ด้วย “ศาสตร์พระราชา” หรือ “เชื้อเพลิงเขียว” ที่มุ่งเน้นการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีในท้องถิ่นมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าเป็นถ่านอัดแท่งคุณภาพ ให้ค่าความร้อนสูง ป้อนตลาดทั้งในและนอกได้อย่างต่อเนื่อง นำมาซึ่งรายได้ที่ดี ดังนั้นชีวิตนี้จึงเหมือนตายแล้วเกิดใหม่ จึงตั้งใจใช้ชีวิตนี้อย่างมีคุณค่า ด้วยการอุทิศองค์ความรู้ที่ได้สั่งสมมาให้เป็นวิทยาทานแก่คนรุ่นหลังในการพัฒนาต่อยอดด้านพลังงานทดแทน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรทั่วประเทศให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยการรวมกลุ่มในรูปแบบ “วิสาหกิจชุมชน” เพื่อผลิต “ถ่านอัดแท่งคุณภาพ” ด้วย “เครื่องจักร” ที่ได้คิดค้นพัฒนาขึ้นมาด้วยตนเอง ภายใต้องค์ความรู้เรื่องถ่านอัดแท่งตลอดเกือบ 32 ปีที่ผ่านมา
จนกระทั่งได้มาซึ่ง “ถ่านอัดแท่งชั้นดี” ให้ค่าความร้อนสูง ป้อนตลาดทั้งในและนอก ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มภายใต้วิสาหกิจชุมชน มุ่งเน้นการสร้างอาชีพให้เกษตรกรฐานรากของประเทศ สร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างมั่นคง และยั่งยืน ยกระดับพลังงานสีเขียวไทยสู่สากลอย่างแท้จริง
ชายผู้นั้นก็คือ อ.พสิษฐ์ พรมเดช ผู้ที่เคยประสบความล้มเหลวครั้งใหญ่ในชีวิต จนมีหนี้สินติดตัว แต่กลับมีชีวิตที่ดีขึ้นมาได้ด้วยการนำหลักคำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต ควบคู่ไปกับการศึกษาเรื่องพลังงานทดแทนจากพระองค์ท่าน ที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ โดยเฉพาะการหันมาทำ “ถ่านอัดแท่ง” ในเชิงการค้า จนกระทั่งสามารถปลดหนี้ได้ และส่งผลให้ อ.พสิษฐ์ ยึดอาชีพการผลิตถ่านอัดแท่งคุณภาพมาจนถึงทุกวันนี้ จนกระทั่งเกิดการขยายผล และส่งเสริมการผลิตถ่านอัดแท่งในเชิงการค้า ภายใต้การรวมกลุ่มในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยในปัจจุบัน
ด้านตลาดถ่านอัดแท่ง
เมื่อ อ.พสิษฐ์ ประสบความสำเร็จในการผลิตถ่านอัดแท่งคุณภาพ จนกระทั่งสินค้าเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ปลดหนี้ได้เป็นไทแก่ตนเองแล้ว จึงตั้งใจที่ถ่ายทอดองค์ความรู้นี้ให้กับผู้สนใจเพื่อสานต่อโครงการของพระองค์ท่านให้คงอยู่ต่อไป และเกิดการขยายผลไปสู่เกษตรกรที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีรายได้ที่ดี จึงเป็นที่มาในการจัดตั้ง “ศูนย์เรียนรู้”โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ภายใต้ “วิสาหกิจชุมชนอาจารย์พสิษฐ์ถ่านอัดแท่งบ้านวังยาว” เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้เรื่องการ “ผลิตถ่านอัดแท่ง” ให้ตรงกับความต้องการของตลาดแบบครบวงจร โดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรดังที่กล่าวมาข้างต้น ปัจจุบัน อ.พสิษฐ์ มีตลาดรองรับสินค้าในทุกระดับ ตั้งแต่ร้านปิ้งย่าง ร้านหมูกระทะ ทั้งในและนอกพื้นที่ โรงไฟฟ้า
นอกจากนี้ยังมีการส่งออกไปยังยูเอ็น เขมร จีน เกาหลี ญี่ปุ่น และกำลังจะทำการส่งออกไปยังตุรกี และบาห์เรน ในเร็วๆ นี้ ภายใต้วิสาหกิจชุมชนในเครือข่ายมากถึง 140 กว่ากลุ่มจากทั่วประเทศ
การใช้สบู่ดำมาผลิตเป็นน้ำมันไบโอ
จนกระทั่งลูกชายได้แนะนำให้ไปรู้จักกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ที่ได้หยิบยก “โครงการพระราชดำริ” ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ในการทำเกษตรอินทรีย์แบบยั่งยืน หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงรับสั่งให้ อ.พสิษฐ์ ขุดหลุมปลูกพืชชนิดเดียวกันทั้งหมด 100 หลุม ในพื้นที่สวนจิตรลดา ซึ่งสภาพดินตรงนั้นแทบจะปลูกอะไรไม่ขึ้น หน้าดินก็แข็งมาก ปลูกไปพืชก็ไม่งาม ไม่โตแน่นอน แต่ก็ต้องขุดหลุมจนมือแตกไปหมด และขุดหลุมให้กว้าง 50 ซม. ลึก 50 ซม.
หลังจากนั้นพระองค์ท่านทรงรับสั่งให้ทำ “ปุ๋ยผงอินทรีย์” เพื่อปลูกต้นไม้ ก่อนจะลงมือปลูกพริก 50 หลุม ด้วยเคมี และปลูกพริกอีก 50 หลุม ด้วยปุ๋ยผงอินทรีย์ ที่ต้องทำการจดบันทึกพืชที่ปลูกไว้ทุกวัน จนกระทั่งได้เข้าใจว่าอินทรีย์เห็นผลช้า แต่ดีในระยะยาว ต้นพืชเจริญเติบโตดี และถึงบางอ้อว่าในอนาคตต้องเป็น “เกษตรอินทรีย์” จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ อ.พสิษฐ์ มีกำลังใจในการสู้ต่อขึ้นมาอีกครั้ง
หลังจากนั้น อ.พสิษฐ์ ก็ได้เดินหน้าศึกษาต่อด้านพลังงานทดแทนในโครงการพระราชดำริของพระองค์ท่านเรื่อยมา เนื่องจากพระองค์ท่านทรงตรัสไว้ว่า “ในอนาคตน้ำมันจะแพงถึง 40 บาท/ลิตร ทั้งที่ตอนนั้นน้ำมันราคาเพียง 16 บาท/ลิตรเท่านั้น แต่น้ำมันบนดินยิ่งปลูกยิ่งมี ไม่มีวันหมด” ผลจากการเรียนรู้เรื่องพลังงานทดแทนส่งผลให้เกิด “โครงการ 1 โรงพัก 1 ตำบล” ซึ่งในครั้งนั้นพระองค์ท่านทรงส่งเสริมให้ปลูกกระเจี๊ยบ และสบู่ดำ เพื่อนำมาเป็นพลังงานทดแทนในโครงการ
ต่อมา อ.พสิษฐ์ และเครือข่าย ได้เริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกสบู่ดำเพื่อนำมาผลิตเป็นน้ำมันไบโอในโครงการ เนื่องจากน้ำมันไบโอ 1 ลิตร ต้องใช้สบู่ดำทั้งหมด 4 กก.โดยรับซื้อเมล็ดสบู่ดำจากเกษตรกรในราคา 5 บาท/กก. หรือประมาณ 20 บาท เท่านั้น ในขณะที่ราคาน้ำมันช่วงนั้นอยู่ที่ 30 บาท/ลิตร นอกจากนี้ “เปลือกสบู่ดำ” ยังสามารถขายให้กับ “โรงงานทำหมึก” ได้อีก ในราคา 3 บาท/กก. รวมไปถึงการหันมาทำ “ถ่านอัดแท่ง” ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริของพระองค์ ที่มีจุดเริ่มต้นมาจาก “สวนจิตรลดา” พระองค์ทรงใช้ท่อพีวีซีขนาด 6 หุน ตัดให้เป็นท่อน ใช้แกลบดิบจากโรงสีขยำกับดินเหนียว แล้วใส่แป้งมันก่อนอัดแท่ง
ผลที่ได้จากการยึดอาชีพด้านพลังงานทดแทนตาม “ศาสตร์พระราชา” ทำให้ อ.พสิษฐ์ สามารถปลดหนี้ก้อนแรก 41 ล้านบาท และปลดหนี้ก้อนที่สองอีก 20 ล้านบาทได้ ภายในระยะเวลาเพียง 1 ปีครึ่ง และตัดสินใจเลิกเหล้า และเลิกบุหรี่ อย่างเด็ดขาด ด้วยการนำหลักคำสอนของพระองค์มาใช้ คือ “ชนะใจใครก็ไม่เท่ากับการเอาชนะใจตนเองให้ได้”
ที่สำคัญตลอดเวลาที่ถวายงานพระองค์ท่าน “พระองค์ท่านไม่ทรงถือพระองค์ ไม่เคยได้ยินว่าพระองค์นินทาใคร ด่าใคร ให้ได้ยินซักเรื่อง มีแต่ทรงชี้แนะแนวทางให้อย่างเดียว ท่านเคยตรัสว่าในโลกนี้มีคนเดียวที่ไม่รับรู้อะไรเลย นั่นคือ คนบ้า ส่วนคนปกติยากที่จะไม่รับรู้เรื่องราวที่เป็นไป ทั้งเรื่องดี และเรื่องร้าย เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
อีกทั้งทุกคนที่เกิดมาบนโลกนี้ มีทั้งคนฉลาด และคนโง่ คนฉลาด คือ คนที่มีปัญหาเข้ามามากมาย แต่สามารถใช้สติปัญญา และความฉลาด ค่อยๆ แก้ไขปัญหาให้ได้ทีละอย่าง จนกระทั่งปัญหาลดน้อยลงไป สามารถแก้ปัญหาใหม่ๆ ต่อไปได้ ส่วนคนโง่ คือ คนที่มีปัญหาแล้วไม่ทำต่อ ไม่ต้องแก้ปัญหาอะไรเลย ท้อแท้ ยอมแพ้ปัญหา เปรียบเหมือนกับคนที่โดนฟันจนเป็นแผล แล้วมีชะงักติดหลังไปจนวันตาย ไม่มีวันลบเลือนให้หายไปได้ นั่นเป็นเพราะทุกอย่างไม่มีใครปูพรมให้เราเดิน ไม่มีชีวิตใครโรยด้วยกลีบกุหลาบ ทุกคนต้องเจอปัญหาทั้งนั้น อยู่ที่ว่าเราจะแก้ปัญหาอย่างไร” นี่คือคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ อ.พสิษฐ์ ยึดเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และใช้ในการประกอบอาชีพเรื่อยมา
การสร้างเตาเผาถ่าน
โดยเฉพาะการทำ “ถ่านอัดแท่ง” ในช่วงแรกนั้น อ.พสิษฐ์ ยอมรับว่าตนเองเริ่มต้นจากเงินทุนเพียง 1,800 บาท ไม่มีแม้จักรยานจะขี่ ไม่มีเงินแม้จะดึงไฟเข้าบ้านเพื่อใช้ไฟและผลิตถ่านอัดแท่ง จึงต้องอาศัยขอเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจากเพื่อนบ้าน เพื่อนำมาเผาถ่านแบบ “เตาหลุม” ก่อน วางถ่านกับพื้นดินแล้วใช้รถเหยียบถ่านให้แตก แล้วค่อยนำมาอัดให้เป็นถ่านอัดแท่ง
ก่อนจะเริ่มต้นทำตลาด และขายถ่านอัดแท่ง ด้วยการนำถ่านไปให้เพื่อนบ้านลองใช้ ให้ลูกค้าลองใช้ก่อน เพราะคนส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักถ่านอัดแท่ง กระทั่งลูกค้าได้ลองใช้ ใช้แล้วดี ความร้อนสูง ไม่มีควัน จึงบอกต่อกันแบบปากต่อปาก รวมไปถึงการทำตลาดออนไลน์ผ่านเฟสบุ๊ค และไลน์ ทำให้ “ถ่านอัดแท่งอาจารย์พสิษฐ์” เป็นที่รู้จักของลูกค้าทั้งในและนอกพื้นที่ จนเกิดการสั่งซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง จึงต้องจัดหาวัตถุดิบเข้ามารองรับการผลิตถ่านอัดแท่งให้เพียงพอกับตลาดที่เติบโตขึ้น
ต่อมาเมื่อเริ่มมีรายได้เข้ามา อ.พสิษฐ์ จึงได้เดินเรื่องขอใช้ไฟกับหน่วยงานภาครัฐ และเดินหน้าพัฒนาเตาเผาถ่านด้วยเครื่องจักรที่ได้คิดค้นขึ้นมา ภายใต้การประยุกต์ใช้ “ศาสตร์พระราชา” ผนวกเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อรองรับการผลิตถ่านอัดแท่งให้มีคุณภาพ เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
จนกระทั่งได้สร้าง “เตาเผาถ่าน” ด้วยถัง 200 ลิตร ที่สามารถเก็บ “ น้ำส้มควันไม้ ” ได้ และยังเป็นการเผาถ่านที่ไม่ทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่า “ ถ่านอัดแท่งไร้ควัน ” ในขณะที่ “ น้ำส้มควันไม้ ” ยังมีประโยชน์ในการช่วยป้องกันแมลงและศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี ลดการใช้สารเคมีในการปลูกพืชได้
ขั้นตอนการตีป่นให้เป็นผงถ่าน
หลังจากนั้นจะนำถ่านที่ได้เข้าสู่กระบวนการตีป่นให้เป็น “ผงถ่าน” ด้วยเครื่องตีป่น จากนั้นจะทำการผสม ทั้งผงถ่าน ยิปซั่ม แป้งมัน และน้ำ ให้เข้ากันด้วยเครื่องจักร ก่อนจะส่งต่อไปยัง “เครื่องผลิตถ่านอัดแท่ง” ที่สามารถอัดได้มากกว่า 10 สเต็ป ที่ต้องใช้ความร้อนหรืออุณหภูมิในการผลิตถ่านอัดแท่งแต่ละสเต็ปที่แตกต่างกัน
อีกทั้งเครื่องจักรยังถูกออกแบบให้สามารถปรับขนาดก้อนถ่านอัดแท่งได้ตั้งแต่ 2 นิ้วไปจนถึง 6 นิ้วขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และรูปแบบการนำไปใช้ของลูกค้าแต่ละท่าน ซึ่งถ่านอัดแท่งแต่ละรูปแบบจะให้ค่าความร้อนของถ่านที่แตกต่างกัน หรือมีค่าความร้อนตั้งแต่ 3,600 kcal/kg.-7,700 kcal/kg.ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้การผลิตถ่านอัดแท่งเป็นหลักสำคัญ
ขั้นตอนการผลิต ถ่านอัดแท่งไร้ควัน
ดังนั้น “ ถ่านอัดแท่งไร้ควัน ” ที่ได้ จึงเป็น ถ่านอัดแท่งไร้ควัน คุณภาพดี ให้ค่าความร้อนสูง ไม่แตกปะทุ ติดไฟนานตั้งแต่ 1.40 ชม.ไปจนถึง 4.5 ชม./ 1 ก้อน ขึ้นอยู่กับการอัดถ่านให้แน่นมากน้อยแตกต่างกันเพียงใด ประกอบกับเครื่องจักรทั้งหมดในกระบวนการผลิต ถ่านอัดแท่งไร้ควัน นี้ อ.พสิษฐ์ ได้ทำการคิดค้นและออกแบบด้วยตนเอง ไปพร้อมๆ กับการปรับปรุงพัฒนาเครื่องจักรให้รองรับการผลิต ถ่านอัดแท่งไร้ควัน โดยเฉพาะ ภายใต้องค์ความรู้และประสบการณ์ที่มีมานานกว่า 32 ปี
วัสดุที่ใช้ผลิต ถ่านอัดแท่งไร้ควัน น้ำส้มควันไม้
สำคัญที่สุด คือ การผลิต “ ถ่านอัดแท่งไร้ควัน ” ของ อ.พสิษฐ์ จะมุ่งเน้นการใช้วัตถุดิบหลัก ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ในภาคการเกษตรเป็นหลัก มุ่งเน้นการแปรรูป เพิ่มมูลค่า
จากต้นมันสำปะหลัง เหง้ามัน แกนข้าวโพด ซังข้าวโพด ฟางข้าว กะลามะพร้าว กะลาปาล์ม ผักตบชวา หญ้าเนเปียร์ ขี้เลื่อย ขี้กบ กากอ้อย ใบอ้อย ชานอ้อย แกลบ ขุยมะพร้าว ถ่านกะลามะพร้าว เปลือกหวาย ไมยราบยักษ์ เส้นใยปาล์ม หญ้าคา หญ้าขจรจบ ใบจามจุรี ต้นฝ้าย กากทานตะวัน เปลือกทุเรียน เศษถ่านหุงต้ม ไม้ยางพารา ถ่านไม้ยางพารา เศษไม้เบญจพรรณ และเศษอาหารเหลือทิ้ง
ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร พัฒนาชุมชน สร้างอาชีพ สร้างรายได้เพิ่ม ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
“น้ำหญ้าเนเปียร์” ซึ่งเป็น “ฮอร์โมนชั้นดี” สำหรับการปลูกพืชผัก
นอกจาก อ.พสิษฐ์ จะส่งเสริมเรื่องการตั้งกลุ่มในรูปแบบ “วิสาหกิจชุมชน” เพื่อ “ผลิต ถ่านอัดแท่งไร้ควัน ” แล้วล่าสุด อ.พสิษฐ์ ได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูก “หญ้าเนเปียร์” ที่มากด้วยคุณค่า และมูลค่า ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นหลายอย่าง ดังนี้ น้ำส้มควันไม้ น้ำส้มควันไม้ น้ำส้มควันไม้ น้ำส้มควันไม้ น้ำส้มควันไม้ น้ำส้มควันไม้
1.หญ้าเนเปียร์ปลูกง่าย ขยายพันธุ์ได้เร็ว ปลูกในระยะห่างระหว่างร่องที่ 1.8 เมตร ระยะระหว่างต้นที่ 75 ซม. เพื่อให้เครื่องจักรเข้าทำงาน และจัดการได้ง่าย ให้ผลผลิต 15 ตัน/ไร่ มีอายุการเก็บเกี่ยวเพียง 4 เดือน/รอบ หรือประมาณ 3 ครั้ง/ปี
2.ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลายรอบ/ปี มีอายุการเก็บเกี่ยวยาวนานหลายปี
3.หญ้าเนเปียร์สามารถนำมาหีบเพื่อให้ได้ “น้ำหญ้าเนเปียร์” ซึ่งเป็น “ฮอร์โมนชั้นดี” สำหรับการปลูกพืชผักเพื่อการบริโภค ปลอดจากสารเคมี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สามารถผลิตเป็นฮอร์โมน จำหน่ายให้กับสมาชิกในวิสาหกิจชุมชนได้ ในราคา 280 บาท/ลิตร
4.เมื่อเข้าสู่กระบวนเผาถ่านหญ้าเนเปียร์ ยังให้ “ น้ำส้มควันไม้ ” ที่มีคุณสมบัติช่วยไล่แมลงและศัตรูพืชได้เป็นอย่างดี ลดการใช้สารเคมีในภาคการเกษตรได้ดี สามารถจำหน่ายได้ในราคา 80-100 บาท/ลิตร
5.การปลูกหญ้าเนเปียร์สามารถขายผลผลิตให้กับโรงงานได้ในราคา 2,500-3,000 บาท/ตัน
6.ถ่านอัดแท่งจากหญ้าเนเปียร์ให้ค่าความร้อนสูง เป็นถ่านเพื่อสุขภาพ ที่ไม่มีสารทาร์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งในระหว่างการนำถ่านไปใช้กระบวนการปรุงอาหาร หรือการปิ้งย่างภายในร้านอาหาร
7. ถ่านอัดแท่งไร้ควัน จากหญ้าเนเปียร์มีตลาดรองรับ ทั้งในและส่งออก ส่งออกง่าย เพราะไม่มีกฎหมายควบคุม ไม่มีสารทาร์ จึงสามารถตั้งราคาขายส่งภายในประเทศได้ที่ 19,000-20,000 บาท/ตัน ในขณะที่ราคาส่งออกจะอยู่ที่ 20,000-25,000 บาท/ตัน
8.หญ้าเนเปียร์เป็นพืชพลังงานที่ใช้ในการผลิต ถ่านอัดแท่งไร้ควัน ทดแทนการใช้ไม้ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากไม้ทั่วไปต้องใช้เวลานานกว่า 3 ปี จึงจะสามารถใช้หญ้าเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นเชื้อเพลิงทดแทน ในระหว่างรอการตัดฟันไม้ได้เป็นอย่างดี น้ำส้มควันไม้ น้ำส้มควันไม้ น้ำส้มควันไม้ น้ำส้มควันไม้ น้ำส้มควันไม้ น้ำส้มควันไม้ น้ำส้มควันไม้
รายได้จากถ่านอัดแท่ง
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ อ.พสิษฐ์ กล้าพูดได้เต็มปากว่าเป็นคนขึ้นมาได้จนถึงทุกวันนี้เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เพราะโครงการพระราชดำริ เพราะโครงการพลังงานทดแทนของพระองค์ท่านอย่างแท้จริง ที่สอดรับกับยุคปัจจุบันที่ว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาประเทศ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตลอดจนจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น
ที่สำคัญปัญหาด้านเชื้อเพลิงในยุคปัจจุบันทำให้เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ จึงมีความจำเป็นที่ต้องหาวัสดุที่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ โดยเฉพาะเชื้อเพลิงในการหุง ต้ม ปิ้งย่าง ในครัวเรือน และร้านอาหารต่างๆ ในโรงงานต่างๆ ในขณะที่ปริมาณไม้ในยุคปัจจุบันมีไม่มากนัก ล
แต่ด้วยพระอัจฉริยะภาพอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ร.9) ได้ทรงเล็งเห็นปัญหาที่ต้องขาดแคลนไม้ รวมทั้งพลังงานด้านต่างๆ ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล จึงเกิดเป็นโครงการพระราชดำริมากมาย หนึ่งในนั้น คือ การนำวัสดุเหลือใช้ในภาคการเกษตรมาอัดเป็น “แท่งเชื้อเพลิง” ที่เรียกว่า “เชื้อเพลิงเขียว” อีกทั้งเกษตรกร คือ ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่มีพื้นที่การทำเกษตรกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของไทย มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมากมาย ที่สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนได้ และก่อให้เกิดอาชีพ และรายได้ อย่างยั่งยืน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม “อาจารย์พสิษฐ์ พรมเดช” วิสาหกิจชุมชนอาจารย์พสิษฐ์ถ่านอัดแท่งบ้านวังยาว
114 หมู่ที่ 8 ต.วังยาว อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี โทร.061-616-5879, 092-682-8483