ในการทำสวน ทำไร่ หรือปลูกพืชอะไรก็ตามนั้น สภาพดินที่เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะว่าถ้าดินมีสภาพที่ดี มีความสมบูรณ์ และมีธาตุอาหารที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้พืชหรือพรรณไม้ต่างๆ นั้นสามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ปูนขาวประโยชน์
แต่ถ้าสภาพดินนั้นมีค่าความเป็นกรด หรือเป็นด่าง มากเกินไป ก็อาจจะทำให้ไม่สามารถปลูกพืชได้ แต่ก็มีตัวช่วยที่สามารถปรับสภาพดินได้ นั่นก็คือ ปูนขาว ตัวปูนขาวนี้จะมีหน้าที่ในการช่วยปรับสภาพดินให้มีความเป็นกลาง และสามารถปลูกพืชได้ดียิ่งขึ้น
คุณสมบัติของปูนขาว
ปูนขาวถือเป็นสิ่งจำเป็นในภาคการเกษตรเป็นอย่างมาก เพราะว่าจะช่วยในเรื่องของการปรับสภาพดินได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ถ้าดินที่ปลูกพืชนั้นมีสภาพเป็นดินเปรี้ยว หรือมีความเป็นกรดและด่างเกินไป การใช้ปูนขาวช่วยในการปรับสภาพถือว่าเป็นทางเลือกที่ดี เพราะว่ามีราคาประหยัด และไม่แพงจนเกินไป
แต่การใส่ปูนขาวอย่างเดียวนั้นถึงแม้จะช่วยปรับสภาพดินให้มีดินที่ดี แต่ก็ไม่ได้ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้ดิน จึงจำเป็นที่ว่าเกษตรกรที่ใช้ปูนขาวช่วยปรับสภาพดินนั้นควรจะมีการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกลงไปผสมด้วยระหว่างปรับสภาพดิน เพื่อให้ดินมีความเป็นกลาง และสามารถเพิ่มธาตุอาหารในดินได้ด้วยเช่นกัน
การปรับสภาพดินด้วยปูนขาวนั้นนับว่าเป็นเรื่องที่มีการใช้กันมาอย่างยาวนาน เพราะว่าปูนขาวจะช่วยให้ดินมีค่าความเป็นกลางมากขึ้น และที่สำคัญมีราคาไม่แพง และสามารถหาซื้อได้ง่าย เกษตรกรส่วนใหญ่จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ปูนขาวเพื่อปรับดินก่อนปลูกพืชแทบทุกชนิด นอกจากนี้ปูนขาวเองยังมีส่วนช่วยในการปรับสภาพดินหลังจากการปลูกพืชไปแล้วได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าบางพื้นที่อาจไม่จำเป็นจะต้องใช้ปูนขาวในการปรับสภาพดิน แต่ก็ควรจะมีติดไว้บ้างเผื่อไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ถือได้ว่าเป็นอีกวัสดุที่มีความจำเป็นในภาคการเกษตรอีกหนึ่งอย่างเลยก็ว่าได้
ในการทำไร่ ทำนา หรือแม้กระทั่งก่อนที่จะเริ่มทำสวน หรือเลี้ยงสัตว์น้ำ ต่างก็ต้องพบกับปัญหาในเรื่องของดินเป็นที่แน่นอนอยู่แล้ว อาจจะไม่ได้เป็นปัญหาหนักมากในบางสวน แต่บางสวนที่ต้องการปลูกพืชจำนวนมากๆ หรือการทำบ่อเลี้ยงปลา หรือกุ้ง อาจจะถือได้ว่าเป็นปัญหาหนักในเรื่องของดินเปรี้ยว ดินเค็ม ความเป็นด่างเกินไปของดิน ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยปูนขาว ซึ่งตัวปูนขาวนั้นจะมีค่าความเป็นด่างพอสมควร ทำให้ช่วยในเรื่องของการปรับสภาพดินที่เป็นกรดได้ดี
นอกจากนี้ยังมีการนำปูนขาวมาใช้ ไม่ใช่เพียงแต่ใช้ในสวนปลูกพืชผักเพียงอย่างเดียว การนำมาใช้ก่อนจะเริ่มทำบ่อน้ำเพื่อเลี้ยงสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นกุ้ง ปลา หรือสัตว์น้ำอื่นๆ ก็สามารถนำปูนขาวมาใช้ในเรื่องของการปรับสภาพน้ำและดินได้เช่นกัน เห็นได้เลยว่าปูนขาวนั้นเป็นตัวช่วยอย่างดีที่จะทำให้ภาคการเกษตรนั้นสามารถให้ผลผลิตได้เป็นอย่างดี และคุณภาพของดินนั้นก็ดีตามไปด้วย
ลักษณะของปูนขาวหรือปูนไลม์
ปูนขาวและปูนไลม์ไฮดรอลิกนั้นจะมีรูปลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในเรื่องของทางเคมีและกายภาพ ซึ่งปูนขาวนั้นส่วนใหญ่แล้วจะผ่านกระบวนการต่างๆ ทำให้เกิดเป็นผงแห้งๆ จึงเรียกว่าเป็นปูนขาว และส่วนที่เป็นสารแขวนลอย นั่นคือ ปูนไลม์
โดยปูนไลม์หรือปูนขาวนั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลากหลายด้านด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร ที่มีส่วนช่วยในเรื่องของการปรับสภาพดิน ให้ดินมีค่าความเป็นกรด-ด่างพอดี และยังช่วยทำให้แบคทีเรียบางชนิดนั้น กลายเป็นไนโตรเจน ช่วยให้พืชสามารถนำไปใช้ได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังช่วยยับยั้งจุลินทรีย์ที่ให้โทษแก่ดินด้วย ซึ่งจุลินทรีย์ดังกล่าวนั้นจะชอบการเจริญเติบโตในดินที่มีความเป็นกรด ทั้งนี้ยังช่วยในเรื่องของการปรับสภาพดินให้มีความร่วนซุย และไถพรวนดินได้ง่ายขึ้น
โดยมาตรฐานที่เกษตรกรนิยมนำมาใช้นั้น คือ มอก.223-2520 จะเป็นพวกวัสดุปูนไลม์หรือปูนขาว ในภาคการเกษตร ด้านการบำบัดน้ำช่วยแก้น้ำกระด้าง ซึ่งตัวปูนจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารเคมีที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดน้ำกระด้างด้วย เมื่อนำมาเผานั้นจะได้ปูนที่สุก จากนั้นเมื่อนำปูนที่สุกมาทำปฏิกิริยากับน้ำก็จะได้สารเคมีประเภทแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ส่วนผงที่แห้งนั้น ก็คือ ปูนไลม์
ปูนขาวไลม์ (lime) มีชื่อเรียกทางเคมีว่า แคลเซียมออกไซด์ (calcium oxide)
ปูนขาวไลม์ (lime) มีชื่อเรียกทางเคมีว่า แคลเซียมออกไซด์ (calcium oxide) และมีสูตรทางเคมี คือ แคลเซียมออกไซด์ ลักษณะโดยทั่วไปเป็นผงสีขาว มีฤทธิ์เป็นด่าง กัดกร่อนได้ โดยปกติแล้วจะผลิตแคลเซียมออกไซด์จากการเผาวัสดุใดๆ ที่มีส่วนผสมของหินปูนแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นองค์ประกอบ ณ อุณหภูมิมากกว่า 825 องศาเซลเซียส เรียกกระบวนการเผานี้ว่า calcination และจะมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา
โดยปูนขาวนี้สามารถทำปฏิกิริยากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่ในอากาศ โดยอาศัยระยะเวลาที่นานพอ จนกลายเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตได้ ดังนั้นการเก็บรักษาต้องระวังไม่ให้อากาศสามารถผ่านเข้าไปในภาชนะที่ใช้จัดเก็บได้
โดยปกติแล้วโครงสร้างทางเคมีของปูนขาวนั้นจะมีลักษณะไม่ว่าจะเป็นรูปร่างและทางเคมีที่ต่างกัน โดยหินปูนนั้นจะมีโครงสร้างทางเคมีที่ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนตเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งตัวปูนไลม์นั้นจะมีส่วนช่วยในภาคการเกษตรเป็นอย่างมาก ช่วยในเรื่องของการปรับค่าความเป็นกรดและด่างของดิน ช่วยยับยั้งจุลินทรีย์ เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำและสารละลายจะไม่เกิดการตกตะกอนออกมา น้ำช่วยคราวที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากสารไบคาร์บอเนตของแคลเซียมและแมกนีเซียม
การบำรุงรักษาสภาพดิน
ดินกรดนั้น คือ ดินที่เมื่อละลายลงในน้ำนั้นจะปล่อยสารที่สร้างความเป็นกรดออกมา หรือ H+ แต่จะปล่อยออกมาเพียงบางส่วนเท่านั้น โดยส่วนใหญ่นั้นจะถูกดูดยึดที่ผิวของดิน และส่วนที่ปล่อยออกมาจาก H+ นั้นเราจะเรียกว่า กรดจริง
อีกส่วนที่อยู่ผิวดินจะเรียกว่า กรดแฝง โดยตามธรรมชาตินั้นดินที่มีความเป็นกรดนั้นจะเป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้การเติบโตนั้นถูกกำจัดด้วยความเป็นพิษของสารดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นพวกอะลูมินัม แมงกานีส และเหล็ก ซึ่งสารดังกล่าวจะส่งผลให้ดินนั้นขาดแคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส และโมลิดินัม ในดินไป ทำให้การจะปลูกพืชหรือการเจริญเติบโตของพืชนั้นถูกทำลายลงนั่นเอง
โดยปกติแล้วดินที่มีความเป็นกรดนั้นส่วนใหญ่จะเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ในปริมาณที่ต่ำ ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้นเกิดจากหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ ที่ไม่อำนวยต่อการปลูก ซึ่งอาจจะเกิดจากปัญหาคุณภาพของดินเองก็ได้เช่นกัน โดยต้นกำเนิดของดินนั้นส่วนใหญ่แล้วจะมีแร่ธาตุที่มีคุณสมบัติเป็นกรดเสียส่วนใหญ่
นอกจากสภาพภูมิประเทศของไทยเองจะเป็นตัวช่วยในเรื่องของการพังทลายของดินแล้ว มนุษย์เราเองก็มีส่วนในการทำลายดินได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พื้นที่ไม่ถูกวิธี และไม่รู้จักบำรุงรักษาสภาพดิน เป็นต้น
จากที่พบเห็นได้ทั่วไปเลย คือ สภาพของดินที่เป็นกรดนั้นมีอยู่ทั่วไปแทบจะทั่วทั้งประเทศ และกินพื้นที่ของภาคการเกษตรมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ โดยมีค่าความเป็นกรดจัดถึงรุนแรง จึงทำให้ต้องมีความจำเป็นการจัดการที่เหมาะสม ที่จะนำวัสดุที่ช่วยในเรื่องการปรับปรุงดินที่เป็นกรดเหล่านี้เพื่อให้มีประสิทธิภาพต่อการผลิตพืชมากที่สุด
ข้อดีของปูนขาว
โดยปกติแล้วการลดความเป็นกรดในดินนั้น ปกติแล้วจะนิยมนำปูนขาวมาใช้ในการช่วยลดปริมาณความเป็นกรดในดิน เพื่อช่วยในเรื่องของการปรับค่า pH ในดินนั้นสูงขึ้น โดยจะเป็นพวกออกไซด์ ไฮดรอกไซด์ คาร์บอเนตของแคลเซียม ฯลฯ ซึ่งวิธีการใช้ปูนขาวนี้นับว่าเป็นวิธีที่ง่าย และสามารถปรับค่า pH ในดินได้ดีที่สุดเลยก็ว่าได้
การเลือกใช้วัสดุของปูน โดยการเลือกใช้ปูนขาวนั้นส่วนใหญ่แล้วจะดูตรงที่สามารถปรับให้ค่าเป็นกลางได้มากที่สุด โดยต้องมากกว่า 80 และมีขนาดละเอียด อีกทั้งยังหาซื้อได้ง่าย ราคาถูก โดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับพืชที่ปลูก การเลือกปูนที่เหมาะสมนับว่าเป็นสิ่งที่ดี และช่วยได้ตรงจุดอีกทางหนึ่งด้วย
ความต้องการของการใช้ปูน ปริมาณที่ใช้ในแต่ละครั้งนั้นจะแตกต่างกันตามปริมาณกรดที่มีอยู่ทั้งหมดในดิน ถึงแม้ว่าดินจะมี ค่า pH เท่ากัน แต่ก็อาจจะมีการปรับให้สูงขึ้นได้เช่นกัน ตามความเหมาะสมของพื้นที่นั้นๆ แต่การใช้ก็ต้องแตกต่างกันอยู่ดี ตามค่าความเป็นกรดของดินว่าจะมี pH ที่เหมาะสมกับพืชที่จะปลูกหรือไม่ แต่ไม่สามารถบอกค่าของปูนที่จะใช้เพื่อปรับค่า pH ที่เหมาะสมกับดินได้ และในการใส่ปูนขาวหรือปูนชนิดต่างๆ นั้น จะต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพราะว่าถ้าหากใส่มากจนเกินไปจะส่งผลเสียต่อพืชได้
คุณสมบัติของอินทรียวัตถุ
อินทรียวัตถุคืออะไร มันคือ สิ่งที่ได้จากการย่อยสลายของซากพืชและสัตว์ ขยะต่างๆ รวมไปถึงจุลินทรีย์ที่ตายแล้ว ซึ่งอินทรียวัตถุนั้นจะมีประจุบวกที่สูง และสามารถช่วยในเรื่องของการดูดซับน้ำและสารอาหารได้ดี จึงทำให้เหมาะกับการนำมาใช้เป็นตัวช่วยในการปรับสภาพดิน และเพิ่มธาตุอาหารในดิน ให้ดินมีความสมบูรณ์มากขึ้น
ซึ่งการใส่อินทรีย์สารหรืออินทรียวัตถุลงดิน เป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรียวัตถุนั้นประกอบไปด้วยสารอินทรีย์จำพวกซากพืชและสัตว์ ที่มีธาตุอาหารที่เหมาะสมสำหรับพืชเป็นองค์ประกอบหลัก และมีสารช่วยในการปรับปรุงดินด้วย ทำให้ดินมีสมบัติทางเคมีที่ดีขึ้น และทางชีวภาพของดินเองก็ดีขึ้นเช่นกัน
ในการปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุนั้นสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นใช้วัสดุจากอินทรีย์มาช่วยในการปรับปรุงดิน ซึ่งมีการวิจัยว่าตัววัสดุอินทรีย์นั้นมีสารที่ช่วยในเรื่องของการเพิ่มผลผลิตให้พืชได้เป็นอย่างดี ซึ่งนับว่าเป็นตัวช่วยในการปรับปรุงดินชั้นดี และหาได้ง่ายอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการนำปุ๋ยหมักมาใส่กับดินที่มีความเป็นกรดอยู่ไม่มากด้วยเช่นกัน โดยการใส่ปุ๋ยหมักลงในดินที่มีความเป็นกรดนั้นก็จะช่วยเพิ่มธาตุอาหารในดินได้เป็นอย่างดี รวมถึงทำให้จุลินทรีย์นั้นเพิ่มขึ้นมาด้วย
สภาพพื้นที่ปลูกพืช
ในช่วงก่อนที่จะมีการปลูกพืชหรือผักนั้น เราจะต้องดูคุณภาพในเรื่องของดินที่จะใช้ในการปลูกพืชหรือผักชนิดนั้นๆ ก่อนว่าดินดีหรือเหมาะสมที่จะปลูกพืชหรือไม่ เพราะไม่ใช่ว่าดินทุกชนิดจะสามารถปลูกพืชได้เลย จะต้องมีการเตรียมดินเสียก่อน เพราะว่าถ้าดินไม่ดี พืชก็ไม่สามารถเติบโตได้อย่างเต็มที่ หรืออาจจะเกิดผลเสียตามมาในภายหลังได้
ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ก็จะมีการเตรียมดิน ไถพรวนดิน เพื่อกำจัดวัชพืชและแมลงในดินต่างๆ ให้หมดไป รวมไปถึงการใช้ปูนขาวเข้ามาเป็นตัวช่วยในเรื่องของการปรับสภาพดินให้มีความเป็นกรด-ด่างที่พอดีที่สุด
นอกจากนี้การใช้ปูนขาวแต่ละครั้งในภาคการเกษตรนั้น ไม่ใช่ว่าจะใช้มากเท่าไหร่ก็ได้ แต่เราต้องดูการปลูกพืชในแต่ละครั้งว่าใช้เนื้อที่ให้การปลูกพืชกี่ไร่ เพราะว่าการใช้ปูนขาวเพื่อปรับปรุงดินนั้นไม่ใช่แต่มีประโยชน์ แต่มีโทษด้วยเช่นกัน เพราะปูนขาวก็ถือว่าเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งเช่นกัน ถ้าใช้ในปริมาณที่มากเกินไปอาจจะทำให้ไปสะสมในดินแทน ต้องบอกเลยว่าปูนขาวนั้นจะช่วยในเรื่องของการปรับสภาพดินในช่วงที่มีการเตรียมดินก่อนปลูกพืชทุกชนิด
แต่ในกรณีที่ดินบริเวณนั้นมีกรดมากเกินไป หรืออาจจะมีกรดเพิ่มขึ้น อาจจะใช้โรยรอบๆ บริเวณแปลงปลูกได้เช่นกัน เพราะว่าการใช้ปูนขาวเราจะต้องตรวจสอบคุณภาพดินก่อนว่าควรใช้ในปริมาณเท่าไหร่ และใช้อย่างไรจะเหมาะสมที่สุด
นี่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการใช้ปูนขาวกับภาคการเกษตร ซึ่งบอกเลยว่านับว่าเป็น 1 ตัวแปรที่สำคัญของการปลูกพืช เพราะว่าถ้าเราไม่มีการปรับสภาพดินให้มีความเป็นกลาง หรือไม่มีตัวช่วยในเรื่องของการปรับความเป็นกรด-ด่าง ในดินแล้ว ก็อาจจะทำให้พืชที่จะปลูกนั้นเกิดการสูญเสีย เสี่ยงต่อการติดโรค และไม่เติบโตได้เต็มที่ด้วยนั่นเอง
การบริหารจัดการบ่อปลา
นอกจากจะช่วยในเรื่องของภาคการเกษตร ในเรื่องของการปรับปรุงดินเพื่อให้พืชนั้นสามารถปลูกได้อย่างเหมาะสมแล้ว ในภาคการประมงหรือสัตว์น้ำ ปูนขาวหรือปูนไลม์เองก็มีส่วนช่วยในด้านนี้ได้เช่นกัน ซึ่งการนำมาใช้นั้นก็จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน ไม่ต่างกันมากนัก จึงมีการนำมาใช้ในภาคสัตว์น้ำเป็นอย่างมาก
โดยปกติแล้วการใช้ปูนขาวสำหรับสัตว์น้ำนั้นส่วนใหญ่แล้วจะใช้ในการเลี้ยงปลา กุ้ง หรือพวกปู โดยจะเริ่มใช้ในการปรับสภาพดินและน้ำให้มีค่า pH ที่เหมาะสมกันในแต่ละบ่อ เพื่อไม่ให้สัตว์ที่เลี้ยงไว้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือเสียหายได้ จากปริมาณค่าความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำด้วยนั่นเอง
ยกตัวอย่าง การใช้ปูนขาวสำหรับการเลี้ยงปลา สิ่งแรกที่ต้องทำเลย คือ การเตรียมบ่อ สำหรับการเลี้ยงปลาโดยเฉพาะ อาจจะบ่อที่ขุดขึ้นมาใหม่เลยก็ได้ ซึ่งบ่อที่ขุดทำใหม่นั้นจะมีข้อดีตรงที่ว่าเราไม่ต้องกังวลในเรื่องของโรคที่จะตามมามากนัก เพียงแต่ต้องคำนึงถึงความอุดมสมบูรณ์ของดิน รวมไปถึงค่าความเป็นกรดและด่างในดินที่เหมาะสม โดยหลักการทำนั้นก็จะแยกได้ประมาณนี้
การวัดค่า pH ในดินสำหรับบ่อเลี้ยงใหม่
โดยการตรวจวัดค่า pH ในดินนั้นจะต้องมีการวัดค่าต่างๆ รวมไปถึงค่า pH ของน้ำก็ต้องมีการวัดเช่นกัน โดยค่า pH ของน้ำนั้นจะอยู่ที่ 6.5-8.5 ซึ่งถ้าเป็นดินโดยทั่วไปนั้นจะใช้ปูนขาวประมาณ 100-150 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่
การใช้ปุ๋ยคอก
หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องใช้ปุ๋ยคอกสำหรับการเลี้ยงสัตว์ จริงๆ แล้วปุ๋ยคอกก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ในการปรับสภาพของดินเช่นกัน โดยปุ๋ยคอกนั้นจะช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ของดินให้ดียิ่งขึ้น ทำให้ดินมีความสมบูรณ์ และมีธาตุอาหารที่เพียงพอต่อสัตว์ที่เลี้ยง ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคในดินได้ดี โดยการใช้ปุ๋ยคอกนั้นจะใส่ประมาณ 200-250 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่ หรืออาจจะมีการใช้มากกว่านั้นก็ขึ้นอยู่ตามความเหมาะสมของการเลี้ยงแต่ละฟาร์ม
การสูบน้ำเข้าบ่อ
ในการสูบน้ำเข้าบ่อใหม่นั้นควรจะทิ้งบ่อให้แห้งสนิทก่อนประมาณ 2 สัปดาห์ อีกทั้งยังเป็นการช่วยให้เกิดอาหารตามธรรมชาติอย่างสมบูรณ์ และปรับสภาพดินให้เหมาะสมกับการเลี้ยงปลามากขึ้น หรืออาจจะนำพันธุ์ ไรแดงมาเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณอาหารธรรมชาติได้เช่นกัน
ลูกพันธุ์ปลา
เมื่อเราทิ้งบ่อไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์แล้ว และทำการสูบน้ำเข้าบ่อเรียบร้อย ก็ถึงเวลานำลูกพันธุ์ปลาลงสู่บ่อ ในการปล่อยพันธุ์ปลานั้นควรจะทำในช่วงเวลาเช้า เพราะเป็นช่วงที่อุณหภูมิและอากาศต่ำ ไม่ร้อนจนเกินไป จะทำให้ปลานั้นไม่เกิดอาการช็อกด้วย แต่ก่อนที่จะปล่อยนั้นเราควรวางถุงพันธุ์ปลาไว้ในน้ำ ทิ้งไว้ให้ตัวปลาสามารถปรับสภาพได้ก่อนประมาณ 10-20 นาที แล้วค่อยๆ นำน้ำในบ่อเข้าถุงเพื่อที่ปลาจะได้ปรับตัวได้ดี จากนั้นจึงปล่อยลูกพันธุ์ปลาลงบ่อได้
นอกจากปูนขาวจะช่วยในเรื่องของการปรับสภาพดินแล้ว ยังสามารถช่วยในเรื่องของการปรับสภาพน้ำได้เป็นอย่างดี เพราะน้ำก็ถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำทุกชนิดเช่นกัน โดยค่า pH ของน้ำนั้นควรเป็นค่าที่เหมาะกับบ่อน้ำเลี้ยงปลาชนิดนั้นๆ ด้วย จะช่วยให้ปลาเติบโตได้อย่างเต็มที่ และไม่เกิดอาการน็อคน้ำด้วย ทนโรค และทนต่อความเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี
การเลี้ยงปลาในบ่อเก่า
และถ้าเป็นบ่อเก่า สำหรับการเลี้ยงปลาบ่อเก่านั้นจะต้องนำน้ำออกจากบ่อให้หมด จากนั้นก็ทำการกำจัดวัชพืชในบ่อ และลอกเลนในบ่อให้หมด ซึ่งตัวเลนเก่านั้นจะเป็นที่หมักหมมของอินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคสำหรับปลา และตกแต่งบริเวณคันบ่อให้สมบูรณ์มากที่สุด
จากนั้นก็ตากบ่อทิ้งไว้ประมาณ 5-10 วัน เพื่อให้แสงแดดนั้นช่วยฆ่าเชื้อโรคในบ่อให้หมด แล้วค่อยตามด้วยปูนขาวประมาณ 50-10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือมากกว่านั้น ถ้าดินเป็นกรด ปูนขาวจะช่วยในการปรับสภาพดินได้เป็นอย่างดี และเอาปูนขาวนั้นหว่านให้ทั่วบ่อ ตามด้วยปุ๋ยคอกประมาณ 100-200 กิโลกรัม เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มธาตุอาหารในบ่อให้กับปลาด้วย และจึงสูบน้ำเข้าบ่อทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ อาหารทางธรรมชาติก็จะเพียงพอ
ในกรณีที่ไม่ได้ระบายน้ำเก่าออกจากบ่อ เพราะว่าไม่มีน้ำใหม่ที่จะมาเติมในบ่อ หลังจากที่ฆ่าศัตรูในบ่อปลาไปหมดแล้วให้ทำการใช้ปูนขาวแทนเพื่อเป็นการปรับสภาพบ่อให้ดีขึ้น โดยใช้ปูนขาวในปริมาณ 250-300 กิโลกรัมต่อไร่ ก็จะเป็นตัวช่วยให้บ่อปลานั้นมีคุณภาพน้ำ และค่า pH ที่ดีขึ้นด้วย
การป้องกันและกำจัดโรคในบ่อปลาและกุ้ง
ในอดีตนั้นการเลี้ยงสัตว์ หรือแม้แต่การปลูกพืช มีการพูดว่าถ้าอยากฆ่าเชื้อโรคในบ่อเลี้ยง หรือแปลงปลูกผักนั้น ให้หว่านปูนขาวลงไปเพื่อเป็นการช่วยฆ่าเชื้อโรค ยิ่งในการเลี้ยงสัตว์น้ำนั้น ผู้ใหญ่หลายคนจะบอกว่าให้หว่านปูนขาวลงไปเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรคในบ่อเลี้ยงปลา หรือกุ้ง ของตน
อย่างที่กล่าวนั้นถ้าปูนขาวสามารถที่จะช่วยในเรื่องของการฆ่าเชื้อโรคได้จริงแล้วล่ะก็ คงไม่ต้องพึ่งสารเคมีในการช่วยกำจัดเชื้อโรค แล้วปูนขาวก็คงจะขายดีอย่างแน่นอน ซึ่งในความเป็นจริงนั้นปูนขาวไม่ได้มีส่วนช่วยในการฆ่าเชื้อโรคแต่อย่างใด
เพียงแต่ช่วยในการปรับค่า pH ให้มีความเป็นกลางมากที่สุดเพียงเท่านั้น ซึ่งเมื่อนำไปหว่านยังบ่อเลี้ยงปลาหรือกุ้งนั้น ก็เพียงแต่ช่วยในเรื่องการลดความเป็นกรด-ด่าง ให้มีความคงที่เท่านั้น ซึ่งการหว่านปูนขาวก็ควรหว่านในปริมาณที่พอดี มิเช่นนั้นจะส่งผลเสียต่อสัตว์น้ำที่เลี้ยงได้ การเจริญเติบโตจะช้า ทำให้ได้ผลผลิตที่ไม่ดีเท่าที่ควร
ฉะนั้นแล้วความเชื่อที่ว่าปูนขาวช่วยฆ่าเชื้อโรคนั้นยังไม่มีผลการยืนยันที่แน่ชัดว่าสามารถช่วยฆ่าเชื้อโรคได้จริงหรือไม่ ต้องมีนักวิชาการออกมายืนยันว่าสามารถฆ่าเชื้อโรคได้หมดหรือไม่ เพราะปูนขาวนั้นอาจจะทำให้เชื้อโรคหายไปได้เพียงบางส่วนเท่านั้น
ปูนขาวประโยชน์ มหาศาล
เรารู้กันอยู่แล้วว่าปูนขาวนั้นสามารถทำอะไรได้บ้าง และมีส่วนช่วยอย่างไรในภาคการเกษตร เรามาดูกันดีกว่าคุณประโยชน์ที่เด่นชัดของปูนขาวนั้นสามารถช่วยอะไรในภาคการเกษตรได้บ้าง ที่สำคัญเลยจะฆ่าเชื้อโรคได้ด้วยหรือไม่
ช่วยในเรื่องของการปรับปรุงดิน
เป็นที่รู้กันอยู่แน่ชัดแล้วว่าปูนขาวนั้นมีส่วนช่วยในการปรับปรุงดินให้มีสภาพความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสม โดยสามารถช่วยปรับปรุงดินได้แทบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินเหนียว ดินที่มีความเป็นกรด ดินที่มีเชื้อโรคสะสมอยู่มาก เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วการใช้ปูนขาวนั้นจะนิยมใช้ในแปลงนา แปลงผัก บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ สวนผลไม้ เพื่อช่วยในเรื่องของการปรับปรุงสภาพดินให้มีคุณภาพที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก และการเพาะเลี้ยง ซึ่งปูนจะมีการเข้าแทรกซึม และเปลี่ยนประจุธาตุต่างๆ ให้มีความพอดีขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดินที่มีความร่วนซุย ก็จะทำให้สามารถแบ่งออกเป็นก้อนได้ง่ายขึ้น แทนที่จะเป็นเนื้อละเอียดที่เกาะกันแน่น และช่วยในเรื่องของการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค และเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ เนื่องจากว่าสภาพความเป็นด่างของปูนขาวนั้นจะช่วยในเรื่องดังกล่าวได้ดี และควรใช้ในที่ที่ดินมีความแห้ง หรือมีน้ำน้อย เพื่อสภาพความเป็นด่างจะเกิดขึ้นอย่างเต็มที่ ร่วมกับการฆ่าเชื้อแสงแดดก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้น
การปรับสภาพน้ำ
การปรับสภาพน้ำให้มีค่า pH ที่คงที่ มักจะนำมาเช่นกับสภาพน้ำตามบ่อเก็บน้ำเสียเป็นส่วนมาก รวมไปถึงบ่อเลี้ยงสำหรับการประมง แหล่งน้ำขัง รวมถึงระบบบำบัดน้ำเสียในการเกษตร โดยเฉพาะแหล่งน้ำที่มีความเป็นกรดจากภาวะน้ำเน่าเสียของสารอินทรีย์ หรือแหล่งน้ำที่มีกรดกำมะถันอยู่มาก ซึ่งการใช้ปูนขาวนั้นจะเข้าไปช่วยลดความเป็นกรดของน้ำได้ดี ทำให้มีความคงที่มากขึ้น ลดปัญหาน้ำเน่าเสียได้ดี ปูนขาวประโยชน์ ปูนขาวประโยชน์ ปูนขาวประโยชน์
ช่วยในเรื่องของการฆ่าเชื้อโรค
การฆ่าเชื้อโรคด้วยปูนขาวนั้นสามารถนำไปใช้ในแหล่งต่างๆ ทั้งภาคการเกษตร และประมง ได้ดี คือ การนำไปโรยหรือหว่านบริเวณตามแปลงเกษตร พื้นที่โรงเรือนสัตว์เลี้ยง รวมไปถึงรางระบายน้ำ บ่อบำบัดน้ำเสีย แหล่งน้ำที่มีความเน่าเสีย ถึงแม้ว่าการใช้หว่านเพื่อฆ่าเชื้อโรคในบ่อน้ำสำหรับเลี้ยงปลาหรือกุ้งยังไม่มีความแน่ชัดว่าปูนขาวจะช่วยฆ่าเชื้อโรคได้หมดหรือไม่ แต่ก็สามารถช่วยปรับสภาพน้ำและควบคุมปริมาณโรคได้เช่นกัน
ปูนขาวนั้นนับได้ว่าเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่มีส่วนช่วยในภาคการเกษตรเป็นอย่างมาก เพราะว่ามีส่วนช่วยในการปรับสภาพความเป็นกรดและด่างได้เป็นอย่างดี ทำให้เกษตรกรหลายคนนิยมใช้ปูนขาวกันมากขึ้น รวมไปถึงปูนขาวเองก็มีราคาที่ไม่แพงมากนัก และยังสามารถหาซื้อได้ ทำให้การนำปูนขาวมาใช้นั้นถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อเกษตรกร อีกทั้งปูนขาวก็ถือว่าเป็นตัวช่วยในภาคการเกษตรมายาวนาน จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปูนขาวยังคงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับอินทรียวัตถุได้เป็นอย่างดีเลย
เรื่องปูนขาวนั้นนับว่าเป็นเรื่องที่มีความน่าสนใจไม่น้อยเลย เพราะว่าปูนขาวนั้นเป็นสารเคมีที่มีราคาถูกและไม่แพง และมีส่วนช่วยในการปรับสภาพดินได้เป็นอย่างดี บทความนี้พูดถึงเรื่องประโยชน์ของปูนขาว และการนำปูนขาวมาใช้ในภาคการเกษตรและประมงร่วมกัน รวมไปถึงได้รู้ว่าปูนขาวนั้นสามารถช่วยฆ่าเชื้อโรคได้อีกด้วย นับว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อยเลย ถ้าอยากลองศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมจากหลากหลายแหล่งได้เลย บทความนี้เป็นเพียงการยกตัวอย่างช่วยให้สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://sites.google.com/site/ilovesamunprit/kar-prabprung-din-pluk-tnmi-ni-ban,http://worldchemical.co.th/th/product-detail-164-%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7.html,http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?topic=54548.5;wap2,http://kasetban.blogspot.com/2014/05/blog-post_20.html,https://www.mygreengardens.com/tag/%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7/ ปูนขาวประโยชน์ ปูนขาวประโยชน์ ปูนขาวประโยชน์