นิตยสารได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณชวน พงษ์เผือก และคุณสี เทียนประทีป 2 เกษตรกรจาก ต.ท่าช้าง ครั้งแรกที่เข้ามาในสวนชะอมที่นี่ต้องยอมรับเลยว่า ต้นชะอมที่ถูกตัดออก และเพิ่มจะแตกยอดใหม่ออกมานั้น มองผิวเผินเหมือนกับว่าเขาเพิ่งทำการปลูกลงไปได้ไม่นานเท่านั้น
อีกทั้งยังจัดสรรปันส่วนสำหรับปลูกกล้วยอีกมุมหนึ่งของสวนที่ตอนนี้กำลังแข่งกันให้เครือกล้วยกันอย่างหนาตาทีเดียวพร้อมกับบ่อน้ำในแนวยาวที่ถูกขุดขึ้นเองอยู่ใจกลางพื้นที่ท่ามกลางต้นกล้วยเหล่านี้รายล้อมอยู่ถึงแม้ว่าจะใกล้กับแหล่งน้ำชลประทานก็ตาม
นอกจากนี้บนพื้นที่ปลูกชะอมทั้งหมดยังเต็มไปด้วยท่อน้ำต่อเป็นสายระบบ “น้ำสปริงเกลอร์” พื้นที่ที่ราบเรียบตรงนี้กลับไร้วี่แววของทุ่งนาโดยปริยาย แต่เป็นต้นชะอมเสียส่วนใหญ่ที่เจ้าของสวนยึดเป็นอาชีพไปแล้ว และไม่หันกลับไปทำนาเฉกเช่นแต่ก่อนที่เคยทำมา
คุณชวนเล่าว่าแต่ก่อนตัวเขาก็มีอาชีพทำนาเหมือนกันส่วนชะอมก็ปลูกไว้ที่บ้านและขยายขึ้นเรื่อยๆจนยึดเป็นอาชีพหลักไปเลยซึ่งตอนนี้มีอยู่กว่า 4 ไร่เข้าไปแล้ว ด้วยอาชีพที่ว่านี้สามารถทำให้เขาส่งลูกเรียนจนถึงทุกวันนี้ได้กว่า 20 ปีมาแล้ว “นามีหลายขั้นตอน และต้องทำใหม่ตลอดทุกปี แต่ชะอมปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บยอดได้ตลอด ไม่ต้องเหนื่อย ทำง่ายอีกต่างหาก”
ตรงกันข้ามกับคุณสีที่ปลูกไว้ติดบ้านเป็นอาชีพเสริมรองจากการทำนาแล้วเท่านั้นแต่เขาก็ปลูกไว้กว่า 2 งานเหมือนกัน แม้ว่าจะไม่มากเท่าคุณชวน เพราะต้องทุ่มเทกับการทำนามากกว่า ทั้งนี้ก็ยังสามารถสร้างรายได้ 2 ทาง
ชะอมชอบแล้งที่สุด
ทำให้ในหน้าร้อนผลผลิตจะมีมากกว่าฤดูกาลอื่นและให้ผลผลิตเร็วลุงชวนบอกว่าช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค. สามารถเว้น 2 วันเก็บได้เลย วันหนึ่งได้ยอดชะอมประมาณ 300-400 กำยังได้
ตรงกันข้ามกับช่วงหน้าฝนและหน้าหนาวที่ชะอมไม่ชอบต้องเว้นเป็นอาทิตย์กว่าจะเก็บผลผลิตอีกทีหนึ่งซึ่งในหน้าหนาวมักจะมีลมโกรกค่อนข้างเย็น ตรงนี้เป็นประเด็นสำคัญที่นอกจากจะทำให้ล่าช้าเป็นอาทิตย์แล้วกรณีนี้ยังทำให้ชะอมช็อกและต้องเลื่อนเวลาเก็บเกี่ยวออกไปอย่างเลี่ยงไม่ได้
คุณสีพูดเสริมอีกว่ายิ่งถ้าเป็นหน้าฝนจะเกิดอาการ “ยอดกรอบ” เป็นลักษณะที่ยอดมีอาการหงิกงอเฉพาะในหน้าฝน ซึ่งต้องดูแลเป็นพิเศษ
น้ำ ปุ๋ยบำรุงต้น
ส่วนมากแล้วคุณชวนจะใช้เป็นประเภทของปุ๋ยยูเรียมากว่า เพราะชะอมเป็นผักกินยอด การเลือกใช้ปุ๋ยจะต้องเป็นประเภทของการบำรุงเฉพาะส่วนที่มักจะเป็นตัวหน้าสูงกว่า
ปริมาณการให้ปุ๋ยในแต่ละช่วงฤดูก็ต้องแตกต่างกันไปเช่นกันในหน้าร้อนมักจะใส่ปุ๋ยน้อยหน่อยประมาณ 1 ครั้ง/เดือน อีกอย่างเป็นช่วงที่ชะอมชอบมากที่สุด สามารถเติบโตได้ดีอยู่แล้ว ซึ่งปริมาณการใส่ปุ๋ยต้องให้ตามลักษณะการเจริญของต้น ไม่เน้นให้ใส่มากจนเกินไปประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ/ต้นก็พอ หลังจากเก็บยอดแล้วจะทำการรดน้ำทันที นับเป็น 3 วัน/ครั้ง
ในฤดูหนาวการเจริญเติบโตของต้นและยอดจะช้ากว่าหน้าร้อนมากดังนั้นควรจะใส่ปุ๋ยบ่อยมากขึ้นเพื่อเร่งต้นเร่งยอดในช่วงนี้ส่วนการให้น้ำยังคงนับ 3 วันให้ครั้งเหมือนเดิม แต่ต้องรดน้ำ 2 รอบก่อนจะได้เก็บยอดอีกครั้ง อย่างไรเสียควรระวังเรื่องการให้น้ำ เพราะหากรดน้ำมาก น้ำแฉะ หรือขังในพื้นที่ จะเกิดความเสี่ยงเรื่องต้นเน่าตายของชะอมได้
หนอนมากในหน้าฝน
คุณสีบอกว่าหน้าฝนต้องระวังเป็นพิเศษเรื่องหนอนเข้ามากัดกินที่ยอดค่อนข้างเยอะมากจะสังเกตการเข้าทำลายจากทางยอดอ่อนเป็นหลักที่ต้องบอกเลยว่า “หนอนเป็นศัตรูที่ร้ายที่สุด” สำหรับชะอม
คุณชวนกล่าวอย่างอ่อนใจว่า “ตรงนี้ก็ต้องพึ่งพาเรื่องสารกำจัดศัตรูพืชที่หาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายเคมีภัณฑ์ทั่วไป แต่จะพยายามใช้ไม่มากนัก หากไม่เกิดการระบาดจริงจะพยายามหลีกเลี่ยงเสมอ เพราะเราเองก็เป็นห่วงคนกินเหมือนกัน”
tags: การปลูกชะอม ตัดต้น สร้างรายได้ทั้งปี (ตอนที่ 1) ชะอม ปลูกชะอม ชะอมไร้หนาม ปลูกชะอมขาย ต้นชะอม
[wpdevart_like_box profile_id=”1519009868335693″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]