การยกร่องสวน นั้น ก็เป็นการเตรียมพื้นที่สำหรับการปลูก ซึ่งการยกร่องเตรียมดินนั้นก็มีหลากหลายวิธีที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าเราจะปลูกอะไร พืชผัก หรือผลไม้ ใช้พื้นที่เท่าไหร่ ประมาณไหน ไม่ว่าจะเป็นการไถแบบใช้รถไถเพื่อยกร่อง หรือใช้เครื่องมือเล็กๆ ชนิดอื่น มาช่วยในการขุดยกร่องในกรณีที่แปลงปลูกนั้นไม่ได้กว้างหรือใหญ่มาก
การยกร่องปลูกนั้นมีหลากหลายแบบ และเหมาะกับหลายวิธี ในการปลูกพืชหรือสวนผลไม้ ก็มีการใช้วิธีแบบยกร่องสวน การยกร่องสวน นั้นก็เพื่อป้องกันการเกิดน้ำท่วมลำต้น อีกทั้งยังเป็นการใช้น้ำที่อยู่ในคูที่ยกร่องขึ้นเพื่อมาใช้ในการเกษตรและพืชผักในสวนได้
นอกจากนี้ การยกร่องสวน ยังมีเครื่องมือที่แตกต่างกันออกไปในการที่จะทำการยกร่อง ซึ่งการใช้เครื่องมือมาช่วยในการยกร่องเพื่อที่จะทำสวนนั้นจะขึ้นอยู่กับแต่ละสวนว่าจะปลูกพืชชนิดไหน หรือจะปลูกผลไม้อะไร จะได้ใช้เครื่องมือในการขุดยกร่องได้ถูกลักษณะ
การปลูก พืช ไม้ผล แบบยกร่อง
การปลูกพืชแบบยกร่องนี้จะช่วยในการลดปัญหาต่างๆ ของเกษตรกรได้ดี เพราะบางพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสภาวะน้ำท่วมได้ตลอดเวลาในช่วงฤดูฝน เพราะพืชหลายชนิดนั้นไม่สามารถทนต่อน้ำท่วมขังได้เป็นเวลานาน
การขุดยกร่องเพื่อปลูกพืชนั้นจะช่วยลดปัญหาด้านนี้ได้เป็นอย่างดี โดยที่การขุดยกร่องจะมีหลายวิธี และความลึก กว้าง ก็จะแตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ การยกร่องสวน นั้นทำขึ้นอีกจุดประสงค์ คือ เปลี่ยนไร่เชิงเดียวเป็นไร่แบบผสมผสานในการดูแลได้อีกทางหนึ่งด้วย
โดยหลักการทั่วไปแล้วนั้นการปลูกพืชแบบยกร่องนั้นจะสามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชผักชนิดเล็กๆ ไปจนถึงพืชหรือผลไม้ต้นใหญ่ๆ โดยเป็นการขุดเพื่อล้อมแปลงเกษตรของแต่ละสวนเอง โดยจะทำการขุดเป็นร่องสลับกันไป เพื่อที่จะยกแปลงด้านในนั้นให้สูงขึ้น โดยร่องที่ทำขึ้นนั้นจุดประสงค์เลย คือ เพื่อเป็นการกักเก็บน้ำ และนำน้ำที่กักเก็บไว้นั้นมาใช้ในการเกษตรในแปลงของเกษตรกรเอง
การขุดยกร่องนั้นมีการริเริ่มและพัฒนาการมาจากภาคกลางของประเทศไทย โดยเป็นการขั้นดินล้อมรอบแปลงเกษตรของตนเพื่อที่จะเป็นการป้องกันน้ำท่วม เนื่องจากบริเวณภาคกลางนั้นเป็นพื้นที่ลุ่มทำให้เกิดน้ำท่วมขังได้บ่อยครั้ง เลยให้มีการจัดการขุดยกร่องขึ้นมาด้วย
หลังการยกร่องนั้นส่วนใหญ่แล้วจะทำมุมให้ครบทั้งสี่ด้าน โดยทั่วไปการขุดยกร่องจะให้ด้านทั้ง 4 ด้าน มีความสูงอยู่ไม่เกิน 2 เมตร เพื่อเป็นการป้องกันเกิดน้ำท่วมในแปลงเกษตร และขุดร่องให้ลึกประมาณ 1 เมตรไม่เกินนี้ เพราะถ้าลึกเกินไปจะทำให้เวลานำน้ำมาใช้รดแปลงนั้นเวลาวิดขึ้นจะลำบาก ความกว้างระหว่างแต่ละร่องนั้นตามมาตรฐานส่วนใหญ่ก็ประมาณไม่เกิน 2 เมตร เพื่อให้เรือเล็กๆ นั้นสามารถแล่นผ่านได้
พอเราขุดร่องดินแล้ว ดินที่ทำการขุดไปนั้นจะนำมาถมเพื่อเพิ่มพื้นที่ทางเดินบนแปลงเกษตรของเรา โดยทำการถมที่ให้มีความกว้างโดยประมาณ 6 เมตร พอให้คนเดินได้ นอกจากนี้การขุดยกร่องก็จะทำการกะความยาวโดยประมาณจากขนาดพื้นที่ของตนว่ามีพื้นที่ประมาณเท่าไหร่ อีกทั้งเพื่อเป็นการป้องกันหน้าดินทลายลง ควรถมดินให้แน่นที่สุด แปลงดินจะได้ไม่พังลงมาง่าย
วิธีการปลูกแบบยกร่อง
โดยทั่วไปรูปแบบการยกร่องนั้นจะมีการแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ว่ามีความเสี่ยงทางสภาพภูมิอากาศหรือปัจจัยทางธรรมชาติมากน้อยเพียงใด เนื่องจากตัวแปรสำคัญ คือ ฤดูกาลต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่นั้น โดยแบ่งได้ตามนี้
- รูปแบบปกติ
เป็นรูปแบบการยกร่องทั่วไปที่เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ทำกัน เนื่องจากจะเอาไว้ใช้กักเก็บน้ำเพื่อสำรองไว้ใช้ในหน้าแล้ง หรือกักเก็บน้ำเพื่อไว้ใช้ในทางการเกษตรแทนน้ำประปาที่นำมาใช้รด เป็นการประหยัดต้นทุนในการใช้น้ำได้อีกทางหนึ่ง โดยการยกร่องแบบนี้จะเหมาะกับพื้นที่ที่ไม่ประสบปัญหาน้ำท่วมขัง หรือมีปัญหาเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศน้อย โดยร่องน้ำรอบแปลงนั้นโดยความลึกของร่องส่วนปกตินั้นจะอยู่ 0.5-1.5 เมตร และความกว้างจะอยู่ที่ 1-2 เมตร การทำจะเหมาะกับแปลงที่มีขนาดความกว้าง 3-6 เมตร
- รูปแบบน้ำท่วมขังน้อย
การขุดยกร่องแบบนี้จะไม่ต่างจากประเภทปกติมากนัก เพียงแต่ขุดเพิ่มเพื่อเป็นการป้องกันน้ำท่วมขังเท่านั้น การขุดยกร่องประเภทนี้จะขุดไว้เพื่อนำน้ำที่ได้กักเก็บไว้มาใช้ในทางการเกษตรของตนได้อีกทางหนึ่ง โดยระดับคันดินนั้นจะสูงกว่าการยกร่องแบบปกตินิดหน่อย โดยความลึกจะอยู่ที่ 1-1.5 เมตร ความกว้างของคันดินนั้นจะอยู่ที่ 2-3 เมตร ความกว้างต่อร่องน้ำนั้นจะอยู่ 2-3 เมตร เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดน้ำท่วม และสามารถกักเก็บน้ำได้
- รูปแบบน้ำท่วมสูงมาก
เป็นรูปแบบที่มีการยกร่องสูงกว่า 2 ประเภทแรก โดยมักจะพบการยกร่องประเภทนี้ในพื้นที่ลุ่มที่มีการประสบปัญหาน้ำท่วมสูงบ่อยครั้ง คันดินโดยรอบจะสูงกว่า 2 ประเภทแรก อีกทั้งพบมากในความสูงประมาณ 2 เมตร โดยแปลงปลูกยกร่องในลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะพบในเกษตรกรที่ค่อนข้างมีฐานะ รอบคันดินในการยกร่องนั้นจะสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร ความกว้างต่อร่องน้ำนั้นจะอยู่ที่ 5 เมตรขึ้นไป ส่วนความกว้างของคันดินที่ให้คนเดินได้อยู่ที่ 5-6 เมตร
- รูปแบบสุดท้าย รูปแบบน้ำท่วมสูงมาก
รูปแบบนี้จะเป็นรูปแบบสุดท้ายที่เป็นยกร่องแบบสูงมาก ส่วนใหญ่การยกร่องแบบนี้จะพบมากที่สุดในพื้นที่ที่มีการประสบปัญหาน้ำท่วมสูงมาก โดยการยกร่องนั้นจะยกร่องสูงตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป ความลึกของคูน้ำจะอยู่ที่ 1-2 เมตร โดยความกว้างของคู่น้ำจะอยู่ 6-7 เมตร และความกว้างต่อร่องจะห่างกันถึง 10 เมตร
การบริหารจัดการแปลงปลูก พืช ผลไม้
องค์ประกอบหลายๆ ด้านของการยกร่องแปลงเพื่อทำการปลูกพืชหรือผลไม้นั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีองค์ประกอบอยู่ 3 อย่าง คือ
1.ปัญหาของพื้นที่ในแต่พื้นที่นั้นๆ
ปัญหา คือ แต่ละพื้นที่นั้นมีปัญหาน้ำท่วมขังที่ไม่เหมือนกัน บางพื้นที่ก็ท่วมสูง บางพื้นที่ก็ไม่เกิดน้ำท่วม ทำให้การยกร่องทำแปลงนั้นจะมีลักษณะความสูงที่ไม่เท่ากัน
2.เงินเพื่อการลงทุน
เงินลงทุน เนื่องจากการจะยกร่องดินเพื่อทำการปลูกพืชนั้นมีความจำเป็นที่ต้องใช้เงินทุนในการขุดยกร่อง ทำให้เป็นปัญหาสำหรับผู้ที่มีเงินทุนไม่มากพอ เพราะการที่ยกร่องสูงมากเท่าไหร่ การใช้เงินทุนก็จะสูงตามไปด้วย นี่เป็นอีกปัญหาสำหรับผู้ที่เงินลงทุนไม่มากพอ หากเกิดในพื้นที่ที่มีปัญหาน้ำท่วมสูง
3.ต้นทุนของแหล่งน้ำในพื้นที่
แหล่งน้ำ ซึ่งการที่มีต้นทุนแหล่งน้ำอยู่แล้วนั้นย่อมส่งผลดีต่อเกษตรกรที่จะทำการเพาะปลูก เนื่องจากการยกร่องมีความจำเป็นต้องมีพื้นที่แหล่งน้ำสำรอง การมีแหล่งน้ำใกล้เคียงนั้นก็ย่อมดีตามไปด้วย
การปลูกและบำรุงดูแลทุเรียนแบบยกร่อง
โดยหลักการทั่วไปแล้วการเลือกพื้นที่ให้เหมาะสมกับการปลูกทุเรียนนั้นจะต้องเป็นพื้นที่ที่มีสภาพน้ำไม่สามารถท่วมขังได้ ควรมีความลาดเอียงไม่ควรเกิน 15 เปอร์เซ็นต์ การขนส่งควรที่สะดวกและรวดเร็ว สภาพดินควรเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำได้ดี สภาพอากาศที่เหมาะสมควรเป็นอากาศที่ร้อนชื้น และปริมาณน้ำฝนควรจะกระจายตัวได้ดี ถ้าเป็นพื้นที่ดอนนั้นควรมีการปรับไถพรวนดิน และควรมีการเตรียมการวางระบบน้ำ การจัดการที่ดี ควรขุดร่องน้ำเพื่อการระบายน้ำภายในสวนให้ ถ้าเคยมีการปลูกไม้ใหญ่มาก่อนควรเคลียร์พื้นที่ให้เรียบร้อย หลังจากนั้นก็ปรับพื้นที่ให้ดีที่สุด
ในกรณีที่เป็นที่ลุ่มมีน้ำท่วมขังนั้นควรปรับการยกร่องดินให้สูงประมาณ 1-2 เมตร โดยทิ้งช่วงระยะเวลาหลังการเทดินเพื่อให้กองดินนั้นคงรูปไว้ แล้วสามารถที่จะปลูกทุเรียน (ในกรณีที่น้ำท่วมขังไม่มาก และกินระยะเวลาไม่นาน) ถ้าพื้นที่ไหนมีน้ำท่วมขังมากนั้นควรยกร่องสวนให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร โดยให้ร่องน้ำมีความกว้างประมาณ 1-2 เมตร และลึกประมาณ 1 เมตร แต่ต้องไม่ลืมการวางระบบระบายน้ำเข้าและออกให้ดีด้วย เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาน้ำท่วมซ้ำในภายหน้า
การยกร่องสวน
นอกจากนี้การวางผังปลูกก็เป็นสิ่งสำคัญในการปลูกทุเรียน เนื่องจากการปลูกทุเรียนแบบยกร่องนั้นมีทั้งแบบยกร่องแห้ง และยกร่องปกติ การวางผังจึงจำเป็นอย่างมาก โดยจะวางผังเป็นระบบสี่เหลี่ยม หรือสามเหลี่ยมด้านเท่าก็ได้ โดยให้กะระยะพอประมาณไม่เกิน 10 เมตร โดยวิธีนี้จะเหมาะสำหรับพื้นที่ปลูกที่มีดินค่อนข้างเรียบร้อยดีแล้วมากกว่า
การให้ปุ๋ยในการดูแลทุเรียนนั้นควรเป็นปุ๋ยคอกที่มีการผสมเข้ากับปุ๋ยสูตรอื่นๆ หรือปุ๋ยเคมี เพื่อช่วยในการดูแลลำต้นและผลผลิต โดยปุ๋ยที่ใส่นั้นจะแบ่งการใส่เป็น 2 ครั้งต่อปี และแบ่งใส่ปุ๋ยที่ผสมเรียบร้อยเป็น 2-4 ครั้งต่อไป ส่วนของการให้น้ำนั้นควรเป็นในลักษณะระบบการให้น้ำโดยจะใช้ระบบแบบหัวเหวี่ยงขนาดเล็ก เนื่องจากความต้องการน้ำของต้นทุเรียนนั้นมีความจำเป็นที่ต่างกันตามแต่ละพื้นที่ในการปลูกแต่ละภาค ปริมาณการให้และแสงแดดที่ทำให้น้ำระเหยในแต่ละวันนั้นไม่เท่ากัน จึงจำเป็นที่ต้องให้น้ำที่แตกต่างกันออกไป ในช่วงเเรกอาจจะให้น้ำ 2-3 วันต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นดินว่ามีความชุ่มชื้นมากเพียงใด นอกจากนี้การให้น้ำในพื้นที่ 1 ตารางเมตร จะให้น้ำในปริมาณ 2.5-3.5 ลิตรต่อต้นต่อวันก็ได้ แต่ถ้าพื้นที่ใดดินแห้งมากก็ให้รดน้ำในปริมาณ 5 ลิตรต่อวันก็ได้
โดยการกำจัดวัชพืชในสวนทุเรียนนั้นควรตัดวัชพืชให้สั้นในทุก 2-3 เดือน ด้วยเครื่องมือที่ใช้เพื่อการตัดหญ้าหรือกำจัดวัชพืชโดยเฉพาะ ซึ่งเครื่องมือกำจัดวัชพืชนั้นก็มีหลายรูปแบบ หลายราคา และขนาดที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเครื่องตัดหญ้าขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก รวมไปถึงการใช้สารกำจัดวัชพืชด้วย
นอกจากนี้การเก็บเกี่ยวก็ควรใช้วัสดุที่คมมาทำการตัดส่วนที่เป็นก้านของผลผลิตที่อยู่เหนือปากปลิง เพื่อผลหลุดออกจากต้น และส่งต่อให้กับคนที่รอรับอยู่ด้านล่าง ในการรับนั้นสิ่งสำคัญเลย คือไม่ควรรับด้วยมือเปล่า หรือใส่เฉพาะถุงมือ แต่ควรจะใช้วัสดุอื่นๆ แทน เช่น กระสอบทรายรองรับ หรือใช้วิธีการโรยเชือกลงมา ห้ามให้ผลทุเรียนสัมผัสกับพื้นโดยตรงเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดโรค หรือการปนเปื้อนในดินได้ ฉะนั้นแล้วควรจะหาสิ่งของในการรองรับทุเรียนจะดีที่สุด
ข้อดีและข้อเสียของ การยกร่องสวน
โดยทั่วไปแล้วการยกร่องดิน การยกร่องสวน นั้นมีการทำในหลากหลายรูปแบบ และหลากหลายวิธี โดยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่และอุปกรณ์ที่ใช้ในการขุดยกร่องว่าเป็นอุปกรณ์ประเภทไหน ขนาดความกว้างของพื้นที่ที่จะทำการขุดนั้นกว้างหรือเล็กขนาดไหน เพราะพื้นที่ก็มีส่วนที่จำเป็นต่อการยกร่องเหมือนกัน
นอกจากนี้การยกร่องก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปตามพื้นที่ที่เหมาะสมกับการยกร่อง เพราะไม่ใช่ว่าจะยกร่องขนาดไหนก็ได้ แต่เราต้องดูสภาพแวดล้อมด้วยว่า พื้นที่ของเราเหมาะกับยกร่องแบบใด หรือถ้าจะยกร่องเพื่อที่จะกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการทำการเกษตรก็ทำได้ ข้อดีของการยกร่องเลย คือ ป้องกันการเกิดน้ำท่วมไม่ให้มีผลกระทบต่อผลผลิตมากนัก และเหมาะกับการทำไร่แบบผสมผสานไปในตัว
การยกร่องปลูกจากบทความนี้เป็นเพียงเนื้อหาบางส่วนที่นำมาประกอบเป็นวิชาการความรู้ในเรื่องของการยกร่อง และ การยกร่องสวน ทุเรียนเบื้องต้น ไม่ได้มีการกล่าวอ้างเองขึ้นลอยๆ ข้อมูลทุกอย่างมีการอ้างอิงมาจากหลากหลายแหล่งข้อมูล โดยทั้งนี้บทความนี้เป็นการจำแนกความรู้และความเข้าใจในการปลูกแบบยกร่อง หรือการยกร่องเพื่อปลูกพืช
ซึ่งการยกร่องนั้นก็มีหลายวิธีที่ได้เริ่มทำกัน นอกจากนี้ยังได้ทราบว่าการยกร่องนั้นนอกจากจะทำเพื่อการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรในแปลงของตัวเองแล้ว ยังเป็นการสร้างการป้องกันการเกิดอุทกภัยของเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มได้อีกทางหนึ่งด้วย แต่ข้อเสียก็มี เนื่องจากเป็นการยกร่องทำให้ต้องมีค่าใช้จ่าย ฉะนั้นแล้วการที่ได้นำเสนอข้อมูลนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ให้ได้ทราบโดยทั่วถึงกัน
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://www.thaikasetsart.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81/,http://durianfruta.blogspot.com/p/planting.html,https://sites.google.com/site/amphonkiatopat/tn-thureiyn?tmpl=%2Fsystem%2Fapp%2Ftemplates%2Fprint%2F&showPrintDialog=1,http://kasetcounter.com/News/Read/130