การปลูกอ้อย ขายโรงงาน สร้างรายได้มั่นคง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปลูกอ้อย ส่งโรงงาน สอน ปลูกอ้อย วิธีปลูกอ้อย การใส่ปุ๋ยอ้อย ไร่อ้อย ให้ได้ผล รวมถึง การปลูกอ้อย ซึ่งแต่ละ พันธุ์อ้อย จะมี วิธีปลูกอ้อย ที่ไม่เหมือนกัน บทความนี้จะบอกขั้นตอน การปลูกอ้อย อย่างละเอียด จากประสบการณ์ตรง ของเกษตรกร ขอขอบคุณ นิตยสารพืชพลังงาน [คลิกลิ๊ง]

 

จังหวัดกำแพงเพชรเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีการ “ปลูกพืชไร่” มากเป็นอันดับต้นๆของประเทศไทยและยังมี การปลูกอ้อย เพิ่มมากขึ้น เนื่องมีโรงงานน้ำตาลเกิดขึ้นในพื้นที่มากกว่า 2 โรงด้วยกันทำให้เกษตรกรในพื้นที่มุ่งเน้นการปลูกพืชเศรษฐกิจหลัก 2 ชนิดนี้เพื่อตอบโจทย์กับตลาดที่รองรับผลผลิตได้อย่างต่อเนื่อง

คุณสิทธิชัย  อยู่เย็น  เกษตรกรอีกคนหนึ่งในพื้นที่ ต.เพชรชมพู  กิ่งอ.โกสัมพีนคร จ.กำแพงเพชร ได้นำพื้นที่กว่า 200 ไร่ มาแบ่งปลูกอ้อยจำนวน 100 ไร่ และปลูกมันสำปะหลังอีก 100 ไร่ให้เป็นอาชีพหลักมานานถึง 10 กว่าปีแล้ว โดยมีผลกำไรต่อปีถึงหลักล้านขึ้นไป ซึ่งคุณสิทธิชัยได้เผยถึงองค์ความรู้ในการปลูก การดูแลทั้งอ้อยและมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตที่ดีไว้ว่า

สิทธิชัย อยู่เย็น ชาว ไร่อ้อย ที่จังหวัดกำแพงเพชร
สิทธิชัย อยู่เย็น ชาว ไร่อ้อย ที่จังหวัดกำแพงเพชร

คุณสิทธิชัยจะเน้น การปลูกอ้อย ข้ามแล้งเป็นหลักเพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยได้ดีโดยไม่ต้องอาศัยน้ำชลประทานแต่อาศัยความชื้นในดินช่วยให้อ้อยเจริญเติบโตจนถึงต้นฤดูฝนและทำการเก็บเกี่ยวเมื่อถึงช่วงเปิดหีบของโรงงาน ระหว่างเดือนธันวาคม – มีนาคม ซึ่งอ้อยจะโตเต็มที่และให้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง  ให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นกว่า การปลูกอ้อยในฤดูฝน อีกทั้งอ้อยที่นำเข้าหีบมีค่าความหวานเพิ่มสูงขึ้นแม้อยู่ในกลุ่มอ้อยพันธุ์เบาที่ให้ผลผลิตสูง ลดต้นทุนการผลิตอ้อย เช่น การกำจัดวัชพืชน้อยลงและทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนสูงสุด

คุณสิทธิชัยเริ่มต้นวางแผนการปลูกอ้อย ตั้งแต่การพักหน้าดินหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้วเพื่อตัดวงจรของโรคและแมลงด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนทั้งข้าวโพดและถั่วก่อนทำการปลูกอ้อย ในฤดูถัดไปด้วยเครื่องจักรมากกว่าแรงงานเพราะประหยัดเวลาและต้นทุนมากกว่า

แม้ในบางพื้นที่ที่ไม่สามารถพักหน้าดินได้ก็จำเป็นต้อง ปลูกอ้อย อย่างต่อเนื่อง แต่มีข้อควรปฏิบัติคือต้องพรวนดินด้วยคราดสปริง ซึ่งการเตรียมดินจะเริ่มขึ้นช่วงเดือนกรกฎาคม เพื่อรองรับน้ำฝนที่จะตกในเดือนสิงหาคมและกันยายนจะสามารถเก็บน้ำฝนได้มากขึ้น ทำให้ดินจะมีความชื้นพอหล่อเลี้ยงต้นอ้อยได้และเป็นการกำจัดวัชพืชและแมลงใต้ดินได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเตรียมดินพร้อมปลูกชาว ไร่อ้อย ที่ ปลูกอ้อย ข้ามแล้งจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นกับการเตรียมดินต้องไม่ให้สูญเสียความชื้นไปมาก เตรียมดินโดยการไถด้วยผาล 3 หรือผาล 4 และต้องมีการพรวนดินด้วยผาล 7 หรือผาล 20 จาน

ก่อนจะ “เตรียมท่อนพันธุ์” ให้มีอายุที่เหมาะสมต้องอยู่ระหว่างอายุ 8-10 เดือนขึ้นไปจะทำให้ท่อนพันธุ์แตกราก แตกหน่อได้ดี โดยรากจะแตกออกมาก่อนและงอกตาตามมาทีหลังทำให้ระบบรากแข็งแรงขึ้น อ้อยจะผ่านแล้งได้ดีและมีหนอนกอเข้าทำลายน้อย เมื่อตัดท่อนพันธุ์แล้ว ต้องปลูกให้เสร็จภายใน 3-5 วัน ถ้าทิ้งไว้จะทำให้จุดเจริญของรากและตาเสียไป ความหนาของการกลบท่อน พันธุ์อ้อย

ในการปลูกอ้อย ข้ามแล้งที่เน้นปลูกเดือนตุลาคมให้กลบดินหนาประมาณ 2 นิ้ว  หากปลูกเดือนพฤศจิกายน กลบดินหนาประมาณ 3 นิ้ว และถ้าปลูกเดือนธันวาคม กลบดินหน้าประมาณ 4 นิ้วในเดือนตุลาคมดินยังมีความชื้นสูงอยู่ ต้องทำการพรวนดินในร่องอ้อยเพื่อให้ดินร่วนซุย ถ้าไม่พรวนเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ หน่ออ้อยไม่สามารถแทงพื้นดินได้”  

การปลูกอ้อย และนำผลผลิตออกจากไร่อ้อยเพื่อส่งเข้าโรงงานน้ำตาล
การปลูกอ้อย และนำผลผลิตออกจาก ไร่อ้อย เพื่อส่งเข้าโรงงานน้ำตาล

ขณะที่การดูแลและบำรุงรักษาแปลงอ้อยหลังปลูก (ช่วงผ่านแล้ง) ต้องพรวนดินจะช่วยให้ความชื้นในดินไม่สูญเสียไป ช่วยลดอุณหภูมิที่ผิวดิน ทำให้อ้อยแล้งแตกกอมากขึ้นทำลายไข่แมลงศัตรูอ้อยตามผิวดิน ควรพรวนดิน เพื่อเพิ่มระดับความชื้นในดิน  การดูแลแปลงอ้อยช่วงหลังฝน อ้อยข้ามแล้งส่วนใหญ่จะเริ่มคลุมร่องอ้อย การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชนั้นชาว ไร่อ้อย ควรพิจารณาการใช้สารเคมีให้เหมาะสมกับวัชพืช โดยปฏิบัติควบคู่ไปกับการใส่ปุ๋ย  ซึ่งอ้อยจะมีระยะการเจริญเติบโตคือ

  1. ระยะงอก ประมาณ 2-3 สัปดาห์ หลังจากเริ่มปลูก 1.5 เดือน ( 3-6 สัปดาห์) อ้อยใช้อาหารจากท่อนพันธุ์และความชื้นในดินปุ๋ยรองพื้นช่วยให้รากแข็งแรง
  2. ระยะแตกกอ อายุประมาณ 1.5 เดือนเป็นต้นไป ซึ่งอ้อยอายุ 1.5 – 3 เดือน ต้องการน้ำและปุ๋ยไนโตรเจนมาก เพื่อช่วยให้แตกกอและหน่อเติบโต มากที่สุดอยู่ระหว่าง 2.5-4 เดือน หน่อที่แตกออกมาทั้งหมดในระยะแตกกอนี้จะเหลือเพียงประมาณครึ่งหนึ่งเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว
  3. ระยะย่างปล้อง มีการเพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวของปล้องอย่างรวดเร็ว อายุประมาณ 3-4 เดือน จนถึงอายุประมาณ 7-8 เดือน หลังจากนั้นการเจริญเติบโตจะมีช้าลง มีการสะสมน้ำตาลเพิ่มขึ้นเพราะอ้อยอายุ 4-5 เดือนเป็นระยะที่กำหนดขนาดและน้ำหนักของลำอ้อยเป็นช่วงที่อ้อยเจริญเติบโตเร็วที่สุด จึงต้องการปัจจัยต่างๆ เพื่อการเจริญเติบโตทั้งแสงแดด อุณหภูมิ น้ำและปุ๋ย
  4. ระยะแก่และสุก อัตราการเจริญเติบโตช้าลงมาก เมื่อการเจริญเติบโตช้าลง การสะสมน้ำตาลจึงมีมากขึ้น เมื่ออ้อยอายุ 8 เดือน – เก็บเกี่ยวจะเป็นระยะสมน้ำตาลไม่ควรใส่ปุ๋ย (ขอขอบคุณข้อมูลจากอาจารย์กฤชนนทร์ )

การปลูกอ้อย มีอยู่ 2 วิธีคือ

  1. การปลูกอ้อยข้ามแล้ง คือการปลูกในช่วงเดือน ต.ค.- ธ.ค. ข้อดีของการปลูกช่วงนี้คือ ไม่ค่อยมีหญ้า และอ้อยได้จำนวนอายุหลายเดือนก่อนตัดส่งโรงงาน แต่ข้อเสียก็คือ งอกช้า เวลาปลูกต้องหยอดน้ำไปพร้อมท่อนพันธุ์ด้วยถึงจะดี
  2. การปลูกอ้อยฤดูฝน คือการปลูกอ้อยหน้า ก.พ.-พ.ค. ช่วงนี้อ้อยจะโตเร็ว งอกเร็ว แต่อ้อยจะมีอายุน้อย ผลผลิตไม่เต็มที่ เพราะต้องตัดส่งโรงงานในช่วงเปิดหีบ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วโรงงานจะเปิดหีบประมาณเดือนพ.ย. – เม.ย. แล้วแต่โรงงานว่าจะเปิดหรือปิดช่วงไหน เราไม่สามารถกำหนดเวลาตัดเองได้

    ที่สำคัญการเตรียมดินคือ
    ขั้นตอนนี้สำคัญมากสำหรับ การปลูกอ้อย ถ้าดูแลในขบวนการนี้ดีๆ อ้อยจะสามารถเก็บไว้ได้หลายตอ และให้ผลผลิตสูง การปลูกอ้อย ถ้าละเลยขั้นตอนนี้ในปีถัดๆ ไปผลผลิตจะลดลงมากเก็บได้อย่างเก่งไม่เกิน 2 ตอ การไถต้องทำดินให้ร่วนซุยที่สุด

 

การจัดการระบบน้ำใน ไร่อ้อย

ซึ่งอ้อยมีความต้องการปริมาณน้ำในแต่ละช่วงไม่เท่ากัน ระยะงอกต้องการความชื้นที่พอเหมาะน้ำไม่ขัง ให้มีความชื้นนิดหน่อยยอดอ้อยก็สามารถแตกยอดขึ้นมาได้ แต่ในระยะ 1- 3 เดือนนี้ อ้อยต้องการน้ำในปริมาณที่มากและต้องไม่ขาดน้ำในช่วงนี้ ดังนั้นในช่วงนี้ถ้าอ้อยขาดน้ำจะชะงักการเจริญเติบโต ต้นแคระแกรน ที่สำคัญคนที่ปลูกอ้อยข้ามแล้งจะเจอปัญหาอ้อยขาดน้ำ ในช่วงนี้แนะนำให้ใช้วิธีการปล่อยน้ำลาด หรือให้ฉีดพ่นทางใบให้กับอ้อย ได้ทั้งน้ำได้ทั้งปุ๋ย ทำให้อ้อยโตเร็วหนีหญ้าได้  

สำหรับในแหล่งปลูกอ้อยที่มีน้ำชลประทานหรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ควรให้น้ำตามร่องทันทีหลังปลูก โดยไม่ต้องระบายออก กรณีที่ไม่สามารถปรับพื้นที่ให้มีความลาดเอียงได้ ควรให้น้ำแบบพ่นฝอย ต้องไม่ให้อ้อยขาดน้ำติดต่อกันนานกว่า 20 วัน เป็นระยะการสะสมน้ำตาลงดให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยว 2 เดือน ถ้าฝนตกหนักต้องระบายน้ำออกทันที ให้น้ำทันทีหลังตัดแต่งตออ้อย

โฆษณา
AP Chemical Thailand
วิธีปลูกอ้อย และมัน ที่ต้องอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาตเพราะเป็นพื้นที่เนินสลับ
วิธีปลูกอ้อย และมัน ที่ต้องอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาตเพราะเป็นพื้นที่เนินสลับ

การปลูกอ้อย โดยใช้ระบบน้ำหยด

เนื่องจากเกษตรกรชาว ไร่อ้อย ส่วนใหญ่จะประสบปัญหาการปลูกอ้อยในช่วงฤดูแล้ง (เดือน ธ.ค.- ม.ค.) เมื่อปลูกแล้วพบว่าอ้อยมีเปอร์เซ็นต์การงอกต่ำ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปลูกซ่อมประมาณ 1,000-2,000 บาท/ไร่ เกษตรกรจึงเริ่มใช้ระบบน้ำหยดในการปลูกอ้อยฤดูแล้งเพิ่มมากขึ้น

จึงเป็นข้อดีของการใช้ระบบน้ำหยดที่ช่วยให้อ้อยได้รับความชื้นแบบ 100%  ลดปัญหาเรื่องวัชพืช และอ้อยขึ้นโตอย่างสม่ำเสมอ

โดยมีอุปกรณ์ในการใช้ระบบน้ำหยดคือ  เครื่องสูบน้ำ (เครื่องยนต์ ,มอเตอร์ไฟฟ้า), ถังน้ำขนาด 1,000 ลิตร, สายส่งน้ำ,ท่อ พีวีซี ขนาด 2-3 นิ้ว ประมาณ 10 ท่อน

นอกจากนี้ยังต้องใช้ สายน้ำหยด (เจาะรูระยะ 30ซม.),ชุดกรองน้ำทั้งแบบถังพลาสติก ขนาด 200 ลิตร แบบชุดพีวีซี และแบบชุดเหล็ก

โดยมีแหล่งน้ำเป็นบ่อน้ำ, สระ , คลอง, หนองและ ใช้ถังลากน้ำ (ถัง 1,000 ลิตรราคา 60 บาท) ด้วยการสูบน้ำจากแหล่งน้ำ (บ่อ, คลอง, หนอง,ถังบรรทุกน้ำ)

ผ่านเครื่องกรองน้ำ ผ่านท่อพีวีซี ขนาด 2-3 นิ้ว เจาะใส่สายน้ำหยด ระยะ 120 ซม. เท่ากับร่องอ้อย  ใช้แรงงานในการดำเนินงาน 4-5 คน และควรให้น้ำอ้อยหลังจากปลูกอ้อยไปแล้ว 15-30 วัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

 

การใส่ปุ๋ยอ้อย

ควรใส่ปุ๋ยให้ถูกช่วงเวลาเพราะปุ๋ยทุกอย่างดีหมด ถ้าเรารู้จักใช้ให้ถูกกับเวลาและการเจริญเติบโตของพืช เช่นในระยะ จะเข้าสู่ช่องแตกกอ ต้องเส้นการสร้างใบ และสร้างเนื้อเยื่อ คือช่วงเวลา 2-4 เดือน

สำหรับปุ๋ยเม็ด ปริมาณแนะนำสูตรอินทรีย์เคมี เฟอร์เฟคเอส 16-3-3 อันนี้เอาไว้สร้างใบและต้น ให้โตเร็วหนีหญ้าได้ดีเพราะการใส่ปุ๋ยถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งควรจะใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ที่ช่วยปรับสภาพทางกายภาพของดินร่วมกับปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ใส่ควรมีธาตุอาหารครบทั้ง 3 ชนิด คือ N,P,K  เช่น ปุ๋ยสูตร15-15-15 , 13-13-21 เป็นต้น

ควรใส่ปุ๋ยเคมีหลังปลูก หรือหลังแต่งตออ้อย 2 ครั้ง ดินร่วนปนทราย ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 รองก้นร่องพร้อมปลูกหลังแต่งตอ 1 เดือน อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่

ครั้งที่สองเมื่ออายุ 2-3 เดือน อัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่ถ้าเป็นอ้อยตอหลังตัดแต่งตอให้เพิ่มปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 10-15 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่

ดินร่วนหรือดินร่วนเหนียว ให้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 หลังปลูกหรือหลังแต่งตอ 1 เดือน อัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่สองเมื่ออายุ 2-3 เดือน อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร

อ้อยปลูกและอ้อยตอที่ปลูกในเขตชลประทานเมื่ออ้อยอายุ 2-3 เดือน ให้เพิ่มปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 15 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งการให้ปุ๋ยทุกครั้งทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอควรให้ขณะดินมีความชื้นโดยโรยข้างแถวอ้อยห่างประมาณ 10 เซนติเมตร และต้องฝังกลบปุ๋ย ยกเว้นการให้ปุ๋ยรองก้นร่อง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ถ้าอยากให้อ้อยได้น้ำหนัก มีค่าCCS ( Commercial Cane Sugar ) เพิ่มขึ้นต้องเน้นในช่วงระยะเดือนที่ 5-6 ถ้าจะใส่ปุ๋ยให้ใส่สูตรที่มีตัวหลังสูง อ้อยจะได้น้ำหนักและค่าน้ำตาลพาณิชย์เพิ่มสูงขึ้น ดูจากตารางเปรียบเทียบระยะการเจริญเติบโตในช่วงระยะแก่สุก

ต้องหลัง 8 เดือนไปแล้วหรือระเบิดดินดานในอ้อยตอเพื่อเพิ่มการกักเก็บน้ำฝนได้ดีขึ้น เน้นวางแผนการตัดอ้อยในช่วงต้นฤดูหรือในช่วงที่โรงงานน้ำตาลเริ่มเปิดหีบมากที่สุด

การแบ่งพื้นที่ ปลูกอ้อย และ มันสำปะหลัง อย่างละ 100 ไร่
การแบ่งพื้นที่ ปลูกอ้อย และ มันสำปะหลัง อย่างละ 100 ไร่

การกำจัดวัชพืชใน ไร่อ้อย

เป็นสิ่งจำเป็นในช่วง 3-4 เดือนแรก ถ้าวัชพืชมากจะทำให้ผลผลิตอ้อยลดลง การกำจัดวัชพืชอาจใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์หรือเครื่องทุ่นแรง เช่น จอบหมุน คราดสปริง รวมถึงการใช้สารเคมี ซึ่งสารเคมีที่ใช้กำจัดวัชพืชแบ่งเป็น 3 พวก ได้แก่

  1. ยาคุมหญ้า ใช้เมื่อปลูกอ้อยใหม่ๆ หญ้ายังไม่งอก ยาที่ใช้ได้แก่อาทราซีน อามีทรีน และเมทบูซีน ใช้ในอัตราที่แนะนำข้างขวด
  2. ยาฆ่าและคุมหญ้า ใช้ เมื่ออ้อยงอกแล้ว และหญ้าอายุไม่เกิน 5 สัปดาห์ ได้แก่ อามีทรีน อามีทรีนผสมอาทราซีน เมทริบูซีนผสมกับ 2 , 4 – ดี ในอัตราที่แนะนำข้างขวด
  3. ยาฆ่าหญ้า ให้เมื่ออ้อยงอกแล้ว และหญ้าโต อายุมากกว่า 6 สัปดาห์ ได้แก่ พาราควอต ,ดินประสิว 1 ขีด, เกลือแกง 1 ขีด ,และผงซักฟอก 1 ขีด

วิธีการผสม คือละลายเกลือแกงและดินประสิวในน้ำ 10 ลิตร และละลายผงซักฟอกในน้ำ 5 ลิตร คนให้ผงซักฟอกละลายให้หมด นำสารละลายทั้งสองมาผสมให้เข้ากันแล้วเติมพาราควอตคนให้เข้ากันแล้วจึงเติมน้ำอีก 85 ลิตร คนให้เข้ากัน (รวม 100 ลิตร ฉีด ได้ 1 ไร่) ซึ่งยาชนิดนี้ใช้ฆ่าได้เฉพาะลูกหญ้า

ข้อควรระวังในการใช้ยานี้อันตรายต่ออ้อย เวลาฉีดต้องระวังอย่างให้ละอองยาถูกโคนอ้อย ที่สำคัญในการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เกษตรกรจะต้องรู้จักวิธีใช้ให้ถูกต้องจึงจะทำให้การใช้สารนั้นเกิด
ประสิทธิภาพในการคุมและฆ่าวัชพืชได้ อัตราที่ใช้ต้องตรงกับคำแนะนำ ฉีดขณะที่ดินชื้นหัวฉีดควรเป็นรูปพัด ควรมีการทดลองฉีดน้ำเปล่าก่อนเพื่อหาปริมาณของยาที่ต้องใช้ จะทำให้การใช้ตัวยาหรือปริมาณยาเป็นไปตามคำแนะนำ

นอกจากการควบคุมวัชพืชในขณะที่อ้อยยังเล็กอยู่ในระยะ 1-4 เดือนแล้ว เกษตรกรสามารถใช้พื้นที่ระหว่างแถวอ้อย (1.3-1.5 เมตร) ปลูกพืชอายุสั้น เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วเหลือง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ซึ่งการดูแลรักษาอ้อยตามระบบที่กล่าวมาข้างต้นนี้จะช่วยให้ ไร่อ้อย เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพทั้งปริมาณและผลผลิต คุ้มค่าแก่การลงทุนของเกษตรกรชาว ไร่อ้อย หลังจากที่ต้องรอคอยเก็บเกี่ยวผลผลิตมานานแรมปีเพื่อนำมาซึ่งรายได้ที่ดีของครอบครัว และเป็นรายได้ที่มั่นคงต่อไป

 (โปรดติดตามรายละเอียดในการทำไร่มันสำปะหลังของคุณสิทธิชัยได้ในฉบับหน้า)

 

รายละเอียด

การปลูกอ้อย

สอบถาม คุณสิทธิชัย  อยู่เย็น

124/3 หมู่ 1 ต.เพชรชมพู  กิ่งอ.โกสัมพีนคร  จ.กำแพงเพชร 62000

โทร.088-158-7309

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปลูกอ้อย, ระบบน้ําหยด, ระบบน้ำหยด, วิธีปลูกอ้อย, ปลูกอ้อย, วิธีการปลูกอ้อย, พันธุ์อ้อย, การใส่ปุ๋ยอ้อย, ไร่อ้อย