การปลูกมันสําปะหลัง แซมร่อง ปาล์มน้ำมัน สร้างรายได้ตลอดปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปลูกมันสําปะหลัง แซมร่อง ปาล์มน้ำมัน ปลูกมันสําปะหลัง วิธีปลูกมันสําปะหลัง การปลูกอ้อย สมศักดิ์ สิทธิชัย  แซมร่อง ปาล์มน้ำมัน(รูปพิเศษ) นายสมซักดิ์ สิทธิชัยกับสวนปาล์มเล็กหลังจากเก็บเกี่ยวทานตะวัน

 

นายสมศักดิ์ สิทธิชัย หรือ เสี่ยอ่อง เรียกได้ว่าเป็นเกษตรกรอีกท่านหนึ่งที่รักการทำเกษตรทั้งทำไร่อ้อย ปลูกมัน ทานตะวันและข้าวโพดแซมในสวนปาล์มเล็ก ไม่ให้พื้นที่ว่างเปล่า เป็นคนขยันและสู้ชีวิต โดยเฉพาะการทำ “ไร่อ้อย” ในพื้นที่ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ภายใต้ประสบการณ์ที่มีมาอย่างต่อยาวนานจนกระทั่งประสบความสำเร็จ สามารถยกระดับความเป็นอยู่ของชีวิตขึ้นมาได้ แต่ความรักในอาชีพนี้แม้จะเกิดปัญหาและผลกระทบในการทำไร่อ้อยบ้างในแต่ละปี แต่เสี่ยอ่องก็พยายามแก้ปัญหาและสามารถผ่านพ้นปัญหาไปได้

การวางระบบน้ำหยดก่อนปลูกมัน

เช่นเดียวกับการทำไร่อ้อยของเสี่ยอ่องในฤดูกาลนี้บนพื้นที่ 400 ไร่และไร่อ้อยของลูกน้องอีก 300 ไร่ รวมเป็น 700 ไร่นั้นต้องใช้แรงงานทั้งรายวันและประจำมากกว่า 50 ชีวิตในการเก็บเกี่ยวผลผลิตเข้าสู่โรงงานทั้งแบบอ้อยสดและอ้อยไฟไหม้ ส่วนใหญ่เน้นการใช้แรงงานอย่างเดียวที่สามารถเก็บงานได้ละเอียดกว่าแม้แรงงานจะหายากและมีค่าแรงงานที่สูงขึ้นเป็น 300 บาท/วันในปีนี้ ขณะที่การใช้เครื่องจักรหรือ “รถตัดอ้อย” นั้นจากประสบการณ์ที่เคยว่าจ้างรถตัดอ้อยให้ช่วยตัดอ้อยในไร่จะเห็นว่ารถตัด

อ้อย มีข้อดีคือตัดอ้อยได้เร็วเท่านั้น ไร้อ้อย 100ไร่ใช้รถตัดอ้อยตัดเพียง 2 วันก็แล้วเสร็จแต่ถ้าใช้แรงงาน 30 คนตัดอ้อย 100 ไร่ต้องใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์จึงจะแล้วเสร็จและการใช้แรงงานมีความคุ้มค่ามากกว่า การใช้แรงงานตัดอ้อยจะเหยียบตออ้อยไม่หมด แรงงานน้ำหนักเบากว่า  การใช้รถคีบก็จะเหยียบตออ้อยไม่หมด เมื่อรวมน้ำหนักรถคีบที่คีบอ้อยด้วยจะหนักเพียง 4 ตันกว่าเท่านั้น แต่การใช้รถตัดอ้อยควบคู่กับรถบรรทุกอ้อยจะทำให้การตัดอ้อย 1 แถวทั้งรถตัดอ้อยและรถบรรทุกจะต้องเหยียบตออ้อยรวมแล้ว 4 ครั้งต่อรอบ เฉพาะน้ำหนักรถไม่ต่ำกว่า 10 ตัน/คัน เมื่อบรรทุกอ้อยเข้าไปจะมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 30 กว่าตัน/คันเลยทีเดียว “ ดินที่นี่ดี เป็นดินฟู เคยใช้รถตัดแล้วมันเหยียบตออ้อยลงหมด ดินทรายผลผลิตอาจจะกระทบน้อยลงเพราะดินทรายมันแน่นอยู่แล้ว ถ้าดินหลวม ดินฟูเหมือนที่นี่พอรถตัดเหยียบลงไปมันจะยุบเหมือนเราบดถนนเลย ยิ่งบดยิ่งแน่นอ้อยก็ไม่งาม ถ้าตัดแล้วไม่สูบน้ำใส่อ้อยจะแกรน บางทีไม่ขึ้น ถ้าสูบใส่แล้วขึ้นมาส่วนใหญ่ก็สู้คนตัดไม่ได้ ”เสี่ยอ่องเผยที่มาของการใช้แรงงานหลังจากที่ตัดอ้อยตอแรกแล้วเมื่อบำรุงจนเป็นอ้อยตอ 2 จะให้ผลผลิตสูงกว่าใช้รถตัด 3-5 ตัน/ไร่ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่เป็นหลัก

การทำไร่อ้อย 400 ไร่ มีระบบน้ำทั้งหมด
การทำไร่อ้อย 400 ไร่ มีระบบน้ำทั้งหมด

แน่นอนว่าการใช้ “รถตัดอ้อย” จะมีต้นทุนที่ถูกกว่าประมาณ 60-70 บาท/ตัน สะดวกไม่ต้องวิ่งหาแรงงานเท่านั้นเอง แต่การใช้รถตัดก็มีต้นทุนสูงเพราะราคาแพง ใช้เงินก้อน ลงทุนก่อนล่วงหน้าโดยที่ไม่รู้ว่าผลผลิตแต่ละปีเท่าไหร่ ยังไม่รวมค่าสึกหรอจาการทำงานในไร่ ถ้าพื้นที่เรียบก็ทำงานง่าย ได้ผลผลิตที่ดี ต้นทุนต่ำลง แต่ถ้าพื้นที่ไม่เรียบ ไม่ดี ต้นทุนก็จะสูงขึ้น รถตัดอ้อยสึกหรอ เสียหายเร็ว ตัดอ้อยได้น้อยลง  แต่การใช้แรงงานจะเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนแบบปีต่อปี การทำไร่อ้อยปัญหาใหญ่คือการเก็บเกี่ยวผลผลิตเข้าโรงงาน ปัญหาใหญ่การทำไร่อ้อยคือแรงงานเพราะอ้อยต้องมีการจัดการใหม่ทุกปี การปลูกอ้อยที่มีระบบน้ำหยดทั้งหมด การปลูกอ้อยใหม่มีค่าท่อนพันธุ์ที่ 20,000 บาท/ไร่ ปลูกอ้อย 1 ไร่ใช้ท่อนพันธุ์ประมาณ 2 ตัน รวมการจัดการอยู่ที่ 4,000 บาท/ไร่ ถ้ามีท่อนพันธุ์เองก็จะอยู่ที่ 3,000 บาท/ไร่ การทำรุ่นด้วยแรงงานและเครื่องจักรขนาดเล็กช่วยให้การจัดการในพื้นที่ง่ายขึ้น การใส่ปุ๋ย 2 ครั้งต่อปีหรือ 30-40 กก./ไร่/รอบ การสูบน้ำขึ้นมาใช้และการให้น้ำแบบน้ำหยดมีต้นทุนมากกว่า 400 บาท/ไร่/ครั้ง เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวอ้อยปลูกใหม่จะให้ผลผลิต 15-16 ตัน/ไร่ อ้อยตอให้ผลผลิต 12-14 ตัน/ไร่ เฉลี่ยผลผลิตโดยรวมทุกตอจะอยู่ที่ประมาณ 12 ตัน/ไร่/ปี  ขณะที่การใช้แรงงานจะมีค่าใช้จ่ายที่ 400-500 บาท/คน/วันและมีต้นทุนในขนส่งผลผลิตเข้าสู่โรงงานที่ 350 บาท/ตัน “ใช้คนงานตัดอ้อยดีกว่า แต่คนงานหายาก จ้างคนตัดอ้อยมันเหนื่อยกว่าต้องเร่งรีบได้ค่าแรง 400-500 บาท/วันคน แต่มารับจ้างเดินระบบน้ำค่าแรง 300 บาท/วัน วันละ 7-8 คน คนงานก็อยากไปทำอันที่ได้มากกว่า ปีนี้บางทีจึงทำไม่ทัน แรงงานหาไม่ได้  บางแปลงก็รดน้ำไม่ทัน” เสี่ยอ่องให้เหตุผลพร้อมกับยืนยันว่าปีนี้ต้นทุนการทำไร่อ้อยสูงขึ้นแต่ผลผลิตกลับลดลง ราคาปรับลดลงเบื้องต้นอยู่ที่ 900 บาท/ตัน ลดลงมา 2 ปีแล้วเพราะราคาน้ำตาลในตลาดโลกลดลง แต่ถ้าเทียบอ้อยกับพืชตัวอื่นก็ยังดีกว่า ทำอ้อยยังพออยู่ได้ ทำอ้อยขาดทุนไม่มี อนาคตหรือปัจจุบันไม่มีอะไรสู้อ้อยได้ แต่ทำอ้อยแล้วไม่ได้ผลผลิตนั้นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่มีผลผลิตก็ต้องขาดทุน

 

 

แต่ตอนนี้ที่ดีที่สุดคือ “มันสำปะหลัง” ที่เฮียอ่องปลูกแซมระหว่างร่องปาล์มน้ำมันในช่วงหน้าฤดูฝนเมื่อปีที่ผ่านมาประมาณ 90 ไร่ซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่น้อยกว่าทำไร่อ้อยแต่ให้ผลผลิตดีที่ 8 ตัน/ไร่ โดยใช้มันสำปะหลังสายพันธุ์ห้วยบง ระยองและเกล็ดมังกร ปลูกในระยะ 1.10 เมตรหรือประมาณ 6 ร่อง  หลังจากเตรียมและยกร่องเสร็จแล้วก่อนจะใช้สารเคมีฉีดคุมหญ้าวัชพืช แล้ววางระบบน้ำหยดเพื่อให้เกิดความชื้น ดินชุ่มน้ำสามารถเสียบท่อนพันธุ์ได้ดี เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นดินดำ ดินฟูและมีความอุดมสมบรูณ์ หลังจากเสียบท่อนพันธุ์แล้วจะให้น้ำต่อไปอีกประมาณ 7-8 ชม. และให้น้ำก่อนหน้าฝนอีกประมาณ 3 ครั้ง ทำรุ่นประมาณ 2 ครั้งในช่วงแรก เมื่อมีความชื้นจะใส่ปุ๋ย 0-0-60 หว่านกลางร่องในกรณีที่ต้นมันสมบูรณ์หรือผสม 20-20-0 กับ 0-0-60 เพื่อบำรุงต้นแล้วรอเก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อครบปีในระบบการจ้างเหมาตันละ 450 บาทพร้อมกับบรรทุกไปส่งลานในราคา 2.40 บาท/กก.ไม่มีการวัดแป้ง ผลผลิต 1 ไร่ปีนี้ได้ 8 ตัน เป็นเงิน 19,200 บาท/ไร่ ขณะนี้ได้ขุดไปแล้ว 70 ไร่เหลืออีก 20 ไร่ที่ยังรอการเก็บเกี่ยวผลผลิต “มันสำปะหลังถ้ามันขึ้นแล้วไม่ตาย ที่นี่เป็นดินดำถอนได้เลยไม่ต้องใช้รถไถ ใช้แมคโฮงัดขึ้นเลย ต้นทุนทำไร่มันปีแรกอยู่ที่ 1,000 บาท/ไร่ รวมค่าการจัดการอยู่ที่ 4,000 บาท/ไร่ ถ้าเช่าที่ด้วยก็ 6,000 บาท/ไร่ แต่ปีนี้มันราคาดี 2.40 บาทก็ดีหน่อย  ถ้ามันสดราคาไม่ต่ำกว่า 2 บาทนี้อยู่ได้ มันทำง่าย อะไรที่ง่ายเหมือนมันไม่มี” เสี่ยอ่องยืนยัน ซึ่งในปีนี้ได้ปลูกมันแซมในร่องปาล์มไปแล้ว 100 กว่าไร่และเตรียมจะปลูกอีก 60 ไร่เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตในปีหน้า

โฆษณา
AP Chemical Thailand

 

ส่วน “ปาล์มน้ำมัน” นั้นยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับเสี่ยอ่อง องค์ความรู้ยังที่ไม่มากพอ เพิ่งเริ่มต้นเรียนรู้และปลูกได้ไม่นาน มีตั้งแต่ต้นปาล์มปลูกใหม่เนื้อที่ 280 ไร่ ปาล์มอายุเกือบ 3 ปี 200 ไร่ และ 6 ปี อีก 60 ไร่ รวมเป็น 500 กว่าไร่ ส่วนใหญ่เป็นปาล์มเล็ก จึงเก็บเกี่ยวผลผลิตทุก 15 วันที่ 10 กว่าตัน/รอบ ราคาที่ 5.35 บาท/กก. ส่งให้กับ บริษัท สหยนต์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด เพื่อส่งต่อไปยังโรงงานในภาคตะวันออกในระหว่างที่รอโรงงานของบริษัทเปิดหีบได้ในช่วงกลางปีนี้ ส่วนพื้นที่ที่เหลือหลังจากปลูกข้าวโพดและทานตะวันจนกระทั่งเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักรไปแล้ว ผลผลิตอยู่ที่ 100-200 กก./ไร่ ราคา 12.50 บาท/กก. ผลผลิตต่ำและราคาถูก แต่ก็ยังจะปลูกข้าวโพดแซมในร่องปาล์มต่อไปเพื่อใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด


ต้นปาล์มเล็กที่ให้ผลผลิต

tags: การปลูกมันสําปะหลัง แซมร่อง ปาล์มน้ำมัน ปลูกมันสําปะหลัง วิธีปลูกมันสําปะหลัง การปลูกอ้อย สมศักดิ์ สิทธิชัย แซมร่อง ปาล์มน้ำมัน นายสมศักดิ์ สิทธิชัย

[wpdevart_like_box profile_id=”997990286914613″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]