ปลูกคะน้า แค่ 2 ไร่ เพียง 45-50 วัน สามารถเก็บขายได้ราคาสูงถึง 79,000 บาท

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ด้วยชีวิตที่เร่งรีบของคนในปัจจุบัน แน่นอนค่ะว่าเรื่องอาหารการกินก็ต้องให้ฉับไวตามเวลากันบ้าง อาจจะเจอบ่อยนะคะสำหรับเมนูอาหารพื้นๆ อย่าง ผัดกระเพราหมู หรือจะเป็นคะน้าหมูกรอบ ก็เป็นอาหารง่ายตามร้านอาหารตามสั่งทั่วไปแหละค่ะ ถึงแม้ว่าวัตถุดิบจะหาได้ง่ายตามท้องตลาด แต่กว่าจะได้มาก็ใช่ว่าจะง่ายนัก ต้องคอยพิถีพิถันตลอดทุกขั้นตอนในการปลูกไม่แพ้กัน

1.คุณทิม-และคุณพรรณี-เพิ่มผล
1.คุณทิม-และคุณพรรณี-เพิ่มผล

สภาพพื้นที่ ปลูกคะน้า

ทีมงาน นิตยสารพลังเกษตร ได้มีโอกาสลัดเลาะขึ้นเมืองเหนือทั้งที ย่อมเก็บข้อมูลมาแบ่งปันเล่าสู่กันฟังค่ะ ผักคะน้าที่ทุกคนได้เห็นกันทั่วๆ ไป มีวิธีการดูแลอย่างไรบ้าง วางใจที่จะกินผักคะน้ากันมากขึ้น หรือน้อยลง

สวนผักคะน้าของ คุณทิม เพิ่มผล ที่อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน บนพื้นที่ 2 ไร่ ใกล้เชิงเขาที่สลับซับซ้อนอย่างสวยงาม เขาทำการเกษตรมากว่า 30 ปีแล้ว “ขาดทุนบ้าง คุ้มทุนบ้าง กำไรบ้าง ตามช่วงจังหวะและเวลา” การเกษตรไม่มีอะไรที่เรียกว่าตายตัวหรอก เพราะก่อนหน้าที่เขาจะมา ปลูกคะน้า นั้น เคยลงมือปลูกหอมแดงมาแล้ว ขาดทุนตลอด จึงหันมาปลูกพืชอย่างอื่นแทน

คุณทิมบอกว่า ตัวเขาเองมีพื้นที่ประมาณ 18 ไร่ ปลูกพืชหมุนเวียนกันหลายชนิด ทั้งข้าว ข้าวโพด ยาสูบ และคะน้า หากเป็นคะน้าจะปลูกปีละ 2 ครั้ง การปลูกพืชหมุนเวียนหลายคนอาจมองข้ามไป อย่างที่หลายหน่วยงานกำลังสนับสนุนอยู่ โดยเขาเองก็ได้พิสูจน์มาแล้วว่าการปลูกข้าวหมุนเวียนไปด้วยจะขังน้ำให้ท่วมพื้นที่ เสมือนใช้น้ำเข้าฆ่าเชื้อไปในตัว แต่ถ้าไม่ท่วมน้ำแล้วปลูกซ้ำกัน แค่รุ่นที่ 2 เท่านั้นแหละ รับรองไม่พ้นโรค!!!

เมล็ดพันธุ์ที่ใช้นั้นก็สำคัญ ไม่สำคัญที่ต้องเลือกพันธุ์แพงๆ แต่ที่คุณทิมจะเน้น คือ เลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับภูมิอากาศ และช่วงฤดูกาล ด้วยที่ว่าความแข็งแรง ทนโรค ทนแล้ง แตกต่างกัน ช่วงหน้าแล้งแบบนี้เขาจะเลือกใช้ให้เหมาะสม คือ ตรามณีทอง กระป๋องละ 50 กรัม จะใช้อยู่ประมาณ 7 กระป๋อง/ 2 ไร่ แต่ถ้าพื้นที่มากกว่านี้คงต้องบวก ลบ คูณ หาร กันเองแล้วล่ะ

ส่วนเรื่องการปลูกมีหลายวิธีแล้วแต่จะเลือก ถ้าจะลดต้นทุนลงมาหน่อยก็จะเป็นแบบหว่านกับแปลงเหมือนคุณทิม พอแตกใบสัก 2-3 ใบ ช่วงที่มีกล้าหนาเกินความต้องการจึงจะถอนทิ้งทีหลังได้ แต่หากเพาะกล้าค่าใช้จ่ายส่วนของค่าแรงงานจะสูง เป็นการสิ้นเปลืองของเกษตรกรเสียเปล่า อีกทั้งอายุของผักคะน้าสั้นเพียง 45-50 วัน ก็สามารถเก็บขายได้แล้ว

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.คุณทิมขณะพาทีมงานเข้าชมแปลงผักที่ได้จากเชื้อไตรโคเดอร์มา
2.คุณทิมขณะพาทีมงานเข้าชมแปลงผักที่ได้จากเชื้อไตรโคเดอร์มา

การฉีดพ่นเชื้อไตรโคเดอร์มาในแปลงผักคะน้า

เชื้อไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราชนิดหนึ่ง มีคุณสมบัติในการควบคุมเชื้อราชนิดอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดโรครากเน่า โคนเน่า โรคเน่าคอดิน และโรคเหี่ยว ในพืชอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เชื้อราไฟทอปทอร่า เชื้อสเคลอโรเทียม พิเทียม ไรซ็อคโทเนีย และฟิวซาเรียม เป็นต้น

ในตัวของหัวเชื้อที่คุณทิมใช้อยู่จะอยู่ในรูปแบบที่ขยายเชื้อในเม็ดข้าวแล้ว จากนั้นจึงจะนำมาขยายต่ออีกทอดหนึ่ง เขาจะเป็นคนลงมือต่อเชื้อเองก่อนนำไปใช้ในแปลง วิธีการขยายเชื้อโดยการนำข้าวหุงสุกบรรจุลงในถุงร้อนประมาณครึ่งถุง จากนั้นจึงทำการเขี่ยเชื้อลงในเม็ดข้าวเล็กน้อย เขย่าถุงไปมาให้เชื้อกระจายตัวก่อนนำไปวางไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิห้องปกติประมาณ 7 วัน ให้เม็ดข้าวมีสีเขียวทั้งถุง จึงนำไปใช้ในแปลงต่อไป ทั้งนี้เชื้อที่ต่อแล้วจะสามารถอยู่ได้นาน 3-4 เดือน ก่อนเชื้อจะตาย (เก็บไว้ในตู้เย็น)

คุณทิมใช้เชื้อตัวนี้กับต้นคะน้า ไม่ว่าจะเป็นช่วงการเตรียมดินก่อนปลูก หรือวิธีการฉีดพ่นโดยตรง การเตรียมดินจะใช้อัตราเชื้อ 1 กก./รำละเอียด 4 กก./ปุ๋ยหมัก 100 กก. ผสมให้เข้ากัน นำไปหว่านลงแปลงผสมกับดินที่เตรียมไว้ก่อนปลูกพืชทุกครั้ง หรือหากจะเป็นแบบฉีดพ่นก็สามารถทำได้ง่ายด้วยตัวเอง โดยอัตราส่วนเชื้อ 1 กก./น้ำ 200 ลิตร ใส่น้ำลงถังให้เต็ม จากนั้นใช้ผ้าบางใส่หัวเชื้อตามสัดส่วน เขย่าหรือแกว่งไปมากับน้ำให้เชื้อสีเขียวผ่านผ้าลงไปผสมกับน้ำที่เตรียมไว้ เท่านี้ก็สามารถนำไปใช้ได้แล้ว สามารถฉีดพ่นเพื่อป้องกันโรคและเชื้อราในผักได้

3.การ-ปลูกคะน้า-ให้ได้ต้นสมบูรณ์ไล่เลี่ยขนาดได้เป็นอย่างดี
3.การ-ปลูกคะน้า-ให้ได้ต้นสมบูรณ์ไล่เลี่ยขนาดได้เป็นอย่างดี

การให้ปุ๋ยต้นคะน้า

การเลือกใช้ปุ๋ยหมักก็สำคัญไม่แพ้กัน ปุ๋ยหมัก หรือมูลสัตว์ ที่ใช้จะอยู่ในรูปแบบของการผ่านกระบวนการอบเพื่อฆ่าเชื้อโรคในมูลสัตว์แล้วเท่านั้น คุณทิมบอกว่าหากเลือกใช้ในแบบทั่วไปอาจจะยังหลงเหลือเชื้อโรคที่สะสมอยู่ ไม่เหมาะสมต่อการ ปลูกคะน้า ที่เป็นพืชอ่อนแอ โดยส่วนตัวเขาแล้วจะสั่งซื้อโดยตรงจากบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ในราคา 290 บาท/กระสอบ

ทั้งนี้ควรระวังการใช้อีกนิดหนึ่ง ให้เลือกฉีดพ่นในช่วงเย็นจะได้ผลดีที่สุด เพราะเชื้อตัวนี้เป็นจุลินทรีย์มีชีวิต หากโดนแดดจัดมากๆ อาจทำให้เชื้อตายได้

ปุ๋ยที่ใช้สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามอายุของต้นคะน้า ในระยะแรกเขาจะใช้สูตร 46-0-0 ก่อน หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนมาใช้สูตร 25-7-7 ใช้อยู่ประมาณ 3 ครั้งด้วยกัน ครั้งละ 2 กระสอบ ในพื้นที่ 2 ไร่ ก็ว่าได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.แปลงในระดับแนวยาวเหยียดมองสุดลูกหูลูกตา
4.แปลงในระดับแนวยาวเหยียดมองสุดลูกหูลูกตา

การป้องกันกำจัดโรคและแมลง

เป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าใจดี ขึ้นชื่อว่า “ผัก” เรื่องโรค แมลง คงหนีไม่พ้น อย่าง โรค แมลงที่พบบ่อยจะเป็นประเภทของหนอนคืบกะหล่ำ หรือหนอนเขียว จะเข้ากัดกินใบ ระบาดมากในฤดูหนาวและฤดูแล้ง ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน หากใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาคุมไว้แต่แรกแล้ว เรื่องโรค แมลง เข้ามารบกวนจะน้อย หรือหากพบในระยะไข่อยู่จะเลือกใช้สารเคมีคุมไข่หนอนให้ไข่ฝ่อ

เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้จะใช้สารเคมีทั่วไปตามตลาดมาผสมกับน้ำ 20 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร พ่นทางใบ การใช้สารในปริมาณนี้อาจใช้ได้ไม่ดีมากนัก ถ้าเกษตรกรไม่ควบคุม จัดการอย่างถูกวิธีมาตั้งแต่ต้น

5.กระบวยสาดน้ำผัก-ตามภูมิปัญญาชาวบ้านของที่นี่
5.กระบวยสาดน้ำผัก-ตามภูมิปัญญาชาวบ้านของที่นี่

การให้น้ำต้นคะน้า

เป็นการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านอยู่ โดยการปล่อยน้ำตามร่องน้ำ หรือที่ชาวบ้านที่นี่เรียกว่า “เหมืองน้ำ” ตามแปลงปลูก จากนั้นจึงใช้ “กระบวย” ไม้ไผ่ตักน้ำสาดลงในแปลงไปเรื่อยๆ ถ้าเป็นหน้าแล้งจะรดน้ำวันเว้นวัน แล้วแต่สภาพภูมิอากาศ ปลูกคะน้า ปลูกคะน้า ปลูกคะน้า ปลูกคะน้า ปลูกคะน้า ปลูกคะน้า ปลูกคะน้า

6.ต้นใหญ่-ใบโต-ก้านอวบ-ไม่แพ้ผักฤดูหนาว
6.ต้นใหญ่-ใบโต-ก้านอวบ-ไม่แพ้ผักฤดูหนาว

การเก็บเกี่ยวผลผลิตผักคะน้า

“ทำช่วงราคาผักถูก ไม่ทำช่วงราคาผักแพง” คุณทิมขยายความให้ฟังว่าช่วงราคาผักถูกหากเราเริ่มหว่านเมล็ดช่วงนั้น พอถึงเวลาที่ต้องเก็บเกี่ยวราคาผักจะสูงขึ้นมา แบบนี้แหละเป็นกลยุทธ์การเลือกลงทุนของคุณทิม ไม่แปลกเลยว่าบางปีผัก 2 ไร่นี้ จะได้ราคาสูงถึง 79,000 บาท!! แต่บางทีก็ขายไม่ได้เลยก็มี จนต้องไถทิ้งเป็นปุ๋ยไปเลย เรียกว่าความไม่แน่นอนของการเกษตร

7.ต้นคะน้าในฤดูร้อนที่ต่างคนบอกว่าดูแลยากทีเดียว
7.ต้นคะน้าในฤดูร้อนที่ต่างคนบอกว่าดูแลยากทีเดียว

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายผักคะน้า

ปัจจุบันนี้ผักที่คุณทิมปลูกยังคงมีราคาขึ้นลงอยู่เรื่อยๆไม่คงที่ สำหรับชุดนี้พ่อค้าก็มารับเหมาสวนไปแล้ว เรียกได้ว่าหายกังวลไปอีกเปราะหนึ่ง แม้ว่าราคาจะไม่สูงมากนัก หากรวมกับค่าแรงงานของทั้งคู่ แต่ก็น่าพอใจอยู่บ้าง ปีนี้พ่อค้ารับอยู่ 40,000 บาท พอเป็นค่าปุ๋ย ค่ายา ในการลงทุนรุ่นต่อไป

ขอขอบคุณ คุณทิม และคุณพรรณี เพิ่มผล 9 ม.16 ต.บ้านโฮ่ง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน 51130

โฆษณา
AP Chemical Thailand