ปลูกอ้อยข้ามแล้ง เผยเทคนิค ด้วยโอเอซิสเจล

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปลูกอ้อยข้ามแล้ง

ด้วยสภาพอากาศบ้านเราที่เอาแน่เอานอนไม่ได้นั้น จะทำอย่างไรให้การทำการเกษตรของเกษตรกรเป็นไปอย่างไม่ติดขัด ยกตัวอย่าง การทำไร่อ้อย ซึ่งฤดูกาลปลูกอ้อยของประเทศไทยมากกว่า 90% อาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ การปลูกอ้อยเพื่อส่งโรงงานจะมี 3 ช่วง คือ ก่อนฤดูฝน ช่วงต้นฤดูฝน และช่วงหลังฤดูฝน สำหรับช่วงสุดท้ายจะเรียกว่า “การ ปลูกอ้อยข้ามแล้ง ”

ก่อนฤดูฝน หรือเรียกอีกอย่างว่า การปลูกอ้อยน้ำราด จะเริ่มเตรียมปลูกก่อนฝนตก คือ หลังจากการ ปลูกอ้อยข้ามแล้ง หรือการรื้อตอแล้วปลูกใหม่ ความชื้นในดินเหลือน้อยไม่เพียงพอที่อ้อยจะงอก จะต้องให้น้ำ โดยใช้น้ำเพียงพอให้อ้อยงอกเพียงครั้งเดียว ปริมาณน้ำที่ให้ขึ้นกับความชื้นของดินขณะนั้น จะดำเนินการปลูกต้นเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมีนาคม อากาศยังไม่ร้อนจัด

1.แปลง ปลูกอ้อยข้ามแล้ง
1.แปลง ปลูกอ้อยข้ามแล้ง

สำหรับระยะเวลาจากกลางเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนเมษายน ปกติอากาศจะร้อนจัดมาก ดินแห้งมาก การปลูกในช่วงนี้ถ้าให้น้ำแล้วกลบบางเกินไปตาอ้อยจะสุก ไม่งอก หรือถ้าเกิดฝนตกหนัก ดินอัดแน่น อ้อยอาจจะเน่า ไม่งอก ฉะนั้นการปลูกอ้อยราวเดือนมีนาคม-เดือนเมษายน เป็นจุดเสี่ยง จะต้องติดตามสภาพดินฟ้าอากาศอย่างใกล้ชิด

ต่อมาการปลูกอ้อยต้นฝน จะปลูกเมื่อเริ่มเข้าฤดูฝน ซึ่งจะอยู่ในช่วงปลายเดือนเมษายนถึงกลางเดือนมิถุนายน ถ้าปลูกหลังจากนี้ไปแล้ว ผลผลิตและคุณภาพอ้อยจะลดลงตามลำดับ

สำหรับการ ปลูกอ้อยข้ามแล้ง จะปลูกหลังจากฝนหมด คือ ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมถึงปลายเดือนพฤศจิกายน หรือจนกว่าดินจะหมดความชื้น คือ ความชื้นไม่เพียงพอที่อ้อยจะงอก ความเสี่ยงในการปลูกอ้อยในช่วงนี้ค่อนข้างที่จะมีมากกว่าช่วงอื่นๆ แต่ถ้าทำได้จะทำให้ได้ราคา และค่าความหวานดีตามขึ้นไปด้วย

2.ปุ๋ยขี้ไก่นำมาใส่ในแปลงอ้อย
2.ปุ๋ยขี้ไก่นำมาใส่ในแปลงอ้อย

เทคนิคการ ปลูกอ้อยข้ามแล้ง

ผู้เขียนได้เดินทางไปยัง จ.ขอนแก่น เพื่อนำเทคนิคการทำอ้อยข้ามแล้งจาก คุณฉลองฌัย ภุมมาลา ซึ่งเดิมทีเขาได้ทำฟาร์มไก่มาก่อนหน้านี้นานแล้ว แต่ด้วยความรักในธรรมชาติ หรืองานเกษตร พร้อมทั้งมีอีกหนึ่งอาชีพที่ทำให้เกี่ยวพันกับปัจจัยการผลิตด้านการเกษตร ยิ่งเหมือนเติมเชื้อให้สนใจในการทำเกษตรมากขึ้น ส่วนหนึ่งอาจจะต้องการสร้างแปลงทดลอง แต่แท้จริงก็ต้องการให้เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เป็นงานที่รักและอิสระด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หมัดเด็ดอยู่ที่ “โอเอซิสเจล” ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดความสี่ยงจากการขาดน้ำของพืชในช่วงฤดูแล้ง เขาได้ทดสอบการปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 2 แปลง เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยแต่ละแปลงมีการดูแลที่เหมือนกัน แต่จะต่างกันตรงที่ว่าแปลงหนึ่งจะผสมสารอุ้มน้ำโอเอซิลเจล (T400) ไปพร้อมกับตอนปลูกอ้อย โดยคลุกเคล้าผสมเข้าไปกับปุ๋ย

สารอุ้มน้ำ โอเอซิลเจล (T 400) คือ ผลิตจากโพลิเมอร์ที่เป็นโพแทสเซียมเบส สามารถอุ้มน้ำได้ถึง 200 เท่า คือ 1 กิโลกรัม อุ้มน้ำได้ 200 ลิตร ช่วยสำรองน้ำและเก็บกักปุ๋ยให้กับพืชในสภาวะแห้งแล้ง ขาดน้ำ ทำให้ไม่ต้องใช้น้ำรดบ่อย ประหยัดต้นทุน วิธีการใช้ส่วนใหญ่จะรองก้นหลุมก่อนปลูก และใช้ได้ทั้งในไม้ผล ไม้ประดับ ดอกไม้ ก็ได้ผลดี ต้นไม้โตเร็ว เพราะโพลิเมอร์ทำจากโพแทสเซียม ช่วยให้ผลไม้สีสวย น่ารับประทาน ระบบรากพืชแข็งแรง

สำหรับในวงการพืชเศรษฐกิจ อย่าง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ก็สามารถนำมาใส่รองก้นหลุมก่อนปลูกก็ได้ผลดี ใส่ครั้งเดียวทำประโยชน์ให้ท่านได้นานถึง 5 ปี จากนั้นจุลินทรีย์ในดินจะสลายโพลิเมอร์ให้กลายเป็นปุ๋ยสู่ดิน ดังนั้นทำให้ลดค่าใช้จ่ายมากกว่าการสูบน้ำรดต้นไม้บ่อยๆ

3.พื้นที่ปลูกอ้อย
3.พื้นที่ปลูกอ้อย

สภาพพื้นที่ปลูกอ้อย

อ้อยเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย แต่ดินชนิดนี้สามารถเก็บน้ำและแร่ธาตุอาหารพืชได้ดี อ้อยเป็นพืชที่ต้องการความชื้นในดิน และธาตุโพแทสเซียมสูง เพื่อใช้ในการขยายขนาดลำต้น และเพิ่มความหวานในลำต้น ทำไมประเทศบราซิลและออสเตรเลียจึงปลูกอ้อยได้คุณภาพและปริมาณต่อไร่มากกว่าไทยในพื้นที่ปลูกน้อยกว่า

4.อ้อยแปลงที่ไม่ได้ใส่โอเอซีสเจล-จะโตไม่สม่ำเสมอกัน-และ-ลำไม่ค่อยใหญ่
4.อ้อยแปลงที่ไม่ได้ใส่โอเอซีสเจล-จะโตไม่สม่ำเสมอกัน-และ-ลำไม่ค่อยใหญ่

การใส่โอเอซิลเจล ที 400 ให้ต้นอ้อย

ใส่โอเอซิสเจล ที 400 เพียง 1 กิโลกรัม ก็สามารถเก็บน้ำไว้ให้ต้นอ้อยในไร่ได้ถึง 200-300 ลิตร เพิ่มความชุ่มชื้นให้ดิน 100 % โดยไม่ทำให้ดินแฉะ อายุการใช้งานนาน 5 ปี “อ้อยปลูกใหม่ 1 ไร่ ใช้โอเอซิสเจล ที 400 ประมาณ 4 กิโลกรัม ผสมปุ๋ยอินทรีย์หรือเคมี 50 กิโลกรัม เคล้าให้เข้ากัน ถ้าปลูกด้วยคนให้หว่านลงในร่องแล้ววางท่อนอ้อยแล้วกลบดิน ถ้าใช้เครื่องปลูกเอาปุ๋ยที่ผสมเจลใส่ในถังปุ๋ยของเครื่องปลูกได้เลย” คุณฉลองฌัยอธิบายวิธีการใช้โอเอซิสเจลในการ ปลูกอ้อยข้ามแล้ง ”

โอเอซิสเจล ที 400 ผลิตจากสารประกอบธาตุโพแทสเซียม เมื่อใส่ลงในดินจึงให้ธาตุอาหารโพแทสเซียมซึ่งมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของต้นอ้อย และช่วยให้อ้อยสร้างความหวาน อีกทั้งยังให้ผลผลิตที่สูงขึ้นถึง 20-30% ช่วยลดอาการใบทางสีแดง และโรคแส้ดำ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดธาตุโพแทสเซียม ยืดอายุอ้อยตอจาก 3 ปี ไปเป็น 4-5 ปี และปริมาณการแตกกอของอ้อยเพิ่มขึ้น 20% และยังช่วยลดปริมาณการให้น้ำของอ้อยในระบบน้ำหยด และในทุกระบบลง 50% สรุปได้ คือ ช่วยประหยัดน้ำ ค่าไฟ ค่าน้ำมัน และแรงงาน ได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญผลผลิตที่ได้ยังอยู่ในเกณฑ์ดีอีกด้วย

ไม่เพียงแต่การนำไปใช้ในอ้อยเท่านั้น สำหรับพืชอื่นๆ ก็ยังได้นำไปทดลองใช้ ซึ่งผลตอบรับออกมาค่อนข้างดีมาก ท่านใดที่สนใจหรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ในเว็บไซด์www.phumalefarm.com หรือคำถามต่างๆ เข้าไปที่ อีเมล[email protected]

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณฉลองฌัย ภุมมาลา โทร.09-0031-4442