ปลูกถั่วฝักยาว และการทำค้างต้นถั่ว ปลูกได้ทุกสภาพอากาศ พืชเศรษฐกิจ มีตลาดตลอดปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ถั่วฝักยาวถือได้ว่าเป็นพืชที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นเมนูผัด ส้มตำ ต้มจืด และอีกมากมาย ต่างก็มีการนำถั่วฝักยาวมาใช้ในการประกอบอาหาร เพราะว่าถั่วฝักยาวนั้นเป็นพืชที่สามารถหาทานได้ง่าย และพบได้ในท้องตลาดทั่วไป ถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอีกหนึ่งชนิดเลยก็ว่าได้ ในครั้งนี้เราจะทำความรู้จักกับถั่วฝักยาวกันให้มากขึ้น ตั้งแต่การเริ่ม ปลูกถั่วฝักยาว ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวกันเลยทีเดียว

1.ถั่วฝักยาวกับคุณประโยชน์ที่ควรรู้ (https.cms.kapook.comuploadstag41ID_40153_5993ec57900cb)
1.ถั่วฝักยาวกับคุณประโยชน์ที่ควรรู้ (https.cms.kapook.comuploadstag41ID_40153_5993ec57900cb)

การปลูกถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาวนั้นถือได้ว่าเป็นพืชตระกูลถั่ว เช่นเดียวกับพวกถั่วลิสง ถั่วลันเตา เป็นต้น แต่นับได้ว่าเป็นพืชตระกูลถั่วที่ได้รับความนิยม และสามารถหาทานได้ง่ายเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีราคาที่ไม่สูงมาก จึงเหมาะแก่การนำมาบริโภค ไม่ว่าจะเป็นการนำมาประกอบอาหาร หรือการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ก็นับว่าได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน

อีกทั้งถั่วฝักยาวเองยังถือได้ว่าเป็นไม้เถาเลื้อยที่ปลูกได้ง่าย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในไทยและต่างประเทศในแถบเอเชีย ถือว่าเป็นพืชอีกหนึ่งชนิด ถ้าใครไม่เคยได้ลองบอกได้คำเดียวว่าคุณพลาดเป็นอย่างมาก

Advertisement Banner by บริษัท โซตัส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด www.sotus.co.th
Advertisement Banner by บริษัท โซตัส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด www.sotus.co.th

ถั่วฝักยาวนั้นถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของไทยเลยก็ว่าได้ ด้วยภาพลักษณ์ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป และยังหาซื้อ และปลูกได้ง่าย ทำให้ทุกวันนี้ถั่วฝักยาวยังคงได้รับการบริโภค และเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเองสภาพเศรษฐกิจและสภาวะอากาศต่างๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย แต่ก็ยังไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกถั่วฝักยาวเท่าไหร่นัก เอาเป็นว่าเราจะเริ่มมาทำความรู้จักกับเจ้าถั่วฝักยาวกันดีกว่าว่ามีวิธีการปลูกอย่างไรถึงจะให้ผลผลิตได้ดี

ประโยชน์ของถั่วฝักยาว

จะให้พูดถึงพืชที่เป็นที่นิยม และสามารถพบได้ทั่วไป อีกทั้งสามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น อาหารประเภทผัด ส้มตำ ยำ เป็นต้น ถ้านึกไม่ออกเราจะบอกให้ มันก็คือ ถั่วฝักยาว ถือได้ว่าเป็นพืชที่สามารถพบและหาได้ตามท้องตลาดทั่วไป

โดยถั่วฝักยาวนั้นจะเป็นพืชที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย อีกทั้งยังมีราคาที่ไม่สูงมาก ทำให้เป็นพืชที่ได้รับความนิยม โดยลักษณะเด่นของถั่วฝักยาวนั้นจะเป็นพืชไม้เลื้อย มีลำต้นเดียว และเป็นเถาเลื้อยขึ้นคล้ายกับถั่วพู ถือว่าเป็นพืชที่ได้รับความนิยมในบ้านเราและแถบเอเชียเป็นอย่างมาก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากเป็นพืชที่ได้รับความนิยมในบ้านเราแล้ว ถั่วฝักยาวยังถือได้ว่าเป็นพืชที่คนเอเชียส่วนใหญ่นิยมบริโภคด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น เป็นต้น โดยพืชชนิดนี้จะมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และอินเดีย อีกทั้งยังเป็นพืชที่ถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอันดับต้นๆ ของเมืองไทยเลยก็ว่าได้

2.แปลงถั่วฝักยาว (https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons00bSitaw4jf)
2.แปลงถั่วฝักยาว (https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons00bSitaw4jf)

สภาพพื้นที่ปลูกถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาวนั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในเรื่องของการปลูก เพราะเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ทั่วทุกภูมิภาคของเมืองไทย ทำให้เกษตรกรหลายคนเลือกที่จะปลูก ทั้งเป็นพืชหลัก และพืชเสริม กันเป็นจำนวนมาก ด้วยความที่ว่าเป็นพืชที่สามารถดูแลได้ง่าย ยิ่งถ้าปลูกใกล้กับแหล่งน้ำจะเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะเป็นพืชที่ต้องการน้ำ และจะทำให้ผลผลิตที่ได้มีความสมบูรณ์ และได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นด้วย หรือจะปลูกในครัวเรือนก็ได้เช่นกัน จึงไม่แปลกเลยที่ใครๆ ต่างก็รู้จักพืชชนิดนี้กันเป็นวงกว้าง

โดยทั่วไปนั้นถั่วฝักยาวส่วนใหญ่แล้วจะมีสีเขียวและเลื้อยขึ้นเพื่อเติบโต โดยลำต้นนั้นเลื้อยพันขึ้น ซึ่งตรงนี้ตอนเริ่มปลูกจะต้องหาสิ่งที่มีค้ำจุน เพื่อให้ถั่วฝักยาวสามารถเลื้อยขึ้นได้ ตัวลำต้นนั้นจะมีลักษณะเป็นข้อปล้อง เมื่อเติบโตได้ประมาณหนึ่ง กิ่งก้านก็จะเริ่มมีมือที่ไว้สำหรับเกี่ยวพันเพื่อเป็นการยึดลำต้น โดยจะเกี่ยวพันเพื่อยึดกับที่ยึดนั้นแบบทวนเข็มนาฬิกา

รากของถั่วฝักยาวนั้นจะมีทั้งรากแก้ว และรากแขนง แต่อยู่ในระดับที่ไม่ลึกมากนัก ยิ่งถ้าเป็นรากแขนงแล้วจะมีคุณสมบัติที่มีแบคทีเรียชนิดหนึ่ง คือ ไรโซเบียม ที่จะช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศนำมาสะสมไว้ และถั่วฝักยาวก็จะสามารถดึงตรงนี้ไปใช้ประโยชน์ได้

ใบของถั่วฝักยาวนั้นจะเป็นแบบสามใบ แต่จะมีขนาดใบที่ค่อนข้างเล็กและค่อนข้างแหลม ใบนั้นจะเกิดขึ้นแบบสลับกันบนกิ่งหรือต้น ใบคู่แรกที่เกิดขึ้นด้านบนใบเลี้ยงจะเป็นใบจริง ส่วนที่เหลือที่เกิดขึ้นมานั้นจะเป็นใบประกอบ ก้านใบจะเน้นยาวที่โคน และมีหูใบประมาณ 2 อัน

ถั่วฝักยาวนั้นนอกจากลำต้นที่จะเลื้อยพันเพื่อหาสิ่งยึดเกาะแล้ว ยังมีดอกในตัวเองด้วยเช่นกัน โดยดอกของถั่วฝักยาวนั้นจะออกเป็นช่อกระจะ ซึ่งจะแทงออกมาตามซอกมุมใบ โดยแต่ละช่อจะมีประมาณ 6 ดอก หรือน้อยกว่านั้น จะเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีขนาดประมาณ 1-3 เซนติเมตร ส่วนด้านล่างดอกมีกลีบสีขาว หลังจากผสมเกสรแล้วกลีบดอกจะร่วง และจะมีการพัฒนาของฝัก โดยคุณภาพฝักที่ดีจะอยู่ในช่วง 6-8 วัน หลังจากดอกบาน มีสารอาหารที่สูง ตัวฝักยาว 20-60 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม ปลายฝักมีสีเขียวหรือสีม่วง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
3.ปลูกง่าย ขึ้นได้ทุกสภาพอากาศ
3.ปลูกง่าย ขึ้นได้ทุกสภาพอากาศ

วิธีการปลูกและบำรุงดูแลถั่วฝักยาว

สำหรับถั่วฝักยาวนั้นเรารู้กันอยู่แล้วว่าเป็นพืชที่มีความต้องการในตลาดค่อนข้างสูง และยังถือว่าเป็นพืชที่ได้รับความนิยมในลำดับต้นๆ ของพืชทั้งหมด เพราะสามารถหาซื้อและหาทานได้ง่าย อีกทั้งยังเป็นพืชที่สามารถปลูกง่าย ขึ้นได้ทุกสภาพอากาศ จึงไม่แปลกเลยที่จะเป็นพืชที่ได้รับความนิยมอย่างทุกวันนี้

การปลูกถั่วฝักยาวนั้นเราจะมาเริ่มศึกษากันว่าวิธีการปลูกและการดูแลจนถึงการให้ผลผลิต และส่งไปขายยังท้องตลาดทั่วประเทศนั้นทำได้อย่างไร ปลูกอย่างไร วิธีไหนที่ได้รับความนิยม และส่งผลให้ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ขายได้กำไรงามกันดีกว่า

สำหรับการปลูกถั่วฝักยาวนั้นสิ่งสำคัญในอันดับแรก คือ การเตรียมดิน ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะว่าดินเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับพืชทุกชนิด เพื่อใช้เป็นที่สำหรับการปลูกและการเติบโต เรื่องดินจึงถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการปลูกพืชทุกชนิด

การเตรียมดิน

ในการปลูกถั่วฝักยาวนั้นเราสามารถที่จะปลูกได้ตลอดทั้งปีเลยก็ว่าได้ และถั่วฝักยาวเองก็สามารถที่จะเจริญเติบโตได้แทบทุกสภาพดินเลยทีเดียว แต่ดินที่เหมาะสมและถือว่าเป็นดินที่ดีที่สุดในการปลูกถั่วฝักยาวนั้นจะต้องเป็นดินร่วนปนทราย ซึ่งดินร่วนปนทรายนั้นค่าของดินจะอยู่ที่ประมาณ 6 หน่วย จึงจะเหมาะสมสำหรับการปลูกถั่วฝักยาว อีกทั้งในดินเองจะต้องมีความชื้นที่เหมาะสม เพราะถั่วฝักยาวนั้นเป็นพืชที่มีระบบรากค่อนข้างละเอียดอ่อน จึงต้องการดินที่มีความชุ่มชื้นพอสมควร แต่ดินที่ใช้นั้นก็ต้องเป็นดินที่มีการระบายน้ำที่ดีด้วยเช่นกัน

การเตรียมดินนั้นสิ่งแรกที่สำคัญเลย คือ การไถพรวนหน้าดิน โดยการไถพรวนหน้าดินเพื่อที่จะทำการปลูกถั่วฝักยาวนั้นควรจะมีการไถพรวนประมาณ 225 เซนติเมตร ให้ได้ความลึกประมาณเท่านี้ จากนั้นเมื่อไถพรวนเสร็จแล้วให้ทำการตากดินโดยดูว่าแสงแดดแรงมากน้อยเพียงใด ถ้าแสงแดดดีก็ให้ตากทิ้งไว้ประมาณ 4-5 วัน แต่ถ้าวันไหนแสงน้อยก็ให้ดูตามความเหมาะสมกับการตาก เพราะว่าการตากหน้าดินจะช่วยในเรื่องของการฆ่าเชื้อโรคและไข่ของแมลงต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งไข่ของแมลงนั้นถือว่าเป็นศัตรูที่อันตรายต่อถั่วฝักยาวเป็นอย่างมาก

หลังจากที่เราทำการไถหน้าดินไปเรียบร้อย และมีการตากดินไว้แล้ว ต่อมาก็ให้มีการเก็บวัชพืชต่างๆ ออกให้หมด และทำการโรยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกประมาณ 3 ตัน ต่อไร่ โดยให้วัดค่า pH ในดินให้เหมาะสมด้วย แต่ถ้าการปลูกถั่วฝักยาวถ้าเป็นแถบภาคตะวันออก หรือภาคกลางตอนล่าง อาจจะต้องมีการใช้ปูนขาวร่วมด้วย โดยการใช้ปูนขาวนั้นจะใช้ในปริมาณ 400 กิโลกรัม ต่อไร่ แล้วจากนั้นให้ทำการไถพรวนหน้าดินและตากดินอีกครั้ง โดยทำการตากทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน ก็จะช่วยในเรื่องของการปรับหน้าดินได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หลังจากใส่ปูนขาวและเก็บวัชพืชเรียบร้อยแล้ว เมื่อเราได้ทำการไถพรวนหน้าดิน และมีการปรับสภาพดินเรียบร้อยแล้วนั้น หลังจากนั้นก็ให้ทำการยกร่องแปลงปลูกถั่วฝักยาว โดยการยกร่องนั้นควรให้มีขนาดประมาณความกว้างอยู่ที่ 90 เซนติเมตร และความยาวก็ตามความเหมาะสมกับพื้นที่ดินที่เรามี จากนั้นก็ไถยกร่องระหว่างแปลงปลูกถั่วฝักยาว ซึ่งการไถยกร่องอีกครั้งนั้นก็ควรจะมีความกว้างประมาณ 60-70 เซนติเมตร เพื่อที่เกษตรกรจะได้มีพื้นที่ในการเดินเข้า-ออกได้เป็นอย่างดี และปฏิบัติงานได้สะดวกเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิต

การเตรียมเมล็ดพันธุ์

ในเรื่องของการเตรียมเมล็ดพันธุ์สำหรับการปลูกถั่วฝักยาวถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะว่า ถ้าเราเตรียมเรื่องเมล็ดพันธุ์ได้ไม่ดี ผลผลิตที่ได้ก็จะไม่มีคุณภาพตามไปด้วยนั่นเอง การเตรียมเมล็ดพันธุ์จึงถือได้ว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

เมล็ดพันธุ์ของถั่วฝักยาวนั้นสามารถที่จะหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป หรือสถานที่ที่มีการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ก็ได้เช่นกัน โดยถ้าจะเริ่มปลูกและมีเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ ก็ควรใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 3-5 กิโลกรัม หรือตามความเหมาะสม และควรจะคัดเลือกแต่เมล็ดพันธุ์ที่ดี ไม่แตกหรือมีตำหนิเด็ดขาด หรืออาจจะเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ไม่เหมาะกับการปลูก ก็ให้ทำการแยกออกจากกันไว้ เมื่อได้เมล็ดที่คิดว่ามีตำหนิแล้วก็ให้นำเมล็ดที่มีความสมบูรณ์ และไม่ได้เป็นตำหนิมาก มาคลุกกับสารเคมีเพื่อป้องกันและกำจัดแมลงออกให้หมดก่อนที่จะเริ่มปลูก เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกทำลายได้ในภายหลัง

หลังจากที่มีการเตรียมเมล็ดเพื่อที่จะทำการปลูกแล้วนั้น ต่อมาก็เป็นการขุดหลุม ซึ่งการขุดหลุมเพื่อเตรียมการปลูกถั่วฝักยาวนั้นส่วนใหญ่แล้วจะขุดหลุมให้มีความลึกประมาณ 10 เซนติเมตร หรืออาจจะมากกว่านั้นก็ขึ้นอยู่ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ แต่ละหลุมที่ทำการขุดนั้นควรจะมีความห่างที่เหมาะสมด้วย อาจจะห่างประมาณ 10-20 เซนติเมตร ต่อหลุมก็ได้ หรือตามความเหมาะสมของพื้นที่ที่มีในแต่ละไร่ ซึ่งเมื่อได้หลุมที่มีขนาดและความกว้างที่เหมาะสมแล้ว จากนั้นก็ให้ใส่ใบคูนแห้ง หรือใบหางนกยูงแห้ง ใส่ไว้ที่ก้นหลุมประมาณ 1-2 กำมือ

หลังจากที่ใส่ใบไม้แห้ง ไม่ว่าจะเป็นใบคูณ หรือใบหางนกยูง เรียบร้อยแล้ว ก็ตามด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีตามสูตรที่เหมาะสมตามที่ถั่วฝักยาวชอบ โดยอาจจะเป็นสูตร 5-10-5 หรือ สูตร 15-15-15 หรือ สูตร 6-12-12 ซึ่งปุ๋ยเคมีทุกสูตรนั้นควรจะใส่ประมาณครึ่งช้อนโต๊ะ และคลุกเคล้าให้เข้ากัน หลังจากนั้นให้เริ่มหยอดเมล็ดถั่วฝักยาวลงในหลุมปลูกประมาณ 3-4 เมล็ด แล้วทำการกลบดินในหลุม โดยให้ความหนาของดินประมาณ 3-4 เซนติเมตร พร้อมกับรดน้ำทันที ซึ่งการให้น้ำในระยะแรกนั้นควรจะรดน้ำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง ประมาณ 1 สัปดาห์ หรือให้ดูความเหมาะสมของสภาพอากาศเป็นหลักด้วยก็ได้เช่นกัน

ในช่วงของการดูแลต้นอ่อนนั้น ประมาณ 1 อาทิตย์แรก หลังจากที่ปลูกไปแล้ว เมล็ดก็จะเริ่มงอกให้เห็นยอดอ่อน หลังจากนั้นเมื่อเริ่มมีใบจริงเกิดขึ้นประมาณ 3-4 ใบ ให้ถอนแยกคัดเอาเฉพาะต้นที่แข็งแรงไว้ประมาณ 2 ต้น ต่อ 1 หลุม และทำการกำจัดวัชพืชบริเวณรอบๆ หลุมให้เรียบร้อย จากนั้นนำใบคูน หรือใบหางนกยูงแห้ง หรืออาจจะใช้แกลบมาโรยกลบรอบๆ โคนหลุม ให้มีความหนาประมาณ 1 นิ้ว และตามด้วยการรดน้ำให้ชุ่มพื้นดิน ด้วยถั่วฝักยาวนั้นเป็นพืชที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด การดูแลรักษาที่ดีจะมีผลทำให้ปริมาณและคุณภาพผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.เจริญเติบโตได้เร็ว และมีคุณภาพมากขึ้น
4.เจริญเติบโตได้เร็ว และมีคุณภาพมากขึ้น

การให้ปุ๋ยและน้ำต้นถั่วฝักยาว

สำหรับการใส่ปุ๋ยในการ ปลูกถั่วฝักยาว นั้นส่วนใหญ่แล้วจะนิยมใช้ปุ๋ยเคมีที่ถูกสูตร และถั่วฝักยาวชอบ ก็จะช่วยเร่งผลผลิตให้เติบโตได้เร็ว และมีคุณภาพมากขึ้น แต่การใช้ปุ๋ยเคมีบ่อยๆ อาจจะส่งผลเสียตามมาในภายหลังได้ อีกทั้งเพื่อที่จะช่วยลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยเคมี ปัจจุบันจึงเริ่มมีการหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนเป็นจำนวนมาก ด้วยสาเหตุหลายๆ ปัจจัย ทำให้เกษตรกรหลายคนเริ่มหันมา ปลูกถั่วฝักยาว และใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้ปุ๋ยเคมีกันมากขึ้น เพราะว่าคุณภาพและผลผลิตที่ได้นั้นปริมาณไม่ต่างกันมากนัก จึงทำให้มีการลดการใช้ปุ๋ยเคมีไปได้เยอะทีเดียว

สำหรับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์มาช่วยในการเพิ่มธาตุอาหารให้กับถั่วฝักยาวนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะนิยมนำเอามูลสัตว์ รำข้าว แกลบ ปลาป่น และแคลเซียมฟอสเฟต แมกนีเซียม มาหมักรวมกัน และเพิ่มหัวเชื้อจุลินทรีย์เข้าไป เพื่อให้ได้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งตัวปุ๋ยอินทรีย์นั้นจะมีธาตุอาหารเสริมที่เหมาะกับถั่วฝักยาวเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ซึ่งธาตุอาหารเสริมทั้ง 3 ตัวนี้จะมีอยู่ในปุ๋ยหมักที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว ซึ่งถือว่าเป็นธาตุอาหารที่เหมาะกับตัวถั่วฝักยาวเป็นอย่างมากด้วย

นอกจากช่วยเสริมในเรื่องของธาตุอาหารแล้ว ตัวปุ๋ยหมักยังช่วยในเรื่องของการลดสารเคมีที่มีการตกค้างอยู่ในดินได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญยังช่วยลดต้นทุนของเกษตรกรที่ทำการปลูกได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว อีกทั้งยังช่วยขับไล่แมลงและศัตรูพืชบางชนิดได้เป็นอย่างดีเลยด้วย นับว่าตัวปุ๋ยหมักนั้นมีประโยชน์อย่างยิ่งเลยทีเดียวสำหรับการนำมาใช้ในการ ปลูกถั่วฝักยาว

การดูแลถั่วฝักยาวนั้นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับเกษตรกรที่ทำการ ปลูกถั่วฝักยาว เพื่อที่จะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และสามารถจำหน่ายได้ราคาที่ดี จำเป็นจะต้องดูแลอย่างใกล้ชิดและใส่ใจในรายละเอียดของถั่วฝักยาวได้เป็นอย่างดี ซึ่งการดูแลก็มีหลากหลายวิธีที่ช่วยทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และได้ปริมาณที่เพิ่มขึ้น

การให้น้ำโดยทั่วไปแล้วนั้นถ้าเป็นพืชตระกูลถั่ว ส่วนใหญ่พืชตระกูลนี้จะต้องการน้ำเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นจะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรให้จนแฉะเกินไป หลังจากนั้นระยะการเจริญเติบโตหลังจากทำการถอนแยกแล้วควรให้น้ำทุกๆ 4-6 วัน ต่อครั้ง อย่างสม่ำเสมอ

ถ้าหากไม่ได้มีการโรยแกลบหรือใบคูนไว้รอบๆ เพื่อเป็นตัวช่วยในการรักษาความชื้น ก็ควรให้น้ำอย่างน้อยประมาณ 3-5 วัน ต่อครั้ง และให้ทำการตรวจสอบความชื้นในดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตด้วย ซึ่งระบบน้ำที่ใช้อาจใช้วิธีการใส่น้ำเข้าตามร่อง หรืออาจจะใช้วิธีการตักรดจากร่องน้ำโดยตรงก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำที่มีด้วย และสภาพพื้นที่ในการปลูก และความชำนาญของการ ปลูกถั่วฝักยาว ของผู้ปลูกเป็นหลักด้วยนั่นเอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.พยุงถั่วฝักยาวให้เกาะลำต้นให้เจริญเติบโตได้
5.พยุงถั่วฝักยาวให้เกาะลำต้นให้เจริญเติบโตได้

การทำค้างต้นถั่วฝักยาว

การ ปลูกถั่วฝักยาว นั้นจำเป็นจะต้องมีสิ่งที่คอยค้ำถั่วฝักยาวไว้ ไม่ว่าจะเป็นค้าง หรือนั่งร้าน เพื่อที่จะช่วยพยุงให้ถั่วฝักยาวนั้นเกาะพยุงลำต้นให้เจริญเติบโตได้ ซึ่งสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นไม้ที่ใช้สำหรับทำค้างหรือไม้ไผ่ก็ได้เช่นกัน โดยความยาวของค้างหรือไม้ที่นำมาใช้นั้นต้องมีความยาวประมาณ 2.5-3 เมตร หรือตามความยาวที่เหมาะสม หรือถ้าไม่ใช้ไม้อาจจะใช้โครงเสาและใช้ลวดในการขึงด้านบนแทนก็ได้ และใช้เชือกห้อยลงมายังถั่วฝักยาวให้เลื้อยขึ้นไปได้ ระยะเวลาในการใส่ค้างถั่วฝักยาวนั้นจะเริ่มตั้งแต่ช่วงที่หลังจากงอกแล้วประมาณ 15-20 วัน โดยจับต้นถั่วฝักยาวให้พันเลื้อยขึ้นค้างในลักษณะทวนเข็มนาฬิกา

หลังจากที่มีการ ปลูกถั่วฝักยาว ไปแล้ว ในช่วงที่ถั่วเริ่มงอกแล้วนั้นต้องคอยดูแลวัชพืชในแปลงปลูก ซึ่งปกติแล้วการกำจัดวัชพืชหลังจากที่เมล็ดงอกแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ หรือก่อนที่จะเริ่มมีการปักค้าง และหลังจากนั้นต้องคอยสังเกตจำนวนวัชพืชในแปลง หากพบวัชพืชในแปลงก็สามารถกำจัดได้ทันที เมื่อต้นถั่วเจริญเติบโตคลุมแปลงแล้วจะทำให้การแข่งขันของวัชพืชลดลง ในการกำจัดวัชพืชในระยะที่ถั่วฝักยาวเริ่มออกดอกนั้นต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากการกำจัดวัชพืชอาจกระทบกระเทือนรากอันเป็นสาเหตุให้ดอกร่วงได้ วิธีที่ดีที่สุดหากถอนไม่ได้ คือการตัดต้นวัชพืชชิดโคนต้นให้มากที่สุด

6.ผลผลิตจากถั่้วฝักยาวส่งขายได้กำไรดี (https.decor.mthai.comappuploads201808home_yardlong_bean_01)
6.ผลผลิตจากถั่้วฝักยาวส่งขายได้กำไรดี

การเก็บเกี่ยวผลผลิตถั่วฝักยาว

ผลผลิตทุกชนิดนั้นช่วงเวลาของการเก็บเกี่ยวนับว่าเป็นช่วงที่สำคัญและจำเป็นอย่างมาก เพราะว่าการเก็บเกี่ยวแต่ละครั้งก็ต้องการผลผลิตที่ดี และไม่มีความเสียหายมากนัก สำหรับถั่วฝักยาวเองนั้นก็เช่นกัน การเก็บเกี่ยวควรจะต้องระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย ซึ่งการเก็บเกี่ยวถั่วฝักยาวเลยก็จะใช้ระยะเวลาด้วย ซึ่งถ้าเริ่มนับจากวันที่ผสมเกสรก็จะใช้เวลาประมาณ 10-15 วัน ซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลาในการปลูกประมาณ 55-75 วัน ซึ่งระยะของถั่วฝักยาวที่สามารถเก็บได้เลยนั้น คือ ระยะที่ฝักยังไม่แข็งมากนัก สีของฝักไม่จางเกินไป เนื่องจากการบานของดอกไม่พร้อมกัน

ดังนั้นถั่วฝักยาวเองก็มักจะมีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวไม่พร้อมกัน โดยปกติแล้วมักจะเก็บเกือบทุก 2-4 วัน ดังนั้นก็จะเก็บได้ประมาณ 10-20 ครั้ง หากจะเก็บเมล็ดพันธุ์ต้องรอให้ฝักแห้งเป็นสีน้ำตาลก่อนจึงจะเก็บได้ และเมื่อเก็บเมล็ดพันธุ์แล้วต้องรักษาไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด และควรเก็บไว้ในที่เย็น ส่วนเมล็ดที่จะนำมาเก็บนั้นส่วนใหญ่แล้วจะต้องเป็นเมล็ดที่นำไปตากแดดจนแห้งสนิท โดยปกติทั่วไปนั้นจะให้ผลผลิตประมาณ 600-700 กิโลกรัม ต่อไร่ ขนาดความยาวของถั่วฝักยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร เลยทีเดียว นับเป็นขนาดและปริมาณที่เหมาะแก่การจำหน่ายและสร้างรายได้ ได้เป็นอย่างดี

การป้องกันและกำจัด โรค แมลง ศัตรูพืช ต้นถั่วฝักยาว

เรื่องของโรคและแมลงมักจะเป็นปัญหาใหญ่ และเป็นปัญหาที่มักจะพบเจอในเรื่องของการปลูกพืชผักสวนครัวแทบทุกชนิดเลยก็ว่าได้ ไม่เว้นแม้แต่ถั่วฝักยาวเอง ก็มีปัญหาในเรื่องของโรคและแมลงศัตรูพืชเช่นกัน

โดยส่วนมากโรคที่มักจะพบในถั่วฝักยาวเลย คือ โรคใบจุด และโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และโรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยโรคที่มักจะเกิดในถั่วฝักยาวนั้นถ้าเกิดขึ้นแล้วจะทำให้ใบร่วงดำ หรือต้นถั่วฝักยาวเริ่มตาย  หรืออาจจะทำให้เกิดฝักเน่าได้ ทางที่ดีควรจะถอนทิ้งและเผาทำลาย แต่ถ้าเป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรียอาจจะมีการกำจัดโดยวิธีการเผาจะดีที่สุด เพราะจะทำให้ต้นที่ติดโรคนั้นไม่แพร่กระจายไปสู่ต้นอื่นๆ ได้ง่ายด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากเรื่องของโรคแล้ว แมลงที่มักจะพบในถั่วฝักยาวบ่อยๆ เลย คือ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ซึ่งเพลี้ยนั้นเป็นพาหะในการนำโรคต่างๆ มาให้กับต้นถั่วฝักยาวได้ง่าย ซึ่งโรคเพลี้ยระบาดนั้นส่วนมากมักจะเริ่มระบาดในช่วงฤดูฝน ดังนั้นวิธีป้องกันส่วนใหญ่แล้วควรจะหลีกเลี่ยงการปลูกถั่วในช่วงฤดูฝนจะดีที่สุด หรืออีกวิธีในการป้องกันเพลี้ยอ่อนเลย คือ ใช้น้ำยาล้างจานผสมกับน้ำส้มสายชูและน้ำเปล่า จากนั้นให้นำมาฉีดพ่นจะช่วยลดปริมาณเพลี้ยอ่อนลงได้ เพราะว่าน้ำยาล้างจานที่ผ่านการผสมแล้วนั้นจะช่วยทำให้ผิวหนังของเพลี้ยเปราะบาง เมื่อเพลี้ยโดนแดดจัดจะทำให้ตัวอ่อนยุบตายได้

7.เป็นพืชอีกหนึ่งชนิดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก (https.sukkaphap-d.comwp-contentuploads201612yardlong-bean)
7.เป็นพืชอีกหนึ่งชนิดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายถั่วฝักยาว

เริ่มแรกเลยนั้นถ้าเกษตรกรที่เริ่มปลูกสนใจจะทำการตลาด สำหรับถั่วฝักยาวนั้นเริ่มแรกเลยเราอาจจะทำขายในตลาดท้องถิ่นก่อน อาจจะเป็นหมู่บ้าน ร้านค้าที่หมู่บ้านใกล้เคียง หรือตลาดนัด ตลาดสดท้องถิ่นก่อนก็ได้ และเมื่อขายได้ผลผลิตที่มากขึ้น หรือเริ่มปลูกมากขึ้น ก็ค่อยทำการขยายตลาดออกไปให้กว้างขึ้นก็ได้เช่นกัน โดยข้อดีของการเริ่มปลูกในปริมาณที่พอดี ไม่มากเกินไปนั้น จะทำให้เกิดความผิดพลาดและเสียหายจากผลผลิตได้น้อย

เมื่อเราเริ่มมีความชำนาญมากขึ้นแล้ว การค่อยๆ ก้าวไปทีละขั้นนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะว่าการก้าวไปทีละขั้นนั้นจะช่วยให้เราสามารถคำนวณและคาดการณ์เรื่องต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ดีขึ้นด้วย และไม่แน่เลยว่าเมื่อผลผลิตเรามีคุณภาพและมีปริมาณที่มากขึ้น อาจจะมีพ่อค้าคนกลางหรือผู้ค้าที่สนใจมารับที่หน้าสวนเองก็เป็นได้เลยทีเดียว ฉะนั้นการสร้างรากฐานที่ดีย่อมนำไปสู่ผลสำเร็จได้ไม่ยากอย่างแน่นอน เพียงตั้งใจและฝึกตัวเอง การตลาดที่ใหญ่กว่านี้ย่อมเกิดขึ้นได้แน่

ฝากถึงผู้ที่สนใจ ปลูกถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาวนั้นถือได้ว่าเป็นพืชที่ยังคงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องของการปลูก และการจำหน่ายในท้องตลาด นับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกหนึ่งชนิดของประเทศเลยก็ว่าได้ อีกทั้งการ ปลูกถั่วฝักยาว นั้นก็สามารถทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพียงเริ่มจากจุดเล็กๆ และค่อยต่อยอดขยายออกไป ก็สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี นับว่าเป็นพืชที่คนปลูกก็ขายได้ คนซื้อก็ได้สุขภาพที่ดีไปด้วย

เรื่องของการ ปลูกถั่วฝักยาว นั้นนับว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะมีหลายบทความที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ค่อนข้างมาก เราก็ได้ทำการสรุปเนื้อหาและประเด็นเกี่ยวกับการปลูกที่น่าสนใจมาไว้ให้กับผู้ที่สนใจในการปลูก หรือเตรียมพื้นที่จะปลูกไว้แล้ว แต่การเริ่มจากจุดเล็กๆ เป็นตัวช่วยในการสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้ในอนาคต ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับเรื่องของการ ปลูกถั่วฝักยาว

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

https://www.bangkoktoday.net, https://vegetweb.com,https://decor.mthai.com/garden/45503.html,https://www.plookphak.com/how-to-plant-yard-long-bean/,https://www.kasetorganic.com,https.sukkaphap-d.com