ปลูกปาล์ม ยกร่องคู่ บนดินเปรี้ยว ที่นาเก่า เน้นอินทรีย์เสริมด้วยเคมีให้ผลผลิต 4.5 ตัน/ไร่/ปี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การทำเกษตรไม่ใช่ว่าเราไม่รู้อะไรเลย ถ้าเราทำให้ถูกต้องมันก็ดี  แต่เราทำไม่ดีมันก็ไม่มีผลอะไร การลงทุนก็เท่ากับเสียเปล่า

นายแป้น นาเจริญ เกษตรกรชาวสวนปาล์มในพื้นที่ ต.หัวเตย อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ที่ยึดอาชีพการทำเกษตรมานานกว่า 4 0 ปี เริ่มตั้งแต่การทำนาปีที่ต้องรอน้ำฝนเพื่อการเพาะปลูก การทำนาบางปีก็แล้งไม่ค่อยได้ผลผลิต พอปลูกข้าวใกล้จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ปีไหนฝนดีพอเข้าหน้าฝนเดือน 12 น้ำก็จะท่วมนาข้าวที่กำลังตั้งท้องจนผลผลิตเสียหายหมด ขาดทุนอย่างหนัก เท่ากับว่าทั้งหมดที่ลงทุนมาไปก็สูญเปล่า ต้องกลับมาเริ่มนับหนึ่งใหม่จนวันหนึ่งต้องเปลี่ยนมาปลูกปาล์มน้ำมัน  แต่เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นดินเปรี้ยว อยู่ติดกับคลองน้ำ เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมทุกปี จึงได้ทำการยกร่อง “ปลูกปาล์มในระบบร่องคู่” ในระยะ 9×9 เมตรหรือประมาณ 22 ต้น/ไร่ ด้วยปาล์มน้ำมันสายพันธุ์สุราษฎร์ธานี1 และ2 บนเนื้อที่กว่า 35 ไร่ มีอายุตั้งแต่ 1 ปี 6 ปี 8 ปีและ 11 ปี ซึ่งการดูแลรักษาปาล์มในแต่ละช่วงอายุจะค่อนข้างแตกต่างกันและหลังจากปลูกปาล์มไม่นานก็ได้เข้าร่วมอบรมเรื่องปาล์มน้ำมันทั้งการปลูก ระบบการจัดการ  การคัดเลือกสายพันธุ์ การศึกษาดูงานในพื้นที่ปลูกปาล์มจนกระทั่งผ่านการอบรมจากศูนย์วิจัยฯที่ได้นำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการดูแลสวนปาล์มตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ต้นปาล์มอายุ 11 ปี
ต้นปาล์มอายุ 11 ปี

การจัดการสวน

เริ่มตั้งแต่ปลูกที่ต้องรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยอินทรีย์หรือมูลสัตว์ เมื่อรากเดิน เริ่มหากินได้ก็จะใส่ปุ๋ยตามหลักวิชาการ ตามอายุของปาล์มแต่ละช่วง โดยเน้นการใส่ปุ๋ยเคมี 2 รอบต่อการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 1 รอบ สลับกันไปตลอดโดยก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้งบางแปลงจะทำการฆ่าด้วยสารสารเคมีในช่วงปีแรกเพราะรากปาล์มยังไม่ขยายเต็มที่แต่หลังจากนั้นจะใช้วิธีการตัดหญ้าก่อนใส่ปุ๋ยเสมอโดยเฉพาะช่วงหน้าฝนที่ต้องจ้างแรงงานในท้องถิ่น ส่วนการใส่ปุ๋ยจะทำเองทั้งหมดในช่วงต้นฝนและปลายฝนประมาณ 3 ครั้ง/ปี อีกทั้งปุ๋ยเคมีเป็นปุ๋ยร้อนการใส่ปุ๋ยต้องหว่านให้กระจายรอบโคน หากหว่านปุ๋ยแบบกระจุก หว่านเป็นกองที่ใดที่หนึ่งจะทำให้รากฝอยของปาล์มจะไหม้จนเสียหายทันที “ ปุ๋ยปาล์มเราใช้เคมีล้วนๆไม่ได้ รสชาติมันจะเสีย มันต้องสลับกัน ใส่เคมี 2 รอบ อินทรีย์ 1 รอบสลับกันนะใส่ตามอายุปาล์ม ตามหลักวิชาการ ถ้าปาล์มโต 5 ปีขึ้นไปเราใส่อย่างน้อย 12 กก./ต้น/ปี ก็สามารถให้ผลผลิตได้ แต่เราต้องขยัน สารเคมีมีแปลงเดียวที่ใช้ตอนปาล์มเล็กอายุไม่เกิน 1 แต่ พอรากปาล์มสานกันแล้วใช้สารเคมีไม่ได้เพราะรากปาล์มจะชะงัก กินอาหารไม่ได้ การฉีดยาทำให้หน้าดินเสีย ส่วนแปลงอื่นเราไม่เคยใช้ตัดหญ้าอย่างเดียวเพื่อรักษาสิ่งมีชีวิตในดิน ดินเราเปรี้ยวด้วย เราจึงใช้อินทรีย์เยอะทั้งปุ๋ยอินทรีย์ ขี้วัว ขี้ม้า ขี้เป็ด ขี้ไก่มากกว่าปุ๋ยเคมีเพื่อปรับดินเปี้ยวเพราะเมื่อก่อนเราทำนาดินเปรี้ยวสังเกตได้ว่าหน้าแล้งดินจะแตกระแหง ในร่องปาล์มที่ขุดไว้ฝนตกลงมาน้ำจะใสเพราะดินเปรี้ยว เราต้องสังเกต เราจึงประสบความสำเร็จในการปลูกปาล์ม แต่บางคนที่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะฉีดยา ใช้สารเคมี ไม่ใช้อินทรีย์ ทำให้หน้าดินเสีย ใบปาล์มเหลือง แต่ของเราใบยังเขียวตลอด” ลุงแป้นอธิบายการใช้อินทรีย์ปรับดินเปรี้ยวในสวนปาล์มและข้อดีของการปลูกปาล์มในระบบร่องไม่ต้องให้น้ำกับต้นปาล์ม แต่รากปาล์มสามารถที่จะนำน้ำในท้องร่องมาเลี้ยงลำต้นปาล์มได้ตลอดทั้งปี ยกเว้นในช่วงหน้าแล้งที่น้ำเริ่มขาดก็จะมีการสูบน้ำจากคลองสาธารณเข้าร่องสวนเพื่อให้น้ำกับต้นปาล์มบ้าง

ตอนปี 54 น้ำก็ไหลทะลักเข้าท่วมสวนปาล์มอายุ 3-4 ปีจนมิดต้นนานกว่า 2 เดือน แต่ปาล์มไม่ตาย แต่ช่อดอกและทะลายที่ออกมาเน่าเสียหายทั้งหมด พอน้ำลดต้องแทงทิ้งทั้งหมดและต้นก็จะเหลืองเป็นธรรมดาหลังจากนั้นก็จะมีการฟื้นฟูต้นปาล์มให้มีสภาพสมบรูณ์ ภายใต้เงินสนับสนุนจากรัฐบาลที่ชดเชยค่าเสียหายให้หลังน้ำท่วมประมาณ 2,600 บาท/ไร่ เพื่อนำมาเป็นค่าจัดการสวนปาล์มที่ต้องเร่งฟื้นฟู ใส่ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมีที่ใช้มาตลอดสูตร 4-5-7 ที่มีไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส โปแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียมและกำมะถัน โดยมีค่าอินทรียวัตถุ(OM) 10%  ใส่มูลสัตว์และฉีดพ่นปุ๋ยน้ำทางใบที่ต้องใช้เวลาบำรุงรักษามากกว่า 1 ปีเพื่อรอให้ต้นปาล์มฟื้นตัวจนกระทั่งสมบูรณ์ก็จะเริ่มสร้างตาดอกใหม่ เมื่อผลผลิตออกมาก็จะให้ผลผลิตได้ในปริมาณเท่าเดิม “ถ้าเรารู้ว่าน้ำจะท่วม ถ้าเราใส่ปุ๋ยเคมีไปแล้ว 15 วันน้ำท่วมสวนปาล์ม ต้นปาล์มจะเน่าตายทันทีเพราะเนื้อเยื่อมันอ่อนแอ น้ำขังก็ตายหมด แต่ถ้าเรารู้ว่าน้ำจะท่วม เราจะไม่ใส่ปุ๋ยทิ้งไว้ก่อน พอน้ำท่วมสวนปาล์ม ต้นปาล์มจะไม่ตาย เพราะยอดมันแข็งแรง เนื้อเยื่อข้างในมันแข็งแรง ปาล์มไม่ตาบ แต่ต้นจะแกรนช่วงหลังน้ำลด เราก็ฟื้นฟูต้นปาล์มใหม่ได้”ลุงแป้นเล่าถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาและแนวทางแก้ไข เพราะปาล์มน้ำมันจะลงทุนค่อนข้างมากในช่วงแรก 1-3 ปีทั้งค่าปรับที่ยกร่องปาล์ม ค่าต้นพันธุ์ ค่าปุ๋ย ค่าการดูแลรักษาตามอัตราส่วนที่ต้องใส่แต่ปาล์มยังไม่ได้ผลผลิต แต่เมื่อปาล์มมีอายุ 4-5 ปีก็จะเริ่มเก็บผลผลิตได้ก็จะเริ่มทยอยคืนทุนกลับมาและจะเริ่มเห็นกำไรเมื่อปาล์มอายุ 7-8 ปี การดูแลในวันนี้จึงเน้นอินทรีย์และมูลสัตว์เป็นหลัก ลดการใช้ปุ๋ยเคมีจากเดิมที่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีตามหลักวิชาการ 3 กก./ต้น/ครั้ง ใส่ประมาณ 4 ครั้ง/ปี ก็จะปรับลดมาใช้ปุ๋ยเคมีเพียง 1-1.5 กก./ต้น/ครั้ง ประมาณ 4 ครั้ง/ปี แต่สิ่งที่ได้คือดินดีเพราะการใช้อินทรีย์ สภาพต้นปาล์มสมบูรณ์  ผลผลิตสมบูรณ์ ดังนั้นทางปาล์มที่ตัดแต่งแล้วจะทิ้ง แต่จะถูกนำเป็นอาหารให้กับต้นปาล์มต่ออีกทีหนึ่ง โดยโคนทางปาล์มจะถูกตัดวางกองไว้ใกล้กับร่องน้ำเพื่อให้เกิดการย่อยสลายเป็นอาหารให้ต้นปาล์ม ส่วนปลายทางปาล์มนำมาคลุมรอบโคนต้นปาล์มเพื่อป้องกันวัชพืชและควบคุมความชื้นหน้าดินและการใส่ปุ๋ยก็จะใส่รอบทางปาล์มบริเวณรอบทรงพุ่มต้นปาล์มเท่านั้นเพราะจาการวิจัยฯทำให้ทราบว่าทางปาล์มที่ย่อยสลายแล้วจะให้อินทรีย์วัตถุคืนมา 20-30%ปี ทำให้ดินดี ดินร่วนซุย

ลุงแป้น นาเจริญ
ลุงแป้น นาเจริญ

ซึ่งปัจจุบันปาล์มน้ำมันอายุระหว่าง 6-11 ปีนี้จะให้ผลผลิตในช่วงขาดคอประมาณ 5 ตัน/รอบ/35 ไร่ ให้ผลผลิตในช่วงผลผลิตมากประมาณ 16 ตัน/รอบ /35 ไร่ มีระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิต 18 วัน/รอบ เก็บเกี่ยวผลผลิตพร้อมบรรทุกส่งลานเทและโรงงานใกล้เคียงในระบบจ้างเหมาตัดปาล์มในราคา  500 บาท/ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 4.5 ตัน/ไร่/ปี  สวนปาล์มน้ำมันจะมีการจัดการที่ง่าย สามารถบริหารจัดการเองได้ จ้างเพียงเล็กน้อย เก็บเกี่ยวผลผลิตง่าย อนาคตค่อนข้างดีกว่า

โฆษณา
AP Chemical Thailand

 

tags: ปลูกปาล์ม ยกร่องคู่ บนดินเปรี้ยว เน้นอินทรีย์เสริมด้วยเคมีให้ผลผลิต 4.5 ตัน/ไร่/ปี ปลูกปาล์ม ลุงแป้น นาเจริญ สุราษฎร์ธานี การจัดการสวน ปาล์ม ปลูกปาล์ม