ปลากัดอินโด การสร้างสายพันธุ์ที่ดี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การทำสายพันธุ์ที่ดีต้องมีเทคนิคหลายอย่างมาประกอบกัน

ปลากัด อินโด
ปลากัด อินโด
ลักษณะการกัดของ ปลากัดอินโด
ลักษณะการกัดของ ปลากัดอินโด

 

การสร้างสายพันธุ์ที่ดี เทคนิคแรกก็คือการคัดเลือกพ่อ-แม่พันธุ์ปลากัด เราควรเลือกพ่อ-แม่ปลาอย่างไร ลองดูได้นะครับ

พ่อปลา การคัดพ่อปลาของอินโดฟาร์ม มีประเด็นสำคัญดังนี้
1. เนื้อหนังดี เราสามารถรู้ได้เลยว่าปลาอินโด-มาเลย์-สิงคโปร์ มีลักษณะแบบใด ถ้าได้อ่านฉบับที่ผ่านมาๆเราก็จะเน้นให้รู้ก่อนว่าเราชอบปลาลักษณะใด ชั้นเชิงแบบไหน ก็คัดมาทำพ่อปลาได้ ที่ผ่านมาอินโดฟาร์มส่วนใหญ่จะใช้พ่อปลาอินโด จะให้ผลทางด้านโครงสร้างของลูกปลาที่ดีคือมีลักษณะหนา หนังดี เหงือกเบา และใจเต็ม 100% ท่านที่ผลิตปลาก็คงต้องการปลาที่มีลักษณะเช่นนี้เหมือนกันใช่ไหมครับ การพิจารณาพ่อปลาก็มีส่วนสำคัญไม่ใช่น้อย ควรดูบริเวณช่วงคอของปลาให้มีลักษณะคอใหญ่ๆ หนาๆ จะบ่งบอกถึงความแข็งแรงของปลา อีกอย่างหนึ่งดูช่วงโคนหาง โคนหางก็สำคัญเช่นกัน ความแข็งแรงของปลาก็จะมาจากบริเวณโคนหางเช่นกันเพราะใช้แรงจากช่วงหางเพื่อ พัดโบกเพิ่มความแรง
2. มีความสมบูรณ์ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าปลามีความสมบูรณ์ ก็ต้องดูจากหวอดของปลา ต้องดูปลาที่มีหวอดหนาสูงเป็นภูเขา จึงจะเป็นปลาที่จะสมบูรณ์พอที่จะเลี้ยงลูกได้ดี สามารถเก็บไข่ไว้ในหวอดได้ดี ไม่ขี้เกียจก่อหวอด และต้องสม่ำเสมอในการพ่นหวอดด้วยนะครับ
3. อายุ อายุไม่ใช่เป็นเพียงตัวเลขสำหรับปลากัด อายุเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับปลากัดเพราะถ้าพ่อปลาอายุน้อยจนเกินไป การเลี้ยงลูกปลาก็จะไม่สมบูรณ์พอ ทำให้ลูกปลาที่ไม่แข็งแรงอาจตายได้ หรือในกรณีที่พ่อปลาเด็กเกินไปเชื้อของพ่อปลายังไม่สมบูรณ์ ลูกปลาก็จะติดน้อย ควรจะใช้พ่อปลาตั้งแต่อายุ 7-10 เดือนน่าจะพอดี

ลักษณะของ ปลากัด อินโด
ลักษณะของ ปลากัด อินโด

 

แม่ พันธุ์

มีคำถามเกี่ยวกับแม่พันธุ์หลายๆ อย่างที่มักจะได้ยิน เช่น ใช้ปลานอกจะดีกว่าหรือไม่, จะหาแม่พันธุ์ดีๆ ได้จากไหน, ลูกปลาจะออกมาเหมือนพ่อหรือแม่, จะทำอย่างไรไม่ให้มีตัวเมียมากๆ ฯลฯ ถึงตรงนี้จะบอกถึงวิธีการที่ควรคำนึงถึงอันดับต้นๆ ดังนี้
1. การคัดเลือก วิธีการที่อินโดฟาร์มหาตัวเมียมาทำพันธุ์ คือ ไม่เชื่อใคร ต้องเห็นเองว่าตัวเมียนั้นหนังดี เหงือกเบา ฯลฯ ตามที่เราต้องการ เราถึงจะเอาปลาตัวเมียนั้นมาทำพันธุ์ จะดูอย่างไรว่าตัวเมียนั้นเป็นไปตามที่เราอยากได้ ก็คือต้องดูจากตัวผู้ที่เราเอามาลองดู หรือตัวผู้ชุดที่เราจับมาเล่นเป็นหลัก เราใช้เวลาในการเลี้ยงลูกปลา 7-10 เดือน กว่าจะใช้ได้ ฉะนั้นเราควรเลือกให้ดีที่สุด ใจเย็นๆ และดูให้ดีจริงๆ นะครับ
2. เช่นเดียวกับตัวผู้ คือ เรื่องความสมบูรณ์ จะสังเกตได้อย่างไรว่าตัวเมียสมบูรณ์ ก็ควรสังเกตที่ท้องของตัวเมียว่ามีสีเหลืองมากๆ นั่นคือไข่มีความพร้อมเต็มที่แล้ว สามารถนำมาเพาะได้ โดยในการทำให้ลูกปลาสมบูรณ์นั้น ควรนำแม่พันธุ์ปลามาทำเป็นปลาพานด้วยประมาณ 1 อาทิตย์ จะได้แม่พันธุ์ที่สมบูรณ์และแข็งแรง
3. อายุของปลาตัวเมียมีผลเช่นเดียวกับปลาตัวผู้ คือควรจะอยู่ในช่วงประมาณ 7-10 เดือน ถ้าตัวเมียอายุน้อยไป ลูกปลาปากจะอ่อนเวลาขบบิดนะครับ
4. ขนาด บางคนบอกว่าตัวเมียใหญ่มากๆ จะได้ลูกมาก ตัวเมียเล็กได้ลูกปลาน้อย จริงๆ แล้ว ถ้าอนุบาลลูกปลาได้ดีจะไม่ต่างกันเท่าไหร่ และก็ต้องให้ไข่สมบูรณ์เต็มที่ด้วยนะครับ
บางคนถามว่า ตัวผู้ กับ ตัวเมีย อะไรสำคัญกว่ากัน ตอบได้เลยครับว่าสำคัญด้วยกันทั้งคู่นะ จริงๆ แล้วลูกจะเอนเอียงมาทางตัวเมียก็จริง แต่เชื่อของตัวผู้ก็มีส่วนที่จะทำให้ลูกปลาดีและเก่งครับ
ปลาที่ไม่ควรเอามาทำพันธุ์

ปลากัด อินโด
ปลากัด อินโด

1. คอ เล็กและบางจนเกินไปทั้งตัวผู้และตัวเมีย ถ้าพ่อแม่คอเล็กและบาง มีโอกาสทำให้ลูกปลาตัวบางสูง ยิ่งถ้าอาหารไม่ถึง หรือ บ่อน้ำไม่ลึกก็จะยิ่งไปกันใหญ่
2. ใจไม่เต็มร้อย ควรคัดปลาที่ใจเต็มร้อยจะดีกว่าครับ เพราะเรื่องจิตใจจะถ่ายไปถึงลูกแน่นอน
3. ความ สมบูรณ์ของครีบ หาง ตะเกียบ กระโดง ชายน้ำ ตา ปาก รวมไปถึงชั้นเชิงด้วยครับ ปลาบางตัวหรือหลายๆ ตัวในคลอกนั้นไม่มีตะเกียบ มีโอกาสถ่ายลูกที่ไม่มีตะเกียบออกมามากจะทำให้การทรงตัวว่ายน้ำไม่ดีพอ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

 

tags: ปลากัดอินโด ปลากัดอินโดนีเซีย ลักษณะ ปลา กัด อิน โด การเพาะปลากัดอินโด การสร้างสายพันธุ์สไตล์อินโด ปลากัดอินโด ปลากัด การเพาะปลากัด ปลากัดอินโดนีเซีย