โรคข้าวโพด 5 อย่าง วิธีสังเกตุ + วิธีป้องกันรักษา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โรคข้าวโพด 5 อย่าง วิธีสังเกตุ + วิธีป้องกันรักษา

  1. โรคราน้ำค้าง ( Downy Mildew )
  2. โรคใบไหม้แผลใหญ่ ( Leaf Blight )
  3. โรคราสนิม ( Corn Rust )
  4. หนอนเจาะฝัก
  5. ฝักหวีในข้าวโพด

 

โรคราน้ำค้าง-Downy-mildew-www.forestryimages.org_
โรคราน้ำค้าง-Downy-mildew source: www.forestryimages.org โรคข้าวโพด

โรคราน้ำค้าง ( Downy Mildew )

ลักษณะอาการ รอยขีดเป็นทางยาว สีเขียวซีดบนใบ มีสปอร์สีขาวคลุมบนรอยแผล ยอดบิด ไม่ยืดตัว ทำให้ต้นเตี้ย แคระแกรน ฝักจากต้นที่เป็นโรคจะมีเมล็ดไม่สมบูรณ์ และเมล็ดไม่เต็มฝัก โรคมักระบาดในฤดูฝนที่มีความชื้นสูง

วิธีป้องกันและควบคุม คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันโรค เช่น เมตาแลกซิล หากพบการระบาดใช้สารป้องกันกำจัดโรค เช่น เมตาแลกซิล สลับด้วยแมนโคเซบ หรือคลอโรทาโลนิล

 

 

โรคใบไหม้แผลใหญ่-Leaf-Blight-
โรคใบไหม้แผลใหญ่-Leaf-Blight-

 

โรคใบไหม้แผลใหญ่ ( Leaf Blight )

ลักษณะอาการ ใบไหม้แผลใหญ่ รอยช้ำน้ำสีเทาเป็นทางยาวบนใบแก่และใบอ่อนข้าวโพด ภายใน 2-3 วัน แผลมีสีน้ำตาลแห้ง ขยายขนาดทางยาว โดยมีปลายแผลทั้งสองข้างรี กลางแผลมีสปอร์ราสีเทาดำกระจายตัว อาการรุนแรงทำให้ใบทั้งหมดไหม้ แห้งกรอบ

วิธีป้องกันและควบคุม ใช้พันธุ์ข้าวโพดที่ต้านทานโรค เช่น จัมโบ้สวีท และพันธุ์การค้าอื่นๆ ของตราศรแดง พ่นสารเคมีป้องกันโรค โดยสารเคมีที่ใช้ได้ผล ได้แก่ แมนโคเซบ ไพรฟิโคนาโซล คลอโรทาโลนิล หรือใช้อะช็อกชีสโตรบิน ถ้ามีการระบาดรุนแรงและรวดเร็ว แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกินกว่า 2 ครั้ง

 

 

โรคราสนิม-Corn-Rust
โรคราสนิม-Corn-Rust

โรคราสนิม ( Corn Rust )

ลักษณะอาการ โรคข้าวโพด ตุ่มนูนสีน้ำตาล ที่ภายใน มีผง สีสนิม อัดแน่น แผลนูน กระจาย ไปบน ใบข้าวโพด ทั้งด้านหน้าใบ และ ใต้ใบ ใบข้าวโพดไหม้ อย่างรวดเร็ว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

วิธีป้องกันและควบคุม เมื่อพบอาการบนใบ 3-4 จุด ควรเริ่มพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น แมนโคเซบ อะช็อกชีสโตรบิน หรือคลอโรทาโลนิล

 

หนอนเจาะฝัก-ข้าวโพด
หนอนเจาะฝัก-ข้าวโพด

หนอนเจาะฝัก ข้าวโพด

ลักษณะอาการ หนอนจะเข้าไปกัดกินภายในฝักอ่อน หรือฝักแก่ ซึ่งจะสร้างความเสียหายในระยะสุดท้ายของการปลูก

วิธีการป้องกัน และ ควบคุม ใช้ยาทาบรอน หรือคลอร์ไพรีฟอส ป้องกันกำจัด

 

ฝักหวีในข้าวโพด
ฝักหวีในข้าวโพด

ฝักหวีในข้าวโพด

ลักษณะอาการ ต้นจะแข็งแรง มีลักษณะใบสีเขียวเข้ม การออกฝักหลายฝัก แต่ฝักจะไม่สามารถเจริญพัฒนาฝักให้สมบูรณ์เพื่อเก็บเกี่ยวได้ดี

สาเหตุของการ เกิดฝักหวี

  1. ระยะปลูก ห่างเกินไป โดยระยะ ปลูกข้าวโพด ที่เหมาะสม 25 x 75 ซม. ซึ่งการปลูกห่างทำให้ต้นได้รับปุ๋ยและน้ำมากเกินไป
  2. มีการใส่ปุ๋ย ไนโตรเจนมาก เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ในช่วงแรก ๆ ทำให้ต้นเกิดอาการ ที่เรียกว่า โอเวอร์ไนโตรเจน หรือ ต้นสมบูรณ์ มากเกินไป และอาจจะเกิด ควบคู่ไปกับระยะ ปลูกห่างเกินไป

วิธีป้องกัน และ ควบคุม

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  1. ใช้ระยะปลูกที่เหมาะสม 25 x 75 ซม.
  2. ใส่ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสม โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับสภาพต้นและแปลง

โรคข้าวโพด