่อเรามีปลาแล้ว ถ้าไม่มีที่กัดก็ไม่มีประโยชน์ หรือถ้าไม่มีสนามจริง ๆ ก็อาจจะนัดเพื่อน ๆ มาพบปะสังสรรค์ที่ชอบปลากัดเก่งด้วยกันอย่างนี้ก็ได้ เราจะได้รู้ว่าปลาของเรานั้นสู้คนอื่นได้หรือไม่ มันเป็นเหมือนการพัฒนา การคัดปลา สรรหาปลาของตัวเราเองด้วย และรวมไปถึงการพัฒนาของปลากัดเก่งไปในตัว
แบบสาม คือ “ การเดินทาง ” ในเมื่อเรามีปลาแล้ว มีสนามแล้ว เราจะมองข้ามไม่ได้ในเรื่องการเดินทาง เราจะต้องพิถีพิถันในเรื่องนี้ อย่าให้ปลาของเรานั้นกระทบกระเทือนรุนแรงเป็นอันขาด ถ้าเดือนทางไม่เกิน 20 กิโลเมตร ให้ใส่ขวดเปรียบไปได้ ถ้าเกินกว่านั้น แนะนำให้ใส่ถุง เหมือนถุงแกง ขนาดซัก 7×14 นิ้ว ใส่น้ำไม่ถึงครึ่ง ใส่ผักไปนิดหน่อย แล้วหากระดาษหรือผ้ามาปิดไว้ให้มืด ระหว่างการเดินทางนั้น ไม่ควรวางกับพื้นรถ ให้ถือลอยไว้จะดีที่สุด แต่ถ้าไปคนเดียวก็หาผ้าหนา ๆ นุ่ม ๆ วางเป็นพื้นก่อน แล้วค่อยเอาปลาวาง เมื่อถึงสนามแล้วควรพักปลาประมาณ 10-30 นาที จากนั้น พักโดยเปิดแสงเข้าอีก 10 นาที แล้วค่อยหาคู่เปรียบตัว ต่อไป
แบบสี่ คือ “ กติกา ” มีหลาย ๆ ท่านยังไม่เข้าใจกับกติกา เราจะต้องรู้ถึงกติกาให้แม่นยำ ต้องจำให้ขึ้นใจเลยว่า ถ้าไม่แม่นกติกาเราจะตกเป็นผู้เสียเปรียบทันที รวมไปถึงการเสียเงินเดิมพัน แต่สิ่งเหล่านี้ค่อย ๆ ฝึก ค่อย ๆ จำกันได้ ไม่ช้าก็เร็ว แล้วแต่ตัวบุคคล ในเรื่องราคาต่อรอง มันจะเริ่มตั้งแต่การเปรียบปลา ว่าโตหรือเล็ก เช่น โต 5:4 หรือเล็กกว่า 3:2 ซึ่งอัตรานี้ก็จะนำมาเป็นราคาในการเดิมพันด้วยเช่นกัน แต่อัตราการต่อรองในภาคกลางและภาคใต้ บางทีอาจจะไม่เหมือนกัน แต่จะขอพูดยกตัวอย่างในภาคกลางให้ดูแล้วกันนะครับ เราจะเริ่มจากราคาน้อยสุด ไปหามากสุดเช่น เสมอ, ต่อ 5:4 , ต่อ 3:2 , ต่อ 2:1 , ต่อ 5:2 ,ต่อ 3:1 เป็นต้น
ราคาเสมอกันหมายถึงว่า ปลากัดกัน 1,000 บาท ถ้าปลาเราชนะ เราจะได้ 1,000 บาท ถ้าปลาเราแพ้เราจะเสียเงิน 1,000 บาท
หรือ 5:4 ถ้าปลาเราเป็นต่อ เล่นกัน 500 ถ้าเราชนะเราจะได้ 400 บาท ถ้าเราแพ้เราจะเสีย 500 บาท อย่างนั้นเป็นต้น ค่อย ๆ ทำความเข้าใจเดี๋ยวก็เก่งครับ
แบบห้า คือ “ ประสบการณ์ ” คำว่าประสบการณ์นี้ มันสอนกันไม่ได้เป็นตัวหนังสือแน่นอน เราจะต้องมีความมั่นใจ และเดินหน้าก้าวไปหามัน แต่ทางเดินและความลำบากของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนกว่าจะประสบความสำเร็จ อาจใช้เวลาเป็นเดือน บางคนอาจใช้เป็นปี และบางคนอาจใช้หลาย ๆ ปี บางคนช้าบางคนเร็วนั้น ก็อาจจะขึ้นอยู่กับตัวเองด้วย ต้องอาศัยถามในสิ่งที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ หมั่นคอยพูดคุยกับพวกรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์สูง ซึ่งรุ่นพี่พวกนี้มักจะไม่หวงความรู้หรอกนะครับ บางคนโดนจนท้อ โทรมาปรึกษาผม ผมก็ตอบและเป็นกำลังใจว่าอย่าเพิ่งท้อ “ซักวันมันจะเป็นวันของเราแน่นอน ค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไปครับ”
วิธีการเลี้ยงตามแบบฉบับของเซฟ กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาปลากัดเก่ง
ซึ่งวิธีของผมนั้นจะเน้นไปที่ความสมบูรณ์ของตัวปลาเป็นหลัก ถ้าตัวไหนไม่คึก ไม่สวย จะไม่เลือกนำมา
เลี้ยงเด็ดขาด เก็บไว้ปล้ำดูแผลไปเลย ส่วนวิธีการเลี้ยงก็เหมือนปกติทั่วไป คือ หยก พาน ไล่ จะเลี้ยงออกกำลังปลา 5 วันแรก ไล่ลูกไล่เป็นหลัก วันละ 1 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้นตามสมควร ถัดมาอีก 2 วัน จะพานตัวเมีย กับหยกเป็นหลัก อีกวัน คือวันพักผ่อน พักสองวันก็จะดี พักก็พักในเหลี่ยมนั่นแหละ วันกัดตอนเช้าก็หยก ให้กัดหยกเต็ม ๆ แรง ทีเดียวพอ นี่ก็เป็นวิธีการเลี้ยงแบบคร่าว ๆ ของผมนะครับ ซึ่งก็ไม่มีอะไรแตกต่างนัก เดี๋ยวผมจะพูดเป็นตัวหนังสืออีกครั้ง ถึงวิธีการเลี้ยงอย่างละเอียด มีทั้งแบบทั่วไป และกัดแพง รวมไปถึงการเลี้ยงที่สู้ได้ ชนได้ ถึง 5-6 ชั่วโมงเลยทีเดียวครับ
ที่ติดไว้เมื่อฉบับที่แล้วเรื่อง “ ปลาค้างนัด ”
เมื่อปลาเราค้างนัด เมื่อกลับมาถึงบ้านนำปลาไปปล่อยในตู้ไล่ลูกไล่ปล่อยให้ไล่กัดตัวเมียไปเลย มันเป็นเหมือนการคลายเครียดและ การปรับสภาพอุณหภูมิ
น้ำไปในตัว ระหว่างนั้นเราจะต้องไปเตรียมอ่างดินเผาหรือ ถ้าไม่มีใช้ถังสีแทนได้ ใส่น้ำให้เยอะหน่อย ใส่ดินเหนียว กับดินร่วนไปอย่างละนิด น้ำจะออกสีขุ่นๆหน่อย จากนั้นหาผักตบต้นเล็กๆลอยหน้าเอาไว้ปล่อยปลาลงไปให้เหยื่อ ทิ้งไว้ประมาณซัก 3-7 วันค่อยนำขึ้นมาเลี้ยงใหม่ เลี้ยงนั้นก็เลี้ยงตามปกติ แต่ไม่ต้องพานเยอะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก กลุ่มอนุรักษ์ และ พัฒนาปลากัดเก่ง
การกัดปลา ปลากัดนักสู้ การกัดปลา ปลากัด กติกากัดปลา