โรคของแตงกวา และแมลงที่สำคัญ ของแตงกวา แตงร้าน และ การป้องกันรักษา
โรคราน้ำค้าง ( Downy mildew )
ลักษณะอาการ จุดเหลี่ยมช้ำน้ำเกิดกับใบแก่ เห็นได้ชัดที่ใต้ใบ หลังใบ มีแผลสีซีดหรือเหลือง สปอร์สีเข้มคลุมแผลใต้ใบ เห็นได้ชัดในตอนเช้า
วิธีป้องกันและควบคุม พ่นป้องกันด้วยสารเคมีในกลุ่มเมทาแลกซิล แมนโคเซบ คลอโรทาโรนิส หรือไตเมโทมอร์ฟ เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อราต่อสารเคมีในกลุ่มเมทาแลกซิล ควรพ่นสลับกับสารเคมีตัวอื่น เช่น ถ้าใช้เมทาแลกซิล 1 – 2 ครั้ง ครั้งต่อไปให้เปลี่ยนไปใช้ตัวอื่น ๆ ที่แนะนำในข้างต้น
โรคราแป้ง ( Powdery mildew )
ลักษณะอาการ ผงสีขาวกระจาย หรือขึ้นคลุมด้านบน และท้องใบแก่ก่อน ในแตงกวาหรือแตงร้านพบเฉพาะบนใบเท่านั้น ต่อมาใบสีซีดเหลือง และแห้งตายในที่สุด แต่ใบไม่ร่วง การระบาดมักเริ่มจากชอบแปลงลามเข้าไปด้านใน และพบการระบาดของ โรคของแตงกวา จำนวนมากในบริเวณตอนกลางของแถวปลูก
วิธีป้องกันและควบคุม พ่นป้องกันโรคด้วยแคปแทน กำมะถัน โพรคลอราช หรือมาเนบ
โรคไวรัสใบด่างแดง ( Cucumber mosaic )
ลักษณะอาการ เกิดจากไวรัสคูคิวโม CMV ที่มีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะ อาการ คือ ใบยอดและใบอ่อนมีอาการด่าง ผิวใบมีลักษณะเนื้อใบนูนคล้ายหูด ขนาดใหญ่ มีสีเข้ม ผลมีลักษณะหูดนูนกระจายทั่วผล หรือด่างเป็นวง ต้นเจริญไม่ดี อาจแคระแกรน
วิธีป้องกันและควบคุม ใช้สารเคมีพ่นป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อน เช่น คอนฟิดอร์ ไดโนทีฟูเรน กลุ่มอาบาแมคติน และกลุ่มคลอไพริฟอส
โรคใบหงิกแดง ( Cucurbit leaf curtl )
ลักษณะอาการ เส้นใบสีเขียวเข้ม และเนื้อใบมีสีจาง และมีจุดเหลือง ขอบใบยกตัวขึ้น ทำให้ใบมีลักษณะคล้ายถาด อาการร่วมที่พบ ได้แก่ การมีจุดเหลืองบนใบชุดที่ติดกับใบอ่อน รวมถึงใบแก่ ขนาดใบเล็กลง และต้นไม่เจริญ มีเถาสั้น
วิธีป้องกันและควบคุม ป้องกันแมลงหวี่ขาวดูดน้ำ – อาหาร ในระยะกล้ากำจัดวัชพืชที่เป็นแหล่งอาศัยของแมลงหวี่ขาว หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุคลุมดินที่มีสีซีดหรือสีเหลือง ใช้สารเคมีพ่น เช่น คอนฟิดอร์ ไดโนทีฟูเรน
โรคไวรัสใบด่างเหลือง ที่มีเพลี้ยไฟเป็นพาหะ ( Melon Yellow Spot Virus-MYSV )
ลักษณะอาการ อาการที่ใบอ่อนจะมีลักษณะใบมีสีเขียวเข้ม ใบแก่เป็นจุดวงแหวน ขอบเหลือง
วิธีป้องกันและควบคุม พบโรคระบาดมากในช่วงหน้าร้อนที่สภาพอากาศแห้งแล้ง และมีเพลี้ยไฟระบาด การป้องกันการระบาดของ โรคของแตงกวา ทำได้โดยการใช้สารเคมีกำจัดเพลี้ยไฟ โดยเฉพาะในระยะติดดอก ซึ่งเพลี้ยไฟมักจะไปอาศัยอยู่ในดอก ใช้พลาสติกคลุมแปลง หรือใช้กับดักกาวเหนียวสีฟ้ารอบ ๆ แปลงปลูก
อาการของดอกตัวผู้มากในช่วงวันยาว และอาการที่ดอกตัวผู้น้อยในช่วงวันสั้น
วันยาวคืออะไร ?
เมื่อเริ่มเข้าสู่เดือนเมษายนจนถึงเดือนกันยายน จะสังเกตเห็นว่าระยะเวลากลางวันยาวขึ้น ถ้าจะให้อธิบายง่ายๆ คือ ท้องฟ้าจะสว่างเร็ว และจะมืดค่ำช้าลง ซึ่งจะเป็นช่วงรอยต่อฤดูร้อนจนถึงปลายฤดูฝน
ลักษณะดังกล่าวมีผลกระทบต่อการออกดอกของแตงกวา – แตงร้าน คือ จะชักนำให้ต้นแตงกวา-แตงร้าน ออกดอกตัวผู้ในช่วงแรก และหลังจากนั้นจึงจะออกดอกตัวเมีย ดังนั้นในช่วงวันยาวอายุเก็บเกี่ยวผลผลิตจะช้าลงกว่าปกติ 3 – 5 วัน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
วันสั้นคืออะไร ?
เมื่อเริ่มเข้าสู่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนเมษายน จะสังเกตเห็นว่าระยะเวลากลางวันสั้น ถ้าจะให้อธิบายง่าย ๆ คือ ท้องฟ้าจะสว่างช้า และจะมืดค่ำเร็ว ซึ่งจะเป็นช่วงรอยต่อฤดูหนาวจนถึงต้นฤดูฝน
ลักษณะดังกล่าวมีผลกระทบต่อการออกดอกของแตงกวา – แตงร้าน คือ จะชักนำให้ต้นแตงกวา-แตงร้าน ออกดอกตัวเมียตั้งแต่ข้อแรกๆ เลย และต่อเนื่อง ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะทำให้ไม่มีดอกตัวผู้หรือเกสรตัวผู้มาผสม จะทำให้ดอกตัวเมียที่บานไม่ได้รับการผสม และดอกจะเหลือง เหี่ยว และฝ่อไปในที่สุด เป็นบางส่วน ดังนั้นในช่วงวันสั้นการเก็บเกี่ยวผลผลิตแตงกวา – แตงร้าน จะเก็บเกี่ยวเร็ว
โรคของแตงกวา
โรคแตงกวา , แตงกวา , โรคราน้ำค้าง ( Downy mildew ) , โรคราแป้ง ( Powdery mildew ) , โรคใบหงิกแดง ( Cucurbit leaf curtl ) , โรคไวรัสใบด่างเหลือง ที่มีเพลี้ยไฟเป็นพาหะ ( Melon Yellow Spot Virus-MYSV ) , วันยาว , วันสั้น , ปลูกแตงกวา แตงล้าน