เพาะเห็ดฟาง ในกระสอบทราย รูปแบบใหม่ประหยัดต้นทุน และทำได้ง่าย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เพาะเห็ดฟาง เห็ดฟาง เป็นเห็ดชนิดหนึ่งที่สามารถปลูกได้ทั่วไป การดูแลเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีก็ไม่ยาก สามารถใช้พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดแบ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกได้ เพียงแค่เป็นพื้นที่ประมาณ 1 ส่วนภายในครัวเรือน หรือพื้นที่ๆ ว่างๆ ก็สามารถทำการเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง เพื่อใช้ในการอุปโภคและบริโภคได้แล้ว

เห็ดฟางนั้นทำได้หลากหลายวิธีมาก และในพื้นที่แต่ละที่ก็มีการเพาะปลูกที่แตกต่างกันออกไป โดยวิธีการปลูกนั้นจะค่อนข้างเด่นชัด และมีความแตกต่างตามแต่ละผู้เพาะเลี้ยงเห็ดฟางจะปลูกขึ้น วัสดุที่นำมาใช้ในการเพาะปลูกนั้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็นอินทรียวัตถุ เช่น กากมันสำปะหลัง ฟางข้าว ขี้ฝ้าย ผักตบชวา และอื่นๆ มากมายเลยทีเดียว ทั้งนี้สิ่งของที่นำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงเห็ดฟางก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละท้องที่ว่าจะหาอะไรมาใช้ได้บ้างแค่นั้นเอง

บทความครั้งนี้เป็นเพียงการเกริ่นเบื้องต้นเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปของเห็ดฟางและการ เพาะเห็ดฟาง ในการสืบหาข้อมูลต่างๆ นั้น เป็นการสืบหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และเว็บไซต์ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของเห็ดฟาง ทั้งนี้อาจจะหาคำแนะนำเพิ่มเติมจากการลงพื้นที่ของผู้ที่เพาะเลี้ยงเห็ดฟางได้อีกทางหนึ่ง เพราะจะทำให้เราได้รู้ถึงรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องของเห็ดฟางแบบเจาะลึกมากขึ้น รวมไปถึงขั้นตอนแต่ละอย่างที่จะทำการเพาะปลูกเห็ดฟางเองว่าจะเริ่มอย่างไร และผลผลิตที่ได้จะมีคุณภาพหรือไม่ เป็นต้น

1.เพาะเห็ดฟางแบบเป็นกอง-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons551Pala_chhatu
1. เพาะเห็ดฟาง แบบเป็นกอง-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons551Pala_chhatu

เพาะเห็ดฟาง

เห็ดฟางเป็นเห็ดชนิดหนึ่งที่มีความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย ซึ่งการได้รับความนิยมนี้ทำให้มีการเพาะปลูกเห็ดฟางเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในประเทศไทย ทั้งนี้เห็ดฟางเองมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน ต่อมาได้มีการนำมาเพาะปลูกในประเทศ และได้รับความนิยมจนปัจจุบัน

เนื่องจากเห็ดฟางเองเป็นพืชที่มาจากรา และไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยสารที่มีความจำเป็นจากภายนอกเพื่อการเจริญเติบโต นอกจากนี้เห็ดฟางเองยังใช้ต้นทุนที่ต่ำในการเพาะปลูก จึงทำให้เกษตรกรที่ เพาะเห็ดฟาง เริ่มหันมาเพาะกันมากขึ้น และสร้างรายได้อย่างมากมาย จึงเป็นที่มาของการเพาะเห็ดฟางในเมืองไทย

โดยตามหลักทั่วไปแล้วเห็ดฟางจะนิยมเพาะปลูกกันแบบเป็นกอง โดยเห็ดฟางจะเติบโตได้ดีในกองฟาง ดอกของเห็ดฟางจะมีลักษณะที่เป็นดอกตูมและเป็นก้อนกลมๆ สีขาว เมื่อโตเต็มที่แล้วดอกของเห็ดฟางจะบานออก และจะมีลักษณะที่คล้ายร่ม ด้านบนของเห็ดฟางจะมีสีเทาอ่อน หรือเทาเข้ม แล้วแต่วิธีการเพาะและการเติบโตของเห็ดฟางเอง เนื่องจากเป็นพืชที่เติบโตในโรงเพาะเห็ดและกองฟางได้ง่าย จึงทำให้สามารถเพาะได้ตลอดทั้งปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้เห็ดฟางก็สามารถทำการเพาะปลูกได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบในการเพาะปลูกนั้นก็มีความแตกต่างกันไป มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัยในการเพาะปลูก ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศเอง หรือพื้นที่ในการเพาะปลูกเองก็ดี เพราะทุกการเพาะปลูกนั้นต่างก็เกิดขึ้นจากการฝึกฝนประสบการณ์ที่ได้ทำการเพาะเห็ดมาของแต่ละคน

ในช่วงแรกถ้าเป็นผู้ทดลองเพาะเห็ดฟางรายใหม่ๆ อาจจะต้องศึกษารายละเอียดต่างๆ ค่อนข้างเยอะ และใช้เวลาพอสมควรที่จะลองผิดลองถูกกว่าจะได้เห็ดฟางที่มีคุณภาพ แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์และเคยผิดพลาดมาแล้วนั้น ก็จะทราบได้เลยว่าจุดไหนผิดพลาดอย่างไร ทุกอย่างมันก็เริ่มต้นจากการลองผิดลองถูกของคนเรานี่เอง

เห็ดฟาง-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons00cVolv_volvacea_yogya_DSC_0969
2.เห็ดฟาง-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons00cVolv_volvacea_yogya_DSC_0969
2.เพาะเห็ดฟาง แล้วจะได้ดอกของเห็ดฟางจะเป็นดอกตูม และเป็นก้อนกลมๆ สีขาว-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons44aHet_fang
2.เพาะเห็ดฟาง แล้วจะได้ดอกของเห็ดฟางจะเป็นดอกตูม และเป็นก้อนกลมๆ สีขาว-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons44aHet_fang

ขั้นตอนการเพาะและบำรุงดูแลเห็ดฟาง

นอกจากนี้เราจะมาดูกันว่ามีวิธีการใดที่สามารถปลูกเห็ดฟางได้บ้างกันดีกว่า ยกตัวอย่างวิธีการปลูกแบบในกระสอบทราย

วิธีการเพาะเห็ดฟางรูปแบบใหม่ประหยัดต้นทุน และทำได้ง่าย โดยนำก้อนขี้เลื่อยเก่าที่ผ่านการเพาะเห็ดถุงพลาสติก (เช่น เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า ฯลฯ) นำกลับมาเพาะเห็ดฟางในกระสอบได้ ส่วนอุปกรณ์ที่จะใช้เพาะเห็ดฟางในกระสอบโดยจะใช้ถุงปุ๋ย ถุงข้าวสาร หรือถุงอาหารสัตว์ ก็ได้หาซื้อง่าย และมีราคาถูก (ราคาถุงละ 2-5 บาท) สามารถนำมาใช้เพาะได้ถึง 5-6 ครั้ง

ใช้ก้อนขี้เลื่อยเก่าจากการเพาะเห็ดนางรมหรือเห็ดนางฟ้าประมาณ 15 ก้อน โดยแบ่งทำเป็น 2 ชุด คือ ชุดแรกนำก้อนขี้เลื่อยเก่าจำนวน 10 ก้อน ใส่ลงไปในกระสอบ ใช้ไม้ทุบหรือใช้เท้าเหยียบกระสอบให้ก้อนขี้เลื่อยแตกแบบหยาบๆ ให้มีส่วนที่แตกละเอียดบ้าง อีกส่วนหนึ่งเป็นก้อนเท่ากับผลมะนาว จากนั้นรดด้วยน้ำสะอาดให้ก้อนขี้เลื่อยมีความชื้นหมาดๆ ทดสอบด้วยการใช้มือกำขี้เลื่อยแน่นๆ ถ้าพบว่ามีน้ำซึมออกมาจากซอกนิ้วมือเล็กน้อยเป็นว่าใช้ได้

หลังจากนั้นให้ทุบก้อนขี้เลื่อยที่เหลืออีก 5 ก้อน ให้ละเอียด เพื่อใช้คลุกเคล้ากับเชื้อเห็ดฟาง แล้วแบ่งเชื้อเห็ดฟาง 1 ก้อน (แบบสปอนหรือหัวเชื้อ) ออกเป็น 3 ส่วน ในการเพาะแต่ละกระสอบจะใช้เชื้อเห็ดฟางเพียง 1 ส่วน นำเชื้อเห็ดฟางมายีออกจากกันในถังหรือภาชนะที่สะอาดและนำมาคลุกกับแป้งข้าวเหนียวอัตรา 1 ช้อนชา คลุกเคล้าให้ทั่ว และนำไปคลุกรวมกับก้อนขี้เลื่อย 5 ก้อน นำผักตบชวาน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม มาหั่นเฉียงคลุกเคล้าลงไปกับก้อนขี้เลื่อย 5 ก้อนนั้น ให้นำกองขี้เลื่อยที่คลุกเชื้อเห็ดฟางและผักตบชวาใส่ลงไปในกระสอบ ที่ก้นกระสอบมีก้อนขี้เลื่อยทุบรองอยู่แล้ว 10 ก้อน ใช้มือกดให้แน่นและเรียบ จากนั้นใช้เชือกมัดปากกระสอบให้แน่น ถ้าเป็นการเพาะในช่วงฤดูฝนควรหักปากกระสอบลงเพื่อป้องกันน้ำเข้า นำกระสอบไปแขวนกับต้นไม้หรือราวไม้ไผ่ แขวนให้ปลายกระสอบตั้งขึ้นและให้ก้นกระสอบลอยสูงจากพื้น (ป้องกันปลวกไม่ให้เข้าไปกัดกิน)

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หลังจากเพาะไปได้ประมาณ 10 วัน จะเก็บเห็ดฟางในกระสอบรับประทาน หรือนำมาจำหน่ายได้ ในแต่ละกระสอบจะเก็บเห็ดฟางได้ 1-2 ครั้งต่อการเพาะ 1 รุ่น และได้น้ำหนักเห็ดประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม นับเป็นวิธีการหนึ่งของการเพาะเห็ดฟางที่นำวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3.ผลผลิตเห็ดฟาง-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommonsffcStrawMushroom
3.ผลผลิตเห็ดฟาง-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommonsffcStrawMushroom

วิธีการเพาะเห็ดฟาง

นอกจากนี้การเพาะปลูกเห็ดฟางเองก็มีวิธีการทำที่นอกเหนือจากการเพาะปลูกแบบในกระสอบ ไม่ว่าจะเป็นการเพาะปลูกแบบ

  • วิธีการเพาะเห็ดฟางแบบเป็นกอง
  • วิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกึ่งโรงเรือน
  • วิธีการเพาะเห็ดฟางแบบโรงเรือนอุตสาหกรรม

ซึ่งทั้ง 3 แบบ ก็มีวิธีการเพาะปลูกที่แตกต่างกันออกไป และแต่ละวิธีต่างก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ที่สนใจว่าจะเริ่มเพาะปลูกแบบไหน เพราะบทความข้างต้นนี้เป็นการให้ข้อมูลที่เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งแก่ผู้ที่สนใจอยากจะเพาะปลูกเห็ดฟางเป็นอาชีพเสริม หรือทำเป็นอาชีพหลักในอนาคตก็ได้

จากบทความข้างต้นที่ผู้เขียนได้หยิบยกขึ้นมาเกี่ยวกับเห็ดฟางเป็นการนำเสนอบทความที่เป็นองค์ประกอบให้ความรู้ในเบื้องต้นเพียงเท่านั้น ไม่ได้มีการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด เป็นเพียงการสืบหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่างๆ ทั้งจากในอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ เกี่ยวกับเห็ด ลงพื้นที่สำรวจ และสอบถามผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเพาะเห็ดฟาง เพื่อนำมาเขียนบทความในข้างต้นครั้งนี้ เหมือนเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องของเห็ดไปในตัวแก่ผู้ที่สนใจในบทความครั้งนี้ด้วย

4.นำไปแกงหรือผัดก็ได้-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons443HK_food_E88D89E88F87_Volvariella_volvacea_Straw_Mushroom_May-2012
4.นำไปแกงหรือผัดก็ได้-https.upload.wikimedia.orgwikipediacommons443HK_food_E88D89E88F87_Volvariella_volvacea_Straw_Mushroom_May-2012

การแปรรูปผลผลิตเห็ดฟาง

เห็ดฟางก็คือ พืชตระกูลเห็ด เป็นพืชที่นิยมนำมาใช้ในการบริโภคที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการประกอบอาหารประเภทแกง หรือนำไปผัด ก็ได้หลากหลายเมนู อีกทั้งยังนำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์ หรืออินทรียวัตถุ เพื่อใช้ในการเกษตรก็ได้ หรือแปรรูปเป็นผลภัณฑ์ต่างๆ มากมาย

ทั้งนี้ตัวเห็ดฟางเองก็มีข้อแตกต่างที่ต้องพึงระวังกับเห็ดชนิดอื่น เพราะเห็ดบางชนิดมีรูปร่างคล้ายกับเห็ดฟาง ฉะนั้นแล้วก็จะบริโภคหรือนำไปประกอบแปรรูปควรสังเกตให้ดีก่อนว่าสามารถนำมาใช้ได้หรือไม่ หรือเห็ดที่ใช้นั้นเป็นเห็ดฟางแน่นอนหรือเปล่า บทความข้างต้นนี้เป็นองค์ประกอบเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเห็ดฟางเพียงแค่ข้างต้น เป็นเพียงข้อมูลในการสรุปบทความ เพราะไม่ว่ายังไงผู้ที่สนใจจะปลูกแล้วย่อมเกิดการเรียนรู้อย่างแน่นอน ผลผลิตที่ได้ก็ย่อมมีคุณภาพ หวังว่าบทความครั้งนี้จะเป็นการต่อยอดได้ดีในระดับหนึ่งกับผู้ที่ได้ลองอ่าน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ขอขอบคุณข้อมูลแหล่งอ้างอิง

https://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=5210&s=tblplant, http://researchex.rae.mju.ac.th/agikl/index.php/knowledge/42-mushroom/105-musroom, https://www.gotoknow.org/posts/606613,http://www.m-group.in.th/article/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99.html