ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และกำลังได้รับความสนใจจากเกษตรกรทั่วทุกภาค ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ภาคกลาง หรือภาคอีสาน สำหรับภาคใต้นั้นปาล์มน้ำมันถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรมายาวนานเกือบ 40 ปี
กระแสการปลูกปาล์มน้ำมันมาแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันมากขึ้น เพื่อทดแทนพืชเดิมที่เคยปลูกกัน เช่น มะพร้าว กาแฟ ยางพารา หรือแม้กระทั่งสวนผลไม้ ชาวสวนก็เริ่มปรับเปลี่ยนพื้นที่มาปลูกปาล์มน้ำมันมากขึ้นเรื่อยๆ
การปลูกและดูแลปาล์มน้ำมัน
สำหรับในวันนี้เราจะพาไปดูสวนปาล์มน้ำมันที่ชุมพร ซึ่งเมื่อก่อนนั้นที่นี่เป็นแหล่งผลิตไม้ผลที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้ ทั้งมะพร้าว ทุเรียน เงาะ ลองกอง มังคุด กล้วยหอม แต่ตอนนี้ชาวสวนหันมาปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสวนปาล์มน้ำมันที่เรามีโอกาสเข้าเยี่ยมเยียนในครั้งนี้เป็นสวนปาล์มน้ำมันของ อาจารย์รณฤทธิ์ สมบุญ ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
อาจารย์รณฤทธิ์ สมบุญ เกษตรกรวัยเกษียณ อายุ 72 ปี เดิมรับราชการเป็นครู ซึ่งขณะที่รับราชการก็ทำสวนควบคู่ไปด้วย อีกทั้งยังได้เปิดร้านจำหน่ายอุปกรณ์และวัสดุการเกษตรไปพร้อมๆ กัน สวนของอาจารย์รณฤทธิ์มีทั้งหมด 38 ไร่ แบ่งปลูกปาล์มน้ำมันประมาณ 16 ไร่ เดิมพื้นที่ตรงนี้ปลูกทุเรียนหมอนทอง แต่น้ำท่วมเกือบทุกปี ทำให้ทุเรียนเป็นโรคราสีชมพู ต้นโทรม และตาย เป็นจำนวนมาก
อาจารย์จึงตัดสินใจปลูกปาล์มน้ำมันแซมระหว่างต้นทุเรียน โดยได้ไปซื้อพันธุ์ปาล์มน้ำมัน สายพันธุ์เดลิ ไนจีเรียแบล็ค จาก บริษัท อาร์แอนด์ดี เกษตรพัฒนา จำกัด จำนวน 360 ต้น ปลูกที่ระยะ 9x9x9 เมตร เหตุผลที่เลือกต้นปาล์มน้ำมันของทางบริษัทฯ เพราะมั่นใจในคุณภาพและมาตรฐานการคัดทิ้งต้นกล้า อีกทั้งยังมีใบรับรองสายพันธุ์ให้กับลูกค้าอีกด้วย
การจัดการสวนปาล์มน้ํามัน
โดยอาจารย์เล่าว่าหลังจากปลูกปาล์มไปประมาณปีเศษ ต้นปาล์มมีอาการทางใบบิด หักงอ ไม่สวย จึงได้ปรึกษากับนักวิชาการของบริษัทฯ ซึ่งได้ให้คำแนะนำว่า หลังจากปาล์มน้ำมันมีอายุ 3 ปีขึ้นไปอาการดังกล่าวจะหายไปเอง เพราะเป็นลักษณะเฉพาะของสายพันธุ์นี้ ไม่มีผลกระทบกับการให้ผลผลิต
เมื่อปาล์มน้ำมันอายุครบ 3 ปีลักษณะทางใบได้กลับมาปกติเหมือนเดิม ปัจจุบันต้นปาล์มน้ำมันมีอายุ 6 ปีเต็ม และให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ โดยตัดผลผลิตทุก 15 วัน เดือนละ 2 ครั้ง ได้ผลผลิตครั้งละ 7-8 ตัน เฉลี่ยแล้วเดือนละประมาณ 14 ตัน
โดยอาจารย์บอกว่า “เวลาใส่ปุ๋ยทุเรียน ต้นปาล์มก็ได้ เวลาฉีดฮอร์โมนอาหารเสริมให้ทุเรียน ต้นปาล์มก็ได้ ซึ่งส่งผลทำให้ปาล์มออกทะลายทั้งปีสม่ำเสมอ” เรื่องการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันจะแบ่งใส่ 3 ครั้ง/ปี คือ ช่วงต้นฝน กลางฝน และปลายฤดูฝน ใช้ปุ๋ยตราหัวไก่ สูตร 16-6-22+3MqO สลับกับปุ๋ยสูตร 12-2-28+B โดยใส่ครั้งละ 2-3 กิโลกรัม/ต้น และในสวนไม่เคยใช้ยาฆ่าหญ้าเลย แต่จะใช้วิธีการตัดหญ้า เพื่อเก็บความชื้นทำให้ดินมีความสมบูรณ์มาก
สภาพพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน
และในวันเดียวกันผู้เขียนมีโอกาสไปเยี่ยมชมสวนปาล์มน้ำมันของ คุณชาญณรงค์ หนูคง อยู่ที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร สวนปาล์มน้ำมันของคุณชาญณรงค์มีพื้นที่ 9 ไร่ เดิมเป็นที่นามีน้ำท่วม ต่อมา ปี 2552 ได้ตัดสินใจปลูกปาล์มน้ำมัน
โดยได้จ้างรถแบคโฮมายกร่องปลูกปาล์มน้ำมัน ความกว้างสันร่อง 13 เมตร คูน้ำกว้าง 2.5 เมตร วางแนวปลูก 9x9x9 เมตร แบบสลับฟันปลาหรือสามเหลี่ยมด้านเท่า เมื่อมองไปด้านไหนจะเห็นต้นปาล์มน้ำมันเป็นแถวตรงสวยมาก
หลังจากเตรียมพื้นที่เสร็จ จึงซื้อต้นกล้าปาล์มน้ำมัน จาก บริษัท อาร์แอนด์ดี เกษตรพัฒนา จำกัด ที่ศูนย์ละแม ซึ่งได้รับคำแนะนำจากนักวิชาการว่าสายพันธุ์เดลิ ไนจีเรียแบล็ค ทนแล้ง ให้ผลผลิตสูง ทะลายใหญ่ จึงได้ซื้อมาจำนวน 220 ต้น
ปัจจุบันต้นปาล์มน้ำมันมีอายุ 5 ปีเต็ม จึงได้ใส่ขี้ไก่แกลบต้นละ 1 กระสอบ โรยรอบโคนต้น เพื่อปรับสภาพดินและช่วยเก็บความชื้น สำหรับการใส่ปุ๋ยเคมีนั้นได้ใส่ช่วงแรกที่ปาล์มน้ำมันมีอายุ 1-3 ปี ใส่สูตร 21-0-0, 0-0-60 และโบรอน ตามเอกสารที่ทางบริษัทฯ แจกให้
พอปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตก็ปรับเปลี่ยนใช้ปุ๋ยตรามือตะวัน สูตร 14-4-34+B ใส่ 3 ครั้งต่อปี ครั้งละ 2 กิโลกรัมต่อต้น และเพิ่มสูตร 0-0-60 อีกต้นละครึ่งกิโลกรัม
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
สำหรับการเก็บเกี่ยวผลผลิตนั้น ตัดผลผลิต 15 วันต่อครั้ง เดือนละ 2 ครั้ง ครั้งละ 3 ตัน เดือนละประมาณ 6 ตัน ซึ่งเป็นรายได้ที่สามารถนำมาใช้จ่ายในครอบครัวได้อย่างสบาย คุณชาญณรงค์ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “ดีใจมากที่ได้ปลูกปาล์มพันธุ์ดีของ บริษัท อาร์แอนด์ดี เกษตรพัฒนา จำกัด เพราะลงทุนครั้งเดียวเก็บเกี่ยวถึง 25-30 ปี แต่ถ้าซื้อพันธุ์ไม่ดีมาปลูกก็ปวดหัวไปอีก 25-30 ปี เช่นกัน”
จะเห็นได้ว่านอกเหนือจากสายพันธุ์ที่ดีแล้ว ในเรื่องของการจัดการสวนปาล์มอื่นๆ ก็มีผลต่อผลผลิตที่ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใส่ปุ๋ย การไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า การใช้ขี้ไก่แกลบ ล้วนแต่เป็นเทคนิคในการดูแลสวนปาล์มที่เกษตรกรสามารถนำไปเลียนแบบเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับสวนปาล์มของตัวเองได้ทั้งนั้น
ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณรณฤทธิ์ สมบุญ อ.เมือง จ.ชุมพร และคุณชาญณรงค์ หนูคง อ.หลังสวน จ.ชุมพร
ฝากถึงเกษตรกรที่สนใจต้นกล้าปาล์มน้ำมัน
สำหรับเกษตรกรท่านใดที่สนใจซื้อและจองต้นกล้าปาล์มน้ำมัน สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โครงการความร่วมมือสหกิจศึกษาทางวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ร่วมกับ บริษัท อาร์แอนด์ดี เกษตรพัฒนา จำกัด โทร.ศูนย์ละแม : 087-935-0001, ศูนย์สวี : 085-214-8668, ศูนย์ปราจีน : 081-295-8906, ศูนย์พัทลุง : 081-963-3613 หรือติดต่อ คุณชัยยุทธ : นักวิชาการในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน 088-385-1852 ท่านสามารถเข้าชมเว็บไซต์ของบริษัทได้ที่ www.rdpalm.com และติดตามข้อมูลข่าวสารของบริษัทฯ ได้ที่ Fanpage : R&D กล้าปาล์มพันธุ์ดี
การจัดการสวนปาล์มน้ํามัน การจัดการสวนปาล์มน้ํามัน การจัดการสวนปาล์มน้ํามัน การจัดการสวนปาล์มน้ํามัน การจัดการสวนปาล์มน้ํามัน การจัดการสวนปาล์มน้ํามัน การจัดการสวนปาล์มน้ํามัน การจัดการสวนปาล์มน้ํามัน การจัดการสวนปาล์มน้ํามัน