ในประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการทำภาคการเกษตรอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็ได้มีการพัฒนารูปแบบต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ภาคการเกษตรของไทยนั้นมีความก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาชาติ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆ ขึ้นมา เพราะทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับการใช้อินทรียวัตถุมาช่วยในภาคการเกษตรเป็นอย่างมาก แคลเซียมโบรอน
ซึ่งก็มีอยู่อีก 1 ชนิด ที่ในภาคการเกษตรเองก็น่าจะรู้จัก นั่นคือ แคลเซียมโบรอน สารชนิดหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการดูแลพืชผักและผลไม้ของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี เรามาเรียนรู้ในเรื่องนี้กันดีกว่าว่ามันคืออะไร
คุณสมบัติของแคลเซียมโบรอน
แคลเซียมกับโบรอน คือ โบรอน คือ ธาตุที่มีความสำคัญต่อพืชและผลไม้เป็นอย่างมาก ที่จะช่วยในการเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ แคลเซียมก็มีส่วนช่วยทำให้พืชและผลไม้มีความแข็งแรงมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งก็คือ ตัวช่วยให้พืชนั้นมีความเจริญเติบโตแข็งแรงได้อย่างมีคุณภาพ
ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการดูแลรักษาพืชให้มีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ที่สุด โดยการนำเอาวัตถุใกล้ตัว อย่าง น้ำตาลทรายแดง หรืออ้อย พร้อมกับเศษพืชต่างๆ มาผสมรวมกันและตามด้วยน้ำหมัก ทิ้งไว้ก็จะได้น้ำหมักโบรอนที่มีคุณภาพไว้ใช้ในแปลงการเกษตรของตัวเอง ซึ่งจะเป็นตัวช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
แคลเซียมโบรอน ก็คือ ตัวช่วยที่ทำให้พืชนั้นเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ซึ่งก็มีการทำแคลเซียมโบรอนในรูปแบบต่างๆ ออกมาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นตัวธาตุอาหารเสริมสำหรับพืชแบบชนิดผงที่ใช้ในการผสมน้ำ รวมไปถึงการทำเป็นน้ำหมักชีวภาพโบรอนเพื่อใช้เองก็สามารถทำได้เช่นกัน
ทั้งนี้อาจจะมีค่าใช้จ่ายในการใช้แคลเซียมโบรอน เนื่องจากว่าอาจจะมีต้นทุนที่สูงหน่อย และใช้ได้ไม่นานก็ต้องไปซื้อมาใช้ ทำให้เกษตรกรหลายๆ คนไม่สามารถที่จะนำเงินบางส่วนไปลงทุนกับตรงนี้ได้มากนัก จึงหันมาใช้วิธีพึ่งตนเองกันมากขึ้น ก็สามารถทำได้เช่นกัน ทั้งนี้แคลเซียมโบรอนถือเป็นธาตุอาหารชนิดหนึ่งที่มีกระบวนการในการช่วยให้พืช ผลไม้ ได้เจริญเติบโตอย่างแข็งแรงและสมบูรณ์ที่สุด
ข้อดีของแคลเซียมโบรอน
สุขภาพของพืชนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญมากในภาคการเกษตร โดยทั้งพืชและผลไม้ต่างก็ต้องการใช้สารอาหารที่สำคัญจะช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโต โดยผ่านวิธีการดูดซึมและเข้าไปช่วยในเรื่องของเอนไซม์ เพื่อให้พืชรักษาการเจริญเติบโตของรากได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งก็ถือเป็นผลดีของการเจริญเติบโตของทั้งพืชและผลไม้
ดังนั้นก็คือ แคลเซียมและโบรอน คือ สารอาหารหรือธาตุอาหารที่สำคัญและมีความจำเป็นต่อพืชและผลไม้ทุกชนิด ซึ่งถ้าไม่มีชนิดใดชนิดหนึ่งก็จะทำให้พืชนั้นเกิดการอ่อนแอ แต่สารทั้ง 2 ชนิดนั้นต่างก็เป็นสารที่ต้องพึ่งพิงกันและกัน จึงมีส่วนช่วยในการลดความผิดปกติทางกายภาพของพืชได้ดียิ่งขึ้น ทำให้พืชผักและผลไม้มีคุณภาพและเติบโตได้แข็งแรงสมบูรณ์ดีขึ้นกว่าเดิม
ในประเทศไทยนั้นประชากรส่วนใหญ่นิยมประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ซึ่งมีเกษตรกรอยู่มากแทบทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ ซึ่งเป็นอาชีพที่มีการสืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนานแล้ว แต่พอยิ่งทำกลับยิ่งไม่มีอะไรที่มีความเปลี่ยนแปลงมากนะ ยิ่งเรื่องของการใช้ปุ๋ย อาหารเสริม ในพืชหรือผลไม้ เกษตรกรบางรายยังไม่ค่อยมีความเข้าใจในเรื่องนี้มากเท่าไหร่นัก จึงมีเกษตรกรบางส่วนที่ยังไม่รู้ถึงวิธีการใช้ธาตุอาหารในพืช หรือพืชจะเจริญเติบโตอย่างไรเมื่อมีการใช้ปุ๋ยหรืออาหารเสริมในพืช
ซึ่งตัวแคลเซียมโบรอนนั้นจะเป็นสารอาหารที่อยู่ในรูปแบบของสารอาหารที่สามารถละลายน้ำได้ และพืชสามารถดึงธาตุอาหารประเภทนี้ไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งในแคลเซียมโบรอนนั้นจะประกอบไปด้วย แคลเซียม โบรอน กรดอะมิโน 17 ชนิด และอื่นๆ ซึ่งจะอยู่ในอัตราส่วนที่มีความเหมาะสม
ซึ่งตัวแคลเซียมโบรอนนี้จะเข้าไปช่วยในเรื่องของการเพิ่มผลผลิตให้กับพืช ผลไม้ ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยเพิ่มการผสมเกสร ลดการหลุดร่วงของขั้วดอกและผล เพิ่มขนาดของผลผลิตให้มีคุณภาพและใหญ่มากขึ้น กระตุ้นการแตกตาของดอก อีกทั้งยังช่วยให้พืชนั้นมีการเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ทำให้มีความแข็งแรงมากขึ้น
สภาพพื้นที่ปลูกต้นไม้ พืชผัก และผลไม้
โดยปกติแล้ว ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ พืชผัก หรือผลไม้ ต่างก็มีความจำเป็นที่จะต้องดึงหรือนำธาตุอาหารไปใช้ในตัวพืชเพื่อการเจริญเติบโต และเพิ่มความแข็งแรง ต้านทานโรคได้ดีอยู่แล้ว ซึ่งในธาตุอาหารที่มีความจำเป็นต่อพืชนั้นก็มีมากมายหลายชนิดเลยทีเดียว
ซึ่งจะมีด้วยกันหลายธาตุ อาจจะเป็นออกเป็น 16 ธาตุ ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม ฯลฯ อีก 13 ชนิด ก็จะมีส่วนที่แยกย่อยออกไปอีก คือ ธาตุอาหารหลัก 6 ชนิด และธาตุอาหารเสริมอีก 7 ชนิด ซึ่งธาตุอาหารทั้งหลักและเสริมนี้โดยทั่วไปแล้วนั้นจะพบได้ในดินอยู่แล้ว
แต่ในบางกรณีที่ดินอาจจะมีธาตุอาหารที่ไม่ครบสมบูรณ์มากนัก ก็จำเป็นที่จะต้องมีการเพิ่มหรือทดแทนเข้าไปในดินให้มากขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับพืชที่จะทำการปลูกของแต่ละพื้นที่นั้นๆ เพื่อที่พืชจะได้ดูดซึมและนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตได้
การเจริญเติบโตให้มีคุณภาพและแข็งแรงของพืชนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมากเลยทีเดียว ซึ่งธาตุแคลเซียมนั้นก็ถือเป็นอีกชนิดที่มีความจำเป็นต่อพืชอย่างมาก เพราะว่าเป็นธาตุที่จะช่วยให้พืชนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี และยังเป็นตัวช่วยในการนำและส่งเสริมธาตุอื่นๆ เช่น ไนโตรเจน ที่เกิดจากดินมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
ในช่วงที่ผลผลิตอยู่ในระยะออกดอกและสร้างเมล็ดพันธุ์นั้น พืชทุกชนิดจะมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องการธาตุแคลเซียมมาใช้ เนื่องจากแคลเซียมนั้นมีส่วนช่วยในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนในพืชได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีการนำไปใช้ในการสร้างเมล็ดและผลได้อีกด้วย รวมไปถึงการสร้างสารที่ใช้เชื่อมกับผนังเซลล์และยังช่วยในเรื่องของการแบ่งเซลล์ในพืช ช่วยในการผสมเกสร การงอกของเมล็ด และช่วยให้เอนไซม์ในพืชนั้นสามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น
ปัญหาและอุปสรรคของต้นไม้ พืชผัก และผลไม้
เราจะเริ่มสังเกตอาการของพืชที่กำลังขาดแคลเซียมได้เลย คือ จะพบมากในช่วงที่ยอดใบที่เจริญเติบโตใหม่ๆ จะมีอาการหงิกม้วนงอ และจะขาดเป็นริ้วๆ เลยทีเดียว ตายอดจะไม่เจริญหรืออาจจะมีจุดดำที่เส้นใบ รวมไปถึงรากที่สั้นกว่าปกติ และยอดอ่อนจะเริ่มแห้งตาย อาการนี้ให้เริ่มสงสัยได้เลยว่าพืชกำลังจะขาดแคลเซียม
ซึ่งวิธีการแก้ไขนั้นก็สามารถแก้ได้ด้วยหินปูนบด ปูนขาว ฯลฯ เข้ามาช่วย โดยสามารถใช้ผสมในดินเพื่อเป็นการปรับสภาพดินให้มีความเป็นกรดและด่างของดินดีขึ้น หรือจะนำปุ๋ยคอกมาใส่ในดินก็ถือเป็นการช่วยได้อีกทางหนึ่งเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้แคลเซียมยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการคายน้ำในพืชอีกด้วย เพราะสภาพอากาศที่ร้อน การให้แคลเซียมควรจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพราะว่าการคายน้ำในแต่ละครั้งนั้น พืชหรือใบของผลไม้จะต้องใช้พลังงานในการคายน้ำค่อนข้างมาก ทำให้จำเป็นที่จะต้องใช้แคลเซียมโบรอนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับพืชหรือผลไม้ที่ทำการเพาะปลูกนอกฤดูกาลนั่นเอง นอกจากธาตุแคลเซียมแล้วนั้นก็จะมีธาตุโบรอนอีกด้วยที่เป็นตัวแปรสำคัญที่จะเป็นตัวช่วยในพืชและผลไม้เช่นกัน
ธาตุโบรอนจะมีบทบาทที่ช่วยในเรื่องของการดึงดูดธาตุอาหารพืช ช่วยให้พืชสามารถดูดธาตุอาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแคลเซียม ไนโตรเจน ฯลฯ ที่จะช่วยให้ดึงไปใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ตัวโบรอนเองยังมีการกระตุ้นให้พืชใช้ธาตุโปแตสเซียมได้มากขึ้น อีกทั้งยังมีบทบาทที่ช่วยในการสังเคราะห์แสง การย่อยโปรตีน ช่วยเพิ่มคาร์โบไฮเดรต และเพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของรสชาติ ขนาด และน้ำหนัก ของผลผลิต ช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี เพราะว่าตัวโบรอนนั้นจะเข้าไปช่วยในการควบคุมการดูดและการคายน้ำของพืชในกระบวนการปรุงอาหารอีกทางหนึ่งด้วย
ในขณะอีกทางหนึ่งก็ยังมีส่วนช่วยในการออกดอกและผสมเกสรได้เป็นอย่างดี ช่วยให้การติดผลได้ดียิ่งขึ้น และเคลื่อนย้ายความหวานของน้ำตาลมายังตัวผลโดยตรง การเคลื่อนย้ายฮอร์โมนก็สามารถทำได้โดยการใช้ประโยชน์จากไนโตรเจนเข้ามาช่วยในเรื่องของการแบ่งเซลล์ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว และธาตุอาหารแทบจะทุกชนิดนั้นมีความจำเป็นต่อพืชผักและผลไม้เป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยในการสมดุลและสอดคล้องกัน เพราะธาตุแต่ละชนิดนั้นจะต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน จึงบอกได้เลยว่าพืชจำเป็นที่จะต้องไม่ขาดธาตุใดธาตุหนึ่งไปโดยเด็ดขาด
ซึ่งถ้าหากพืชผักหรือผลไม้ที่ขาดธาตุโบรอน จะสังเกตได้เลยว่าส่วนยอดและใบนั้นจะเริ่มมีการบิดงอเกิดขึ้น ใบจะมีความอ่อนบางกว่าปกติ และถ้าไม่ดีก็อาจจะมีความโปร่งใสจนผิดปกติจากใบทั่วไป เส้นกลางใบจะหน้ากร้านมากกว่าเดิม และมีอาการตกกระเกิดขึ้นที่บริเวณใบ และจะมีสารเหนียวเกิดขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งสารเหนียวๆ นั้นจะออกมาตามเปลือกของลำต้นชนิดนั้นๆ อีกทั้งบางครั้งตายอดอาจจะเริ่มตายแล้วมีตาข้างแทน
แต่ทั้งนี้ตาข้างก็อาจจะตายได้เช่นกันหากขาดธาตุโบรอนไป ลำต้นก็จะไม่ค่อยยืดโตขึ้น หรือยืดตัวขึ้นมากนัก กิ่งและก้านของใบนั้นจะชิดกันผิดปกติ ตัวใบมีขนาดที่เล็กกว่าใบทั่วไปของพืชชนิดเดียวกันที่ไม่ได้ขาดธาตุชนิดนี้ อีกทั้งตัวผลผลิตจะมีขนาดเล็กกว่าที่ควรจะเป็น รวมถึงมีเปลือกที่หนาจนเกิดอาการแตกขึ้นมาทำให้เป็นแผล และผลผลิตที่ได้อาจจะเกิดโรคและเน่าตายได้ แต่อาการดังกล่าวนี้จะเห็นเด่นชัดเลยเมื่อต้นพืชกระทบกับอากาศที่แล้ง หรือมีอาการเริ่มขาดน้ำมาก ควรทำการปรับปรุงดินอย่าให้เป็นกรดหรือด่างมากจนเกินไป ควรให้ดินมีค่าความเป็นกลางมากที่สุด และควรฉีดพ่นอาหารเสริมไว้ตามใบของพืชหรือผลไม้ โดยอาจจะเสริมธาตุอาหารที่มีธาตุโบรอนเข้าไปก็จะช่วยได้ประมาณหนึ่ง ถ้าเกิดไม่ใกล้ตายหรือเริ่มเน่าแล้วเท่านั้น
การบำรุงดูแลต้นไม้ พืชผัก และผลไม้
ทำไมถึงบอกว่าต้องคำนึงถึงสภาพอากาศ ไม่ใช่สามารถให้ช่วงใดก็ได้ จริงๆ แล้วการให้ธาตุอาหารที่เป็นธาตุโบรอน และแคลเซียม นั้น ควรจะให้ได้ก็ต่อเมื่อสภาพอากาศดีพอ โดยจะต้องพิจารณาสภาพอากาศเป็นหลักเลยทีเดียว อย่างเช่น ต้นไม้ หรือพืช อาจจะเจอกับสภาพอากาศที่ไม่เป็นใจมากนัก
หรือดินที่มีธาตุอาหารเพียงพอที่พืชจะใช้สะสมไว้แล้ว อย่างเช่น ช่วงดอกกำลังจะเริ่มบาน และช่วงผลจะติด ถ้าเราสังเกตว่าช่วงที่ดอกกำลังเริ่มตูมอยู่นั้น หรือช่วงดอกเริ่มบาน ก็สามารถให้ธาตุอาหารแคลเซียมหรือโบรอนได้เช่นกัน เพราะว่าการให้ในช่วงที่ดอกกำลังบานหรือตูมนั้นเหมือนเป็นการให้โบรอนและแคลเซียมเข้าไปช่วยในเรื่องของการเร่งรังไข่ให้สมบูรณ์นั่นเอง
นอกจากนี้ในช่วงที่ให้แคลเซียมและโบรอนนั้นอาจจะเข้าไปช่วยในเรื่องของการกระตุ้นการทำงานของโพแทสเซียมในการสังเคราะห์น้ำตาล แป้ง โดยให้เคลื่อนย้ายจากใบไปสู่ผล จากนั้นก็จะให้แคลเซียมโบรอนได้อีกครั้งในช่วงที่กำลังติดผล ยกตัวอย่างเช่น มะม่วง ในครั้งแรกที่ให้เราจะให้ในช่วงที่ก่อนดอกเริ่มบาน เมื่อดอกบานไปแล้วก็ควรเว้นไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วจึงทำการฉีดซ้ำได้อีกครั้ง ก็จะช่วยให้ผลผลิตที่ได้นั้นมีคุณภาพ และได้น้ำหนักดีนั่นเอง
ประโยชน์ของแคลเซียมโบรอน
ซึ่งปกติแล้วอาจจะมีการใช้ปุ๋ยเคมีจุลินทรีย์ช่วยในการปลูกกาแฟอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้พ่นทางใบ หรือทางระบบชลประทานเองก็ดี ซึ่งก็จะเข้ามาช่วยสนับสนุนในการปลูกกาแฟได้ดียิ่งขึ้น ถือว่ามีความจำเป็นในการปลูกกาแฟเป็นอย่างมาก โดยการนำแคลเซียมและโบรอนเข้ามามีส่วนช่วยในการปลูกกาแฟในช่วงที่ต้นของกาแฟอยู่ในระดับหนึ่งก่อนที่ต้นจะเริ่มออกดอก ดังนั้นเมล็ดกาแฟที่มีสุขภาพดีและแข็งแรงได้นำโบรอนเข้ามาช่วยให้กาแฟนั้นมีคุณภาพและผลผลิตที่ดีกว่าเดิม
โดยโบรอนที่ได้จากปุ๋ยเคมีจุลินทรีย์ในดินทำให้มีปัญหาอยู่บ้าง แต่ก็ต้องดูช่วงปริมาณฝนด้วยว่ามากน้อยเพียงใด ซึ่งผลิตภัณฑ์แคลเซียมโบรอนจะสามารถนำไปฉีดเข้าสู่ระบบชลประทาน และรดน้ำในบริเวณรากของต้นกาแฟ ก็จะช่วยให้ต้นกาแฟนั้นสามารถดูดซึมและนำไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ก่อให้เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพตามมา แม้ว่าแคลเซียมโบรอนจะมีส่วนช่วยในการทำให้พืชผักหรือผลไม้นอกฤดูได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพแล้วนั้น
ตัวแคลเซียมเองยังมีส่วนช่วยในการคายน้ำได้อีกด้วย ในพืชที่ต้องออกดอก ออกผล ในช่วงที่สภาพอากาศไม่ค่อยเป็นใจนัก ตัวแคลเซียมจึงถือได้ว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญกับพืชในช่วงเวลานี้เป็นอย่างมาก เช่น พืชคายน้ำจากใบพืช 1 ซีซี. จะสามารถลดอุณหภูมิได้ 15 องศาเซลเซียส จากผิวใบ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของพืชหลักๆ ทั่วไปอยู่แล้ว แต่เมื่อใบสังเคราะห์แสงทั้งวันนั้น ถ้าสังเคราะห์แสงมากเกินไป และอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 40 องศาเซลเซียส หรือมากกว่านี้ อาจจะทำให้ใบนั้นมีอาการไหม้ได้ แต่ถ้าหากมีการสะสมแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอของพืช ก็จะช่วยในเรื่องของการป้องกันใบไหม้ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
ในส่วนของโบรอนนั้นจะเป็นตัวที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลให้กับพืช ซึ่งเป็นสารที่มีความสำคัญต่อพืชซึ่งเกิดจากโพแทสเซียม เพราะถ้าในช่วงที่มีการคายน้ำมากนั้นอาจจะทำให้พืชใช้พลังงานเป็นอย่างมาก โบรอนจึงเข้ามาทำหน้าที่นำสารที่เป็นพลังงานมาให้กับพืช ดังนั้นแคลเซียมโบรอนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อพืชผักและผลไม้นอกฤดูกาล และการฉีดแคลเซียมโบรอนในช่วงที่ก่อนดอกเริ่มจะบานนั้นจะช่วยในเรื่องการขยายเซลล์ได้อีกทางด้วย เพราะจะทำให้ติดดอกเป็นจำนวนมากในผลไม้ ทำให้เกิดการแบ่งเซลล์เกิดขึ้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นผลดีต่อเกษตรกรด้วยที่จะได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น และได้ปริมาณมากขึ้นกว่าเดิม
ข้อควรระวังของการใช้ แคลเซียมโบรอน
แม้ว่าแคลเซียมโบรอนจะเป็นสารที่มีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชผลทางการเกษตร แต่ก็มีข้อระวังในการใช้อยู่เหมือนกัน โดยถ้ามีการนำแคลเซียมโบรอนมาฉีดกับพืชหรือผลไม้ก็จะช่วยในเรื่องของการแบ่งเซลล์ได้ก็จริง แต่การจะฉีดนั้นจะต้องดูช่วงเวลาและจังหวะให้ดี เพราะถ้าเกิดนำมาฉีดและใช้ผิดช่วงก็จะส่งผลเสียให้กับผลผลิตได้เลยทีเดียว และอย่าฉีดหรือใช้ในช่วงที่ผลผลิตเริ่มออกดอก หรือดอกเริ่มบาน เด็ดขาด ซึ่งถ้าใช้ก็จะทำให้ดอกนั้นเกิดความเสียหายได้ อีกทั้งอย่านำไปใช้ในช่วงที่ฝนตกหนักๆ เพราะแคลเซียมโบรอนอาจจะไม่เกิดประโยชน์เลย แถมอาจจะกลายเป็นกรด ส่งผลเสียต่อพืชอย่างแน่นอน
ถือว่าเป็นธาตุอาหารที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียวกับ แคลเซียมโบรอน ซึ่งถือเป็นธาตุอาหารอีกชนิดที่เกษตรกรหลายๆ คนได้นำมาใช้และประสบผลสำเร็จ ซึ่งถือว่าเป็นอีกตัวเลือกในการพัฒนาคุณภาพของผลผลิตต่างๆ ในภาคการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก ผลไม้ ฯลฯ ที่ช่วยให้คุณภาพของผลผลิตดีขึ้น มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น รสชาติที่อร่อย หอม หวาน มากขึ้น เนื้อมีความแน่นขึ้น สร้างกำไรให้กับเกษตรกรที่ได้นำไปใช้ได้อย่างเห็นผลมากที่สุด
ถึงแม้ว่าจะมีการนำไปใช้ในหลายรูปแบบ แต่ทั้งนี้การใช้ธาตุอาหารก็ควรที่จะใช้ควบคู่กับการดูแลผลผลิตของตนเองไปด้วย อีกทั้งต้องศึกษาข้อมูลต่างๆ ให้ดีก่อนที่จะนำมาใช้งาน เพราะไม่ใช่ว่าต่อให้เป็นพืชการเกษตร หรือเป็นน้ำหมักธาตุอาหาร ก็สามารถนำมาใช้ได้เลยนั้น ความจริงแล้วไม่ใช่อย่างที่คิด เราจะต้องลงมือศึกษารายละเอียดของผลิตภัณฑ์ที่เข้ามาช่วยในเรื่องของพืชผักเสียก่อน มิเช่นนั้นอาจจะสูญเสียผลผลิตไปอย่างสูญเปล่า
แคลเซียมโบรอน ถือเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะถือว่าเป็นธาตุอาหารที่ช่วยในเรื่องของภาคการเกษตรอย่างแท้จริง เพราะเป็นธาตุอาหารที่เข้ามาสนับสนุนพืชผลทางการเกษตรให้เติบโตได้อย่างเต็มที่ แต่เราก็ต้องศึกษารายละเอียดและข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับ แคลเซียมโบรอน เสียก่อน เพราะว่ามีหลากหลายชนิด และรูปแบบ บทความนี้อาจจะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจในการเลือกใช้ แคลเซียมโบรอน ในการเกษตรได้อีกทางหนึ่งเช่นกัน หรือถ้าไม่ใช้อาจจะใช้เป็นปุ๋ยคอกแทนก็ได้เช่นกัน
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://www.napnutriscience.com/calcium-and-boron-are-essential-for-plant.html,https://www.gotoknow.org/posts/545413,https://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=1673&s=tblplant,https://www.thaigreenagro.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%8A/