การเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม เพิ่มมูลค่า สวนปาล์ม สร้างรายได้ดี ทุก 15 วัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเพาะเห็ดฟางจาก ทะลายปาล์ม 

นอกจาก “ปาล์มน้ำมัน” จะเป็นพืชที่มากด้วยคุณค่าแล้ว ทุกส่วนในกระบวนการผลิตภายในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันยังสามารถแปลงเป็นเม็ดเงินสร้างรายได้ โดยไม่มีของเสียเหลือทิ้งเลยแม้แต่ส่วนเดียว แม้กระทั่ง “ทะลายปาล์ม” ที่เป็นของเสียจากกระบวนการผลิต นอกจากจะสามารถนำไปใช้เป็นอินทรียวัตถุในสวนปาล์มน้ำมันแล้ว

ยังสามารถนำ “ทะลายปาล์มมาเพาะเห็ดฟาง” สร้างรายได้เสริมได้ตลอดทั้งปี และเป็นเห็ดฟางคุณภาพออกสู่ตลาด และผู้บริโภค ซึ่งการเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มนี้จะพบได้ใน สวนปาล์ม น้ำมันทั่วไปที่กระจายอยู่ในหลายพื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศไทยเป็นหลัก

จากนั้นก็ได้ขยายเข้าสู่การเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มเชิงพาณิชย์มากขึ้น สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำให้กับเกษตรกรชาวสวนปาล์มอีกทั้งยังใช้ระยะเวลาเพียง 15 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อจำหน่ายออกสู่ตลาดได้แล้ว

1.การเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มในสวนปาล์มน้ำมัน
1.การเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มในสวนปาล์มน้ำมัน

รายได้จากผลผลิตเห็ดฟาง

ในขณะที่เกษตรกรพื้นที่ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร จะมีรายได้จากการเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มหลังจากหักต้นทุนการผลิตคืนให้กับพ่อค้าไปแล้วประมาณ 15,000-20,000 กว่าบาท/รอบการผลิต ภายใต้การลงทุนประมาณ 4,000-5,000 บาท/รอบการผลิต ที่สำคัญรายได้ดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับฝีมือ และความรู้ ความเข้าใจ ในการเพาะเห็ดฟางของแต่ละคน

ในขณะที่ผลผลิตส่วนใหญ่หรือเห็ดฟางเหล่านี้จะถูกส่งตรงเข้าสู่ตลาดหลักที่กรุงเทพมหานคร เพื่อเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นอาหารเพื่อสุขภาพให้กับผู้บริโภคต่อไป นี่จึงเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของเกษตรกรไทยในการสร้างรายได้เสริมภายในสวนปาล์มน้ำมันได้เป็นอย่างดี

2.การเพาะเห็ดฟาง-จาก-ทะลายปาล์ม-ใน-สวนปาล์ม
2.การเพาะเห็ดฟาง-จาก-ทะลายปาล์ม-ใน-สวนปาล์ม

ขั้นตอน การเพาะเห็ดฟาง จาก ทะลายปาล์ม ใน สวนปาล์ม

เช่นเดียวกับเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ ต.นากระตาม อ.ท่าแซะ จ.ชุมพรที่ยึดอาชีพ การเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มในพื้นที่สวนปาล์มมานาน เพราะรายได้ที่จูงใจเป็นสำคัญ โดยจะมีพ่อค้าคนกลางเข้ามาส่งเสริมและลงทุนการผลิตทุกอย่างให้ก่อน เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้วก็รับซื้อผลผลิตคืนในราคามาตรฐานทั่วไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  1. เริ่มจากการซื้อทะลายปาล์มจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มคราวละ 15-16 ตัน/รอบ
  2. ก่อนจะรดน้ำให้ทะลายปาล์มเปียกชุ่ม คลุมด้วยผ้ายางจนทะลายนิ่ม แล้วค่อยนำทะลายปาล์มมาเรียงวางเป็นแถว รดน้ำให้ชุ่ม
  3. จากนั้นจะนำก้อนเชื้อเห็ดมายุ่ยผสมกับอาหารเสริมคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำมาหว่านในกองทะลายปาล์มที่เตรียมไว้
  4. จากนั้นควรรดน้ำให้เชื้อเห็ดเข้ากับทะลายปาล์มได้ดี
  5. ใช้ผ้าพลาสติกสีดำคลุมให้ทั่วทั้งร่องเพื่อควบคุมอุณหภูมิ
  6. ต่อมาจะเปิดผ้ายางเพื่อใช้ไม้ไผ่โก่งขึ้นโครง แล้วค่อยนำผ้ายางพลาสติกสีดำคลุมทับโครงไม้ไผ่ แล้วทับด้วยก้อนดิน หรือถุงทราย

รวมระยะเวลา 15 วัน ก็จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้ขนาด และตรงตามความต้องการของตลาด โดยใช้มีดคมตัดที่โคนดอกเห็ดฟางเพื่อป้องกันการบอบช้ำ ก่อนจะทำการตัดแต่งผลผลิตเพื่อจำหน่ายคืนให้กับพ่อค้าคนกลางในพื้นที่ในตลาดท่าแซะ พร้อมกับคืนเงินทุนให้กับพ่อค้าคนกลางไป

3.เห็ดฟางจากสวนปาล์มของเกษตรกร
3.เห็ดฟางจากสวนปาล์มของเกษตรกร

การเก็บเกี่ยวผลผลิตเห็ดฟาง

โดยผลผลิตในแต่ละรอบจะสามารถเก็บเกี่ยวได้นานกว่า 20 วัน หลังจากนั้นทะลายปาล์มจะเริ่มแห้ง และผลผลิตน้อยลง ก็จะโล๊ะทะลายปาล์มทิ้งไปให้เป็นอินทรียวัตถุในสวนปาล์ม ก่อนจะทำการลงทุนครั้งใหม่ หรือการเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มที่สามารถเพาะเห็ดได้ตลอดทั้งปี สร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งรายได้ของเกษตรกรแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปริมาณการเพาะเห็ดในแต่ละครั้ง การดูแลเอาใจใส่ ตลอดจนองค์ความรู้ในการเพาะเห็ดฟางอย่างถูกต้อง

4.เห็ดฟางที่พร้อมออกสู่ตลาดบริโภค
4.เห็ดฟางที่พร้อมออกสู่ตลาดบริโภค