การใส่ปุ๋ยปาล์ม ผลผลิตเฉลี่ย 5.8 ตัน/ไร่/ปี ลดจำนวนต้น เพื่อเพิ่มผลผลิต เมื่ออายุ 8 ปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การใส่ปุ๋ยปาล์ม ผลผลิตเฉลี่ย 5.8 ตัน/ไร่/ปี ลดจำนวนต้น เพื่อเพิ่มผลผลิต เมื่ออายุ 8 ปี

โดยจะมีเนื้อหาดังนี้

  1. ปาล์มพันธุ์ดีที่หนองเสือ
  2. อ.มนัส สวัสดิ์ชัย ชาวสวนปาล์มหนองเสือ
  3. การจัดการสวนปาล์ม
  4. สวนปาล์มระบบร่องคู่
  5. การใส่ปุ๋ยปาล์ม
  6. ปาล์มมีคุณภาพ-สุกเต็มที่ทุกทะลาย
  7. การขุดลอกร่องน้ำในสวนปาล์ม
  8. ปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตทุก 14 วัน
  9. ความสมบูรณ์ของทะลายปาล์ม
  10. การเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน
2.อ.มนัส-สวัสดิ์ชัย-ชาวสวนปาล์มหนองเสือ
2.อ.มนัส-สวัสดิ์ชัย-ชาวสวนปาล์มหนองเสือ

อ.มนัส สวัสดิ์ชัย ชาวสวนปาล์มหนองเสือ

การทำเกษตรสำคัญที่สุดต้องมีใจรักและชอบในการทำเกษตรและชนิดนั้นๆอย่างจริงจังเท่านั้น เกษตรกรถึงจะประสบความสำเร็จในการทำเกษตรอย่างแท้จริง ไม่เว้นแม้แต่ผู้ชายคนนี้ที่รักการทำ “ สวนปาล์มน้ำมัน ” ด้วยความที่ปาล์มน้ำมันเป็นพืชพลังงานและพืชอาหารที่ให้ผลผลิตต่อไร่มากที่สุดในบรรดาพืชน้ำมันทั้งหมด

เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปี มีตลาดรองรับอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ “ ต้นน้ำ ” อย่าง “ ชาวสวนปาล์มน้ำมัน ” ยังได้มีการพัฒนาการจัดการสวนปาล์มน้ำมันให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านการผลิต การจัดการเมื่อต้นปาล์มเริ่มโตเต็มที่เมื่ออายุครบ 8 ปี

ที่แน่นอนว่าอัตราการดูแลรักษาย่อมต้องมีมากขึ้น รวมไปถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ดี เน้นตัดปาล์มสุกทุกทะลายเพื่อนำมาซึ่งรายได้ที่ดีทั้งชาวสวน ตลอดจนทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรม

ซึ่งบุคคลที่กล่าวถึงในที่นี้นั่นก็คือ คุณมนัส  สวัสดิ์ชัย หรือที่รู้จักกันดีว่า “ .มนัส ” ผู้ที่มุ่งมั่นสร้างสวนปาล์มน้ำมันคุณภาพมากกว่า 83 ไร่ในพื้นที่ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานีมาตั้งแต่ปี 2550

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันด้วยใจรักในการทำเกษตร มีความสุข และมีอิสระควบคู่ไปกับการศึกษาเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในสวนปาล์มน้ำมันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มาซึ่งผลผลิตที่ดี มีคุณภาพตลอดทั้งปี

3.การจัดการสวนปาล์ม
3.การจัดการสวนปาล์ม

การจัดการสวนปาล์ม

อาจารย์มนัสได้เปิดใจกับทีมงานนิตยสารพืชพลังงานว่าปัจจุบันยังคงทำงานประจำอยู่ที่บริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานโดยมีผู้บริหารเป็นชาวต่างชาติหรือที่รู้จักกันดีในนาม “ ABB ” ที่กำลังจะเกษียณอายุการทำงานในบริษัทเอกชนในอีกไม่นาน

ดังนั้นการทำหน้าที่ทั้ง 2 อย่างภายในเวลาเดียว ให้มีศักยภาพสูงสุดนั้นอาจารย์มนัสจำเป็นต้องใช้ความพยายามอย่างสูงเพื่อบริหารจัดการเวลาที่มีให้สอดคล้องกับการทำงานหลักและงานสวนให้เหมาะสมที่สุดก็คือในวันจันทร์ – ศุกร์

นั้นจะทำงานประจำอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์จะต้องลงมาดูแลสวนปาล์มน้ำมันที่ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานีด้วยความรักและทุ่มเทตลอดเวลาที่ผ่านมา

4.สวนปาล์มระบบร่องคู่
4.สวนปาล์มระบบร่องคู่

สวนปาล์มระบบร่องคู่

แต่ก่อนอื่นขอย้อนไปในอดีตตอนที่ อ.มนัสได้ตัดสินใจที่จะซื้อที่ดินเพื่อปลูก “ ปาล์มน้ำมัน ” เป็นครั้งแรกนั้นได้มีแรงจูงใจมาจากการที่ปาล์มน้ำมันเป็นพืชพลังงานที่มีตลาดรองรับ แม้จะลงทุนค่อนข้างสูงในช่วงแรกตอนครั้งที่เริ่มต้นปลูกปาล์มน้ำมัน แต่เป็นการปลูกเพียงครั้งเดียวและสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานกว่า 25 ปี

มีขั้นตอนการดูแลรักษาที่ง่าย การจัดการไม่ยุ่งยาก ใช้สารเคมีน้อย ใช้แรงงานน้อย เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปีหรือประมาณ 2 ครั้ง / เดือนที่ทำให้มีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เมื่อวิเคราะห์ทุกอย่างทั้งหมดแล้วจึงเกิดความมั่นใจและตัดสินใจที่จะซื้อที่ดินซึ่งเดิมเคยเป็นส้มเก่าที่ อ.หนองเสือ เนื้อที่กว่า 83 ไร่ โดยแบ่งออกเป็น 3 แปลง

เพื่อนำมาปลูกปาล์มน้ำมันที่ต้องเริ่มต้นจากการปรับแต่งพื้นที่ในแต่ละแปลงให้เหมาะสมกับการปลูกปาล์มน้ำมันใน “ ระบบร่องคู่ ”  จึงต้องใช้แบคโฮขุดร่องให้เป็นระบบร่องคู่ทั้งแปลงด้วยเม็ดเงินลงทุนมากกว่า 4 แสนบาท ก่อนจะทำการวางผังการปลูกให้ชัดเจนเพื่อปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีทั้ง “เดลิ x คอมแพ็ค

ที่ปลูกในระยะ 8 x 8 x 8 เมตร จำนวน 800 ต้น ซึ่งเป็นต้นปาล์มน้ำมันคุณภาพ จาก บริษัท อาร์ดี เกษตรพัฒนา จำกัด

และสายพันธุ์ เดลิ x ไนจีเรียแบล็ค  สายพันธุ์ซีหราด และ โกลด์เด้นเทเนอร่า ที่จะปลูกในระยะ 9 x 9 x 9 เมตร ดังนั้นสวนปาล์มน้ำมันแห่งนี้จึงมีต้นปาล์มน้ำมันมากกว่า 2,000 ต้น

โดยการปลูกปาล์มที่นี่จะเริ่มตั้งแต่ขุดหลุมปลูกให้ลึก 50 ซม. กว้าง 30 ซม. เคล้าดินก้นหลุมกับขี้ไก่แกลบผสมกับฟูราดานและร็อคฟอสเฟต (0-3-0)

ก่อนนำต้นปาล์มน้ำมันลงปลูกในแปลงแล้วค่อยทำการปักไม้เพื่อป้องกันลมโยกไม่ให้ระบบรากปาล์มเสียหายและให้รากเดินเร็วที่สุด ต่อมาจะมี การใส่ปุ๋ยปาล์ม เคมีสูตร 21-0-0 ในอัตรา 100 กรัม / ต้น / ครั้ง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

บริเวณรอบๆต้นปาล์ม รวมไปถึงใส่โปแตสเซียม แมกนีเซียมและโบรอนประมาณ 3-4 ครั้ง / ปี

5.การใส่ปุ๋ยให้ปาล์ม
5.การใส่ปุ๋ยให้ปาล์ม

การใส่ปุ๋ยปาล์ม

เมื่อต้นปาล์มที่มีอายุเพียง 6 – 8 เดือนแต่ได้รับการดูแลรักษาอย่างดีทั้งการตัดหญ้ากำจัดวัชพืชแทนการใช้สารเคมี  การใส่ปุ๋ยปาล์ม ให้อย่างสม่ำเสมอและยังได้รับความชื้นจากน้ำในท้องร่องตลอดทำให้ต้นปาล์มเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์

และเริ่ม “ แทงช่อดอก ” ออกมาให้เห็นแต่อาจารย์มนัสจะทำการแทงช่อดอกทั้งหมดทิ้งไปเพื่อต้องการให้ธาตุอาหารทั้งหมดไปเลี้ยงและบำรุงต้นให้สมบูรณ์ที่สุดก่อน

หลังจากนั้นก็จะเริ่มไว้ลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เมื่อปาล์มน้ำมันมีอายุตั้งแต่ 2.8 ปีขึ้นไป โดยปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิตค่อนข้างน้อยในช่วงปาล์มเล็กและจะค่อยๆให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นไปตามอายุของต้นปาล์มน้ำมันภายใต้การจัดการที่ดี

ซึ่งจุดเด่นของสวนปาล์มแห่งนี้คืออาจารย์มนัสจะดูแลต้นปาล์มไม่ห่าง คอยสังเกตดูว่าต้นปาล์มขาดธาตุอาหารอะไรบ้างในแต่ละช่วงก็จะเพิ่มธาตุอาหารให้กับต้นปาล์มตลอดนั่นจึงเป็นที่มาของผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ

อาจารย์มนัสยอมรับว่าสวนปาล์มแห่งนี้มีข้อคือมีระบบน้ำรองรับตลอดทั้งปีทำให้การจัดการสวนปาล์มน้ำมันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการตัดหญ้าเพื่อกำจัดวัชพืชในช่วงหน้าฝน การใส่ปุ๋ยปาล์ม เคมีประมาณ 4 ครั้ง / ปี การเติมแมกนีเซียมและโบรอนให้กับต้นปาล์มประมาณ 4 ครั้ง / ปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การใส่ขี้ไก่แกลบเพิ่มอินทรียวัตถุ 1 ครั้ง / ปี  รวมไปถึงการช่วย “ ผสมเกสร ”ให้กับปาล์มน้ำมันในช่วงปาล์มเล็กที่สามารถทำงานได้ทุกต้นได้นอกเหนือจากการผสมเกสรตามธรรมชาติที่มี “ ด้วงงวง ”หรือ “ วีวี่

ช่วยผสมเกสร แต่ทั้งนี้การทำสวนปาล์มต้องระวังศัตรูของปาล์มน้ำมันอย่างด้วงแรดและหนูที่จะเข้าทำลายได้ง่าย  โดยเฉพาะในช่วงปีแรกๆที่ปลูกที่จำเป็นต้องใช้สารเคมีกำจัดบ้างในบางช่วง

6.ปาล์มมีคุณภาพ-สุุกเต็มที่ทุกทะลาย
6.ปาล์มมีคุณภาพ-สุุกเต็มที่ทุกทะลาย

ปาล์มมีคุณภาพ – สุกเต็มที่ทุกทะลาย

อาจารย์มนัสเปิดเผยว่าประสบการณ์ที่ได้จากการทำสวนปาล์มน้ำมันตลอด 8 ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตที่ดี ผลผลิตที่นี่ค่อนข้างมีคุณภาพสูง เปอร์เซ็นต์น้ำมันดีเพราะชาวสวนปาล์มส่วนใหญ่ปลูกปาล์มพันธุ์ดี

อีกทั้งการลงพื้นที่ดูแลแปลงตลอดนั้นยังเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้รู้ความเป็นไปหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับต้นปาล์มจะช่วยให้เกิดการแก้ไขได้ทันท่วงทีภายใต้การวิเคราะห์หาสาเหตุที่เกิดขึ้นตามหลักวิชาการอย่างสมเหตุสมผล

นอกจากนี้ชาวสวนยุคนี้ต้องหมั่นเรียนรู้ศึกษาเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลาเพื่อนำมาซึ่งเทคนิค วิธีการและการจัดการใหม่ ๆเพื่อให้ต้นปาล์มน้ำมันสมบูรณ์และเก็บเกี่ยวได้อย่างต่อเนื่องเพราะโดยปกติแล้วสวนปาล์มแห่งนี้จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทุก 14 – 15 วัน / รอบ ตั้งแต่ปาล์มน้ำมันมีอายุ 2.8 ปี

เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันที่ต้นปาล์มน้ำมันมีอายุได้ประมาณ 8 ปี เป็นปาล์มระบบร่องคู่ทั้งหมดภายใต้การดูแลอย่างสม่ำเสมอ ทำให้บางช่วงของปีสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 44 – 45 ตันทะลาย/รอบ/พื้นที่ 83 ไร่ ทำให้ผลผลิตเฉลี่ยในปี 2558 อยู่ที่ 5.8 ตัน/ไร่/ปีเลยทีเดียว โดยมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 2.50 บาท/กก.

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในขณะที่ปีนี้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยเพราะสภาพแวดล้อมโดยรวมทั้งปีที่ส่งกระทบต่อปริมาณราคาผลผลิตของชาวสวนปาล์มทั่วประเทศอย่างเห็นได้ชัด แต่ด้วยการจัดการสวนปาล์มที่ดีของอาจารย์มนัสทำให้ปีนี้ได้ผลผลิตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 4 ตัน/ไร่/ปี มีราคาผลผลิตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 4 บาทกว่า/กก.

ทั้งที่สวนปาล์มแห่งนี้มีสภาพดินเป็นดินเปรี้ยวหรือดินมีความเป็นกรดสูงประมาณ 4.5 แต่การดูแลรักษาสวนปาล์มน้ำมันแบบผสมผสานทั้งการใช้อินทรีย์และเคมีช่วยให้ต้นปาล์มเจริญเติบโตได้ดีแม้ในดินเปรี้ยวและเก็บผลผลิตได้อย่างต่อเนื่อง

7.การขุดลอกร่องน้ำในสวนปาล์ม
7.การขุดลอกร่องน้ำในสวนปาล์ม

การขุดลอกร่องน้ำในสวนปาล์ม

ประกอบการจัดการสวนปาล์มใน “ ระบบร่องคู่ ” จำเป็นต้องมี “น้ำ” ในท้องร่องอย่างเหมาะสมเพื่อให้ง่ายต่อการจัดทั้งระบบตั้งแต่การนำ ปุ๋ยปาล์ม ทั้งอินทรีย์และเคมีเข้าไปใส่ในสวนปาล์ม

ตลอดจนการตัดเก็บเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ต้องใช้เรือท้องแบนเข้าไปลำเลียงผลผลิตออกจากสวนเพื่อนำไปขายยัง “ลานเท” ที่มีอยู่ในพื้นที่ทั้ง 2 ลานที่จะมีวันดำเนินการและวันหยุดที่แตกต่างกัน และให้ราคาผลผลิตที่ยุติธรรมกันทั้งสองฝ่าย

เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อการทำสวนปาล์มทั้งด้านสภาพน้ำแล้งและสภาพน้ำท่วมเหมือนที่เคยเป็นมาในอดีต

เนื่องจากพื้นที่หนองเสือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ได้รับความกระทบ อาจารย์มนัสจึงจำเป็นต้องป้องกันความเสี่ยงเรื่องน้ำด้วยการ “ขุดลอกร่องน้ำในสวนปาล์ม” ด้วยแบคโฮเล็กเพื่อให้ท้องร่องลึกลงไปอีกกว่า 2 เมตร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ก่อนที่จะทำการสูบน้ำจากคลองชลประทานเข้ามากักเก็บไว้ในท้องร่องเพื่อป้องกันน้ำแล้งที่อาจจะเกิดขึ้นที่ส่งผลกระทบต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตออกจากสวนได้

แม้แต่ในช่วงน้ำมากด้วยท้องร่องที่ลึกกว่าจะทำให้กักเก็บไว้ได้ในปริมาณมากก่อนท่วมต้นปาล์มหรือลดการสูบน้ำออกจากสวนปาล์มที่ต้องใช้พลังงานเป็นจำนวนมากต่อครั้งที่จะช่วยป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้เพราะในบางเดือนในช่วงที่ผ่านมาต้องจ่ายค่าไฟเพื่อสูบน้ำออกจากสวนประมาณ 5,000 บาท/เดือนเลยทีเดียว

8.ปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตทุก-14-วัน
8.ปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตทุก-14-วัน

ปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตทุก 14 วัน

โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนจำเป็นต้องกำจัดวัชพืชในสวนปาล์มบ้างเพื่อไม่ให้รกมากจนเกินไปเพื่อให้เก็บเกี่ยวผลผลิตง่ายขึ้น การวางทางใบส่วนใหญ่จะกองไว้ระหว่างต้นปาล์มเพื่อให้เกิดการย่อยสลายเป็น ปุ๋ยปาล์ม กลับคืนสู่ต้นปาล์ม อีกทั้งยังเน้น การใส่ปุ๋ยปาล์ม เคมีสูตรแบบขุดหลุม “ฝัง ปุ๋ยปาล์ม ” ที่ต้องใช้คนงานประมาณ 10 ต่อ การใส่ปุ๋ยปาล์ม 1 ครั้ง

โดยคนหนึ่งต้องผสมปุ๋ยบนเรือและคนงานบางส่วนก็จะขุดหลุมแล้วก็จะมีคนงานคอยหยอด ปุ๋ยปาล์ม ลงหลุมพร้อมกลบปากหลุมอีกทีซึ่งเป็น วิธีการใส่ปุ๋ยปาล์ม ที่ดีที่สุดเพราะต้นปาล์มได้รับ ปุ๋ยปาล์ม ที่ให้ไปได้อย่างเต็มที่ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดคือต้องใช้คนงานจำนวนมากทำให้มีต้นทุน การใส่ปุ๋ยปาล์ม ต่อครั้งที่ค่อนข้างสูงและต้องมี การใส่ปุ๋ยปาล์ม ให้เสร็จภายใน 2 วันเท่านั้น (เสาร์-อาทิตย์ )

ในอัตราค่าจ้างที่ 1,500 บาท/คน ซึ่งทางสวนจะมี การใส่ปุ๋ยปาล์ม ทุกๆ 3 เดือนโดยเน้นใส่ ปุ๋ยปาล์ม สูตร 13-6-27 ,10-10-30 หรือ 18-46-0

ในอัตราต้นละ 3 กก./ต้น/ครั้ง หรือประมาณ 12 กก./ต้น/ปี  เน้นใส่โบรอน 4 ครั้ง/ปีหรือประมาณ 400 กรัม/ปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยจะแบ่งใส่โบรอนในอัตรา  100 กรัม/ต้น/ครั้ง  เติมแมกนีเซียม 4 ครั้ง/ปี หรือประมาณ 4 กก./ปี โดยจะแบ่งใส่แมกนีเซียมในอัตรา 1 กก./ต้น/ครั้ง ควบคู่ไปกับการใส่ขี้ไก่แกลบประมาณ 20 กก./ต้น/ปี เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุ

ก่อนจะเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วยการจ้าง “ทีมตัดปาล์ม” ที่มีอยู่ในพื้นที่ที่จะมาตัดปาล์มให้ตลอดโดยเน้นตัดปาล์มสุกทุกทะลายส่งขายได้ทั้งน้ำหนักและราคาที่ค่อนข้างดีเพราะตัดปาล์มคุณภาพ โดยการตัดปาล์มที่นี่จะเน้นตัดปาล์มในช่วงวันเสาร์และอาทิตย์ให้เสร็จหรือทุก 14 วัน ด้วยคนงานตัดปาล์มทั้งหมด 9 คน ในอัตราค่าจ้างที่ 500 บท/คน/วัน

โดยคนตัดปาล์มต้องแต่งทางใบไปพร้อมๆกับการตัดปาล์มทุกต้นด้วย ซึ่งข้อดีของการตัดปาล์มที่ 14 วัน/รอบนี้จะได้ทะลายที่สุกกำลังดีทุกทะลาย ลูกร่วงไม่มากเพื่อลดการจ้างแรงงานถอนต้นปาล์มใต้โคนที่เกิดจากลูกร่วงได้เป็นอย่างดี

ผมทำปาล์มที่นี่ผมจะเน้นทำปาล์มเชิงวิเคราะห์เพื่อหาเหตุและผลในการแก้ไขและพัฒนาสวนปาล์มให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อผลผลิตที่ดี มีคุณภาพทุกต้นภายใต้การจัดการอย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่องทุกปี

ตอบโจทย์การปลูกปาล์มน้ำมันเชิงอุตสาหกรรมให้ได้มากที่สุด บนพื้นฐานของการปลูกปาล์มพันธุ์ดีเท่านั้น และประทับใจพันธุ์เดลิ x คอมแพ็คมากที่สุดเพราะเป็นสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตที่ดีเมื่อปลูกในพื้นที่ตรงนี้”  อาจารย์ มนัสยืนยัน

9.ความสมบูรณ์ของทะลายปาล์ม
9.ความสมบูรณ์ของทะลายปาล์ม

ความสมบูรณ์ของทะลายปาล์ม

เนื่องได้มีการเก็บสถิติไว้ตลอดจะทำให้เห็นว่าปาล์มน้ำมันแต่ละสายพันธุ์ที่ปลูกเอาไว้จะให้ผลผลิตที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะปาล์มน้ำมันสายพันธ์ “ เดลิ x คอมแพ็ค ” ที่ปลูกไว้ในระยะ 8 x 8 x 8 เมตร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นั้นจะให้ผลผลผลิตมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งคือพระเอกของที่นี่ มีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดเจนคือ ผลผลิตมีน้ำหนักที่ดี  ทะลายใหญ่หรือมีน้ำหนักสูงสุดประมาณ 45 กก./ทะลาย ให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันดี ให้ผลผลิตได้มากถึง 22 ทะลาย/ต้น/ปี

โดยปาล์มน้ำมันสายพันธุ์นี้แม้จะปลูกในระยะ 8 x 8 x 8 เมตรหรือประมาณ 28 ต้นต่อไร่ก็ยังให้ผลผลิตที่ดีในช่วงปาล์มเล็ก แต่เมื่อต้นปาล์มเจริญเติบโตขึ้นจนมีอายุครบ 8 ปี

จะเห็นว่าต้นปาล์มเริ่มใบสานกันและบดบังแสงแดดที่จะส่องลงมาถึงต้นปาล์มให้เกิดการสังเคราะห์แสงที่ดี จึงได้นำเสนอปัญหาที่เกิดขึ้นนี้กับ บริษัท อาร์ดี เกษตรพัฒนา จำกัด ที่ไม่ได้นิ่งดูดายกับปัญหาที่เกิดขึ้น

จนกระทั่งนำมาสู่การลงพื้นที่มาดูสภาพต้นปาล์มพร้อมกับวิเคราะห์ปัญหา ทางบริษัทจึงได้แนะนำให้อาจารย์มนัสตัดต้นปาล์มออกไปเพื่อเปิดช่องว่างให้มีแสงแดดส่องลงมาได้อย่างทั่วถึงแบบ 7:1 เพื่อไม่ให้ส่งกระทบต่อผลผลิตและรายได้

อาจารย์มนัสจึงจำเป็นต้องตัดต้นปาล์มออกไปตามคำแนะนำของบริษัทแบบ 7:1 โดยเลือกตัดต้นปาล์มที่คิดว่าให้ผลผลิตน้อยที่สุดออกไปซึ่งยากแก่การทำใจเพราะปาล์มทุกต้นให้ผลผลิตที่ค่อนข้างดีมากทุกต้น

10.การเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน
10.การเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน

การเก็บเกี่ยว ปาล์มน้ำมัน

ปัจจุบันอาจารย์มนัสได้ทยอยตัดปาล์มออกไปตามคำแนะนำของบริษัทด้วยการเจาะต้นปาล์มเพื่อหยอดสารเคมีเพื่อให้ต้นปาล์มให้ผลผลิตได้ดีทุกต้นในอนาคต เรียกง่ายๆว่าปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ “ เดลิ x คอมแพ็ค ” ที่ปลูกไว้ประมาณ 800 ต้น จะต้องตัดทิ้งไปประมาณ 100 ต้นนั่นเอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่ต้นปาล์มส่วนใหญ่ที่ปลูกในระยะ9×9 เมตรจะไม่มีปัญหาในเรื่องนี้เลยเพราะเป็นการปลูกในระยะที่เหมาะสมกับปาล์มน้ำมันตามหลักวิชาการอยู่แล้ว

อาจารย์มนัสยอมรับว่าการปลูกปาล์มน้ำมันบนเนื้อที่ 83 ไร่ในปีนี้ให้ผลผลิตเฉลี่ยที่ไม่ต่ำกว่า 5 ตัน/ไร่/ปี มีต้นทุนการผลิต 2.50 บาท/ปี แต่มีราคาผลผลิตเฉลี่ยสูงขึ้นเป็น 4 บาทกว่า/กก.

เนื่องจากผลผลิตปาล์มน้ำมันทั่วประเทศในปีนี้ค่อนข้างน้อยเพราะปาล์มติดแล้งยาวนาน ประกอบกับสวนปาล์มของอาจารย์มนัสประสบปัญหาเรื่อง “หนอนหน้าแมว” เข้าทำลายต้นปาล์มจนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมากทำให้ต้องดูแลรักษานานเป็นปีกว่าที่ต้นปาล์มจะกลับมาสมบูรณ์ให้ผลผลิตที่ดีอีกครั้ง

ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตในปีนี้ลดลงไปจากปีที่แล้วกว่า 80 ตันเลยทีเดียว อีกทั้งการปลูกปาล์มที่หนองเสือนี้จะให้ผลผลิตมากที่สุดในตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายนไปจนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี ทำให้ผลผลิตช่วงนี้เก็บเกี่ยวได้สูงสุด 44 ตัน/รอบ/83 ไร่ มีราคาขายตั้งแต่ 5.90-9 บาท/กก.

ซึ่งไม่ใช่ราคาปกติของปาล์มน้ำมัน

ปัญหาหนักของสวนผมตอนนี้คือหนอนหน้าแมวมันระบาดเร็วมาก มันกินใบปาล์มบนยอดจนเสียหายหมด พอเริ่มมืดมันจะลงมาวางไข่ มันจะพัฒนาตัวจนเป็นดักแด้แล้วเข้าไปฝังในหนามที่ทะลายปาล์มได้ทันที

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ถ้าจะใช้สารเคมีฉีดพ่นทำลาย ตัววีวี่ที่ช่วยผสมเกสรก็จะตายไปด้วย ยิ่งหนองเสือมีปัญหาเรื่องการผสมเกสรด้วย เราจึงไม่อยากทำลายตัววีวี่ให้หตายไป จึงต้องฉีดพ่นที่ใบที่เท่านั้น

แต่ฉีดพ่นที่คอปาล์มที่มีทะลายและตัววีวี่ไม่ได้ วันหนึ่งมีเป็นล้านๆตัว ตอนเย็นจะเห็นผีเสื้อบินจนชนกันกับใบปาล์มเต็มไปหมด ดังนั้นเราต้องรีบจัดการตั้งแต่ตอนที่มันเป็นตัวหนอนที่จะจัดง่ายกว่า

อาจารย์มนัสสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นกับสวนปาล์มในวันนี้อย่างเคร่งเครียดพร้อมทั้งพยายามหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด พร้อมกับฝากถึงเกษตรกรในตอนท้ายว่าการปลูกปาล์มต้องเลือกปลูกปาล์มพันธุ์ดี ให้เหมาะสมกับพื้นที่ตนเองมากที่สุด

ตอบโจทย์ด้านผลผลิตที่ดี เพราะ “สายพันธุ์ปาล์มน้ำมัน” เป็นเรื่องใหญ่ ให้เลือกและตัดสินใจให้ดีก่อนจะปลูกปาล์มเพราะปาล์มลงทุนมาก หากปลูกปาล์มไปแล้วต้องดูแลรักษานานเกือบ 3 ปี ถึงจะสามารถเก็บเกี่ยวให้ผลผลิตได้

ดังนั้นเกษตรกรต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ทั้งจากประสบการณ์และวิชาการผ่านหลายๆช่องทางเพื่อพัฒนาสวนปาล์มให้มีประสิทธิภาพต่อไป เพื่ออาชีพที่มั่นคงและรายได้ที่ดีอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี

สอบถามเพิ่มเติม  อาจารย์มนัส สวัสดิ์ชัย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

36/1 ม.13 ต.หนองสามวัง อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี โทร.089-995-4778

การใส่ปุ๋ยปาล์ม การใส่ปุ๋ยปาล์ม วิธีใส่ปุ๋ยปาล์มน้ํามัน วิธีใส่ปุ๋ยปาล์มน้ํามัน ปาล์มน้ำมัน ซีหราด ไนจีเรียแบล็ค วิธีใส่ปุ๋ยปาล์มน้ํามัน ใส่ ปุ๋ยปาล์ม สูตรปุ๋ย ปุ๋ยปาล์มน้ํามัน การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยปาล์ม การใส่ปุ๋ยปาล์ม วิธีใส่ปุ๋ยปาล์มน้ํามัน วิธีใส่ปุ๋ยปาล์มน้ํามัน ปาล์มน้ำมัน ซีหราด ไนจีเรียแบล็ค วิธีใส่ปุ๋ยปาล์มน้ํามัน ใส่ ปุ๋ยปาล์ม สูตรปุ๋ย ปุ๋ยปาล์มน้ํามัน การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน ปุ๋ย