ปลูกพืชผสมผสาน สวนผลไม้ และ พริกไทย คุณภาพ สร้างรายได้หลักล้าน
สืบเนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองเกษตรกรรม ประชากรในประเทศส่วนใหญ่จึงมีอาชีพทำเกษตรทั้งปลูกพืชผักและไม้ผล แต่การที่เกษตรกรเน้นการปลูกพืชเชิงเดี่ยวนั้นเท่ากับว่า รายได้ที่เข้าสู่ครัวเรือนก็จะมีเพียงทางเดียว ที่สำคัญเวลาที่ผลผลิตออกสู่ตลาด ก็จะเกิดภาวะสินค้าล้นตลาดทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำส่งผลกระทบกลับมาสู่เกษตรกรทุกปี ฉะนั้นรัฐบาลจึงรณรงค์ให้เกษตรกรปลูกพืชหลายๆชนิด แบบปลูกพืชผสมผสานภายในพื้นที่เดียวกัน เพื่อลดความเสี่ยงด้านผลผลิตที่ล้นตลาดและยังเป็นการสร้างรายได้หมุนเวียนได้ตลอดทั้งปีเพื่อนำมาซึ่งความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพี่น้องเกษตรกรนั่นเอง
เช่นเดียวกับ “องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเบญจา” ที่ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี โดยมี นายสมชาย ลินจง ทำหน้าที่เป็นนายกองค์การบริการส่วนตำบลทุ่งเบญจาที่ได้ยึดหลักการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลโดยการพัฒนาชุมชน บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างความกินดีอยู่ดีให้กับประชาชนในท้องถิ่น ด้วยเหตุนี้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเบญจา จึงต้องวางแผนด้านการบริหารชุมชนเพื่อปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่ พัฒนาบุคลากร และเทคโนโลยีให้ทันสมัยสามารถแก้ปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการนำหลักการและแนวทางปฏิบัติที่ดีมาใช้ในการดำเนินงานและพัฒนาชุมชน
การจัดสรรงบประมาณเพื่อให้หมู่บ้านสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่ชุมชน
เช่นเดียวกับ “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง” ที่รู้จักกันดีว่าหมู่บ้านน้ำใสที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเบญจา อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ได้ให้การสนับสนุนพร้อมทั้งช่วยจัดสรรเรื่องงบประมาณเพื่อให้หมู่บ้านเกิดการพัฒนาต่อยอดด้านสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เป็นชุมชนที่น่าอยู่ภายใต้ความเข้มแข็งของผู้นำหมู่บ้านที่นำโดยผู้ใหญ่บ้านคนเก่งตลอดจนการมีคณะกรรมการหมู่บ้านที่เข้มแข็ง ที่มุ่งมั่นพัฒนาหมู่บ้านด้วยจิตอาสาและมองเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้งเป็นหลักสำคัญ ปลูกพืชผสมผสาน ปลูกพืชผสมผสาน ปลูกพืชผสมผสาน ปลูกพืชผสมผสาน ปลูกพืชผสมผสาน
“ หมู่บ้านน้ำใส เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบอยู่แล้ว เพียงแต่เรามาต่อยอดให้เกิดการพัฒนามากขึ้น ที่สำคัญโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเป็นโครงการที่ทางรัฐบาลส่งเสริมอยู่แล้วด้วย เราในฐานะการปกครองท้องถิ่นก็ขอเป็นส่วนหนึ่งในการเชื่อมต่อระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในเรื่องของงบประมาณและการศึกษาหาความรู้ต่างๆ” นายสมชาย ลินจง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเบญจากล่าว
เมื่อ คุณจิดาภา ธนะมูล ได้รับเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้านจึงมีแนวคิดในการริเริ่มโครงการ “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อเป็นทางเลือกและเป็นทางรอดให้กับเกษตรกรในพื้นที่ โดยคิดว่าทำอย่างไรให้ชาวบ้านเรามีรายรับตลอดทั้งปี โดยให้มีรายรับทั้งรายวัน รายเดือนและรายปี เพราะชาวบ้านเราเป็นชาวสวนซะส่วนใหญ่ก็จะมีรายได้เพียงอย่างเดียวใน 1 ปีแล้วมีความเสี่ยงต่างๆที่ชาวบ้านต้องแบกรับ ปลูกพืชผสมผสาน
จึงมีแรงจูงใจในการพัฒนาหมู่บ้านตนเองจากโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้จัดทำขึ้นมา ซึ่งเป็นเพียงโครงการเล็กๆในชุมชนแต่สามารถคว้ารางวัล หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านดีเด่นมาได้เมื่อปี 2558 โดยได้รับโล่พระราชทานของสมเด็จพระเทพฯ
การปลูกพืชผักและไม้ผลแบบ การปลูกพืชผสมผสาน
ผู้ใหญ่บ้านคนดังเล่าว่า “หมู่บ้านน้ำใส” ได้เริ่มต้นโครงการ ปลูกพืชผสมผสาน โดยเน้นใช้ระบบการจัดการสวนแบบเกษตรอินทรีย์เข้ามาช่วยหรือก็จะเน้นใช้พื้นที่สวนผลไม้เดิมของชาวบ้านเป็นหลัก เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่จะมีสวนทุเรียน สวนเงาะ และสวนมังคุด อยู่แล้ว จึงได้มีการส่งเสริมให้ชาวสวนปลูกพืชชนิดอื่นแซมเข้าไปด้วย เช่น สวนทุเรียน หรือสวนไม้ผล ที่พอมีพื้นที่ว่างอยู่ก็จะปลูกพริกไทย แซมที่ต้องเลือกพื้นที่ที่ค่อนข้างเป็นเนินลาดเอียง น้ำไม่ขัง ซึ่งจะเหมาะสมกับการปลูกพริกไทยมาก โดยชาวสวนจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต พริกไทย ได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคมของทุกปีหรือรายได้ 2 ครั้งต่อปีทั้งจากไม้ผลและ พริกไทย
นอกจากนี้ทางผู้ใหญ่ยังรณรงค์ให้ชาวบ้านปลูกผักสวนครัวไว้กินเองหรือปลูกไม้ผลอายุสั้น เช่น กล้วย หรือมะละกอ ในพื้นที่ด้วย เพื่อเป็นรายได้รายวันและรายเดือน เพื่อให้เกษตรกรมีเงินหมุนเวียนได้ตลอดปี และที่สำคัญเพื่อให้เกษตรกรไทยห่างไกลจากการเป็นหนี้ทั้งในระบบและหนี้นอกระบบได้เพราะเกษตรกรพึ่งพาตนเองได้
คุณขวัญเรือน จันทสิทธิ์ เกษตรกรปลูก พริกไทย พันธุ์พริกไทย มาเลย์แซมในสวนทุเรียนมีรายได้เฉลี่ยเกือบ 2 แสนกว่าบาท/ไร่
ซึ่งเกษตรกรต้นแบบที่ทางกลุ่มภูมิใจนำเสนอในวันนี้ก็คือ เจ้เรือน หรือ คุณขวัญเรือน จันทสิทธิ์ ที่หันมา ปลูกพืชผสมผสาน แทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวบนเนื้อที่ราว 50 ไร่ และเลือกที่จะปลูก พริกไทย สายพันธุ์มาเลย์แซมในสวนทุเรียน ปลูกเงาะ มะละกอ หมาก ผักหวานป่า มังคุด มะยงชิด บางแปลงก็จะปลูกแซมมะนาวในพื้นที่เดียวกันโดยทุกพื้นที่สามารถสร้างรายได้ได้จริง การปลูกพืชผสมผสาน การปลูกพืชผสมผสาน การปลูกพืชผสมผสาน
สาเหตุที่ตัดสินใจ ปลูกพืชผสมผสาน เพราะผลผลิตของไม้ผลที่นี่โดยเฉพาะทุเรียนอินทรีย์ค่อนข้างขายดี เนื่องจากรสชาติที่หวาน มีกลิ่นหอมเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ทำให้ต้องมีการสั่งจองซื้อผลผลิตกันนานข้ามปีเลยทีเดียว เนื่องจากการทำทุเรียนอินทรีย์ให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้นทำได้ไม่ยาก แต่ชาวสวนต้องหนักแน่นเพราะในช่วง 1-2 ปีแรกของการเริ่มต้น ผลผลิตจะลดลงไปจนใจหายเมื่อเทียบกับการใช้สารเคมี แต่ตลาดมีความต้องการเพราะปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค การปลูกพืชผสมผสาน การปลูกพืชผสมผสาน การปลูกพืชผสมผสาน การปลูกพืชผสมผสาน
“ แต่ก่อนเราเคยเก็บผลผลิตได้ 60 ตันในพื้นที่ 50 ไร่ พอทำระบบอินทรีย์ผลผลิตจะลดลงไปเหลือเพียง 20 ตันในพื้นที่เท่าเดิม แต่คุณขวัญเรือนยืนยันว่าแม้ผลผลิตจะลดลง แต่ต้นทุนการจัดการก็ลดลงไปเกินกว่าครึ่งด้วย และในปีต่อๆมาผลผลิตก็จะค่อยๆขยับขึ้นไปเรื่อยๆ การปลูกพืชผสมผสาน การปลูกพืชผสมผสาน การปลูกพืชผสมผสาน
เมื่อต้นไม้ปรับสภาพได้ ล่าสุดเมื่อปี 2559 ที่ผ่านมาคุณขวัญเรือนสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากถึง 40 ตันต่อพื้นที่ 50 ไร่ ที่สร้างรายได้ถึงล้านกว่าบาท จึงได้เก็บเงินบางส่วนไว้เพื่อลงทุนต่อ การปลูกพืชผสมผสาน
บางส่วนเป็นเงินเก็บ และซื้อที่ดินซึ่งเป็นสวนยางพาราเก่าอายุ 10 กว่าปีที่เปิดกรีดได้แล้วและยังเป็นช่วงที่ราคาน้ำยางเริ่มขยับตัวสูงขึ้น ทำให้ขายขี้ยางได้ราคา จึงได้จ้างคนงานกรีดยางที่แบ่งผลประโยชน์กันแบบ 50:50 ที่สร้างรายได้ต่อวันเพิ่มขึ้นมาอีกช่องทางหนึ่ง การปลูกพืชผสมผสาน การปลูกพืชผสมผสาน การปลูกพืชผสมผสาน
คุณขวัญเรือนปลูกทุเรียนและเงาะบนเนื้อที่-50-ไร่
การปลูก เมล็ดพริกไทย บนเนื้อที่ 4 ไร่ มีรายได้เฉลี่ยเกือบ 2 แสนกว่าบาท/ไร่
นอกจากเจ๊เรือนจะมีสวนทุเรียน สวนเงาะ และสวนยางพารา แล้ว ยังได้แบ่งพื้นที่บางส่วนเพื่อปลูกพริกไทยมาเลย์ตามโครงการของหมู่บ้านที่เดินหน้าส่งเสริมโครงการอย่างเต็มที่ที่ทำให้เจ๊เรือนมีรายได้เพิ่มจากการปลูก พริกไทย บนเนื้อที่เพียง 4 ไร่ มีรายได้เฉลี่ยเกือบ 2 แสนกว่าบาท/ไร่ พันธุ์พริกไทย พันธุ์พริกไทย พันธุ์พริกไทย พันธุ์พริกไทย
โดยแบ่งการปลูก พริกไทย ออกเป็น 2 ส่วน คือ เป็นพื้นที่ปลูกพริกไทย ชิงเดี่ยว 3 ไร่ และปลูกแซมในพื้นที่สวนทุเรียนอีก 1 ไร่ เฉลี่ย 400 ค้าง/ไร่ ซึ่งในช่วงแรกเจ๊เรือนได้ซื้อต้นพันธุ์มาจากคนในหมู่บ้านในราคาคู่ละ 60 บาท เป็นสายพันธุ์มาเลย์ ที่มีแรงจูงใจมาจากผลผลิตสายพันธุ์นี้เมื่อเก็บเกี่ยวแล้ว พันธุ์พริกไทย พันธุ์พริกไทย
หากช่วงไหนราคาไม่ดี สามารถเก็บตุนผลผลิตไว้เพื่อรอขายในช่วงที่ราคาขยับสูงขึ้นมาได้ เนื่องจากการปลูก พริกไทยทุกสวนจะเน้นจ้างเก็บผลผลิตและมีลานตากผลผลิตให้เป็น เมล็ดพริกไทย แห้งหรือพริกไทยดำที่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยที่ราไม่ขึ้น ซึ่งต่างจากพริกไทยสายพันธุ์ซีรอนจะนิยมเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็น “พริกไทยอ่อน” ที่ไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ รอราคาไม่ได้ เนื่องจากราจะขึ้นจนไม่สามารถขายผลผลิตได้และกำหนดราคาขายไม่ได้
การเตรียมดินและพื้นที่ พันธุ์พริกไทย การปลูกพืชผสมผสาน
ด้านการเตรียมพื้นที่ปลูกพริกไทยนั้นเจ๊เรือนจะเลือกพื้นที่ที่ค่อนข้างเป็นเนินที่น้ำไหลผ่านได้สะดวกเพราะพริกไทยไม่ชอบน้ำขังนั่นเอง การเตรียมดินสำหรับปลูกพริกไทยจึงเน้นใช้รถแบคโฮขุดหลุมเพื่อตักเอาหน้าดินลงไปสลับไว้ที่ก้นหลุมเพราะหน้าดินมีสารอาหารมากกว่าดินข้างล่าง เมื่อรากของต้นพริกไทยเริ่มรัดจะทำให้รากออกหาอาหารได้ทันที
จากนั้นจะซื้อเสามาปักเป็นหลักให้ต้นพริกไทยเลื้อยขึ้น ไปได้ในราคาต้นละ 200 บาทต่อ 1 ค้าง จากนั้นจะติดตั้งระบบน้ำแบบมินิสปริงเกลอร์เพื่อให้น้ำ ให้มีความชื้นกระจายไปทั่วกอ จากนั้นจะขุดหลุมลึกประมาณ 1 ศอก มีระยะห่าง 1 เมตร ก่อนจะปลูกพริกไทยที่ต้องฝังต้นพริกไทยให้ลึกลงไป 3 ข้อและให้เหลือพ้นดินขึ้นมาเพียง 2 ข้อ
เพื่อให้การแตกรากมีมากขึ้น หาอาหารได้มากขึ้น ในช่วงแรกหลังปลูกไปประมาณ 1 เดือน จะมีการดูแลต้นพริกไทยโดยการฉีดพ่นฮอร์โมนทางใบให้ต้นรัด แตกรากดี แตกกิ่งดี เจริญเติบโตดีและให้ต้นเลื้อยขึ้นสูงจนสุดค้างเสียก่อน เมื่อต้นพริกไทยมีอายุประมาณ 1 เดือน จะใส่ปุ๋ยขี้วัวรอบๆโคนต้น ก่อนจะให้น้ำด้วยระบบสปริงเกลอร์เพื่อละลายขี้วัว ที่เน้นการให้น้ำ 2 วัน/ครั้ง หรือประมาณ 20 นาที/ครั้งเท่านั้น พันธุ์พริกไทย พันธุ์พริกไทย พันธุ์พริกไทย
การใส่ปุ๋ยเร่งดอกในต้นพริกไทย
เมื่อต้นพริกไทยอายุประมาณ 6 เดือนจะใส่ปุ๋ยสูตรเร่งดอก 16-16-16 หลังจากนั้น 2 เดือนจะใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ต่อมาพริกไทยก็จะเริ่มแทงช่อดอกออกมาได้ประมาณ 1 เดือน รวงพริกไทยจะมีสีเหลืองและจะส่งกลิ่นหอมไปทั่วทั้งแปลง จากนั้นรวงพริกไทยจะค่อยๆติดลูกเป็นเม็ดเล็กๆ จนเต็มรวง พันธุ์พริกไทย พันธุ์พริกไทย พันธุ์พริกไทย
ซึ่งในช่วงที่พริกไทยติดลูกนี้จะมีการดูแลโดยการฉีดพ่นฮอร์โมนชีวภาพ ทางใบเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ ป้องกันการสลัดลูกทิ้ง ซึ่งฮอร์โมนชีวภาพจะมีราคาที่ 300 บาท/ลิตร นอกจากนี้ยังใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพจากชุมชนเพื่อบำรุงดินและบำรุงใบ เน้นใช้สมุนไพรแทนยาฆ่าแมลงที่มีส่วนผสมของพริกไทย พริกขี้หนู ยาฉุน หัวข่า บอระเพ็ด
ก่อนจะนำมาหมักรวมกับกากน้ำตาลซึ่งใช้ระยะเวลาในการหมักนาน 4-5 เดือน หรือจะใช้ผสมน้ำฉีดพ่นเป็นปุ๋ยหมักในช่วงที่ต้นพริกไทยติดผลได้ดีเพราะหลังจากที่ดอกพริกไทยห่อแล้วก็จะเริ่มติดเม็ดเล็กๆที่ต้องเน้นการฉีดพ่นทางใบในช่วงนี้เพราะหากไม่ฉีดพ่นฮอร์โมนบำรุงแล้วเม็ดพริกไทยจะติดผลห่างกันทำให้เกิดพริกไทยฟันหรอ ให้ผลผลิตไม่สวย ทำให้ผลผลิตต่อไร่น้อยลงไปด้วย
เมื่อพริกไทยติดเมล็ดเล็กแล้วนับไปอีก 15 วันเมล็ดพริกจะขึ้นเต็มที่และนับเวลาไปอีก 5-6 เดือนก็จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ซึ่งการเก็บเกี่ยวผลผลิตของพริกไทยให้สังเกตจากรวงหากมีเม็ดที่สุกที่มีสีแดง 7-8 เม็ดก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ โดยเจ๊เรือนจะจ้างแรงงานเก็บผลผลิตถึง 6 คน/วัน
โดย 1 คน สามารถเก็บพริกไทยได้ประมาณ 40 กิโลกรัม ในช่วงการเก็บแบบเล็มโดยมีอัตราค่าจ้างกิโลกรัมละ 10 บาท และนับจากวันเก็บผลผลิตครั้งแรกไปอีก 10 วัน ก็จะเริ่มเก็บแบบโล๊ะอีกครั้ง ในอัตราค่าจ้างกิโลกรัมละ 8 บาทโดยสามารถเก็บผลผลิตได้เฉลี่ยคนละประมาณ 60 กิโลกรัม/วันเลยทีเดียว
การตากแดด เมล็ดพริกไทย
เมื่อได้ เมล็ดพริกไทย มาแล้วเจ๊เรือนก็จะนำผลผลิตไปตากบนลานปูนซีเมนต์ 1 แดด ก่อนจะนำผลผลิตมาสีด้วยเครื่องสีขนาดเล็กเพื่อแยกขั้วและเมล็ดออกจากกันแล้วค่อยนำมาตากแดดนาน 3-4 แดดจนกลายเป็น “ เมล็ดพริกไทย แห้ง” ที่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยไม่เป็นเชื้อรา
จากนั้นนำเมล็ดไปเข้าเครื่องคัดแยกทำความสะอาด เมล็ดพริกไทย อีกครั้งก่อนจะมีพ่อค้าวิ่งมารับซื้อผลผลิตกันถึงหน้าสวนในราคา 240-300 บาท/กก. ซึ่งปีนี้ราคาลดลงมาจากปีที่แล้วที่ขายได้ราคาดีสูงสุดที่ 400 บาท/กก. ส่วนของฝุ่นและหางพริกไทยก็ยังสามารถขายได้ โดยพ่อค้าจะรับซื้อในราคา 3 บาท/กก. และต้นพริกไทยที่ตายแล้วจะโล๊ะค้างแล้วยังขายได้ อีกทั้งยอดที่ชาวสวนต้องตัดแต่งยอดทิ้งไปทุกปียังสามารถนำไปเสียบยอดขยายพันธุ์ สร้างรายได้ให้กับทางกลุ่มได้ด้วย เพราะพริกไทยเป็นทั้งพืชอาหารและพืชสมุนไพรนั่นเอง
การเก็บเกี่ยว เมล็ดพริกไทย
ที่สำคัญหลังจากเจ๊เรือนโล๊ะค้างพริกไทยแล้วก็จะเริ่มดูแลรักษาต้นพริกไทยเพื่อรอเก็บเกี่ยวในฤดูกาลต่อไป โดยจะเน้นฉีดพ่นสารป้องกันราเพราะหากต้นพริกไทยถูกเชื้อราเข้าทำลายแล้วจะทำให้ใบร่วงที่จะทำให้การออกดอกของพริกไทยไม่ดี ต่อมาจะเน้นการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอในอัตราครึ่งชั่วโมงแบบวันเว้นวัน
จากนั้นจะให้ปุ๋ยเกล็ดทางใบและให้ปุ๋ยอินทรีย์เคมีทางดินในอัตราต้นละ 1 กิโลกรัม หากยอดพริกไทยสูงเกินค้างไปมากก็จะตัดให้ต่ำ ให้ได้ทรงพุ่มที่เหมาะสม ต้องให้ต้นสูงเสมอค้างเท่านั้น เมื่อต้นพริกไทยฟื้นตัวแล้วก็จะเริ่มบำรุงตามขั้นตอนเดิมเพื่อให้ต้นพริกไทยติดดอกออกผลผลิตที่ดี
การปลูกพริกไทย 1 ครั้งสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานถึง 10 กว่าปี
ซึ่งการปลูกพริกไทย 1 ครั้งสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานถึง 10 กว่าปีเลยทีเดียว ซึ่งคุ้มค่าแก่การลงทุน ไม่ต้องปลูกทุกปี ประหยัดต้นทุนการผลิตได้ดี มีตลาดรองรับผลผลิตด้วย “เราจะขายผลผลิตให้กับพ่อค้าที่เข้ามาซื้อประจำที่สวน แล้วก็จะดูราคาที่เราพอใจด้วย หากราคายังถูกอยู่ก็จะไม่ขาย เราเคยเก็บสต๊อกผลผลิตไว้มากสุด คือ 2 ตัน ถึงจะขายให้กับพ่อค้า พันธุ์พริกไทย พันธุ์พริกไทย พันธุ์พริกไทย พันธุ์พริกไทย พันธุ์พริกไทย พันธุ์พริกไทย พันธุ์พริกไทย
ตอนนี้ราคาผลผลิตพริกไทยแห้งจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 240-400 บาท ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดในแต่ละช่วง แต่ละปีด้วย ซึ่งปีนี้เราสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลายตัน ” เจ๊เรือนยืนยัน พันธุ์พริกไทย พันธุ์พริกไทย
นอกจากเจ๊เรือนจะมีรายได้จากสวนทุเรียน สวนเงาะ สวนยางพารา และสวนพริกไทย แล้ว ยังได้ปลูกพืชอายุสั้นอย่างกล้วยและผักสวนครัวไว้สร้างรายได้รายวันอีกด้วย เพื่อเป็นค่ากับข้าวในแต่ละวัน ส่วนรายเดือนจะเป็นผลผลิตของกล้วยที่ขายได้ราคาดีทุกสัปดาห์และมีผลไม้เป็นรายได้รายปี
เจ๊เรือนยอมรับว่าการทำสวนแบบผสมผสานมีประโยชน์มาก เพราะทำให้มีรายได้หมุนเวียนเข้ามาในครอบครัวทั้งปี ไม่ต้องไปกู้หนี้ยืมสินใคร ที่สำคัญคือได้สุขภาพที่ดี เพราะไม่เน้นการใช้สารเคมีมากเกินไป หรือจะใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น ทำให้สุขภาพดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
อีกทั้งการทำสวนด้วยตนเองมาตลอดทำให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเพราะได้ออกกำลังกายทุกวัน ไม่เจ็บป่วยง่ายด้วย รวมไปถึงเจ๊เรือนยังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการของหมู่บ้านน้ำใสที่ต้องแบ่งเวลาในการดูแลสวนตนเองไปดูแลแปลงสาธิตร่วมกับคณะกรรมการท่านอื่น ที่จะมีการพบปะกันเกือบทุกวันโดยเฉพาะในช่วงบ่ายเพื่อมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน แนวทางในการพัฒนาหมู่บ้านร่มเย็นเป็นสุขเพื่อประโยชน์ของชุมชนให้กลายเป็นชุมชนเข้มแข็งนั่นเอง
การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในชุมชน
คุณจิดาภา ยืนยันในฐานะผู้ใหญ่บ้านหมู่ 11 ที่เดินหน้าเรื่องเกษตรอินทรีย์แล้วยังได้พัฒนาเรื่องของแหล่งน้ำประจำหมู่บ้านด้วย เนื่องจากพื้นที่หมู่ 11 ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือ ชาวสวนที่มีความต้องการใช้น้ำอย่างต่อเนื่องทั้งปี จึงได้พัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนพื้นที่ที่ใช้เป็นบ่อขยะเก่ามาสร้างเป็นสระน้ำสาธารณะขึ้นมาเพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรองไว้ให้กับคนในพื้นที่และต่างพื้นที่ที่สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำได้ภายใต้กฎกติกาที่กำหนดเอาไว้ชัดเจน
ปัจจุบันหมู่บ้านน้ำใสมีสระน้ำของหมู่บ้านอยู่ 2 แห่ง บนเนื้อที่ 25 ไร่ และ 5 ไร่ โดยพื้นที่ 25 ไร่ เป็นแหล่งน้ำตื้นจะเปิดให้ใช้ได้เฉพาะชาวบ้านในพื้นที่หรือชาวบ้านน้ำใสเท่านั้น ส่วนสระน้ำอีก 5 ไร่ ซึ่งเป็นสระน้ำลึกจะให้ชาวบ้านต่างพื้นที่ใช้ประโยชน์ได้ โดยผู้ใหญ่จะให้ชาวบ้านนำรถมาบรรทุกน้ำเอง ซึ่งแหล่งน้ำทั้ง 2 แห่ง จะมีกฎระเบียบ คือ ห้ามใช้เครื่องสูบน้ำและห้ามต่อท่อน้ำ เนื่องจากจะเป็นการใช้น้ำแบบฟุ่มเฟือยทำให้น้ำแห้งและชาวบ้านที่ไม่มีเครื่องสูบน้ำจะไม่มีน้ำไว้ใช้นั่นเอง
ศูนย์เรียนรู้เรื่องของสายพันธุ์ทุเรียน
นอกจากสระน้ำที่มีระบบการบริหารจัดการที่ดีเพื่อให้พี่น้องในชุมชนได้ใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด แล้วทางผู้ใหญ่บ้านยังได้จัดทำศูนย์เรียนรู้เรื่องของสายพันธุ์ทุเรียน โดยลูกทุเรียนทุกสายพันธุ์รวมทั้งสายพันธุ์ทองลินจงที่ท่าน นายกสมชายเป็นเจ้าของสายพันธุ์ โดยจะแยกเป็นแปลงไปเพื่อดูความแตกต่าง ของทุเรียนแต่ละสายพันธุ์เมื่อมีระบบการจัดการแบบอินทรีย์-เคมี โดยพื้นที่ว่างที่เหลือจะทำการเพาะปลูกพืชผักเศรษฐกิจ และ พืชเพื่อการเรียนรู้ โดยโครงการดังกล่าวได้มีหน่วยงานภาครัฐอย่างองค์การบริหารส่วนตำบล (อ.บ.ต) เข้ามาให้ความช่วยเหลือในเรื่องต่างๆรวมทั้งเรื่องของงบประมาณที่เข้ามาสนับสนุนให้โครงการเดินหน้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย โครงการนี้จึงเป็นการระเบิดจากภายในสู่ภายนอก สร้างความเข้มแข็งในพื้นที่ให้เกิดขึ้นก่อน บนพื้นฐานของความรักและสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งอันเดียวอย่างแท้จริง เพราะผลที่ได้จากโครงการสามารถต่อยอดพี่น้องชาวสวนในพื้นที่มีการบริหารจัดการสวนที่ดีขึ้น ทำให้มีเงินหมุนเวียนเข้ามาใช้ในครัวเรือนได้ตลอดทั้งปี
หมู่บ้านน้ำใสกลายเป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
วันนี้ “หมู่บ้านน้ำใส” จึงกลายเป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในฐานะเป็นหมู่บ้านต้นแบบ เน้นเรื่องความพอเพียง การพึ่งตนเอง และการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน “ทุกวันนี้ผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการทุกคนยอมรับว่าเหนื่อย เพราะเราต้องทำเองทั้งหมด แต่เราเหนื่อยแบบมีความสุข เมื่อก่อนตอนทำงานแรกๆก็มีแต่คนว่ามันจะทำได้เหรอ ได้ผลผลิตดีจริงเหรอ แต่พอเราทำมาเรื่อยๆจนเห็นผลก็มีแต่คนทำตาม ซึ่งช่วงแรกยอมรับว่าก็ท้อเหมือนกัน แต่วันนี้ก็หายเหนื่อยเลย เพราะเราอยากให้คนในหมู่บ้านมีความสุข มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่ต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อยๆ อยากให้เกษตรกรหันมา ปลูกพืชผสมผสาน มากขึ้น อย่าไปปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพราะมันเปลืองพื้นที่แล้วก็ให้ผลผลิตน้อยได้ไม่คุ้มเสีย โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่น้อย ให้เน้นปลูกพืชผสมผสานดีกว่า รายได้ก็ดีกว่า ผลผลิตก็มากกว่าหลายเท่าตัว เกษตรกรเองก็สุขภาพดีด้วย” เจ๊เรือนกล่าวในตอนท้าย
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม คุณขวัญเรือน จันทสิทธิ์
9/3 หมู่ 11 ต.ทุ่งเบญจา อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี 22170 โทร . 087-141-4931
ขอบคุณข้อมูล
นายกสมชาย ลินจง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งเบญจา อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
คุณจิดาภา ธนะมูล ผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านน้ำใส ต.ทุ่งเบญจา อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี