การเพาะพันธุ์ปาล์ม
แม้ว่า คุณพันศักดิ์ จิตรรัตน์ จะมีภารกิจด้านการส่งเสริมเกษตรกรชาวสวนปาล์มทั่วประเทศในฐานะประธานสภาเกษตรกรจังหวัดกระบี่ แต่ก็ยังแบ่งเวลามาดูแลแปลงเพาะ “พันธุ์ปาล์ม” ที่ทำมานาน 20 กว่าปี จนเกิดความชำนาญ และสวนปาล์ม 250 ไร่ ที่มีอายุแตกต่างกัน ตั้งแต่อายุ 20 ปี อายุ 10 กว่าปี อายุ 5-6 ปี หรืออายุเพียง 3 ปี เป็นต้น
ที่มีหลายรุ่นและหลายสายพันธุ์เพื่อเป็นการทดสอบสายพันธุ์และคุณภาพปาล์มน้ำมันด้วย เพื่อมองหาจุดเด่นและจุดอ่อนเพื่อเพิ่มศักยภาพปาล์มแต่ละสายพันธุ์ ที่ต้องควบคู่ไปกับการบำรุงดูแลอย่างต่อเนื่องอย่างถูกต้อง และถูกวิธี ก่อนจะได้มาซึ่งผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ดี
การบำรุงดูแลรักษาต้นปาล์ม
คุณพันศักดิ์ย้ำว่าปาล์มที่กำลังให้ผลผลิตทุกรุ่นโดยเฉลี่ยผลผลิตในปี 58 อยู่ที่ 4.8 ตัน/ไร่ แต่ปีนี้คุณพันศักดิ์ยืนยันว่าผลผลิตลดลงน่าจะอยู่ที่ไร่ละ 3 ตันกว่าๆ เท่านั้น เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
“2 ปีที่ผ่านมา ปาล์มกระทบแล้ง และปาล์มส่วนหนึ่งไปออกช่อดอกช่วงหน้าฝน มีผลต่อการติดทะลาย” คุณพันศักดิ์ให้ความเห็น ด้วยเหตุนี้เขาจึงต้องลงทุนวางระบบน้ำ 100 กว่าไร่ เพื่อให้ปาล์มแทงช่อดอกและติดผลมากขึ้น
รวมทั้งมีการดูแลแบบผสมผสาน คือ มีการย่อยสับทางปาล์มให้เป็นอินทรียวัตถุกลับคืนสู่ดินในสวนปาล์ม สร้างระบบนิเวศน์ที่ดี ตลอดจนมีการปรับใช้น้ำเสียจากโรงงานสกัดที่บำบัดแล้วปล่อยลงสู่สวนปาล์มเพื่อเพิ่มความชื้นและธาตุอาหารบางตัวที่จำเป็นสำหรับต้นปาล์ม ซึ่งมีการทดลองใช้น้ำเสียจากโรงงานควบคู่กับแม่ปุ๋ยคุณภาพ (ปุ๋ยตราดาวฟ้าและซุปเปอร์ท้อป) อยู่แล้ว
จะมองเห็นถึงความแตกต่างของต้นปาล์มที่ได้ความชื้นจากน้ำเสียและผลผลิตที่ได้ธาตุอาหารสมบูรณ์ขึ้น ทำให้ผลผลิตที่ได้ค่อนข้างเป็นที่น่าพอใจ ทั้งที่สภาพอากาศในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา สภาพอากาศไม่ค่อยสู้ดีนักอย่างที่เห็นกันอยู่ตอนนี้
การใส่ปุ๋ยต้นปาล์ม
นอกจากนี้คุณพันศักดิ์ได้เผยถึงสวนปาล์มน้ำมันที่มีอยู่หลายรุ่นว่ารุ่นไหนให้ผลผลิตมากที่สุด คำตอบคือ ปาล์มอายุ 10 กว่าปีขึ้นไป ที่ให้ผลผลิตไร่ละ 4-5 ตัน/ปี ภายใต้การบริหารจัดการที่ดีในพื้นที่ที่ไม่มีระบบน้ำรองรับ หรือในพื้นที่น้ำฝนทั่วไป
โดยที่ไม่ต้องให้ปุ๋ยทางใบ แต่จะให้แม่ปุ๋ยทางดินเพียงอย่างเดียว เป็นแม่ปุ๋ยในปริมาณที่แตกต่างกัน เช่น
- สูตร 18-4-60 ให้ประมาณ 0.8 กก./ต้น/ปี
- สูตร 0-0-60 ให้ 4 กก.กว่าๆ/ต้น
- ให้โบรอน 150 กรัม/ต้น/ปี
- ส่วนไนโตรเจนให้ 3-4 กก./ต้น/ปี
- ปุ๋ยเคมีสูตร 21-0-0 ใส่ไปแล้ว 1 อาทิตย์ และอาทิตย์ต่อไปก็จะใส่ 18-4-60
ดังนั้นคุณพันศักดิ์ต้องใช้แม่ปุ๋ยคุณภาพทั้ง 3 สูตร เพื่อให้ปาล์มได้ธาตุอาหารที่ครบถ้วน ในช่วงที่มีความชื้น แต่ถ้าฝนตกต้องหยุดใส่ เพราะจะทำให้สูญเสียปุ๋ยไปกับน้ำฝนมากกว่าที่ต้นปาล์มจะได้กิน
คุณพันศักดิ์ให้มุมมองว่า “ปุ๋ยทางใบ” ก็เหมือนอาหารเสริม ไม่ได้ช่วยให้ผลผลิตดีขึ้น แต่ถ้าจะใช้ก็จะต้องทำให้การใส่ปุ๋ยทางดินมีประสิทธิภาพด้วย เริ่มตั้งแต่การดูแลดินด้วยอินทรียวัตถุอย่างต่อเนื่อง การกองทางใบให้ย่อยสลายเป็น ปุ๋ยพืชสด การตรวจวัดค่า pH ดินให้เหมาะสมกับการปลดปล่อยธาตุอาหารได้ดี
สายพันธุ์ปาล์ม
ส่วนเรื่อง “สายพันธุ์ปาล์ม” คุณพันธ์ศักดิ์เสริมว่าในพื้นที่ 250 กว่าไร่นี้ จะปลูกพันธุ์เดลิ-คอมแพคท์ เดลิ-ไนจีเรีย โกลด์เด้นท์เทเนอร่า ซีหราด คาลิกซ์ 600 และสุราษฎร์ 2 ราคาต้นพันธุ์แตกต่างกันที่แพงสุด คือ เดลิ-คอมแพคท์ ต้นละ 250 บาท แต่ถามว่าปลูกปาล์มราคาแพงคุ้มมั๊ย
คุณพันธ์ศักดิ์ได้ฝากแง่คิดว่าเหมือนกับการใช้รถหรูราคาแพง แต่ไม่สนใจ ไม่ดูแล ผลที่ออกมาก็ไม่ดี แต่สายพันธุ์เดลิ-คอมแพคท์ที่ปลูกไว้ให้ผลผลิตออกมาทีไรยิ้มได้ทุกครั้ง
“อย่างชาวสวนรายหนึ่งปลูกเดลิ-คอมแพคท์ 20 ไร่ ดูแลเอาใจใส่ ใส่ปุ๋ยตลอด หลังตัดปาล์มต้องใส่ปุ๋ยทุกครั้ง ใส่ต้นละ 1 กำมือครึ่งตลอด เดินใส่ด้วยตัวเอง พูดง่ายๆ ว่าอยู่แต่ในสวน ให้ปุ๋ย ให้น้ำ ถอนหญ้า ปีที่แล้วได้ผลผลิต 5-6 ตัน/ไร่ แต่ละวันมีชาวสวนปาล์มไปแลกเปลี่ยนความรู้เยอะมาก” นี่คือเกษตรกรตัวจริงที่ดูแลเอาใจใส่สวนปาล์ม และยกระดับผลผลิตได้ด้วยศักยภาพจริงๆ
การบริหารจัดการแปลงเพาะพันธุ์ปาล์ม
นอกจากการทำสวนปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นอาชีพหลักแล้ว ยังได้ยึดอาชีพทำ “แปลงเพาะพันธุ์ปาล์ม” มานานกว่า 26 ปี จนกระทั่งเกิดการสั่งสมองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านนี้ตลอดมา
ตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์คุณภาพเข้าสู่กระบวนการเพาะภายในแปลงเพาะ การคัดเลือกวัสดุปลูกที่มีคุณภาพ การคัดต้นผิดปกติ การบำรุงรักษากล้าปาล์มให้สมบูรณ์ด้วยการให้ปุ๋ยละลายช้าคุณภาพสูง (ปุ๋ยเคมีสูตร 19-10-13 ตรามัลติโค๊ท) ที่ช่วยลดต้นทุน ประหยัดแรงงาน เพิ่มคุณภาพและความสมบูรณ์ให้กับกล้าปาล์มได้เป็นอย่างดี คุ้มค่าแก่การลงทุน
อีกทั้งระบบน้ำและการให้น้ำยังมีความสำคัญมากต่อแปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน ซึ่งสวนปาล์มแห่งนี้จะมีระบบน้ำที่สมบูรณ์ เพราะมีคลองน้ำธรรมชาติไหลผ่านที่มีน้ำใช้ตลอดทั้งปีด้วยการทำฝายกั้นน้ำขนาดเล็กเอาไว้
ที่สำคัญแปลงเพาะพันธุ์ปาล์มแห่งนี้มีการเพาะกล้าปาล์มไม่ต่ำกว่า 10 สายพันธุ์ เช่น
- เดลิ-คอมแพคท์
- เดลิ-ไนจีเรีย
- คอมแพคท์×กาน่า
- โกลด์เด้นเทเนอร่า
- ยูนิวานิช
- เดลิ×ลาเม่
- คาลิกซ์ 600
- ยังกัมบิ ML161
- ซีหราด
- สุราษฎร์ 2 และ สุราษฎร์ 7
ต้นกล้าปาล์มน้ำมันที่นี่จะมีทั้งราคากลางและราคาสูง เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าเลือกตามความพอใจ การันตีด้วยประสบการณ์ด้านนี้ที่เริ่มต้นสร้างแปลงเพาะมาตั้งแต่ 500 เมล็ด หรือ 500 ต้น/ปี จนกระทั่งได้ขยายการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นพันต้น เป็นหมื่น และกลายมาเป็นแสนต้น/ปี
ในวันนี้ได้ด้วยคุณภาพจริงๆ ภายใต้กระบวนการเพาะเมล็ดจนได้ต้นพันธุ์คุณภาพนั้น คุณพันศักดิ์ต้องคัดต้นไม้สมบูรณ์ออกไม่ต่ำกว่า 28% เพื่อให้ลูกค้าได้ปาล์มที่ดี มีคุณภาพ ไปปลูกได้ผลผลิตที่ดี
แต่มีเงื่อนไขว่าคนที่ซื้อไปปลูกจะต้องเข้าใจเรื่องปาล์มน้ำมัน บางคนไปปลูกในที่น้ำขัง อากาศไม่มี น้ำแฉะ อยู่ 6 เดือน ปาล์มก็ไม่โต ถ้าเป็นที่นาน้ำขังต้องยกร่องแล้วปลูกบนร่องขนาดใหญ่ ปาล์มจะโตและให้ผลผลิตที่ดี เหมือนปาล์มทุ่งรังสิต มีข้อเสียอย่างเดียว คือ พอปาล์มโตขึ้น ผลผลิตมากขึ้น ปาล์มจะถูกลมล้มได้ง่าย
“ปาล์มน้ำมันมันต้องการฝนตก แดดออก ร้อน ชื้น เติบโตดี ให้ผลผลิต” คุณพันศักดิ์ยืนยัน ดังนั้นจึงเตรียมขุดสระเก็บน้ำ 1 ไร่ ไว้ทดลองปลูกปาล์มให้น้ำเต็มที่ในหน้าแล้ง โดยปลูกพันธุ์โกลด์เด้นเทเนอร่า คาลิกซ์ 600 ยังแกมบิ ML161 และเพื่อให้เป็นแปลงทดสอบ เป็นศูนย์เรียนรู้ แหล่งศึกษาข้อมูลของเกษตรกรด้านปาล์มน้ำมันทั้งในและนอกพื้นที่
ด้วยความมุ่งมั่นที่ต้องการยอกระดับศักยภาพ คุณภาพ การจัดการและผลผลิตของเกษตรกรไทย และขบวนการปาล์มน้ำมันทั้งระบบ เพื่อเพิ่มอำนาจการแข่งขันในระดับอาเซียนและระดับโลกได้ดีในอนาคตอันใกล้นี้ การเพาะพันธุ์ปาล์ม การเพาะพันธุ์ปาล์ม
การจำหน่ายปุ๋ย ยา สำหรับใช้ในสวนปาล์ม
นอกจากทำสวนปาล์ม ทำแปลงเพาะพันธุ์ปาล์มแล้ว คุณพันศักดิ์ได้เปิดร้านเคมีเกษตรในนาม “ร้านพันธุ์เกษตรทอง” เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ด้วยเหตุผลที่ต้องการเรียนรู้เรื่องปุ๋ย เรื่องยา ที่ใช้ในสวนปาล์ม โดยเฉพาะเรื่อง “ปุ๋ยเคมี” ที่มีความจำเป็นมากต่อการเจริญเติบโตของต้นปาล์ม ซึ่งปาล์มขาดไม่ได้ การเพาะพันธุ์ปาล์ม การเพาะพันธุ์ปาล์ม การเพาะพันธุ์ปาล์ม
โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี ปุ๋ยละลายช้า ที่ชาวสวนปาล์มใช้กันมาก จะไม่ทำให้ปาล์มใบแห้ง หรือสำลักปุ๋ย สำหรับปาล์มเด็กจะต่างกับปาล์มโต การให้ปุ๋ยละลายช้าควรใส่น้อยๆ ให้ปาล์มค่อยๆ ละลาย จะทำให้พืชกินปุ๋ยได้หมด แค่ต้องใส่บ่อยๆ เท่านั้นเอง
เมื่อถามถึงปุ๋ยเคมีที่ใช้ในสวนปาล์มน้ำมันเนื้อที่กว่า 250 ไร่นี้ ก็คือ ปุ๋ยโนฟิลเลอร์ ตราดาวฟ้า และตราซุปเปอร์ท้อป ของ บริษัท ดาวฟ้าเคมี จำกัด และปุ๋ยเคมีสูตร 19-10-13 สำหรับแปลงเพาะตรามัลติโค๊ท ของ บริษัท วาย.วี.พี. เฟอร์ติไลเซอร์ จำกัด ที่ใช้กันมาหลายปี
“บ่อยครั้งที่เกษตรกรเดินเข้ามาซื้อต้นปาล์มในแปลงเพาะ หรือเข้ามาศึกษาเรียนรู้เรื่องปาล์มภายในศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ มักจะสอบถามเรื่องปุ๋ย เรื่องยา ที่ใช้ในสวนปาล์มกันมากขึ้น จึงมองว่านอกจากสวนปาล์มตนเองจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีอยู่แล้ว
จึงตัดสินใจเปิดร้านค้าจำหน่ายปุ๋ย ยา ให้กับเกษตรกรที่สนใจด้วย เป็นทางเลือกให้กับชาวสวนปาล์มอีกทางหนึ่ง เพราะเราต้องการให้ชาวสวนมีความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยที่ดี ได้ใช้ปุ๋ยดีๆ มีคุณภาพ เพื่อผลผลิตที่ดี เพื่อรายได้ที่ดี สร้างเศรษฐกิจที่ดีให้กับประเทศชาติ เพราะถ้าเศรษฐกิจดี เกษตรกรรายได้ดี ประเทศก็ดีไปด้วย” ประธานคนเก่งให้ความเห็นเรื่องการพัฒนาชาวสวนปาล์มในทุกด้าน การเพาะพันธุ์ปาล์ม การเพาะพันธุ์ปาล์ม
การให้ความรู้ในการจัดการสวนปาล์ม
นี่คือเกษตรกรต้นแบบและแกนนำเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันจังหวัดกระบี่ ที่มุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อสร้างสวนปาล์มให้สมบูรณ์ สร้างแปลงเพาะคุณภาพ สร้างศูนย์เรียนรู้เพื่อเกษตรกรทุกคน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเกษตรกรทุกคน
ควบคู่ไปกับการทำหน้าที่เป็นตัวแทนให้กับเกษตรกรทั่วประเทศ เพื่อเรียกร้องและเสนอแนวทางการบริการจัดการชาวสวนปาล์มน้ำมันทั้งระบบ ให้มีประสิทธิภาพในเชิงนโยบาย ภายใต้ พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ในนาม “สภาเกษตรกรแห่งชาติ” ที่กำลังเป็นประเด็นอย่างมาก การเพาะพันธุ์ปาล์ม การเพาะพันธุ์ปาล์ม การเพาะพันธุ์ปาล์ม
รวมไปถึงการประยุกต์ใช้และการเพิ่มมูลค่าจากบายโปรดักส์ในภาคการเกษตรที่มีอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ให้เป็น “พลังงานทดแทน” เป็นพลังงานสะอาด สร้างรายได้เพิ่มให้กับชาวสวน และเพิ่มศักยภาพให้กับพลังงานภาคใต้ได้เป็นอย่างดี
สนใจสอบถามเพิ่มเติม นายพันศักดิ์ จิตรรัตน์ เลขที่ 33/2 หมู่ 5 ต.เขาใหญ่ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ โทร.081-978-4642