ห ลั ง จ า ก ที่ เ ร า พู ด คุ ย กั น ถึ ง เ รื่ อ ง ต่ า ง ๆ มา ม า ก ม า ย เ กี่ย ว กั บ ปลากัดเก่ง ก า ร เ ลี้ ย ง ป ล า กั ด กา ร ผ ส ม ก า ร เ ที ย บป ล า ก่อนออกกัด การคัดสายพ่อแม่พันธุ์ปลากัดเก่ง ของมาเลเซีย อินโดนีเซีย หรืออะไรก็แล้วแต่อีกมากมายที่เราได้พรรณนามายาวเหยียดตั้งแต่ครั้งจำความของ นิตยสารปลากัดนักสู้ ได้
แม้แต่ในคอลัมน์ “กระแสปลามาแรง” เราก็มีการรวมปลากัดเก่งจากหลากหลายพื้นที่มานำเสนอเป็นเบอร์แยกชัดเจนว่าเป็นปลากัด เก่งจากที่ไหน ของใคร สายพันธุ์อะไร หนังเหนียวเขี้ยวยาวแค่ไหน กัดแผลไหนเป็นสำคัญ ยิ่งกว่านั้นเราก็พูดไปถึงว่าชั้นเชิงการกัดเป็นอย่างไรด้วย
ถึงตรงนี้เราก็เพิ่งมารู้ตัวว่าหลังจากที่เราได้บอกกล่าวเล่าสิบเรื่องอะไรมาเยอะแยะ แต่ในการเรื่องชั้นเชิงของปลากัด เก่งการกัดที่ เราคุ้นหูกันดีเช่น ตบแทงลำโต โยกตบลำโต แทงเร็วเชิงดี รอบจัดกัดเร็ว ในส่วนที่เป็นนักเล่นรุ่นลายครามทั้งหลายศัพท์เฉพาะวงการเหล่านี้คงไม่ยากเกินไปที่จะเข้าใจได้พูดว่าได้ยินก็มองเห็นภาพแล้วว่าเป็นแบบไหน อย่างไร แต่คนรุ่นใหม่อีกหลายคน หรือแม้แต่คนเล่นเก่า ๆ บางคนเองก็เถอะ พูดถึงว่าปลาตบเป็นยังไง ปลาแทงเป็นยังไง ก็ยังอธิบายเราไม่ถูก หมายความว่า เข้าใจแต่อธิบายไม่ได้ อย่างนี้กับคนยุคใหม่ที่สนใจจะต้องมีปัญหาในเรื่องเชิงการกัดของปลากัด เก่งอย่างแน่นอน
เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจให้ตรงกัน ในคอลัมน์ปลากัดเก่ง สูตรเด็ดเคล็ด(ไม่)ลับ ฉบับนี้ทางทีมงานจึงหยิบยกเอาเรื่องราวของชั้นเชิงการกัดของปลากัดเก่งมานำเสนอสู่ผู้อ่านทั้งหลาย จะได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันว่าปลากัดที่กำลังอยู่ในมือของท่านเป็นเชิงการกัดสไตล์ไหนกันแน่….เรามาเริ่มจาก
ปลาตบ…คือปลาที่ว่ายน้ำนำคู่ต่อสู้และมักจะถูกคู่ต่อสู้ว่ายน้ำจี้อยู่ตลอดเวลา มองดูเผิน ๆ อาจจะดูเหมือนเป็นปลาที่ไม่ค่อยกัด แต่พอได้จังหวะก็จะแว้งกัดคู่ต่อสู้ด้วยความรุนแรง จนทำให้คู่ต่อสุ้ได้รับบาดเจ็บ บริเวณแผ่นปิดเหงือกที่ปลาพองออกมาจะเป็นเนื้อเยื่อที่อ่อน โดนย้ำหลายแผลก็จะถึงบ่อเลือด ( คือมีเลือดไหลออกมา) และอาจได้รับบาดแผลบริเวณหู (ครีบว่าย) ปากเปื่อย หรือถ้าโดนแรงๆ ถึงกับตาบอดเลยทีเดียว
ปลาแทง…คือปลาที่ว่ายน้ำลอยอยู่เฉย ๆ เมื่อคู่ต่อสู้ว่ายน้ำเลยไปก็จะทำอาการที่เรียกว่า “แทง” แผลที่โดนก็มักจะเป็นบริเวณหน้า ตาและหู
รอยหลังกัด…คือปลาที่กัดแผลบริเวณหลัง ในปลาปกติกระดูกส่วนแผ่นหลังนี้จะวางตัวไปตามแนวยาวของลำตัว(โนโตคอร์ด) เมื่อปลาโดนกัดบริเวณนี้มาก ๆ ก็จะส่งผลต่อการยืดหยุ่นและการเคลื่อนไหวของปลา ส่งผลถึงการว่ายน้ำที่อาจทำให้การเคลื่อนไหวไม่คล่องตัว หรือที่ในวงการจะเรียกว่า “กัดไม่กระเดกน้ำ” นั่นเอง
ห้อยกัดหาง…เป็นปลาที่มักจะกัดบริเวณโคนหาง แถว ๆ คอดหางซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่บังคับให้ปลาว่ายน้ำไปข้างหน้าและทำหน้าที่คัดท้ายไปตามทิศทางที่ปลาต้องการ ถ้าปลาโดนกัดบริเวณนี้มาก ๆ ก็จะทำให้การว่ายน้ำช้าลง และควบคุมทิศทางในการว่ายน้ำลำบากมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการขึ้นให้น้ำของปลา (การขึ้นหายใจบนผิวน้ำ) เพราะฉะนั้นเวลาเลือกปลาที่จะนำมากัดก็จำเป็นต้องมองถึงจุดนี้เป็นหลักด้วยเช่นกัน ปลาที่มีโคนหางใหญ่จึงจะว่ายน้ำและพลิ้วกัดได้ดี ในอดีตปลามาเลย์และปลาอินโดจะมีจุดอ่อนอยู่บริเวณนี้มาก ที่ทำให้โดนหลายๆ ทีก็อาจจะแพ้ได้ง่ายๆ ปัจจุบันจึงมีการผสมพันธุ์ ปลา กัด เก่ง ไทย เข้าไปเพื่อแก้ไขในส่วนที่เป็นจุดอ่อนดังกล่าว
กัดหูปนท้อง…ลักษณะของปลากัดประเภทนี้จะกัดบริเวณครีบว่ายของคู่ต่อสู้ซึ่งเป็นครีบที่ปลาใช้ในการพยุงตัวและหยุดการว่าย ถ้าโดนกัดบริเวณนี้มากๆ ก็อาจทำให้ปลาเสียการทรงตัวในการว่ายน้ำซึ่งจะมีผลต่อทิศทางและความแรงในการกัดรวมไปถึงการหลบหลีกคู่ต่อสู้อีกด้วย ส่วนท้องจะเป็นจุดที่รวมอวัยวะภายในหลาย ๆอย่างเวลาโดนกัดอาจจะไม่มีบาดแผลแบบทันที แต่จะเห็นผลในระยะยาว อย่างช่วงปลายน้ำ (เข้าสู่ชั่วโมงที่สองของการกัด)
สอบปาก/คาบปาก…เวลาปลาคายปาก (ปล่อยปากออกจากกัน) จะรู้ได้เลยว่าปลาตัวไหนเขี้ยวดีหรือตัวไหนปากไม่ดี (ปากอ่อน) ถ้าปากเปื่อยยุ่ยเป็นสีขาวแสดงว่าเป็นปลาปากอ่อน การโดนกัดหางหรือกัดหูบ่อยๆ ก็จะส่งผลถึงตรงนี้เช่นกัน เพราะโดยปกติเมื่อปลาสอบปากแล้วปล่อยก็จะมีการขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำ ถ้าหูหรือหางใช้การไม่ได้ก็จะทำให้ปลาตัวนั้นแผลไปเลยก็มี
รอบจัดกัดเร็ว…ปลาประเภทรอบจัดกัดเร็วนี้อยู่ที่การเลี้ยงของเจ้าของปลาเป็นหลักว่าจะเลี้ยงปลาให้มีความสมบูรณ์คึกคักได้มากแค่ไหน พูดง่ายว่ามีความ “ฟิต” เต็มที่แค่ไหน เชิงกัดแบบนี้จะกัดแผลไหนก็ขึ้นอยู่กับปลาตัวนั้นว่านิยมแผลไหนอยู่ก่อน ถ้าเป็นปลากัดหู กัดหาง ถ้าลงเหลี่ยมก็จะพุ่งเข้ากัดบริเวณดังกล่าวทันทีทันใด คล้ายกับที่เรียกว่า “ลงมือก่อนได้เปรียบ” ถ้ากัดคู่ต่อสู้อยู่ก็จะจบเร็วไม่ถึงปลายน้ำแต่ถ้าเจอคู่ต่อสู้ที่อึดถึงปลายน้ำเหมือนกัน ตอนนั้นก็ต้องมาวัดกันที่เนื้อหนัง ว่าใครจะดีกว่ากัน
ตบลำโต…คำว่าปลาตบเราอธิบายไปแล้ว แต่คำว่าลำโตไม่ได้ใช้คู่กับคำว่าปลาตบเท่านั้น ปลาแทงก็ใช้ว่าแทงลำโตได้เช่นกัน ดังนั้นคำว่า “ลำโต” ก็หมายถึงการกัดได้แรง อาจจะด้วยรอยของตัวปลาที่มีขนาดใหญ่ พละกำลังก็ควรจะมีมากตามตัว จึงเป็นที่มาของคำว่า “ลำโต”
ทั้งหมดนี้ก็คือลีลาและชั้นเชิงการกัดของปลาทั่วๆ ไป การกัดของปลาที่ดีนั้นแท้จริงแล้วกัดแผลไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นหน้า หู แก้ม ตา โคนหาง แต่ขอให้เป็นปลาที่กัดย้ำแผลเดิมอยู่บ่อยๆ และกัดฝังเขี้ยวแรงๆ (ลำโต)
ปลากัดเก่งบางตัวก็อาจกัดไม่แรงเกล็ดไม่ร่อนออกมาให้เห็นเด่นชัด แต่มีแผลและลึกถึงบ่อเลือด บางตัวก็กัดแรงเป็นแผลกว้าง เกล็ดร่อนออกมาอย่างเด่นชัด บางตัวก็ต้องกัดหลายๆ ครั้งกว่าจะเข้าถึงบ่อเลือด เพราะว่าปลากัดเก่งในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นปลาสายไหนก็แล้วแต่ การพัฒนาเรื่องหนังเกล็ด จะถูกหยิบมาพูดถึงเป็นอันดับแรก เพราะฉะนั้นถ้าปลาของเราเขี้ยวคมก็เป็นการง่ายที่จะประสบชัยชนะในสังเวียนการกัด ปลากัดเก่ง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก นิตยสาร ปลากัดนักสู้