การปลูกชา”เมี่ยง” เมืองน่าน อยู่กับป่าสร้างรายได้ทั้งชุมชน
วิธีการรักษาป่าให้คงอยู่อาจมีหลากหลายวิธีแล้วแต่คนในชุมชนนั้นๆจะเลือกใช้ สำหรับ ต.เรือง อ.เมือง จ.น่าน เลือกที่จะสร้างรายได้จากผืนป่ากว่าหลายหมื่นไร่ในรูปเชิงอิงอาศัย ไม่มีการจัดไม้ทำลายป่า อีกทั้งยังเป็นกำลังสำคัญในการดูแลต้นไม้จากการถูกทำลายกรณีต่างๆที่เกิดจากคน หรือภัยธรรมชาติก็ตาม
ลัดเลาะมาไกลถึงจังหวัดน่าน กับบางคนที่ยังไม่เคยเข้ามาอาจคิดว่านี่เป็นจังหวัดที่อยู่สุดทางอีกเส้นหนึ่ง เนื่องจากอยู่ติดกับชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน พื้นที่ที่มีอุทยานแห่งชาติอยู่หลายแห่ง จึงยังทำให้เมืองน่านเต็มไปด้วยต้นไม้ แหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ตลอดฤดูกาล
จากเมี่ยง สู่ชาชื่อดังของน่าน
“เมี่ยง” จึงถูกยกมาเป็นพืชสร้างรายได้กลางป่ากว่า 5,000 ไร่ในเชิง “ป่าดูแลเมี่ยง เมี่ยงดูแลป่า” อย่างสิ้นเชิง กลายเป็น “ ชาเมี่ยงออแกนิค ” อีกชาที่ขึ้นของจังหวัดน่าน
คุณ บุญทวี ธนไชย ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผลิตภัณฑ์ชาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ศรีนาป่าน-ตาแวน ย้อนเล่าเรื่องราวให้ทีมงานฟังว่า แต่เดิมชุมชนมี การปลูกชา เมี่ยงเป็นกลุ่มไทยลื้อที่อพยพมาจาก สิบสองปันนา สิบสองจุไท และได้นำ เมล็ดเมี่ยง และวิถี การปลูกชา ไว้ในป่ามานาน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม “ชาอัสสัม”
แต่ก่อนมักนำเมี่ยงมาอมมากกว่า แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปจากความนิยมอมเมี่ยงก็ต้องผันมาอมลูกอมแทนมากขึ้น เมี่ยงจากตำบลเรืองเริ่ม “ สั่นคลอน ” เมื่อราคาลดลง ข้าว และข้าวโพดจึงเป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกที่ผู้คนหันเหไปหมด
ผู้ใหญ่บ้านบุญทวีในสมัยนั้นเขาเริ่มคิดหลายด้านที่อยากจะสืบสานเมี่ยงดั้งเดิมให้คงอยู่ และอยู่ในรูปที่สามารถทานกันได้ สร้างเงิน เป็นอาชีพแก่คนในชุมชน “ ตอนนั้นยังไม่รู้จักชาด้วยซ้ำไป ” นับว่าเป็นตัวตั้งตัวตีเลยก็ว่าได้
ดูแล หรือทำลาย…ป่า??
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นเกี่ยวกับการดูแลต้นเมี่ยงพร้อมกับผืนป่า เนื่องจากว่าในหน้าร้อนทางภาคเหนือของไทยมักเกิดไฟป่าลุกลามไปทั่วอยู่เสมอ ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นเมี่ยงที่มีการปลูกชา ไปทั่วป่า นโยบายและวิธีการดูแลป่าให้สมบูรณ์ตลอดทั้งปี หลีกเลี่ยงการลุกลามของไฟป่าในพื้นที่
“ทุกปีชาวบ้านที่มีต้นเมี่ยงจะเข้าไปทำแนวกันไปประมาณ 20 กม. / ปี ทั้งที่นี่เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ เพียงแต่ต้นเมี่ยงที่แต่ละคนมีอยู่เกิดจากการนำ การปลูกชา ไว้ก่อนของบรรพบุรุษอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าเพิ่งเข้าไปบุกเบิกแต่อย่างใด ดังนั้นในพื้นที่กว่า 5,000 ไร่จึงมีเจ้าของพื้นที่ เจ้าของต้นอย่างชัดเจน ไม่ต้องแย่งพื้นที่กัน และไม่ทำลายป่าด้วย ”
จากวิถีของชุมชนต่อการดูแลป่าจึงส่งผลเป็นแรงผลักดัน ส่งเสริมการผลิตในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังให้งบสนับสนุนการทำแนวกันไฟทุกปี
“ ไม่ต้องมีงบชาวบ้านก็เต็มใจจะทำอยู่ดี เพื่อรักษาผืนป่า แหล่งต้นน้ำที่คอยประทังชีวิตของคนเมืองน่านกว่า 6 สาย”
การปลูกชา ด้วยเมล็ดเมี่ยง
“ ต้นเมี่ยงที่นี่บางคนยังไม่เคยปลูกเลย .. ” ส่วนมากล้วนเป็นต้นเมี่ยงเก่าแก่ที่ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นคนสอน การปลูกชา มาก่อนนมนานแล้ว ดังนั้นคนที่นี่จึงมีหน้าที่เพียงเก็บผลผลิตมาแปรเป็นรายได้เท่านั้น ซึ่งนั่นก็มีจำนวนเพียงพอต่อการเก็บเกี่ยว และการจำหน่าย ซึ่งคนที่ต้องการปลูกเพิ่มเติมก็สามารถทำได้เช่นกัน หลักสำคัญคือ “ ตามธรรมชาติ ”
เริ่มจากการเก็บเมล็ดในช่วงประมาณเดือน ต.ค. กับอุปกรณ์ที่ใช้เพียง “เสียม” ขนาดเล็ก ขุดหลุดเล็กน้อยก็หยอดเมล็ดลงไป ตามด้วยกลบดินทับ สำหรับเมล็ดพืชชนิดอื่นอาจต้องแช่สารต่างๆนาๆ ไม่ว่าจะกันเชื้อรา หรือฮอร์โมนเร่งรากก็ตาม แต่เมล็ดเมี่ยงที่ใช้อาจไม่จำเป็นเลย
คุณบุญทวีแนะว่า หลังจากหยอดเมล็ดแล้ว ปีที่ 1 และ 2 ยังต้องปล่อยต้นไปก่อนไม่ต้องสนใจปล่อยให้ต้นขึ้นมาเองตามธรรมชาติ ย่างเข้าปีที่ 3 ต้นจะสูงประมาณ 1 เมตรกว่าจึงจะได้เวลาไดหญ้ารอบโคนต้นทั้งแปลง ที่ต้องปล่อยไว้ก่อน เนื่องจากเกษตรกรนั้นมีหลากหลายอาชีพ ตรงนี้จึงไม่จำเป็นสำหรับการดูแลมากนักนั่นเอง
“ ไม่ใส่ปุ๋ย หรือสารเคมีใดๆทั้งสิ้น ” นี่แหละ ออแกนิค.. !!! เป็นวิธีการปล่อยต้นตามธรรมชาติ เพื่อรอเก็บผลผลิตเท่านั้น สำหรับพื้นที่ที่มีความลาดชันควรขุดรองรอบต้นในรัศมี 50 ซม.
ขั้นตอนการตัดแต่งกิ่ง
ช่วงพักต้นมักเหมาะสมต่อการตัดแต่งกิ่ง ซึ่งต้นเมี่ยงหลังจากที่เก็บผลผลิตออกแล้วจะใช้ระยะเวลาประมาณ 4 เดือน ตั้งแต่เดือน ม.ค.-เม.ย. เมื่อฝนแรกตกลงมาในเดือน พ.ค. กิ่งก้านที่ตัดออกก็ถึงกำหนดแตกยอด แตกใบออกทันที และจะเก็บตังแต่เดือน พ.ค.-ธ.ค.
หากจะให้ตรงตามหลักการจริงๆเขาอธิบายว่า พอต้นขึ้นมาแล้วประมาณ 25 ซม.ควรจัดการตัดยอดทิ้งทันที จากนั้นจึงจะปล่อยต้นให้แตกกิ่งก้านสาขาออกมาอีกรอบ ซึ่งหลังจากนี้จะทำการตัดกิ่งไปเรื่อยๆ
แต่ส่วนมากต้นเมี่ยงของที่นี่อายุมากการตัดแต่งต้นตั้งแต่เล็กจึงเป็นเรื่องที่ข้ามไปได้ เพียงแต่เขาต้องพยายามตัดกิ่งให้เป็นทรงพุ่ม ทั้งนี้ต้องดูที่สภาพต้นเป็นหลักก่อน โดยวิธีการตัดกิ่งยอดออกทั้งต้น
สิ่งที่ต้องระหว่างในช่วงนี้คือ ควรระวังไม่ให้กิ่งที่ตัดเป็นรอยฉีกขาด หรือแตกได้ เนื่องจากจะส่งผลต่อการเน่าของต้นนานกว่า 2 เดือนจึงจะหายไปตามธรรมชาติได้
ทั้งนี้ด้านความรู้ต่างๆที่ชุมชนได้รับมาจากการสนับสนุนจากศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเรือง หรือที่เขาเรียกว่าเกษตรตำบลนั่นเอง
ชาเขียว กับชาดำ
เป็นตัวเอกของชาเมี่ยง ที่ทีพนายังมีชาปรุงแต่กลิ่นเลียนแบบผลไม้ชนิดต่างๆ เช่น สตอเบอรี่ กีวี่ แคนตาลูป บลูเบอรี่ ลิ้นจี่ เป็นต้น ตามความชอบของผู้บริโภคที่มีหลากหลายกลุ่ม อย่างไรก็ตามความหอมจากชาเมี่ยงตามธรรมชาติก็ยังคงได้รับความนิยมสูง ผลผลิตภัณฑ์จึงมีทั้งแบบพร้อมชง และสำหรับนักชงชาที่สามารถชงด้วยตัวเองได้
โดย “ชาเขียว” และ “ชาดำ” จะเป็นสูตรดั้งเดิมต้นตำหรับต้องเป็นชาที่ได้จากใบชาคุณภาพ “1 ยอด 2 ใบ” ใบที่ 1 คือกลิ่น ใบที่ 2 คือสี แลใบที่ 3 คือรสชาติ จึงจะเป็นยอดชามาตรฐานที่คุณบุญทวีเน้นย้ำ เพราะหากว่าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วเมื่อได้เข้าสู่กระบวนการผลิตรสชาติก็อาจเปลี่ยนไปได้ เป็นขั้นตอนที่ละเอียดอ่อนของวัตถุดิบที่เรียกว่า ชา
คุณบุญทวีอธิบายต่อว่า กระบวนการผลิตชาทั้ง 2 ชนิดนั้นค่อนข้างจะแตกต่างกันในหลายกระบวนการพอสมควร โดยการผลิตชาเขียวจะใช้เครื่องคั่วขนาดใหญ่ที่สามารถคั่วได้มากถึง 30 กก.สด/ครั้ง คั่วให้สุก จึงจะนำไปนวดในเครื่องนวด เพื่อให้สารอาหารที่มีประโยชน์ทั้งภายใน และภายนอกใบผสม คลุกเคล้า และยังทำให้ได้รสชาติมากยิ่งขึ้นด้วย ก่อนที่จะนำไปอบ หรือตากให้แห้งกลายเป็นชาเขียวพร้อมนำไปชง
ส่วนชาดำจะต้องนำมานวดก่อนจึงจะนำไปหมักไว้ในกระด้ง ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชม. สีของใบชาจะเปลี่ยนเป็นสีแดง แล้วนำมาอบ หรือคั่ว ประมาณ 1 ชม. ไม่ให้ความชื้นเกิน 5% ตรงนี้การเก็บชาจะสามารถเก็บไว้ได้นาน การทำชาดำนั้นจะไม่นำไปตากให้โดนแสงแดด ซึ่งต่างจากขาเขียว
ตลาดชาเมี่ยง ในอนาคต
เนื่องด้วยลูกค้าจากทั้งอเมริกา จีน และใต้หวัน อีกทั้งยังภายในประเทศต่างหลั่งไหลเข้ามาหาซื้อกันอย่างล้นหลามตลอดทั้งปี ถึงแม้ว่าตอนนี้จะวางจำหน่ายเพียงแค่ในร้านภูฟ้าเท่านั้น ซึ่งมีสาขาทั่วประเทศกว่า 17 แห่ง แต่ด้วยปริมาณที่ส่งอย่างต่อเนื่องการสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นทุกปีที่เขาการันตีไว้ว่า อนาคตการเติบโตของตลาดจะพุ่งสูงขึ้นจากเดิมไปอีก การเติบโตของกลุ่มก็จะสูงขึ้นตาม ซึ่งไม่ได้หยุดอยู่แค่นี้อย่างแน่นอน สำหรับการเตรียมรับตลาดจากต่างประเทศ และอาเซียนที่ต้องเข้ามาเป็นส่วนที่ต้องเพิ่มเติมหลายๆด้านต่อไป
ที่สำคัญคือ ธกส. กำลังเข้ามาช่วยเรื่อง “ ออแกนิคไทยแลนด์ ” โดยการโฟกัสแต่ละแปลง และทำการออกโฉนดต้นเมี่ยงแต่ละต้น ซึ่งเขาบอกว่าไม่ใช่เอกสารสิทธิ เพียงแต่ใช้สำหรับการเข้าหาทางอินเตอร์เน็ต เช่น ต้นไหน มาจากแปลงไหน เป็นต้น
อีกทั้ง สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ องค์การมหาชน (สพภ.) กับมหาวิทยาลัยที่อยู่ในเครือข่าย ในการพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ในการผลิตชาสำเร็จรูปพร้อมชงในอนาคต และแบบบรรจุเป็นขวดน้ำชา ที่ทางหน่วยงานได้วางแผนสนับสนุนเต็มที่
ปัญหามากมายกว่าจะได้ … ชาเมี่ยง
การเข้าศึกษาดูงานจาก สุวิรุฬห์ชาไทย ซึ่งเป็นแหล่งชาขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย เมื่อปี 2546 เขาก็ต้องพบกับปัญหาใหญ่เหมือน “ ก้างปลา ” ขนาดใหญ่ติดอยู่ที่คอก็ว่าได้ เมื่อเทคโนโลยีการผลิตชาชั้นสูงราคาร่วมแสนโลดแล่นไปทั่วแปลงชา
ด้วยที่เป็นคนน้อยประสบการณ์ และลักษณะ การปลูกชา แบบแปลงกับปลูกตามป่าเขาเริ่มขัดแย้งกันอยู่ ทั้งนี้ยังเข้าศึกษาดูงานเรื่อยๆทั้งศูนย์ภูฟ้าพัฒนา อ.บ่อเกลือ จ.น่าน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และที่ใบชาโชคจำเริญ
จากนั้นเมื่อปี 2546 – 2549 การตั้งกลุ่มจึงเริ่มขึ้น โดยอาศัยจากความรู้ที่ได้รับในแหล่งศึกษาการผลิตชาต่างๆ มาผสมผสานกันผิดบ้าง ถูกบ้าง อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มยังไม่ดีขึ้นนัก จนกระทั่งมีนักธุรกิจชาวจีนเข้ามาลงทุนผลิตชาเมี่ยงในปี 2550 เครื่องจักรที่จำเป็นต่อการผลผลิตชาจึงถูกหยิบยกมายันชุมชน แต่เมื่อปัญหาการผลิตที่ยังน้อยบวกกับค่ารับซื้อที่สูงพอควร โครงการจึงชะงักไปเหลือไว้เพียงเครื่องจักร และสูตรชาเขียวดั้งเดิมไว้ให้คุณบุญทวีเท่านั้น
จากสมาชิกที่ตื่นตัวในช่วงแรกกว่า 100 คน ต่างกระจัดกระจายไปประกอบอาชีพอื่นๆ แต่กลุ่มก็ยังดำเนินมาเรื่อยๆด้วยความร่วมแรง ร่วมใจในการพัฒนาชาอัสสัมทั้งหมด 28 คน แม้ว่าจะลดน้อยถอยลงไปมาก แต่กลุ่มที่ยังอยู่คือคนที่มีประสิทธิภาพที่ “ สตาร์ทเครื่อง ” พร้อมลุยอยู่เสมอแล้ว
ชุมชนที่นี่ได้เปรียบอยู่ตรงที่ว่า เขาไม่ได้เริ่มต้านจากการนับ 1 มาตั้งแต่ต้น ฟังดูผิวเผินแล้วอาจต้องทำให้แปลกใจนิดหน่อย เพื่อฟังจากที่คุณบุญทวีพูด เพราะที่นี่มีความพร้อมทางด้านเครื่องจักรสำหรับกระบวนการแปรรูปชาอยู่แล้ว ดังนั้นเขาจึงไม่ต้องเริ่มมาจากจุดนี้แต่อย่างใด เพียงแต่ต้องจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาอีกรอบ และผลิตชาออกสูร่ตลาดเท่านั้น
ชาจากป่า..เข้าร้านภูฟ้า
สืบเนื่องจากปี 2553 อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน คุณสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ ได้ถวายรายงานต่อองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ถึงชาเมี่ยงออแกนิคของจังหวัดน่าน เป็นเหตุให้ผู้เชี่ยวชาด้านชาอัสสัมจากประเทศอินเดียเข้ามาศึกษาอย่างจริงจัง และนั่นก็เป็นจุดพลิกผันสู่โครงการแลกเปลี่ยนระหว่างไทย-อินเดียตั้งแต่ปี 2553-ปัจจุบัน
คุณบุญทวีเล่าว่า เมื่อปี 2555 ชาเมี่ยงจึงได้กลายเป็นสินค้าตามเสด็จ เริ่มมีการวางจำหน่ายในร้านภูฟ้าตามสาขาต่างๆ และยังได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มขึ้นมาอีก
“ ร้านภูฟ้า ” เป็นแหล่งส่งเสริม จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากโครงการพัฒนาต่างๆ เป็นหนึ่งในโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เป็นโครงการส่งเสริมอาชีพของประชาชนในถิ่นทุรกันดาร นอกเหนือจากอาชีพเกษตรกรรม
ดังนั้นจึงถือว่าเป็นเครื่องการันตีของผลิตภัณฑ์ที่เขาภาคภูมิใจอย่างมาก เนื่องจากว่าสินค้าที่จำหน่ายในร้านภูฟ้าได้นั้นย่อมเป็นสินค้าคุณภาพที่ถูกเลือก และคัดสรรออกมาเป็นอย่างดีนั่นเอง ด้วยยอดส่งจำหน่ายที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี จากปีแรก 2,000 กว่ากล่อง กระทั่งปีที่ผ่านมาส่งจำหน่ายไปกว่า 8,000 กล่อง . . !!!!
ได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรต่างๆ
ความโดดเด่นที่เป็นพืชไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และยังมีสารโพลีฟีนอลที่สูงกว่าชาทั่วไป จากแหล่ง การปลูกชา ต่าง ๆ ดึงดูดให้หลายหน่ายงานตื่นตัวช่วยกันสนับสนุนในหลายๆฝ่ายจนเป็นชาขึ้นชื่อ เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างทั้งใน และต่างประเทศ
คุณบุญทวีบอกว่า กว่ากลุ่มจะประสบความสำเร็จได้ในทุกวันนี้ ย่อมเกิดจากความช่วยเหลือทางหน่ายงานต่างๆ ที่สนับสนุนจะมีทั้งกรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองน่าน สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน ที่ส่งเสริม ให้ความรู้เรื่องการตัดแต่งกิ่ง ต้นเมี่ยง เพื่อเพิ่มผลผลิต องค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน เทศบาลเมืองน่าน
อำเภอเมืองน่านที่ทุ่มงบบูรณาการในลักษณะของการกู้ยืมโดยไม่มีดอกเบี้ย ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเมืองน่าน ( กศน. ) สำนักงานส่งเสริมการเกษตรบนพื้นที่สูงจังหวัดพะเยาที่ช่วยออกแบบ “ โลโก้ ” ผลิตภัณฑ์ชา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( ททท. ) อันลิมิตเต็ดไทยแลนด์ ( UnLtd Thailand )
เป็นกองทุนให้เปล่าเพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่ม และกองทุนสิ่งแวดล้อมร่วมกับมูลนิธิฮักเมืองน่านในการเรียบเรียงเขียนประวัติศาสตร์ชุมชน และต้นเมี่ยงที่มีอายุประมาณ 500 ปี เป็นต้น
เป็นเพียงอีกตัวอย่างที่แสดงถึงความร่วมมือจากองค์กร และหน่ายงานต่างๆของจังหวัดน่านได้เป็นอย่างดี
สิทธิสมาชิก
คุณบุญทวี ชี้แจงรายระเอียดเกี่ยวกับสัดส่วนของสมาชิกกลุ่มที่จะได้รับการปันผลในแต่ละปีไว้ว่าด้านการปันผลแน่นอนว่าต้องเป็นไปตามหุ้นของสมาชิกปี 2554 มีผู้ร่วมลงหุ้นทั้งหมด 120,000 บาท และปีที่ผ่านมาเพิ่มจากเดิมขึ้นมาอีกประมาณกว่า 160,000 บาท แสดงถึงตัวเลขจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้น ความเชื่อมั่นของชุมชนที่เริ่มหันกลับมาอีกครั้ง
อัตราการจัดแจง ค่าเฉลี่ยคืนของสมาชิกคือ ปันผลตามหุ้น 30% คณะกรรมการของกลุ่ม 10% เฉลี่ยคืนอีก 5% และประธานกลุ่มอีก 5% และอีก 50% เป็นทุนสำรองของกลุ่มในโอกาสต่างๆ เห็นได้ชัดเจนว่า การจัดสรรปันส่วนของกลุ่มเป็นไปอย่างมีระบบที่เด่นชัด
ทั้งนี้เจายังบอกอีกว่า การรับซื้อผลผลิตเมี่ยงนั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะกลุ่มคนเท่านั้นที่สามารถนำมาจำหน่ายได้ แต่ยังจะรับซื้อของทุกคนที่มีผลผลิตด้วย เพียงแต่รูปแบบลักษณะการเก็บชาต้องเป็นไปตามที่กลุ่มได้กำหนดไว้ เพราะนั่นคือมาตรฐานการเก็บชา ทั้งที่ราคาการรับซื้อจะเท่าเทียมกันหมดคือ 23 บาท/กก.!!!
“การรับผลผลิตจากชุมชนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของกลุ่มนั้นจะเป็นลักษณะของการค้าแบบผูกขาดอยู่แค่นั้น แต่สมาชิกแน่นอนว่าจะได้เป็นแบบเฉลี่ยคือตามหุ้น ซึ่งปีนี้มีแนวโน้มการเพิ่มจำนวนของสมาชิกเข้ามาอีก”
ด้านการรับสมาชิกเข้ามาเขาชี้แจงว่า ไม่จำเป็นเสมอไปที่ต้องมีทุนมาก่อน เพราะประเด็นสำคัญของการรับนั้นจะเป็นในส่วนวัตถุดิบที่มีอยู่จริงก็สามารถเข้ากลุ่มได้ การปฏิบัติที่ต้องมีวินัย โดยเฉพาะการเก็บ และการตัดแต่งกิ่งของต้นตามช่วงจังหวะในแต่ละปีก็เพียงพอแล้ว อย่างไรก็ตามก็ต้องผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการกลุ่มก่อนเสมอ
ขอขอบคุณ
คุณบุญทวี ทะนันไชย 139 ม.1 ต.เรือง อ.เมือง จ.น่าน 55000 โทร.08-7985-7673