หากตั้งข้อสังเกตผักที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค มะเขือเทศคงเป็นหนึ่งในผักที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ต้องมีติดอันดับได้อย่างแน่นอน ด้วยรูปร่างและสีสันของมะเขือเทศที่ชวนให้น่าลิ้มลอง และดึงดูด อีกทั้งสรรพคุณที่มีในตัวนั้นก็มากพอที่จะช่วยให้ผู้คนหันมารับประทานได้อย่างไม่ยากเลยทีเดียว ถือได้ว่าเป็นพืชอีก 1 ชนิด ที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก การปลูกมะเขือเทศ
ซึ่งเราจะมาทำความรู้จักกับมะเขือเทศกันว่าทำไมพืชชนิดนี้ถึงเป็นที่นิยม และได้รับการบริโภคเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ยิ่งตลาดเรื่องของสุขภาพกำลังมา มะเขือเทศถือได้ว่าเป็นผักที่ได้รับความนิยมไม่น้อยหน้าพืชชนิดอื่นๆ เลยทีเดียว
จัดได้ว่าเป็นพืชที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสลัดผัก หรือส้มตำ หรืออาหารประเภทต่างๆ ล้วนแล้วแต่จะต้องมีมะเขือเทศเป็นส่วนประกอบในอาหาร หรือไม่ก็ประดับบนจานอาหารเป็นแน่ อีกทั้งยังเป็นพืชที่มีสีสันชวนให้น่ารับประทาน จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามะเขือเทศนั้นเป็นพืชที่ยังครองใจใครหลายๆ คนเลยทีเดียว
นอกจากนี้ในตัวมะเขือเทศยังมีวิตามินซีที่ค่อนข้างสูง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างเกราะป้องกันหวัดได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงยังช่วยให้ผิวพรรณดูสดใสมากยิ่งขึ้นด้วย นี่จึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มะเขือเทศยังคงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเลยทีเดียว อีกทั้งปัจจุบันก็มีการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น จึงทำให้มะเขือเทศกลายเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างเลี่ยงไม่ได้เลย
การปลูกมะเขือเทศ
การปลูกมะเขือเทศนั้นถือว่าไม่ได้เป็นเรื่องที่ยากมากเท่าไหร่นัก ถ้าการเตรียมตัวก่อนปลูกรู้จักใส่ใจและศึกษาวิธีการปลูกดูแลต่างๆ มาเป็นอย่างดี ก็ถือว่าเป็นเรื่องง่าย อีกทั้งการปลูกมะเขือเทศยังมีวิธีการปลูกที่หลากหลาย และตามความรู้ที่ได้รู้มา นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีอีกหลากหลายรูปแบบ และหลายสายพันธุ์ ที่นิยมนำมาใช้ ทั้งอาหารคาว อาหารเพื่อสุขภาพ อีกทั้งเทรนด์การรักษาสุขภาพก็กำลังมา ทำให้มะเขือเทศกลายเป็นผักที่ได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
มะเขือเทศถือว่าเป็นผักอีกหนึ่งชนิดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก อีกทั้งมีการผลิตที่สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกเลยก็ว่าได้ ซึ่งมะเขือเทศก็ถือได้ว่าเป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งเช่นกัน มะเขือเทศนั้นถือว่าเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุสั้น โดยมีอายุเฉลี่ยประมาณ 1 ปี เท่านั้น โดยการเติบโตนั้นจะเติบโตเป็นพุ่ม และมีขนอ่อนเพื่อปกคลุมใบ ตัวผลนั้นอาจจะมีได้หลากหลายลักษณะแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นทรงกลม ทรงรี ทรงแบน ผิวด้านนอกจะมีลักษณะมันวาว จึงทำให้ดูสวยงาม และเป็นที่น่าดึงดูดของผู้บริโภคได้
ถ้าในกรณีที่ผลยังดิบอยู่ ตัวผลจะมีลักษณะเป็นสีเขียว หรือเขียวอมเทา แต่ถ้าสุกแล้วก็จะเป็นสีเหลือง แดง หรือส้ม ตามแต่ละสายพันธุ์ที่ปลูก ทั้งนี้ภายในของมะเขือเทศนั้นจะมีรสชาติเปรี้ยว และมีความฉ่ำน้ำ มีเมล็ดจำนวนมาก ซึ่งมะเขือเทศเองก็มีหลากหลายสายพันธุ์ และยังสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายอีกด้วย จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมมะเขือเทศถึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก
สายพันธุ์มะเขือเทศ อะไรบ้างที่น่าสนใจ
ในเมืองไทยนั้นมีการแบ่งมะเขือเทศ ออกเป็น 2 ประเภท คือ พันธุ์ที่เกิดจากการเติบโตของลำต้น และพันธุ์ที่เกิดจากช่อดอก ซึ่งจะมีการแบ่งการใช้งานที่แตกต่างกัน หรือนำมาบริโภคสดได้
การแบ่งพันธุ์มะเขือเทศนั้นจะมีการแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
- พันธุ์พุ่ม หรือพันธุ์ที่ไม่ทอดยอด ซึ่งพันธุ์นี้จะมีลักษณะพันธุ์เป็นพุ่ม ช่อดอกเกิดได้ทุกข้อของลำต้น และส่วนปลายนั้นจะเป็นช่อดอกแทน ซึ่งมะเขือเทศสายพันธุ์นี้จะมีการออกดอกในเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งการออกดอกเวลาใกล้กันนั้นก็ทำให้การเก็บเกี่ยวนั้นง่ายขึ้น
- พันธุ์เลื้อย หรือพันธุ์ทอดยอด มีลักษณะลำต้นเลื้อย จะไม่มีดอกที่ปลายยอด โดยปกติแล้วต้นมะเขือเทศพันธุ์นี้ จะทอดยอดออกไปเรื่อยๆ ยกเว้นสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมเท่านั้นจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต โดยช่อดอกนั้นจะเกิดทุก 3 ข้อ แต่การปลูกมะเขือพันธุ์นี้อาจจะมีการใช้ไม้มาช่วยในการพยุง หรือปักค้างไว้ เพื่อช่วยให้มะเขือเทศมีผลผลิตที่ดีขึ้น ข้อดี คือ ไม่เปื้อนดิน และไม่ถูกความชื้นทำลายได้ง่าย แต่ข้อเสีย คือ อาจจะมีการจ้างแรงงานเพิ่ม และต้องลงทุนที่สูง
การบริโภคมะเขือเทศ
ซึ่งมะเขือเทศในเมืองไทยนั้นจะมีการแบ่งการใช้ประโยชน์ออกไป เป็น 2 ประเภท คือ บริโภคสด และนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยแบ่งได้ดังนี้
–มะเขือเทศที่มีการนำมาบริโภคสด มะเขือเทศที่นำมาบริโภคสดนี้จะมีการแบ่งเป็นลูกเล็กและใหญ่ ซึ่งผลขนาดเล็กนั้นจะได้รับความนิยมมากกว่า เพราะสามารถทานได้ง่าย ซึ่งพันธุ์ที่สามารถรับประทานสดได้ ได้แก่ พันธุ์สีดา พันธุ์สีดา มก. พันธุ์สีดาห้างฉัตร พันธุ์เอสวีอาร์ดีซี-4 พันธุ์แอล 22 ซึ่งสายพันธุ์ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สามารถรับประทานสดได้ในทันที แต่ก่อนรับประทานอาจจะต้องล้างทำความสะอาดเสียก่อน เพื่อความสะอาด และปลอดภัยในการบริโภค
–มะเขือเทศที่นำส่งเข้าโรงงานเพื่อทำการแปรรูป มะเขือเทศพันธุ์นี้ส่วนใหญ่แล้วจะมีการออกช่อดอกที่พร้อมๆ กัน ขั้วผลจะสุกแดงจัดตลอดผล และไม่แข็ง ผลจะแน่นและแข็ง มีเปลือกหนาและเหนียว เหมาะแก่การขนส่งได้เป็นอย่างดี และสามารถเก็บไว้ได้นาน ซึ่งมีหลายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ มข. 0-2 พันธุ์คิงคอง พันธุ์ซานมาซาโน X คาลเจ เป็นต้น ซึ่งพันธุ์ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นสายพันธุ์ที่นิยมนำไปส่งที่โรงงานแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย ที่สำคัญอาจจะต้านทานโรคได้ดีกว่าพันธุ์ที่สามารถทานสดได้อีกด้วย
สภาพพื้นที่ปลูกมะเขือเทศ
ในการปลูกมะเขือนั้น ตามหลักการปลูกทั่วไปแล้วไม่ควรปลูกซ้ำในสภาพดินที่เคยมีการปลูกพืชชนิดอื่นๆ หรือปลูกมะเขือเทศมาก่อนแล้ว เนื่องจากว่ามะเขือเทศเป็นพืชที่เสี่ยงต่อการติดโรคได้ง่าย ถ้าเกิดว่าปลูกในดินที่มีการปลูกพืชอื่นๆ มาก่อน ก็อาจจะทำให้เกิดการติดโรคต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคโคนเน่าที่อาจจะสะสมอยู่ในดิน ซึ่งถ้าเราปลูกมะเขือเทศใหม่ในดินเดิมก็อาจจะมีความเสี่ยงในการติดโรคต่างๆ ได้นั่นเอง
การปลูกมะเขือเทศ
นอกจากนี้ การปลูกมะเขือเทศ นั้น ก่อนจะเริ่มปลูกเลยเราต้องทำการศึกษารายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับตัวมะเขือเทศก่อนว่ามีขั้นตอนการปลูกอย่างไร ดินที่เหมาะสมกับ การปลูกมะเขือเทศ เป็นแบบไหน รวมไปถึงการดูแล ไม่ว่าจะเรื่องน้ำ หรือปุ๋ย เราก็ต้องใส่ใจในรายละเอียดต่างๆ ให้ดี เพราะว่ามะเขือเทศเป็นพืชที่เสี่ยงต่อการติดโรคได้ง่าย จึงไม่ควรปลูกแบบปล่อยหรือละเลย เรามาดูกันดีกว่าว่า การปลูกมะเขือเทศ นั้นมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ และพร้อมที่จะส่งออกสู่ตลาดพืชผล
สภาพดินที่เหมาะสมกับการปลูกมะเขือเทศ
ในสภาพดินที่เหมาะสมกับ การปลูกมะเขือเทศ นั้นควรจะเป็นดินที่มีความร่วนซุย หรือเป็นดินร่วนปนทราย ที่มีอินทรียวัตถุสูง และการระบายน้ำควรทำได้ดี ในส่วนของความเป็นกรดและด่างของดินนั้น ค่าที่เหมาะสมกับดิน คือ 4.5-6.8 ซึ่งเป็นค่าที่เหมาะสมกับการปลูกพืชมากที่สุด เพราะว่าถ้าดินมีค่าความเป็นกรด หรือด่าง มากเกินไป จะทำให้ดินนั้นมีการขาดธาตุอาหารบางชนิดได้ หรือไม่ก็ทำให้ธาตุอาหารบางชนิดละลายออกมามากจนเกินไป หรือเกินกำหนดที่พืชอาจจะต้องการนำไปใช้ จนทำให้เป็นพิษต่อพืชที่ปลูกได้นั่นเอง
ซึ่งอย่างที่บอกว่าการเตรียมดินเราก็ต้องหาดินที่มีการระบายน้ำที่ดี รวมไปถึงการไถพรวนดิน และใส่ปุ๋ยอินทรีย์ จากนั้นก็ทำการคลุกเคล้าดินเพื่อให้ดินได้รับธาตุอาหารได้อย่างเต็มที่ และทำการตากดินที่พรวนไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นทำซ้ำอีกครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าเรากำจัดวัชพืช และค่าดินนั้นอยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้วนั่นเอง
ซึ่งหากเกษตรกรที่คิดจะปลูกมะเขือเทศยังไม่มั่นใจว่าดินนั้นมีสภาพความเป็นกรดหรือด่างพอดี ก็สามารถที่จะส่งดินที่อยู่ในแปลงของตนไปให้กับทางวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาดินทำการตรวจสอบก่อนก็ได้เช่นกัน โดยอาจจะนำตัวอย่างเพื่อไปตรวจสอบเพื่อให้เกิดความมั่นใจยิ่งขึ้น ซึ่งทางการพัฒนาดินจะได้ให้คำแนะนำและความรู้แก่เกษตรกรได้ด้วยว่าดินนั้นมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใดในการจะปลูกพืชแต่ละชนิดได้
ขั้นตอนการปลูกมะเขือเทศ
ใน การปลูกมะเขือเทศ การเตรียมดินถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าการเตรียมดินในเรื่องของ การปลูกมะเขือเทศ นั้นต้องเป็นดินที่ระบายน้ำได้เป็นอย่างดี อีกทั้งก่อนจะเริ่มปลูกก็ต้องทำการกำจัดวัชพืชออกให้เรียบร้อยเสียก่อน เพราะว่าถ้าเราไม่ทำการกำจัดวัชพืช ตัววัชพืชก็จะมาแย่งน้ำกับต้นมะเขือเทศได้
รวมไปถึง แสงแดดที่ช่วยในการเติบโต และธาตุอาหารที่มีความจำเป็นต่อพืชด้วยเช่นกัน นอกจากนี้การกำจัดวัชพืชไม่หมด อาจจะทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคและแมลงศัตรูพืชตามมา จึงจำเป็นต้องมีการเตรียมดินให้ดี การเตรียมดินที่ดีนั้นจะช่วยป้องกันวัชพืชที่เรากำจัดออกหมดแล้วได้อีกทางด้วย โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมีในการกำจัดวัชพืชใดๆ เลย
ซึ่งการเตรียมดินที่เหมาะสมนั้นควรไถพรวนหน้าดินให้มีความลึก ประมาณ 40-50 เซนติเมตร และทำการไถย่อยดินอย่างน้อย 2 ครั้ง ซึ่งการย่อยดินควรทำให้ดินนั้นมีความละเอียดมากที่สุด เพราะรากของต้นมะเขือเทศนั้นต้องการสภาพดินที่มีการระบายน้ำและอากาศถ่ายเทได้เป็นอย่างดี
หลังจากไถพรวนดินเสร็จให้ทำการตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 4 สัปดาห์ และถ้าเราสังเกตว่าดินมีสภาพความเป็นกรด ก็ให้ใช้ปูนขาวมาเป็นตัวช่วยในการปรับสภาพดิน ประมาณ 100-300 กิโลกรัม ต่อไร่ ที่สำคัญควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินก่อนจะปลูกประมาณ 3 สัปดาห์ จะเหมาะสมที่สุด
วิธีการเพาะต้นกล้ามะเขือเทศ
ในการเพาะต้นกล้ามะเขือเทศนั้นสามารถทำได้ ทั้ง 3 แบบ คือ การเพาะโดยใช้กระบะ การเพาะแบบแปลง และการเพาะโดยใช้ถาด ซึ่งทั้ง 3 แบบนี้มีลักษณะการเพาะที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่ละพื้นที่ที่จะเริ่มปลูก โดยแบบใช้กระบะและถาดนั้นอาจจะเป็นการปลูกในพื้นที่ที่มีขนาดไม่กว้างนัก ส่วนการเพาะแบบแปลงก็เป็นการเพาะแบบใช้พื้นที่เยอะ และเพาะเพื่อจำหน่ายหรือส่งขาย ซึ่งทั้ง 3 แบบ สามารถทำได้ดังนี้
- การเพาะแบบกระบะ
วิธีการเพาะแบบนี้จะนิยมนำมาใช้เพาะในกรณีจะนำมาใช้ในการเพาะต้นกล้าที่ไม่มากจนเกินไป การเพาะต้นกล้าด้วยวิธีนี้ทำได้ค่อนข้างง่ายและดี ใช้ดินในปริมาณที่ไม่เยอะจนเกินไป อีกทั้งยังสามารถนำดินที่จะเพาะไปอบฆ่าเชื้อโรคได้ ซึ่งการอบดินฆ่าเชื้อจะใช้วิธีการอบด้วยไอน้ำร้อน หรือทำการตากดินที่จะเพาะประมาณ 3-4 สัปดาห์ ก็ได้เช่นกัน หรือวิธีที่ง่ายที่สุด คือ ใช้ดินที่ใหม่ และไม่ผ่านการปลูกพืชมาก่อน ก็จะเป็นทางเลือกที่ดีในการเพาะต้นกล้าที่จะเกิดใหม่
กระบะที่ใช้ในการเพาะนั้นควรใช้ขนาด 45-60 เซนติเมตร ถ้าไม่สามารถหากระบะที่จะใช้เพาะได้ก็สามารถใช้วัสดุอื่นแทน แต่วัสดุที่นำมาใช้ควรจะลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร และต้องมีรูระบายน้ำที่ดีด้วย หลังจากได้วัสดุครบแล้วก็ให้ใส่ดิน 3 ส่วน ปุ๋ย 1 ส่วน แกลบ 1 ส่วน ผสมกัน และโรยให้ทั่วกระบะ จากนั้นก็เกลี่ยให้เรียบและโรยเมล็ดตาม ส่วนการใส่เมล็ดนั้นก็จะใส่ประมาณ 5-7 เซนติเมตร จากนั้นกลบด้วยแกลบ และรดน้ำตามให้ชุ่ม และต้องไม่ลืมใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชฉีดพ่นลงในกระบะเพื่อเป็นการป้องกันมดคาบเมล็ดไปกิน เป็นอันเสร็จการปลูกแบบใช้กระบะ
- การเพาะแบบแปลง
การเพาะแบบแปลงนั้นจะนิยมใช้มากในการที่จะเพาะมะเขือเทศเพื่อส่งขายหรือจำหน่าย ขนาดของแปลงเพาะนั้นจะมีลักษณะที่คล้ายกับแปลงชำ คือ กว้างประมาณ 1-2 เมตร ในส่วนของความยาวนั้นจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ของแปลงเพาะ ระหว่างทางเดินประมาณ 50-70 เซนติเมตร จากนั้นก็ทำการผสมดินด้วยปุ๋ยคอกและทรายในอัตราที่ 3 ต่อ 1 และทำการเพาะเมล็ด โดยโรยเมล็ดให้ทั่วๆ เป็นแถวห่างกันประมาณ 10-15 เซนติเมตร เมื่อต้นกล้าอายุได้ประมาณ 1 เดือน หรือใบจริงเริ่มงอกประมาณ 2-3 คู่ ก็สามารถย้ายลงแปลงปลูกได้ทันที
หลังจากย้ายลงแปลงปลูกใหม่ๆ ควรจะพรางแสงในช่วงบ่ายเสียก่อน เพื่อเป็นการช่วยเก็บความชื้นและเอื้อต่อการงอกของเมล็ด อาจจะใช้ฟางข้าวในการช่วยคลุมก็ได้เช่นกัน สังเกตว่าถ้าเมล็ดเริ่มงอกให้นำฟางข้าวที่คลุมไว้ออกได้ เพื่อปล่อยให้ต้นนั้นได้งอกโผล่ออกมาได้ง่ายขึ้นนั่นเอง เนื่องจากว่าเมล็ดมะเขือเทศนั้นมีราคาค่อนข้างสูง ในการจะเริ่มเพาะนั้นควรจะทำการทดสอบก่อนว่าสามารถงอกได้ประมาณไหน หรือมีโอกาสที่งอกประมาณกี่เปอร์เซ็นต์ อาจจะทดลองเพาะในกระดาษก่อน หรือเพาะในฟางที่มีความชื้นกับกระดาษก็ได้เช่นกัน อาจจะทดลองประมาณ 100 เมล็ด ก็ได้ เพราะจะได้เห็นผลว่าเปอร์เซ็นต์ในการงอกนั้นมีกี่เมล็ดนั่นเอง
- การเพาะแบบถาด
วิธีการเพาะต้นกล้าแบบนี้เป็นการพัฒนามาจากการเพาะแบบกระบะ โดยนำเมล็ดมะเขือเทศใส่ลงในถาดเพาะกล้า ควรเป็นถาดพลาสติกที่มีการเจาะรูเพื่อการระบายน้ำด้วยเท่านั้น จากนั้นเมื่อต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 20 วัน ก็เตรียมต้นกล้าที่เพาะไว้ลงในแปลงปลูกได้เลย โดยการนำลงแปลงปลูกนั้นควรจะใช้มือบีบด้านล่างสุดของถาด จนต้นกล้าหลุดออกมาจากถาดพร้อมกับดินปลูก โดยทำให้ต้นกล้ามะเขือเทศได้รับความกระทบกระเทือนน้อยที่สุด ซึ่งเป็นวิธีของการเพาะต้นกล้าแบบถาดนี้
วิธีการดูแลรักษาใน การปลูกมะเขือเทศ นั้นก็สามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการใช้ตาข่ายเพื่อกรองแสงที่จะส่องผ่านแปลงมะเขือเทศ หรือการคลุมแปลงปลูกด้วยหญ้าแห้ง หรือฟาง และวิธีการคลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางนั้น จะช่วยในการรักษาความชื้นได้เป็นอย่างดี และเป็นการป้องกันการชะล้างผิวหน้าดินเมื่อเกิดฝนตก หรือให้น้ำ อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการลดเปอร์เซ็นต์ในการเกิดโรคทางใบและผลเน่าได้อีกด้วย ซึ่งวิธีการเอาหญ้าแห้งหรือฟางมาคลุมนั้นจะช่วยให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 20-40 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว แต่ถ้าฟางส่วนใหญ่อาจจะมีเชื้อราสเคอโรเตี่ยมติดมาด้วย ทำให้เกิดโรคต้นเหี่ยวและแห้งตายได้ จึงไม่ควรคลุมฟางไว้ใต้ต้น อาจจะคลุมให้ห่างจากโคนต้นเสียหน่อย เพื่อไม่ให้โคนต้นนั้นมีความชื้นสูงจนเกินไปนั่นเอง
ในส่วนของกำจัดวัชพืชนั้น ก็อาจจะมีการใช้สารเคมีเข้ามาช่วยบ้าง แต่ไม่ควรใช้บ่อยจนเกินไป อาจจะใช้เป็นเนื้อสารบริสุทธิ์ สารเมตริบูซิน ประมาณ 80-120 กรัม ต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่ โดยทำการฉีดหลังจากย้ายกล้าแล้ว แต่ควรฉีดในขณะที่ดินมีความชื้นอยู่ ซึ่งสารดังกล่าวจะช่วยควบคุมปริมาณวัชพืชใบแคบและใบกว้างได้ แต่ควบคุมได้เฉพาะบางชนิดเท่านั้น แต่ถ้าเราพรวนดินหลังจากใส่ปุ๋ยที่อายุ 20 วัน กับ 40 วัน ก็ไม่จำเป็นที่ต้องใช้สารเคมีควบคุมวัชพืชก็ได้เช่นกัน
การใส่ปุ๋ยและน้ำต้นมะเขือเทศ
ในการใส่ปุ๋ยเพื่อทำ การปลูกมะเขือเทศ อาจจะใช้ปุ๋ยเป็นการรองพื้นก่อน โดยปุ๋ยที่ใช้ในการรองพื้นนั้นอาจจะเป็นสูตรมาตรฐาน คือ 15-15-15 ประมาณ 30 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยอาจจะใช้รองก้นหลุมพร้อมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกก็ได้ โดยใช้ผสมปุ๋ยหมักหรือคอกประมาณ 20 กิโลกรัม ต่อไร่ และอาจจะมีโบแรกซ์เข้ามาเป็นส่วนผสมอีกชนิดหนึ่งก็ได้เช่นกัน
การใส่ปุ๋ยนั้นต้องใส่ให้เหมาะกับสภาพดินที่ปลูก เพราะว่าปริมาณธาตุอาหารในดินแต่ละชนิดนั้นอาจจะไม่เหมือนกัน อย่างเช่น ดินทราย อาจจะมีธาตุโพแทสเซียมน้อย จึงควรใช้ปุ๋ยที่มีส่วนของโพแทสเซียมเพิ่มเข้าไปอีก แต่ถ้าเป็นดินร่วนที่มีปริมาณโพแทสเซียมไม่มาก ก็เหมาะกับการใส่ปุ๋ยที่มีโพแทสเซียมเข้าไป แต่ต้องไม่สูงกว่าฟอสฟอรัส โดยอาจจะเป็นสูตร 10-20-15 หรือ 15-20-20 หรือ 13-13-21 เป็นต้น
การปลูกนอกฤดู
แต่ถ้าหากเป็นการปลูกนอกฤดู การปลูกมะเขือเทศ ควรจะใช้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูงเสียหน่อย เนื่องจากว่ามะเขือเทศนั้นเป็นพืชที่ต้องการไนโตรเจนในปริมาณที่มากพอสมควร ในสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูง แต่ถ้าไม่สามารถหาปุ๋ยดังกล่าวได้ อาจจะใช้เป็นปุ๋ยที่เป็นสูตรมาตรฐานแทนก็ได้ คือ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในปริมาณ 100 กิโลกรัมต่อไร่ อาจจะแบ่งใส่เป็น 3 ครั้ง ก็ได้เช่นกัน คือ หลังจากย้ายเพื่อปลูก 7 วัน หลังจากครั้งแรก 15 วัน และหลังจากครั้งที่ 2 ประมาณ 20 วัน
พืชทุกชนิดต้องการน้ำเพื่อเป็นส่วนในการเจริญเติบโต มะเขือเทศก็เช่นกัน เป็นพืชที่ต้องการปริมาณน้ำที่มีความสม่ำเสมอ ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงผลเริ่มสุก เพื่อให้ต้นนั้นเติบโตได้อย่างแข็งแรง และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ แต่หลังจากที่ต้นเริ่มให้ผลผลิตที่สุกเต็มที่แล้ว ก็ควรรดปริมาณการให้น้ำลง เพราะว่าถ้ายังให้น้ำในขณะที่ผลสุกเต็มที่แล้วอาจจะทำให้ตัวผลนั้นเกิดการแตกออกได้
การให้น้ำ
นอกจากนี้การให้น้ำหรือรดน้ำในปริมาณที่มากจนเกินไปอาจจะทำให้ดินนั้นมีความชื้นสะสมมาก ซึ่งการที่ดินมีความชื้นมากจนเกินไปนั้นจะส่งผลให้เกิดเชื้อราในดินได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเน่าเจริญเติบโตได้ดี แต่ว่าถ้าเกิดในช่วงที่มะเขือเทศนั้นเกิดการขาดน้ำ
การให้น้ำแบบกะทันหันก็อาจจะทำให้ผลของมะเขือเทศนั้นเกิดการแตกออกได้เช่นกัน ฉะนั้นแล้วการให้น้ำควรให้ในปริมาณที่สม่ำเสมอ และไม่ควรให้จนดินชื้นหรือแฉะจนเกินไป ซึ่งการให้น้ำ ควรให้แบบละอองน้ำหรือน้ำหยดก็ได้ เพื่อรักษาสภาพความชื้นของดินให้อยู่ในปริมาณที่พอดี ไม่แฉะหรือแห้งจนเกินไป เท่านี้ก็จะช่วยให้ได้ผลผลิตที่เต็มที่ และมีความฉ่ำน้ำของเนื้อมะเขือเทศแล้ว
การเก็บเกี่ยวผลผลิตมะเขือเทศ
ในการเก็บเกี่ยวของมะเขือเทศนั้นต่างกันตรงที่ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว จะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์แต่ละชนิดว่ามีระยะเวลาเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมช่วงไหน ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วการเก็บเกี่ยวมะเขือเทศนั้น เมื่อเริ่มทำการย้ายไปปลูกในแปลงปลูกแล้ว จะเริ่มออกดอกในช่วงระยะเวลาประมาณ 1 เดือน หรือ 1 เดือนครึ่ง ก็จะเริ่มออกดอก และเริ่มเก็บเกี่ยวได้ในช่วงอายุประมาณ 70-90 วัน หรือ 2-3 เดือน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว
โดยระยะเวลารวมตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวจะใช้ระยะเวลาประมาณ 4-5 เดือน เพราะว่าช่วงอายุของมะเขือเทศนั้นสั้น จึงทำให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ค่อนข้างเร็วกว่าพืชหลายๆ ชนิด อีกทั้งอายุในการเก็บเกี่ยวนั้นก็จะขึ้นอยู่กับการปลูกเป็นสำคัญ
หากเป็นการเพื่อส่งขายหรือตามตลาดสดก็จะต้องเก็บในช่วงที่ผลผลิตไม่แก่จนเกินไป อาจจะเก็บในช่วงที่ผลผลิตกำลังเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือเริ่มเป็นสีชมพูเรื่อ การที่ไม่เก็บในช่วงที่ผลสุกเต็มที่แล้วนั้นเพราะว่าจะช่วยในเรื่องของการทนทานในช่วงที่กำลังขนส่ง เมื่อผลผลิตถึงตลาดสดและถึงมือผู้บริโภค ผลผลิตก็จะสุกเต็มที่โดยมีสีแดงสดหรือแดงส้มพอดี
ต่างจากการเก็บเกี่ยวในอุตสาหกรรมโรงงานที่จะเก็บเกี่ยวในช่วงที่ผลผลิตเริ่มสุกแล้ว แต่ก็จะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่นำมาปลูกด้วยเช่นกัน และการเก็บนั้นจะไม่เก็บให้ขั้วผลติดมากับผลเด็ดขาด หากผลไม้สุกแดงและมีขั้วติดมานั้น โรงงานก็จะทำการคัดทิ้งทันที เนื่องจากว่าการนำไปแปรรูปอาจจะทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์เกิดการเสียหาย และไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการได้
การป้องกันและกำจัดโรค แมลง ให้มะเขือเทศ
มะเขือเทศเป็นพืชระยะสั้น ถึงแม้จะมีผลผลิตที่ออกมาค่อนข้างเร็ว แต่ในระยะเวลาที่เติบโตนั้นก็เป็นพืชที่มีโรคและแมลงมาติดกันพอสมควร ทำให้มีโรคและศัตรูพืชที่มากวนใจเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว
โดยโรคที่มักจะพบในมะเขือเทศบ่อยๆ เลย ก็คือ
- โรคเหี่ยว หรือ Fusarium wilt จัดเป็นกลุ่มโรคที่มักจะพบในมะเขือเทศได้อย่างเป็นประจำ เป็นโรคระบาดที่แพร่และทำลายความเสียหายเป็นอย่างมากให้กับมะเขือเทศทั่วๆ ไป ซึ่งโรคดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ทุกพื้นที่ที่มี การปลูกมะเขือเทศ แต่จะเกิดมากในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบางจังหวัดในภาคเหนือ
ในส่วนของการป้องกันนั้นควรเพาะต้นกล้าในดินที่มีการฆ่าเชื้อแล้ว หรือเป็นดินใหม่ และควรหลีกเลี่ยง การปลูกมะเขือเทศ ที่เคยมีโรคในดินเดิม หรือจะปลูกพืชหมุนเวียนแทนเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค แต่อาจจะต้องใช้เวลาค่อนข้างนานอย่างต่ำก็ประมาณ 5-7 ปี เลยทีเดียว และต้องระวังการเคลื่อนย้ายของโรคในดิน หรืออุปกรณ์ที่อาจจะทำให้โรคติดไปได้ เช่น จอบ เสียม เครื่องมือทางการเกษตรต่างๆ และสามารถปลูกมะเขือเทศในดินที่เป็นด่างจะเหมาะสมกว่าดินที่มีความเป็นกรด
- โรคเหี่ยวจากเชื้อรา Sclerotium เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราอีกหนึ่งชนิดของมะเขือเทศที่มักจะพบได้บ่อย แต่จะต่างจากเชื้อชนิดแรกตรงที่เชื้อราตัวนี้จะชอบดินที่มีความแห้งกว่า และสามารถทำลายและสร้างความเสียหายได้ในดินที่ชื้นแฉะเป็นอย่างดี
การป้องกันควรดูแลและเอาใจใส่แปลงปลูกให้สะอาดอยู่เสมอ เก็บและทำลายลูกผลที่มีส่วนของเชื้อโรคนำไปเผาทิ้ง หรืออาจจะฝังในดินที่มีความลึกประมาณ 3-4 ฟุต หรือรักษาสภาพดินให้เป็นด่างโดยการเติมปูนขาวลงในดินพอประมาณ อาจช่วยยับยั้งการเจริญของเชื้อลงได้บ้าง
- โรคใบหงิกเหลือง ใบและยอดนั้นจะมีอาการเหลืองและด่างเหลืองที่ชัดเจน จนกระทั่งใบจะเริ่มหงิกและหดย่นตามมา ขอบใบก็จะม้วนลง หรืออาจจะม้วนขึ้น ใบเล็กลง หรือลีบเรียว ต้นจะเตี้ยลง และทำให้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ดอกจะเริ่มร่วง และทำให้ผลผลิตนั้นลดลงเป็นอย่างมาก
การป้องกันควรกำจัดแมลงหวี่ขาวไม่ให้มีการระบาดเกิดขึ้นในแปลงปลูก และควรหลีกเลี่ยงการปลูกพืชในช่วงแมลงชนิดนี้ เพื่อเป็นการลดความเสียหายจากโรคที่จะเกิดขึ้นตามมาได้
ประโยชน์และสรรพคุณของมะเขือเทศ
มะเขือเทศนั้นหลายๆ คนคงได้รู้กันมาบ้างแล้วว่าสรรพคุณในตัวนั้นมีมากมายเลยทีเดียว และที่สำคัญเลยนั้นขึ้นชื่อในเรื่องของการบำรุงผิวพรรณให้มีความสดใสมากขึ้น ปัจจุบันมีการนำมะเขือเทศมาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม แปรรูปเป็นน้ำมะเขือเทศ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเรามาดูกันดีกว่าว่ามะเขือเทศนั้นมีผลต่อร่างกายเราอย่างไรบ้างที่จะช่วยในเรื่องต่างๆ
มะเขือเทศช่วยให้ร่างกายสดชื่น มีส่วนช่วยกระตุ้นน้ำย่อย ช่วยในเรื่องของย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการขับถ่ายได้สะดวกมากขึ้น และมีงานวิจัยอีกว่าการดื่มน้ำมะเขือเทศเป็นประจำมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคมะเร็งได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเรื่องของมะเร็งต่อมลูกหมาก
นอกจากนี้ยังมีวิตามินซีที่สูง และวิตามินอื่นที่อยู่ในมะเขือเทศ ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายสดใส ผิวพรรณดูมีน้ำมีนวล ที่สำคัญช่วยในเรื่องของการป้องกันโรคหัวใจได้เป็นอย่างดี เพราะมะเขือเทศเป็นพืชสีแดง ที่มีสารแอนโทไซยานิน ที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย ที่สำคัญไลโคปีนที่ช่วยควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ซึ่งสารไลโคปีนนั้นร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นได้เอง จึงถือว่าเป็นสารที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากเลยทีเดียว
มะเขือเทศถือได้ว่าเป็นพืชอีกชนิดที่มีคุณประโยชน์เป็นอย่างมาก และที่สำคัญเลย คือ เป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย แต่ต้องใส่ใจในเรื่องของดินเป็นอย่างมากนิดหน่อย ก็จะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นอย่างมาก ซึ่งการปลูกก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ใส่ใจในเรื่องดิน และไม่ปลูกในดินซ้ำ
อีกทั้งเรื่องของน้ำก็ไม่ควรที่จะรดจนแฉะเกินไป ก็จะได้ผลผลิตที่เต็มเม็ดเต็มหน่วยอย่างแน่นอน อีกทั้งตัวมะเขือเทศเองก็มีหลากหลายสายพันธุ์ที่สามารถนำมาแปรรูปและประกอบอาหารได้อย่างหลากหลาย ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นพืชที่น่าสนใจไม่น้อยเลย สำหรับใครที่อยากลองปลูกก็เริ่มจากจุดเล็กก่อนก็ถือเป็นเรื่องที่ดีเลย
สาระสำคัญของบทความเกี่ยวกับมะเขือเทศนั้นจะเจาะจงและเน้นไปที่เรื่องของการเพาะปลูกมะเขือเทศเสียมากหน่อย เพราะว่าเป็นพืชที่มีอายุในการเติบโตสั้น และโตได้เร็ว จึงถือได้ว่าเป็นพืชที่ยังคงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งนี้บทความเกี่ยวกับการปลูกนี้เป็นรายละเอียดที่เกิดจากการรวบรวมข้อมูลมาประกอบกันจากหลายแหล่ง ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และไม่ยุ่งยาก ซึ่งอาจจะมีข้อมูลที่ครบถ้วนหรือไม่ ก็ต้องพิจารณาเอา เพราะว่าการปลูกนั้นอาจจะใช้หลักการของเกษตรกรแต่ละคนไม่เหมือนกัน ถือว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่ที่บอกกล่าวให้ได้รับรู้กันถ้วนหน้า
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://www.baanlaesuan.com/139143/garden-farm/growing_tomatoes,http://doa.go.th/pibai/pibai/n13/v_10-nov/kayaipon.html,https://www.bbc.com/thai/international-39193966,https://guru.sanook.com/8440/,https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/57339/-blo-agragr-agr-