น้ำมันปาล์ม คุณภาพ ตลาดอียูต้องการจากชาวสวน ปาล์มน้ำมัน รายย่อยของไทย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การผลิตปาล์มน้ำมัน และ น้ำมันปาล์ม

จากเดิมที่ประเทศไทยมีการผลิตปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์มเพื่อการบริโภคภายในประเทศเท่านั้น ทั้งด้านการผลิตน้ำมันปาล์มเพื่อการบริโภค และผลิตไบโอดีเซลเพื่อเป็นพลังงานหมุนเวียน เมื่อใดที่น้ำมันปาล์มมีปริมาณมากจนเหลือ ถึงจะมีการส่งออกบ้าง

แต่ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานี้ จะเห็นว่าเกษตรกรชาวสวนปาล์มไทยต่างประสบปัญหาด้าน “ภัยแล้ง” อย่างหนัก ทำให้ผลผลิตปาล์มทะลายโดยรวมทั้งประเทศในช่วงที่ผ่านมามีปริมาณลดน้อยลง หรือมีปริมาณน้ำมันปาล์มอยู่ในสต๊อกเพียง 180,000-190,000 ตัน ซึ่งน้อยกว่าสต๊อกในเกณฑ์ปกติที่ควรจะเป็น คือ 250,000 ตัน

นั่นจึงเป็นเหตุให้ผลผลิตปาล์มทะลายในช่วงที่ผ่านมามีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่โรงสกัดน้ำมันก็ได้พยายามรับซื้อปาล์มคุณภาพเข้าสู่กระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การแข่งขันที่รุนแรงขึ้น

2.น้ำมันปาล์มที่แยกเป็นไบโอดีเซลและอื่นๆ
2. น้ำมันปาล์มที่แยกเป็นไบโอดีเซลและอื่นๆ

การใช้น้ำมันปาล์มดิบเพื่อการผลิตไบโอดีเซล

เมื่อผลผลิตในประเทศมีปริมาณลดลงอย่างเห็นได้ชัด นั่นหมายความว่า ประเทศไทยต้องมีการบริหารจัดการสต๊อกที่มีอยู่ให้เพียงพอกับการผลิต นั่นคือโรงกลั่นต้องลดปริมาณการผลิตลง เนื่องจากราคาน้ำมันปาล์มดิบ CPO ที่สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตน้ำมันปาล์มเพื่อบริโภคสูงขึ้นตามไปด้วย

ในขณะที่การใช้น้ำมันปาล์มดิบเพื่อการผลิตไบโอดีเซลในวันนี้ ที่เดิมมีนโยบายให้ผลิตบี 7 แต่ต้องหันมาผลิตบี 5 แทนเพื่อให้การผลิตสอดคล้องกับปริมาณผลผลิตที่ลดลงไป

3.ปาล์มทะลายสุก
3.ปาล์มทะลายสุก

เปอร์เซ็นต์น้ำมันจากปาล์มทะลายสุก

นักธุรกิจชื่อดังของไทยด้านน้ำมันปาล์มและปาล์มน้ำมัน ได้เปิดเผยถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในวงการปาล์มน้ำมันให้ทราบว่า วันนี้ “โรงสกัดเกรดเอ” ของไทยส่วนใหญ่ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ มีการผลิตได้เปอร์เซ็นต์น้ำมันต่ำลงที่ 13-14% เนื่องจากผลผลิตที่กระทบแล้ง และการตัดปาล์มดิบของเกษตรกรที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในขณะที่โรงสกัดในบางพื้นที่ที่มีกระบวนการผลิตจากปาล์มทะลาย ส่วนใหญ่เป็นปาล์มสุกที่มีคุณภาพ ยังสามารถผลิตให้ได้เปอร์เซ็นต์น้ำมันได้ที่ 17-18%

ซึ่งขัดแย้งกับมุมมองที่ว่าโรงสกัดและโรงกลั่นเป็นผู้ร้ายตลอดมานั้นคงไม่ใช่เสมอไป…!!!

เพราะวันนี้โรงสกัดไม่ได้สบายเหมือนอย่างที่เกษตรกรหลายคนเข้าใจ เพราะทุกฝ่ายต่างก็ประสบปัญหาจากผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งการผลิตที่เดินเครื่องได้ไม่ต่อเนื่อง หรือเดินเครื่องได้เพียง 50-60% ของกำลังการผลิตทั้งหมด การผลิตที่ได้เปอร์เซ็นต์น้ำมันลดลงเพราะคุณภาพที่ลดลง ประกอบกับตลาด ปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์มวันนี้ “ผู้ซื้อ” คือ ผู้กำหนดตลาดตัวจริง

4.เมล็ดงอกเพื่อการเพาะต้นกล้าปาล์มน้ำมัน
4.เมล็ดงอกเพื่อการเพาะต้นกล้าปาล์มน้ำมัน
ต้นกล้าปาล์มน้ำมันคุณภาพ
ต้นกล้าปาล์มน้ำมันคุณภาพ
ต้นปาล์มน้ำมันที่รอเก็บเกี่ยวผลผลิต
ต้นปาล์มน้ำมันที่รอเก็บเกี่ยวผลผลิต

การบริหารจัดการปาล์มน้ำมัน

แม้ว่าประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซียเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายใหญ่ มีการบริหารจัดการที่ดีในทุกขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ขณะที่ประเทศไทยส่วนใหญ่เกษตรกรยังเป็น “เกษตรกรรายย่อย” ที่มีปัญหาด้านการจัดการในทุกมิติ และการรวมกลุ่มให้เป็นแปลงใหญ่ที่เหนียวแน่นยังไม่มาก

แต่ด้วยเสน่ห์ของเกษตรกรรายย่อยของไทยนี้เองที่ทำให้ตลาดยุโรปหรือโรงงานผลิตไฟฟ้าต้องการซื้อ น้ำมันปาล์ม ไปปั่นเป็นพลังงานไฟฟ้ามากกว่า 50 โรง ในเยอรมัน ต้องการ “ น้ำมันปาล์ม จากเกษตรกรรายย่อยของไทย” ที่ยินดีจ่ายให้ในราคาแพงกว่าตลาดทั่วไป เพราะต้องการส่งเสริมและช่วยเกษตรกรรายย่อยให้มีรายได้ที่ดีอย่างมั่นคง และยั่งยืน

ภายใต้การผลิตปาล์มน้ำมันในระบบ RSPO อย่างต่อเนื่อง นานถึง 15 ปี เป็นการทำธุรกิจเชิงสังคมและมีคุณธรรมอย่างแท้จริง ประกอบกับประเทศไทยได้มีระบบ RSPO เข้ามาเพื่อยกระดับเกษตรกรชาวสวนปาล์ม และยกระดับผลผลิตให้มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ผลผลิตที่ได้เป็นที่ต้องการของตลาดโลกมากขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.ปาล์มน้ำมันที่พร้อมตัดส่งโรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม
5. ปาล์มน้ำมัน ที่พร้อมตัดส่งโรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม

ผลผลิตจาก ปาล์มน้ำมัน

ที่สำคัญเมื่อชาวสวนปาล์มอยู่ได้ ผลผลิตมีตลาดที่ยั่งยืน จะทำให้เกษตรกรอยู่ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องสนใจเรื่องนโยบายต่างๆ ที่เกิดขึ้น นี่คือทางรอดของเกษตรกรไทยด้วย “การทำปาล์มคุณภาพ” เพราะประเทศที่มีการผลิตน้ำมันปาล์มเพื่อบริโภคและใช้จนเหลือแล้วสามารถส่งออกได้นั้นมีเพียงไม่กี่ประเทศทั่วโลกที่สามารถทำได้ ซึ่ง “ประเทศไทย” ก็เป็นหนึ่งในนั้น ที่สำคัญ “ปาล์มน้ำมัน” แทรกซึมอยู่ในหลายธุรกิจ และหลายอุตสาหกรรม

6.การขนส่งปาล์มน้ำมันเข้าสู่โรงสกัดน้ำมันปาล์ม
6.การขนส่งปาล์มน้ำมันเข้าสู่โรงสกัดน้ำมันปาล์ม

ด้านการตลาดปาล์มน้ำมัน

โดยเฉพาะโรงสกัดที่มีการผลิตไฟฟ้าจาก “ไบโอแก๊ส” ของไทย จะเป็นตัวเลือกที่สำคัญของตลาดโลก เพราะเป็นการผลิตที่ไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นแนวโน้มของตลาด “ปาล์มน้ำมันคุณภาพ” ในอนาคต จะมีการซื้อน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) จากโรงสกัดที่มีระบบไบโอแก๊ส หรือ “วอเตอร์ฟู๊ดบริ้น” มากขึ้นแน่นอน ควบคู่ไปกับกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับในทุกขั้นตอนได้อย่างเป็นระบบ

7.น้ำมันพืชบรรจุขวด
7.น้ำมันพืชบรรจุขวด

การพัฒนาอุตสาหกรรม ปาล์มน้ำมัน และ น้ำมันปาล์ม

“ประเทศไทยมีการผลิตปาล์มน้ำมัน และส่งออกเป็นอันดับ 3 ของโลก แต่ยังมีปริมาณที่น้อย เมื่อเทียบกับประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ที่มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด ทั้งด้านการผลิตปาล์ม การจัดการ การสกัด การแปรรูป การวิจัยและพัฒนา ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ที่เอื้อให้ธุรกิจปาล์มน้ำมันเติบโตได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน

จนกระทั่งก้าวเข้าสู่ธุรกิจปลายน้ำอย่างเต็มตัว ในขณะที่ประเทศไทยยังคงวนเวียนอยู่ที่กระบวนการผลิต การจัดการ กระบวนการสกัด ที่ยังเป็นเพียงต้นน้ำของมาเลเซียเท่านั้น ถึงเวลาหรือยังที่คนไทยจะหันมาพัฒนาวงการอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างจริงจัง เพราะอย่างน้อยๆ ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี เป็นการพัฒนาเกษตรกร ผู้ประกอบการ และประเทศชาติ ให้ก้าวไปข้างหน้าได้มั่นคง”