ถ้าพูดถึงเรื่องชา ยอมรับเลยว่าญี่ปุ่นและจีนนั้นขึ้นชื่อเรื่องชาเป็นอย่างมาก ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเทศระดับต้นๆ ของโลก ที่มีการผลิตชาที่ดีที่สุดเลยก็ว่าได้ แต่ในเมืองไทยเองการปลูกชาก็ขึ้นชื่อเหมือนกันว่าเรานั้นไม่เป็นสองรองใคร เพราะชาดีๆ ในเมืองไทยนั้นก็มีอยู่มาก และแหล่งผลิตชาเองก็ไม่ได้น้อยหน้าใครเลย การดูแลรักษาต้นชา
ซึ่งในเมืองไทยนั้นแหล่งปลูกชาส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่ภาคเหนือ เพราะเป็นภาคที่มีอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการปลูกชา และผลิตชาชั้นดีส่งทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเลยก็ว่าได้
การปลูกชา และ การดูแลรักษาต้นชา
ชา คือ ผลผลิตทางการเกษตรชนิดหนึ่งที่มีการปลูกในทางภาคเหนือของไทย ซึ่งการปลูกชาต้องปลูกในอุณหภูมิที่เหมาะสม ซึ่งเกิดจากยอดอ่อนของใบ และนำมาผ่านกระบวนการที่เหมาะสมอย่างหลายขั้นตอน โดยเหมาะแก่การนำมาชงดื่มเพื่อสุขภาพ และดื่มเพื่อการผ่อนคลาย นอกจากนี้ตัวชาเองก็ขึ้นชื่อว่าเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยผ่อนคลายจากอาการเหนื่อยล้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งชาก็มีการผลิตในหลายประเทศ จึงได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในทั่วโลก อีกทั้งชาก็มีประวัติความเป็นมาที่ค่อนข้างยาวนาน จึงถือได้ว่าเป็นเครื่องดื่มที่ดีอีกชนิดหนึ่งของโลกเลยก็ว่าได้
ชาในเมืองไทยนั้นนับว่าเป็นชาที่ค่อนข้างดี และได้รับการยอมรับจากหลายประเทศ ซึ่งแหล่งปลูกชาในไทยนั้นก็ถือว่าเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเป็นอย่างมาก ด้วยสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสม รวมกับสภาพอากาศที่พอเหมาะแก่การปลูกชา ทำให้เมืองไทยนั้นนับว่าเป็นแหล่งปลูกชาชั้นดีระดับต้นๆ ของโลก จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมทางภาคเหนือของไทยจึงนิยมที่ปลูกชากันเป็นอย่างมาก และทำให้เป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่ออีกด้วย นอกจากนี้ตัวชายังมีส่วนช่วยในเรื่องของการบำรุงร่างกาย และนำมาเป็นยาบรรเทาอาการต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ถือว่าเป็นพืชที่แปรรูปได้ทั้งเป็นเครื่องดื่มและยาบำรุงร่างกายชั้นดีเลยทีเดียว
ชาถือได้ว่าเป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมอีกชนิดหนึ่งของไทย ซึ่งได้จากใบ ยอดอ่อน และก้าน ของต้นชา และนำมาผ่านกรรมวิธีการแปรรูปได้อย่างหลากหลาย ซึ่งตัวชาเองยังรวมถึงเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่มีกลิ่นหอม โดยส่วนใหญ่นั้นน้ำชาจะเกิดจากการนำใบชาไปตากแห้ง และนำมาชงดื่มกับน้ำร้อนหรือน้ำอุ่น ซึ่งตัวน้ำชาหรือชาเองก็ยังได้รับความนิยมที่เป็นเครื่องดื่มที่มีการบริโภคมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกเลยก็ว่าได้ ซึ่งความนิยมของชานั้นจะได้รับความนิยมพอๆ กับโกโก้และกาแฟเลยทีเดียว โดยประเทศแรกที่นำชามาทำเป็นเครื่องดื่มนั้น คือ จีน โดยจีนนั้นได้นำใบชามาทำเป็นเครื่องดื่มเป็นระยะเวลานานร่วม 2,000 กว่าปีแล้ว หลังจากนั้นการนิยมดื่มชาก็ได้มีการแพร่กระจายไปทั่วโลกเลย ทั้งเอเชีย อเมริกา ยุโรป และทวีปแอฟริกา เป็นต้น
ลักษณะทั่วไปของต้นชา
ในเมืองไทยนั้นจัดว่ามีชาอยู่ 2 ประเภท คือ ชาจีน กับชาอัสสัม ซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไม่มากนัก อีกทั้งยังมีการแยกย่อยเป็นพันธุ์ย่อยออกไปอีกในกลุ่มชาจีน และชาอัสสัม ด้วยเช่นกัน
–ลำต้น สายพันธุ์ชาจีนจัดเป็นพรรณไม้ขนาดย่อมไปจนถึงขนาดกลาง โดยความสูงของต้นจะอยู่ประมาณ 1-6 เมตร ลำต้นนั้นจะมีการแตกกิ่งก้านออกมาเป็นจำนวนมาก และตามกิ่งที่อ่อนนั้นก็จะมีขนปกคลุม ซึ่งการขยายพันธุ์ของต้นชานั้นส่วนใหญ่จะนิยมขยายพันธุ์แบบการเพาะเมล็ด
ซึ่งชานั้นแต่เดิมเป็นของประเทศจีน แต่ในเมืองไทยนั้นจริงๆ แล้วก็ได้มีการนำเข้ามาปลูกนานแล้วเช่นกัน แต่ยังพบได้น้อยในช่วงนั้น ซึ่งมีการพบว่าชาที่มาปลูกนั้นส่วนใหญ่แล้วแรกเริ่มเลยอยู่ที่จังหวัดพะเยา แต่ไม่มากนัก เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่มีการปลูกมากในภาคเหนือ
–ใบชา ในส่วนของใบชานั้นจะมีลักษณะเป็นใบเดียวเรียงสลับกันไป ซึ่งจะคล้ายกับรูปหอก ปลายใบแหลม ขนาดของใบนั้นจะมีความกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร และยาว 6-12 เซนติเมตร ซึ่งใบชานั้นจะมีลักษณะที่คล้ายกับใบข่อย แต่ใบชานั้นจะยาวและใหญ่กว่า
–ดอกชา ในต้นชานั้นมีการออกดอกด้วยเช่นเดียวกับพรรณไม้ชนิดอื่นๆ โดยดอกจะมีลักษณะเป็นช่อหรือเป็นกระจุกตามง่ามใบ ลักษณะคล้ายกับส้มเขียวหวาน มีประมาณ 1-4 ดอก และมีกลีบดอก 5 กลีบ โดยมีดอกเกสรตัวผู้อยู่กลางดอกเป็นจำนวนมาก
–ผลชา นอกจากจะมีดอกในตัวแล้ว ต้นชาเองก็ยังมีผลด้วย โดยผลของต้นชานั้นจะมีขนาดพอๆ กับแคปซูลที่ไม่ใหญ่มาก โดยจะมีขนาดประมาณ 2-4 เซนติเมตร ซึ่งเมื่อผลสุกแก่ได้เต็มที่ก็จะเริ่มแตกออก ในหนึ่งผลนั้นจะมีเมล็ดอยู่ 1-3 เมล็ด ผิวเมล็ดจะเรียบ และออกเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ
นี่เป็นลักษณะทางกายภาพโดยภาพรวมของต้นชา พอเราได้รู้ว่าต้นชานั้นมีลักษณะอย่างไร หรือมีส่วนอื่นๆ ด้วยนอกจากยอดใบชาที่เราได้รู้จักกัน โดยส่วนใหญ่แล้วแหล่งกำเนิดชาในเมืองไทยนั้นส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่ภาคเหนือเป็นหลัก โดยมีการกระจายตัวอยู่ทั่วไปตามภาคเหนือในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิที่มีความเหมาะสม ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำปาง และตาก
การส่งเสริมการปลูกชา
ซึ่งการบุกเบิกและเริ่มสำรวจนั้นเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ.2480 โดยมีนายประสิทธิ์ และนายประธาน เป็นผู้บุกเบิก และสร้างโรงงานชาที่จังหวัดเชียงใหม่ขึ้น โดยรับซื้อใบชาสดจากชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งเมื่อเริ่มทำแล้วก็ต้องพบปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของใบชามีคุณภาพต่ำ ปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการในการใช้ ชาวบ้านขาดความรู้ ความชำนาญ
จนได้มีการนำความรู้เพื่อถ่ายทอดมายังเมืองไทย จากชาวจีนที่มีความรู้ในเรื่องของการปลูกชา จึงทำให้ได้ผลผลิตและใบชาที่มีคุณภาพมากขึ้น หลังจากที่มีการอบรมและให้ความรู้แก่ชาวบ้าน หลังจากนั้นก็ได้มีการเริ่มที่จะทำอุตสาหกรรมเกี่ยวกับชามากขึ้น โดยหน่วยงานของภาครัฐ ในสมัยนั้นได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือและผลักดันในเรื่องของชาในเมืองไทยให้เป็นที่รู้จักแก่ชาวโลกมากขึ้น
จึงทำให้ในปัจจุบันนั้นมีการส่งเสริมในเรื่องของการเกษตรเกี่ยวกับเรื่องของชามากขึ้น โดยมีการจัดทำแปลงขยายพันธุ์ชาที่ดี ภายในศูนย์ส่งเสริมการผลิตพันธุ์พืชสวนเชียงราย และได้มีการจัดทำแปลงส่งเสริมการปลูกชาพันธุ์ดีขึ้น และ ส่งเสริมการปลูกชาในสวนชาให้แก่ชาวบ้าน ชาวเขา ในพื้นที่ ให้ได้มีอาชีพและมีความรู้ในเรื่องของชาเพิ่มขึ้น
ส่งเสริมให้เกษตรกรนั้นเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย วิธีการดูแลรักษา และปลูกต้นชาเสริมในแปลงชาเก่า พร้อมทั้งฝึกอบรมและพัฒนาในเรื่ององค์ความรู้ให้กับเกษตรกรที่สนใจ และได้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ปลูกชาขึ้น มีการประสานงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการตลาด ด้านเกษตรกร รวมไปถึงเป็นพ่อค้าในการรับซื้อใบชา จึงเป็นที่มาของชาไทยที่มีคุณภาพดี พร้อมก้าวสู่การส่งออกใบชาไปยังตลาดต่างประเทศนั่นเอง
ชาถือได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งของชาวจีนเลยก็ว่าได้ เพราะว่าการดื่มชาบ่อยๆ นั้นจะช่วยในการปรับสมดุลในร่างกายได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยลดความเครียด ความเหนื่อยล้าที่สะสมมาในแต่ละวันให้ดียิ่งขึ้นด้วย โดยเฉพาะชาอุ่นๆ เมื่อนำมาจิบทีละนิด จะช่วยให้ร่างกายนั้นผ่อนคลายมากขึ้น จึงเป็นที่มาว่าทำไมการดื่มชาจึงมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก
ซึ่งการปลูกชาในเมืองไทยนั้นก็เริ่มมีการปลูกมาอย่างยาวนาน และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันการปลูกชานั้นส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ทางภาคเหนือ เพราะว่าสภาพอากาศที่เหมาะสมทำให้เป็นแหล่งผลิตชาชั้นดีภายในประเทศ จึงไม่แปลกเลยว่าทำไมชาจึงมีคุณภาพดี และสามารถส่งออกได้อย่างมากมาย
สายพันธุ์ชา
นอกจากนี้การปลูกชาในเมืองไทยนั้นตั้งแต่เริ่มมีการอบรมและให้ความรู้แก่ชาวบ้านที่ปลูกชา ก็ทำให้มีชาและผลผลิตเกี่ยวกับชาออกมาอย่างมากมาย ซึ่งชานั้นก็มีหลากหลายชนิด หลายสายพันธุ์ แต่ครั้งนี้เราจะมาดูกันว่าในเมืองไทยนั้นส่วนใหญ่แล้วนิยมปลูกชาพันธุ์อะไรกันมากที่สุด
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าเมืองไทยนั้นก็ถือได้ว่าเป็นอีก 1 ประเทศ ที่มีการผลิต ปลูก และส่งออก ชาเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ด้วยคุณภาพสายพันธุ์ และคุณภาพของใบชานั้น ไม่ได้น้อยหน้าประเทศใดเลย ทำให้มีความต้องการที่จะส่งออกชาเพิ่มขึ้นแทบจะทุกปี
แต่เราจะมาดูกันว่า “ชา” ในเมืองไทยนั้นมีพันธุ์อะไรบ้าง ที่ส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรนำมาปลูก และให้ผลผลิตได้ดี และส่งออกสู่ท้องตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งในเมืองไทยนั้นนิยมในการปลูกชาแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ เลย คือ กลุ่มชาพันธุ์อัสสัม กับกลุ่มชาพันธุ์จีน ซึ่ง 2 พันธุ์นี้จะเป็นที่นิยมปลูกมากในเมืองไทย
ชาพันธุ์อัสสัม
ซึ่งชาชนิดนี้สามารถเรียกได้หลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็นชาอัสสัม ชาพื้นเมือง ชาป่า หรือชาเมี่ยง ซึ่งชาสายพันธุ์นี้จะมีขนาดใบที่ใหญ่กว่าชาสายพันธุ์ของจีน เป็นที่เติบโตได้เป็นอย่างดีในป่าเขตร้อนชื้นที่มีร่มไม้และแสงแดดพอประมาณ ซึ่งชาอัสสัมนั้นสามารถพบได้มากเลยตามแนวเขาที่มีพื้นที่สูงในแถบภาคเหนือของไทย ส่วนมากพบได้ที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน ลำปาง และแพร่
ซึ่งลักษณะของชาอัสสัมนั้นจะเป็นไม้พุ่มขนาดกลางไปถึงใหญ่ ผิวลำต้นจะเรียบ ซึ่งลำต้นจะสูงเด่นกว่าชาจีน โดยมีลำต้นสูงประมาณ 6-18 เมตร ใบเป็นใบเดียว ปลายใบแหลม ใบกว้าง 3-6 เซนติเมตร ยาว 7-16 เซนติเมตร แผ่นใบจะมีสีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม ส่วนของดอกนั้นจะเจริญจากตาบริเวณง่ามใบบนกิ่ง โดยดอกจะออกติดกันเป็นกลุ่ม ประมาณ 2-4 ดอก ต่อตา กลีบเลี้ยงจะมีลักษณะที่ไม่เท่ากันมากนัก ส่วนของผลจะคล้ายกับแคปซูล เมื่อผลแก่ก็จะแตกออก เมล็ดจะค่อนข้างกลม และมีสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมแดง
ชาพันธุ์จีน
ชาพันธุ์จีนนี้เป็นสายพันธุ์ชาที่มีการนำเข้ามาปลูก โดยนำเข้ามาจากไต้หวัน และจีน ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ได้มีการปรับปรุงพันธุ์แล้ว เช่น สายพันธุ์อู่หลง 17 หรืออู่หลงก้านอ่อน อู่หลง 12 พันธุ์สี่ฤดู พันธุ์ถิกวนอิม เป็นต้น ซึ่งแต่ละสายพันธุ์นั้น โดยรวมแล้วสายพันธุ์จีนนั้นเป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเลยทีเดียว เพราะว่าเป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตที่สูง และเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก
ซึ่งจะนิยมปลูกมากในทางภาคเหนือของเมืองไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงราย และเชียงใหม่ รวมไปถึงแม่ฮ่องสอน ซึ่งการปลูกชาจีนนั้นจะนิยมการปลูกแบบขั้นบันได และมีการจัดการแปลงปลูกอย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังมีการตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอ เพื่อให้ชาแตกยอดใหม่ และง่ายต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต
ทั้ง 2 สายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์ที่รับความนิยมเป็นอย่างมากในการปลูกที่เมืองไทย เพราะเป็นสายพันธุ์ที่เข้ากับสภาพอากาศเมืองไทยได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถที่จะให้ผลผลิตได้แทบตลอดทั้งปี จึงทำให้เป็นสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับการตลาดในเมืองไทยเป็นอย่างมาก
สภาพพื้นที่ปลูกต้นชา
สำหรับแนวทางในการปลูกชาในเมืองไทยนั้น สิ่งที่สำคัญเลย คือ เรื่องสภาพอากาศ และองค์ประกอบโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของดิน น้ำ ภูมิอากาศ ต่างก็เป็นแนวทางที่สำคัญในการปลูกชาทั้งสิ้น เพราะว่าถ้าขาดเรื่องนี้ไปก็จะทำให้ผลผลิตที่ได้นั้นมีคุณภาพที่ไม่ดีมากนัก นอกจากนี้เรื่องของพันธุ์ที่จะใช้ปลูกก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เพราะต้องดูด้วยว่าสายพันธุ์ที่จะนำมาเพาะปลูกเป็นต้นชานั้นสามารถเข้ากับสภาพอากาศได้หรือไม่ เพราะอาจจะสูญเปล่าในการนำมาปลูกก็ได้เช่นกัน
สภาพพื้นที่ในการปลูกชา โดยปกติแล้วชาที่จะสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้ดีนั้นจะต้องเป็นชาที่ปลูกในพื้นที่ที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 700 เมตรขึ้นไป จึงจะเหมาะสมกับการปลูกชา อีกทั้งสวนชาที่มีขนาดใหญ่และจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรในการช่วยดูแลผลผลิต พื้นที่ควรจะมีความลาดเอียงไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเอียงมากกว่านี้ควรจะทำเป็นแบบขั้นบันได โดยจะต้องให้มีความกว้างโดยประมาณ 150 เซนติเมตร
ซึ่งพอที่จะใช้เครื่องจักรหรือมีทางเดินให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ง่าย และลักษณะดินในการปลูกชานั้นควรจะเป็นดินที่มีความร่วนซุยดี หรือควรระบายน้ำได้เป็นอย่างดี อีกทั้งต้องมีอินทรียวัตถุสูง ชั้นของหน้าดินนั้นควรมีความลึกประมาณ 50 เซนติเมตร ความเป็นกรด-ด่าง นั้นควรอยู่ในปริมาณ 4-6 เท่านั้น และไม่ควรที่จะให้ดินนั้นมีน้ำขัง เพราะถ้าดินมีน้ำขังมาก ต้นชาอาจจะเสียหายได้
ส่วนสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม ต้นชาสามารถที่จะเข้ากับสภาพอากาศได้เป็นอย่างดีในทุกสภาพอากาศ แต่ต้องการอุณหภูมิที่ค่อนข้างเย็น โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกชานั้นควรจะอยู่ที่ 25-30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศนั้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ และปริมาณน้ำฝนที่ต้องการอย่างน้อย 1,200 มิลลิเมตรต่อปี ก็เพียงพอที่จะช่วยให้ต้นชาหรือใบชานั้นเติบโตได้อย่างสมบูรณ์
สำหรับพันธุ์ที่ได้รับความนิยมในการปลูกในเมืองไทยเป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่แล้วจะมีอยู่ 2 สายพันธุ์ ที่ปลูก คือ สายพันธุ์ชาจีน และสายพันธุ์ชาอัสสัม นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ลูกผสมเข้ามาด้วย แต่ไม่เยอะมากเท่ากับ 2 พันธุ์แรก โดยสายพันธุ์ชาจีนจะนิยมนำมาแปรรูปเป็นชาเขียวและชาจีน ซึ่งเป็นที่นิยมมาทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ ส่วนพันธุ์ชาอัสสัมจะเหมาะกับการนำมาแปรรูปเป็นชาฝรั่งเสียมากกว่า
ขั้นตอนการปลูกและ การดูแลรักษาต้นชา
การเตรียมดินในการปลูกถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ควรไถหน้าดินและพรวนดินเพื่อปรับโครงสร้างของดิน และกำจัดวัชพืชอย่างน้อย 2 ครั้ง ก่อนที่จะเริ่มปลูก และควรทำให้พื้นที่นั้นมีความลาดชันประมาณ 5 องศาขึ้นไป หรือต้องวางแนวปลูกตามขั้นบันไดเพื่อลดการพังทลายของหน้าดิน และควรให้มีความกว้างประมาณ 1 เมตรเป็นอย่างต่ำ เพื่อให้สามารถเดินเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
โดยระยะในการปลูกชานั้นจะขึ้นอยู่กับสภาพของดินที่จะทำการปลูกว่าเหมาะสมหรือไม่ โดยให้ยึดหลักดินแย่ปลูกถี่ แต่ดินดีให้ปลูกห่าง เพราะว่าถ้าดินดีชาจะสามารถเติบโตได้ดี ทำให้ไม่ต้องคอยแย่งอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงตัวเองให้เติบโต และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมากขึ้น
การเตรียมหลุมสำหรับปลูกชานั้น ส่วนใหญ่ควรจะเตรียมให้หลุมมีความกว้างประมาณ 50x50x50 หรือ 50x50x75 หรืออาจจะ 25x25x50 เซนติเมตรก็ได้ เนื่องจากว่าต้นชานั้นเป็นพรรณไม้ที่สามารถแทงรากลงไปได้ลึกและค่อนข้างเร็ว ทำให้การขุดหลุมจึงไม่จำเป็นจะต้องลึกมากเกินไป
โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการปลูกชานั้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็นช่วงต้นฤดูฝน ก็คือ ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน หรืออาจจะปลูกหลังจากฝนตกไปแล้วประมาณ 2-3 ครั้ง ก็ได้ เพื่อที่ดินจะได้มีความชุ่มชื้นที่เหมาะสม ถ้าปลูกจากการเพาะเมล็ด
ต้นกล้าควรมีอายุ 18-24 เดือน แต่ถ้าการปักชำก็ควรมีอายุ 18 เดือน และควรลดการให้น้ำและพรางแสง จากนั้นกลบให้แน่นด้วยดินชั้นล่างผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวดีแล้ว อัตรา 1-2 กิโลกรัม กดดินให้แน่นแล้วรีบรดน้ำทันที ควรรักษาความชื้นของดินด้วยการใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมดิน
การให้น้ำและปุ๋ยต้นชา
การให้น้ำ เนื่องจากชาเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูงและสม่ำเสมอตลอดทั้งปี เพื่อที่จะช่วยในการเจริญเติบโต ซึ่งการให้น้ำในชานั้นก็จะมีด้วยกัน 3 แบบ คือ การให้น้ำแบบปล่อยให้ท่วมแปลง การให้น้ำแบบพ่นฝอย และการให้น้ำแบบหยด
การให้ปุ๋ยสำหรับต้นชานั้นสามารถให้ได้ทั้ง 2 ประเภท คือ ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี ถ้าเป็นปุ๋ยอินทรีย์ควรให้ทุกปี ปีละ 2 ตันต่อไร่ โดยช่วงที่เหมาะสมนั้นจะเป็นช่วงที่ก่อนการตัดแต่งทรงพุ่มประจำปี ถ้าให้ปุ๋ยอินทรีย์ในช่วงดังกล่าวนี้ก็ควรจะมีการคลุมโคนต้นเพื่อรักษาความชื้น และจะทำให้รากนั้นเติบโตได้ดีในช่วงฤดูหนาว
แต่ถ้าเป็นการใส่ปุ๋ยเคมีก็ควรใช้สูตร 80-24-26 โดยใส่แต่ละปีจะไม่เหมือนกัน ปีแรกอาจจะใส่ 20 กิโลกรัมต่อไร่ ปีที่ 2 ใส่ 40 กิโลกรัมต่อไร่ ปีที่ 3 ให้ใส่ 60 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากปีที่ 4 ก็ควรใส่ที่ 80 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่ในช่วงต้นและปลายฤดูฝน และควรใส่ปุ๋ยคอกทุกปี ปีละ 2 ตันเป็นอย่างต่ำ ซึ่งการใส่ปุ๋ยคอกควรใส่ในช่วงปลายฤดู
การป้องกันและกำจัด โรค แมลงศัตรูพืช ของต้นชา
โรคและแมลงศัตรูพืชมักจะพบได้ทั่วไปในภาคการเกษตรถือว่าเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วที่ต้องพบเจอ ในการปลูกชาเองก็เช่นกันก็ต้องพบกับปัญหาในเรื่องของโรคและแมลงศัตรูพืชเหมือนกัน เรามาดูกันดีกว่าว่ามีโรคอะไรที่เกี่ยวข้องกับการปลูกชาบ้าง
–โรคใบพุพอง จะเห็นเป็นจุดกลมเล็กสีชมพูอ่อนหรือจางบนใบอ่อนของชาในฤดูฝน ต่อมาจะขยายใหญ่ขึ้นถึง 0.5-2.0 เซนติเมตร ตำแหน่งที่เป็นโรคจะมีรอยปูดนูน บริเวณผิวใบด้านล่างจะมีจุดกลมสีชมพูจางกลายเป็นสีแดงเข้ม ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาวฟูและสีเทาอ่อนในที่สุด เมื่ออาการของโรคมาถึงขั้นนี้ก็ไม่สามารถเก็บใบอ่อนไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งโรคนี้มักจะมีการระบาดมากในช่วงหน้าฝน หรือเป็นช่วงที่มีการให้ผลผลิตของชา
การป้องกันนั้นส่วนใหญ่จะใช้วิธีการสางร่มเงาออกให้เหลือครึ่งหนึ่งของไร่ และเด็ดใบที่เป็นโรคและใบที่ร่วงไปเผาทิ้ง หรือจะใช้สารเคมีเข้ามาช่วยการกำจัดก็ได้ โดยสารที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นสารคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ โดยนำไปผสมน้ำ 20 ลิตร และฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณใบชา โดยฉีดประมาณ 8-10 ครั้ง จนกว่าโรคจะหยุดการระบาด
–โรคใบจุดสีน้ำตาล อาการเริ่มแรกเป็นจุดสีน้ำตาลแกมเหลืองบนผิวใบชา ต่อมาอีก 7-10 วัน จุดสีน้ำตาลจะขยายใหญ่และเปลี่ยนเป็นแห้งตาย ถ้าอาการของโรครุนแรงจะทำให้ใบร่วง โรคนี้มักเกิดกับใบและยอดอ่อน
การป้องกันนั้นส่วนใหญ่จะเก็บใบที่เป็นโรคไปเผาทิ้ง และใช้สารเคมีในการกำจัดเชื้อราชนิดที่มีการดูดซึม และให้ฉีดพ่น 7 วันต่อครั้ง ประมาณ 3 ครั้งติดกัน และใช้สลับกับสารคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ โดยนำไปผสมน้ำ 20 ลิตร จะช่วยให้ได้ผลดีกว่าเดิมด้วย
การเก็บเกี่ยวผลผลิตชา
การเก็บเกี่ยวยอดใบชานั้นโดยทั่วไปแล้วมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี คือ การเก็บยอดชาโดยการใช้มือเด็ด การเก็บยอดชาโดยการใช้กรรไกรตัด และการเก็บยอดชาโดยการใช้เครื่องจักร
–การเก็บยอดชาโดยการใช้มือเด็ด ซึ่งวิธีนี้จะนิยมมาก ถ้าเป็นการปลูกชาในสวนที่มีขนาดเล็กหรือไม่กว้างใหญ่เกินไป หรือสวนชาที่ปลูกตามไหล่เขาที่ไม่เหมาะกับการใช้เครื่องจักร หรืออาจจะเป็นสวนที่ต้องการให้ผลผลิตชานั้นมีคุณภาพที่ดี และมีราคาแพง แต่เป็นวิธีการที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงานสูง นอกจากนี้หากแรงงานที่จ้างมีคุณภาพต่ำ เช่น ขาดความรู้ในการเก็บ หรือเก็บยอดโดยไม่ระมัดระวัง ทำให้ยอดชาสดที่ได้มีคุณภาพต่ำไปด้วย ถ้าหากเป็นแรงงานที่มีความรู้ ความสามารถ อัตราค่าจ้างจะสูง ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตให้สูงตามไปด้วย อีกทั้งการเก็บชาด้วยมือนั้นทำให้ยอดชานั้นไม่สม่ำเสมอกันอีกด้วย แต่อย่างไรก็ดีการเก็บยอดชาด้วยวิธีนี้สามารถเลือกยอดชาที่มีคุณภาพดีไปทำการผลิตชาคุณภาพดีได้ สำหรับแรงงานที่มีคุณภาพสามารถเก็บได้ประมาณ 10-15 กก./วัน
–การเก็บยอดชาโดยการใช้กรรไกรตัด วิธีการนี้นิยมใช้ในสวนชาขนาดเล็ก หรือสวนชาที่ปลูกตามไหล่เขา ซึ่งไม่สะดวกต่อการใช้เครื่องจักร การเก็บยอดชาด้วยวิธีนี้สามารถเก็บยอดได้มากกว่าการเก็บด้วยมือ แต่ไม่สามารถเลือกขนาดของยอดชาได้ สามารถเก็บได้ประมาณ 60-100 กก./วัน
–การเก็บยอดชาโดยการใช้เครื่องจักร การเก็บยอดชาด้วยวิธีใช้เครื่องจักรนี้ อาจจะต้องเป็นแปลงชาที่มีขนาดใหญ่ และมีรายได้ที่แน่นอน หรือมีการส่งออกที่ตายตัวแล้ว เพราะว่าการลงทุนในการใช้เครื่องจักรนั้นค่อนข้างสูง จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีตลาดที่รองรับ ซึ่งการเก็บยอดชาด้วยเครื่องจักรนั้นอาจจะได้ใบชาหรือยอดชาที่ไม่แน่นอน หรือตายตัว จึงต้องกำหนดเวลาการเก็บด้วยการตัดแต่ง ดังเช่น ในประเทศญี่ปุ่น หลังจากทำการตัดแต่งในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ชาจะพักตัว และเริ่มแตกยอดใหม่ประมาณเดือนมีนาคม ยอดใหม่นี้จะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดีการจัดการสวนชาด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องมีช่วงเวลา และวิธีการดูแลรักษาที่แน่นอนเสียก่อน เพราะไม่อย่างนั้นจะทำให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ช้าและไม่เห็นผล
ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายชา ทั้งในและต่างประเทศ
สำหรับด้านการตลาดของชานั้น ชาจัดว่า เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยในเมืองไทยเองก็ได้มีการส่งออกชาไปยังต่างประเทศมากมาย ซึ่งกระแสตลาดของชานั้นยังคงเป็นที่นิยมอยู่จนปัจจุบัน โดยเริ่มแรกตลาดชา หรือชาสมุนไพรในตลาดโลกนั้น เริ่มได้รับความนิยมมาตั้งแต่ปี 2542
โดยตลาดชาในประเทศนั้นนับได้ว่าคนไทยเริ่มหันมานิยมในการบริโภคชาเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น โดยตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันวงการของเครื่องดื่มประเภทชาก็ยังคงได้รับความนิยมมาตลอด รวมไปถึงเครื่องดื่มสมุนไพรอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
ซึ่งในปัจจุบันการนิยมบริโภคเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเริ่มเป็นที่สนใจอย่างมาก ทำให้วงการอุตสาหกรรมเครื่องดื่มได้มีการพัฒนาและต่อยอดทางด้านการตลาดมากขึ้น มีการคาดการณ์ไว้ว่าตลาดของชาและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพนั้นจะต้องเติบโตเป็นอย่างมาก โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 ของประเภทชาเพื่อสุขภาพและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ซึ่งจะไม่นับรวมกับเครื่องดื่มชาเขียวทั่วไปที่ได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน
เดิมนั้นตลาดจำกัดวงอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป ตลอดจนในหมู่ของผู้ที่รู้ถึงสรรพคุณทางด้านสมุนไพร ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกที่เครื่องดื่มประเภทนี้ได้รับความนิยมในการเลือกซื้อเป็นของฝากในโอกาสต่างๆ แต่ในปัจจุบันตลาดในประเทศเริ่มเปิดรับเครื่องดื่มสมุนไพรมากขึ้น ตลาดจึงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ในส่วนของการผลิตนั้น โรงงานอุตสาหกรรมด้านการผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพต่างก็มีการพัฒนาและปรับปรุงสูตร รวมไปถึงปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจมากขึ้น รวมไปถึงมีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรแม่บ้านขนาดชุมชน เพื่อรวมตัวกันในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากชา ให้สามารถเก็บได้นาน และนำมาชงดื่มได้ง่ายขึ้นด้วย จึงมีการคิดค้นและสร้างจุดขายขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง
นอกจากตลาดภายในประเทศที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะไม่ว่าจะมองไปทางไหน ตามร้านสะดวกซื้อ หรือซุปเปอร์มาร์เกต ต่างก็มีการนำชา ชาสมุนไพร ชาพร้อมดื่ม เพื่อสุขภาพ มาวางจำหน่ายกันอย่างแพร่หลาย อีกทั้งยังมีหลายรูปแบบให้เรียกซื้อ
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วนอกจากใบชาแล้ว ยังมีการนำผลผลิตด้านอื่นมาแปรรูปเป็นชาได้เช่นกัน และการส่งออกต่างประเทศนับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างมากสำหรับใบชาของเมืองไทย แต่การที่ผลักดันตลาดชาสมุนไพรไทยๆ ให้เบียดแทรกเข้าไปแข่งขันในตลาดชาสมุนไพรในตลาดโลกได้นั้นต้องอาศัยจุดเด่นที่แตกต่าง เป็นการสร้างโอกาส โดยต้องเป็นจุดเด่นที่ผู้บริโภคในต่างประเทศรับรู้และยอมรับ ซึ่งก็คือสรรพคุณของสมุนไพรไทย
การส่งออกเครื่องดื่มชาสมุนไพร
ปัจจุบันมีการส่งออกเครื่องดื่มสมุนไพรไปจำหน่ายที่สหรัฐฯ แล้ว แม้ว่ายังอยู่ในระยะเริ่มต้น และมูลค่าในการส่งออกยังไม่สูงมากนัก แต่ก็ถือว่าเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของคนไทยที่พัฒนาสินค้าที่มีอยู่แล้วให้สอดรับกับกระแสการบริโภคของตลาดโลก
ซึ่งเครื่องดื่มสมุนไพรที่ไปจำหน่ายที่สหรัฐฯ ปรากฏว่าได้รับการตอบรับด้วยดีจากลูกค้า นอกจากจะสะดวก รวดเร็ว แล้ว เครื่องดื่มสมุนไพรยังช่วยประหยัดเงินให้กับผู้บริโภคอีกด้วย โดยราคาเฉลี่ยกล่องละ 30 บาท มี 15 ซอง เท่ากับว่าเครื่องดื่มสมุนไพรมีราคาประมาณแก้วละ 2 บาท เท่านั้น
ประโยชน์ของชา
โดยปกติแล้วเราจะติดนิสัยที่ว่า ซื้อง่ายกว่าทำ ก็ถือว่าเป็นเรื่องจริง แต่ถ้าเป็นในเรื่องของชานั้นเราสามารถทำเอง เก็บไว้ทานได้ง่ายๆ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องซื้อชาสำเร็จรูปราคาแพงๆ เลย โดยวิธีการทำชาเก็บไว้ทานเองนั้นง่ายๆ เลย สิ่งแรกที่ต้องมี คือ ใบชาสด หรือวัสดุที่สามารถทำชาได้ ไม่ว่าจะเป็นดอกคำฝอย มะตูม จับเลี้ยง ชาใบหม่อน เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาทำเป็นชา รวมไปถึงเครื่องดื่มสมุนไพรที่เป็นชาได้เช่นกัน
โดยเริ่มจากนำใบชาล้างให้สะอาด จากนั้นให้นำมาเข้าเครื่องอบแห้ง ในกรณีที่ไม่อยากตากแดด แต่เครื่องอบแห้งหรือเป่าลมแห้งนั้นจะต้องมั่นใจว่าสะอาดด้วย ซึ่งเมื่อได้ใบชาอบแห้งมาแล้ว เราจะทำการป่นใบชาเป็นผง หรือ จะไม่ป่นก็ได้ อันนี้ก็แล้วแต่คนชอบ แต่สำหรับชานั้นก็ไม่ควรที่จะเก็บเกิน 6 เดือน เพราะอาจจะทำให้เสียคุณภาพและรสชาติ ที่สำคัญถ้าจะเก็บชาไว้ทานเองต้องมั่นใจชาที่เก็บนั้นแห้งสนิทจริงๆ เพราะว่าถ้าชาไม่แห้งสนิทจะทำให้เกิดเชื้อราตามมาได้ และถ้าเก็บไม่ถูกวิธีหรือไม่สะอาดก็จะทำให้ชานั้นเกิดมีสารสเตียรอยด์ตามมาได้
วิธีการรับประทานหลังจากทำชาเก็บไว้เองนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมีการต้มน้ำให้เดือด พอน้ำเดือดแล้วค่อยปิดไฟจากนั้นพักน้ำไว้ให้อุ่นประมาณหนึ่งค่อยใส่ชาลงไป โดยให้ใส่ชาประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ถ้าเป็นแบบผง ถ้าไม่ได้เป็นแบบผงให้ใส่ประมาณ 1 กำมือ และทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที ก็สามารถนำมาดื่มได้แล้ว ที่สำคัญควรทานให้หมดในทันทีหรือไม่ก็ภายใน 20 นาที เพราะว่าชาทุกชนิดนั้นจะมีสารแทนนินที่ทำให้เรานั้นนอนไม่หลับอยู่ จึงไม่ควรที่จะทิ้งชาไว้นานเกินไป นอกจากจะมีสารดังกล่าวแล้วยังทำให้รสชาติของชานั้นเปลี่ยนไปด้วย
ส่วนในการเก็บชานั้นไม่ควรเก็บชาที่เป็นยอดอ่อนเพื่อนำมาใช้ เพราะว่าคุณภาพและรสชาติจะไม่ค่อยดีมากนัก และควรเก็บชาในช่วงเช้าไม่เกินเที่ยง ส่วนดอกไม้นั้นก็สามารถนำมาทำเป็นชาได้เช่นกัน การดูแลรักษาต้นชา
แนวโน้มในอนาคต
ชานับได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรอีกหนึ่งชนิดของเมืองไทยเลยก็ว่าได้ อีกทั้งยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่ต้องยอมรับว่าเริ่มมีอิทธิพลในท้องตลาดเป็นอย่างมากเลยทีเดียว ทั้งในเรื่องของการปลูก แหล่งผลิต ผลผลิตที่ได้ ทำให้ชานั้นเป็น 1 ในผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพอันดับต้นๆ ของโลกเลยทีเดียว ซึ่งการปลูกชาในเมืองไทยนั้นก็ถือว่าเป็นแหล่งที่มีการปลูกอันดับต้นๆ ของโลก จึงทำให้คิดได้เลยว่าในอนาคตชาจะต้องเติบโตไปได้มากกว่าที่เป็นอยู่อย่างแน่นอน การดูแลรักษาต้นชา การดูแลรักษาต้นชา การดูแลรักษาต้นชา การดูแลรักษาต้นชา
เรื่องของการปลูกชานั้นนับว่าเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะแหล่งผลิตชาในเมืองไทย ต้องยอมรับว่าชานั้นเป็นพืชที่ชอบอากาศค่อนข้างเย็น แหล่งที่ปลูกส่วนใหญ่จึงอยู่ทางภาคเหนือ นอกจากนี้วิธีการปลูกชาในเนื้อหาครั้งนี้ก็ยังบอกถึงการปลูก การดูแล รวมไปถึงแหล่งตลาด ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องราวที่ลองได้อ่านดูแล้วจะเข้าใจเลยว่าทำไมชาจึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก การดูแลรักษาต้นชา การดูแลรักษาต้นชา การดูแลรักษาต้นชา
แหล่งข้อมูลอ้างอิง การดูแลรักษาต้นชา การดูแลรักษาต้นชา การดูแลรักษาต้นชา การดูแลรักษาต้นชา
https://thai.ac/news/show/122463,https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/tea/03.html,http://alangcity.blogspot.com/2012/11/blog-post_5.html,http://www.chafair.com/th/article/161/,https://hkm.hrdi.or.th/knowledge/detail/157,https://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=6593&s=tblplant,http://www.refresherthai.com/article/tea.ph, การดูแลรักษาต้นชา