ในที่สุดเกษตรไทยก็เริ่มเข้าใจในการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร โดยทำ “กำไร” ต่อไร่/ปีมากที่สุด โดยเฉพาะเกษตรกรภาคใต้ที่ยึดโยงอยู่กับยางพาราและปาล์มน้ำมันเป็นหลัก หลายคนปลูกทั้ง 2 อย่าง เพื่อศึกษาว่าอย่างไหนกำไรดีกว่ากัน โดยเฉพาะคุณบำรุง หนูด้วง เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ปี 2556 แห่งลุ่มน้ำตาปีและกรรมการสมาคมชาวสวนปาล์มสุราษฎร์ธานีได้เปิดใจให้สัมภาษณ์พืชพลังงานเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2556เขาทำสวนปาล์มมาตั้งแต่ปี 42 ตอนแรกทำสวนยางพารามาก่อนเริ่มแรก 30 ไร่ แต่พอช่วงปี 42 เจ้าหน้าที่จากศูนย์ฯ วิจัยเข้าไปชักชวนทำสวนปาล์มตอนแรกเนื้อที่ 17 ไร่ จนถึงวันนี้มียางพารา 60 ไร่ ปาล์มน้ำมันอยู่ 70 ไร่ ต่อมารู้สึกว่าพื้นที่ไม่เหมาะสมในการปลูกยางพารา เพราะเป็นพื้นที่นาเก่า อาศัยน้ำฝนทำนา แต่ที่ปลูกปาล์มจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า การปลูกปาล์มต้องศึกษาสภาพพื้นที่ว่ามีความเหมาะสมในการปลูกหรือไม่ พอเข้าสู่วงการปาล์มน้ำมันแล้วผลตอบแทนที่ได้ระหว่างยางพารากับปาล์มน้ำมันนั้นปาล์มน้ำมันจะได้มากกว่า
การป้องกันหนูในสวนปาล์ม ( วิธีไล่หนู )
ถ้าการดูแลพืชทั้ง 2 ชนิด โดยเฉพาะระยะแรกปาล์มน้ำมันจะดูแลมากกว่า แต่ปาล์มปลูกระยะแรกจะมีปัญหานิดหน่อย คือ เรื่อง หนูพุกใหญ่เท่านั้นลุงจะให้กระสอบปุ๋ยกางปูรอบโคนต้นปาล์มและจะสะท้อนในตอนกลางคืน เลี้ยงนกแสกในสวนปาล์มทำให้ปัญหานี้หมดไปได้ เพราะหนูจะกลัวแสงสว่างเลยเอากระสอบปุ๋ยผ่าออกเป็น 2 ซีก พลิกด้านในออกมาจะเป็นสีขาว เอากระสอบที่ตัดออกทั้ง 2 ลูก มาประกบกัน โดยเว้าตรงคอให้มันครอบรอบโคนต้นปาล์ม แล้วเอาลูกเหม็นใส่ที่โคนปาล์ม แต่ไม่ให้โดนฝนเราเลยใช้วิธีการใส่ขวดน้ำพลาสติกเก่าๆ ลูกเหม็นที่ซื้อมามีหลายชนิดมันใส่ปากขวดไม่ได้ทั้งหมด ต้องตัดเว้าปากขวดเข้าไปเพื่อใส่ลูกเหม็น เอาคัตเตอร์กรีดเอาลูกเหม็นใส่เข้าไป เหน็บไว้ที่โคนต้นปาล์ม ผลสุดท้ายแปลงนี้ 10 กว่าไร่ หนูไม่กินนะ แม้แต่สื่อไปเจอยังงงเลยอะ กลายเป็นว่าวิธีการป้องกันหนูในเบื้องต้นที่วันนี้ถ้าเราเห็นที่จะใช้วัสดุปาล์มแล้วคลุมป้องกันหนู แต่ของลุงที่ทำแล้วมันป้องกันได้ทั้งวัชพืชและป้องกันหนูได้ด้วย เคยมีสื่อช่อง 7 มาทำข่าวแล้วไปตัดหญ้าเจอรังหนูใกล้ๆเป็นรูหนูแต่มันไม่แทะต้นปาล์มเลย เพราะกระสอบที่เราหงายขึ้นมันมีสีขาว พอสะท้อนกับแสงพอหนูเดินมันอาจจะตกใจเลยไม่เข้ามากิน วิธีไล่หนู
สายพันธุ์ปาล์มที่ปลูก
การปลูกปาล์มต้องดูแลตั้งแต่ระยะแรก ตั้งแต่เริ่มปลูกให้พยายามคัดต้นพันธุ์ที่ดี ผมปลูกทั้งพันธุ์ซีหราด คอมแพคท์ ยูนิวานิช ซีพีไอเพื่อเปรียบเทียบสายพันธุ์ การปลูกปาล์มอยากให้เกษตรกรพยายามรู้ต้นทุน ให้รู้รายได้ที่จะได้มา
การดูแลปาล์มให้ได้ผลผลิตที่ดี
การใส่ปุ๋ยจะใส่ปุ๋ยตามหลักวิชาการ คือ ใช้แม่ปุ๋ยตลอด แต่ลุงจะมีแปลกที่ว่าการใส่ปุ๋ยของลุงจะมากกว่าคนอื่น การดูแลตอนนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ถ้าเป็นปาล์มตั้งแต่แรกปลูก 1 เดือน-1 ปี ทุกครั้งที่มีการกำจัดวัชพืชจะต้องใช้ 21-0-0 2 ขีด/ต้น ใส่ทุกครั้งที่กำจัดวัชพืชเพราะถ้าเป็นปาล์มเล็กถ้าเรากำจัดวัชพืชอย่างน้อยประมาณ 1 เดือนกว่าหรือ 2 เดือน/ครั้ง ปาล์มอายุ13-14 เดือนจะใส่ปุ๋ย 21-0-0 ประมาณ 2-3 ขีด/ต้น/ครั้ง 4 ครั้ง/ปีหรือประมาณ 3 เดือน/ครั้ง ,18-16-0 ประมาณ 2 ขีด/ต้นหรือปีละ 2 ครั้ง,ใส่ 0-0-60 ประมาณ 2-3 ขีด/ต้นหรือปีละ 2 ครั้ง ตอนนี้ก็กลีเซอร์ไรด์หรือแมกนีเซียมจะใส่ 1 กก./ต้นหรือปีละ 1 ครั้ง ใส่ช่วงไหนก็ได้ เพราะเป็นธาตุตระกูลหินไม่จำเป็นต่อฤดูกาลเพราะใช้โดโลไมท์ได้ผลแต่น้อย โดโลไมท์ต้องใช้ในภาพกว้างเพื่อปรับปรุงดิน การใส่ปุ๋ยอย่างนี้มั่นใจว่าไม่เกิน 24 เดือน ปาล์มได้ตัดผลผลิตแน่นอน เฉลี่ยทั้งแปลงไม่น้อยกว่า 6 กิโล/ทะลาย ลุงเป็นคนแรกที่กล้าฟันธงว่าปลูกปาล์ม 24 เดือน เก็บผลผลิตได้แน่นอน แต่ที่คนขายสายพันธุ์ไม่กล้าบอกเพราะกลัวว่าเกษตรกรจะไปจัดการแบบผิดๆเพราะมันจะส่งผลต่อสายพันธุ์เขา ปาล์มผม 24 เดือนเก็บผลผลิตได้จริง ในกรณีปาล์มอายุ 3 ปี ขึ้นไปใส่ปุ๋ย 21-0-0 ต้นละ 3 กก./ครั้ง/ปี แบ่งใส่ไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง/ปี, 18-46-0 ต้นละ 1 กก. แบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี, 0-0-60 ต้นละ 6 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง/ปี กลีเซอร์ไรด์ปกติ 1 กก./ต้น/ปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ,โบรอน 100 กรัม/ต้น/ปี ในช่วงที่มีความชื้น การใส่ปุ๋ยสูตรนี้มันโคตรเยอะและเหลืออยู่ในดินพืชกินไม่หมด ผมยอมรับต้นทุนสูง แต่ผลผลิตกระโดดไป 3 ตันกว่าแล้ว กำไรเรามากกว่า ภาควิชาการบอกว่าต้นทุนเกษตรกร 7,000 กว่าบาท/ไร่ แต่คุณได้กำไรไม่เกิน 10,000 บาท/ไร่ แต่ของผม 11,000-12,000 บาท/ไร่ แต่หักแล้วยังมีกำไรมากกว่า 30,000 บาท/ไร่/ปี ผมเลยบอกว่านักวิชาการบอกให้เกษตรกรลดต้นทุนมันเป็นการพูดให้เกษตรกรเข้าใจผิด มันเพิ่มต้นทุน ใช้ทุนสูง ได้กำไรมากกว่า 2 เท่า ถึงจะถูก ผมเป็นคนแรกที่เอาซังปาล์มมาทำปุ๋ยในสวนปาล์มจนถึงวันนี้เป็นที่พิสูจน์แล้วว่าผลจากการที่เราใช้อินทรีย์วัตถุตัวนี้มันสามารถทำผลผลิตให้ลุงได้มากกว่า 5,700 กิโล/ไร่/ปี ซังปาล์มมันใช้ประโยชน์ได้มากกว่า 3-4 ปี แต่สิ่งที่เราได้ใจชาวบ้านมาเยอะเพราะมันจะเกิด “เห็ดฟาง” ขึ้นมาโดยธรรมชาติของมันเลยโดยไม่ต้องเพาะเลย มันขึ้นมาเอง มันขึ้นมาได้เองไม่รู้อย่างไร ในวันนี้ก็มีชาวสวนปาล์มทำธุรกิจเพาะเห็ดฟางด้วยซังในสวนปาล์มได้ เก็บเอาไปกินแล้วเอาไปขาย ขายส่งเลย เขาขุดดินผมไปวิเคราะห์ต้นปาล์มไม่ขาดธาตุอาหารเลย ตอนนี้ผลผลิตผมต่ำที่สุดก็คือ 4 ต้น/ไร่/ปี สูงสุดมากกว่า 5 ตัน/ไร่/ปี ไม่มีระบบน้ำ แต่อนาคตเกษตรกรต้องมีน้ำเป็นหลักด้วย ผลผลิตก็คิดว่าจะเพิ่มขึ้นแน่นอนเพราะตอนนี้ภาวะโลกร้อนสภาพอากาศร้อนขึ้นและจะมีการจดบันทึกตลอด รายรับ รายจ่าย เมื่อเปิดเออีซีผมไม่มีปัญหาสำหรับปาล์มน้ำมัน
ความหวังที่อยากเห็น
“ในเมื่อเราเป็นเกษตรกร เรารู้ว่าเรื่องปาล์มน้ำมันมันมีปัญหามาก จะทำอย่างไรให้อุตสาหกรรมไปด้วยกัน ทั้งภาครัฐ เกษตรกร เอกชน โรงงาน จะต้องร่วมมือเป็นอันเดียวกัน หันหน้ามาหากัน ความฝันอยากได้ พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมันก่อนที่จะเป็น พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมัน ต้องมีมาตรฐานปาล์มน้ำมัน ลุงเป็นคนไปยกร่างมาตรฐานทะลายปาล์มน้ำมันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เกษตรกรดีเด่น 56 ด้านสาขาอาชีพทำสวน แต่ว่าลุงจะได้เป็นเกษตรกร คือ เอาสวนปาล์มไปโชว์ แต่ที่เราได้ระดับภาค เราโชว์ตัวเลขแค่ 1 ล้านเศษ แต่ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เรามีเยอะกว่าเขามาก”
เกษตรกรยังมีความรู้น้อยในการจัดการสวนปาล์ม ถ้ามีเวทีให้ความรู้ ภาครัฐมีงบมาอุดหนุน เอกชนหนุนจะดีมาก และส่วนราชการ คือ ถ้ามีนโยบายที่ชัดเจน อยากให้ศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจปลูกปาล์มเพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกรเอง
การป้องกันหนูในสวนปาล์ม การดูแลปาล์มให้ได้ผลผลิตที่ดี บำรุง หนูด้วง เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติปี 2556 การป้องกันหนูในสวนปาล์ม ซีหราด คอมแพคท์ ยูนิวานิช ซีพีไอ
tags: วิธีไล่หนู สวนปาล์ม ไล่หนู วิธีกำจัดหนู กำจัดหนู ปาล์มน้ำมัน วิธีไล่หนู สวนปาล์ม ไล่หนู วิธีกำจัดหนู กำจัดหนู ปาล์มน้ำมัน วิธีไล่หนู สวนปาล์ม วิธีกำจัดหนู